Democrats slam pledged rice quality

http://www.bangkokpost.com/news/politics/334845/democrats-slam-pledged-rice-quality

MP shows parliament ‘rotten’ grain from Surin

Published: 8 Feb 2013 at 00.15

A Democrat MP Thursday sliced open a bag of the government’s pledged rice in parliament in a bid to demonstrate shoddy quality control of the stored paddy.

Warong Dejkitvikrom, the MP for Phitsanulok, said the rice, retrieved from Surin, was brown and rotten.

His display in the House drew protests from government lawmakers.

The government will not be able to maintain the quality of the pledged rice, Mr Warong said, questioning the Commerce Ministry’s handling of the programme.

Alleged irregularities in the scheme highlighted the session.

The sack had all the necessary codes showing its origin and production year, but lacked details of the rice mill, Mr Warong said.

The rice came from a government warehouse, he added.

The Pheu Thai-led government had also failed to explain the details of its government-to-government (G-to-G) rice deals, he said.

The government had said it needed time to investigate the alleged irregularities involving the G-to-G contracts, but it has since provided no explanation, he said.

Only rice mill owners benefit from the scheme, he said.

He claimed many rice mills belong to people affiliated with the ruling Pheu Thai Party while warehouses storing the pledged rice are operated by the government.

He challenged the government to open up its warehouses to reporters so they could see for themselves.

Deputy Commerce Minister Nattawut Saikuar insisted the rice pledging scheme is run in a straightforward and transparent manner.

A committee is investigating the corruption allegations involving the scheme, Mr Nattawut said.

The committee had submitted its initial findings to the commerce minister, but the minister had told the panel to make additional inquiries and submit its findings within 90 days.

The committee has not provided an explanation because it has not yet finished its work, Mr Nattawut said.

The investigation is looking back over a three-year period, he said.

Mr Nattawut said the government is trying to maintain rice quality.

There are huge quantities of stored rice and it is impossible to ensure all the rice is in perfect condition, he said.

Mr Nattawut fired back at Mr Warong, asking how he gained access to the government’s warehouse to take the sack of rice.

He accused Mr Warong of trespassing and said he would instruct the Internal Trade Department to lodge a police complaint against him.

Mr Nattawut said Pheu Thai Party MPs have also asked the Department of Special Investigation to look into alleged irregularities involving the release of rice stocks during the tenure of the previous Democrat Party-led government.

Previously, the National Anti-Corruption Commission (NACC) had decided to look into suspected irregularities involving the scheme.

The NACC’s move came after the Democrat Party submitted a petition along with evidence asking the NACC to investigate the rice pledging scheme.

หนึ่งหน่วยช่วยโลก…เกษตรอินทรีย์ที่คลองจินดา

http://program.thaipbs.or.th/usefulprogram/article18425.ece?episodeID=23052

กินอยู่…คือ : หนึ่งหน่วยช่วยโลก…เกษตรอินทรีย์ที่คลองจินดา

20 มี.ค. 55 | 07.30 – 08.00 |

กินอยู่คือ พาคุณผู้ชมไปสัมผัสกับวิถีการทำเกษตรอินทรีย์  ของกลุ่มเกษตรยั่งยืน คลองจินดาที่นอกจากผลิตอาหารปลอดภัยแล้ว  ยังช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต  สิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจได้อย่างยั่งยืน
ติดตามชมรายการกิน อยู่..คือ ทุกวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 7.30 น. ทางไทยทีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live

เกษตรอินทรีย์…อาชีพใหม่ในเรือนจำ

http://program.thaipbs.or.th/usefulprogram/article18425.ece?episodeID=21593

กินอยู่…คือ : เกษตรอินทรีย์…อาชีพใหม่ในเรือนจำ

13 มี.ค. 55 | 07.30 – 08.00 |

เรือนจำที่หลายคนรู้จักอาจเป็นแค่สถานที่จองจำและกักขังนักโทษ บางเรือนจำอาจมีการฝึกอาชีพให้นักโทษทำงานปั้น งานแกะสลัก งานไม้ หรือช่างฝีมือต่างๆ แต่เรือนจำที่กินอยู่คือจะพาไปดูในครั้งนี้เป็นเรือนจำที่เขาสอนให้ผู้ที่ถูกจองจำรู้จักปลูกผักกินเองแบบเกษตรอินทรีย์ที่ไม่พึ่งสารเคมี เพื่อเป็นวิชาความรู้ติดตัวไว้ประกอบอาชีพเมื่อได้รับอิสรภาพ

ติดตามรายการกิน อยู่..คือ ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 7.30 น. ทางไทยทีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live

รัฐหนุนเคมี15ปี’วาระเกษตรอินทรีย์’ชะงัก

รัฐหนุนเคมี15ปี’วาระเกษตรอินทรีย์’ชะงัก

รัฐหนุนเคมี15ปี’วาระเกษตรอินทรีย์’ชะงัก

ถก 15 ปีแผนแม่บท’เกษตรอินทรีย์วาระชาติ’ไม่เคลื่อน เหตุรบ.หนุนบ.ขายปุ๋ยเคมี ชี้ประโยชน์จำนำข้าวไม่ตกชาวนา-ทำลายวิถีเกษตรอินทรีย์

              15ธ.ค. 2555 สำนักข่าวอิศรารายงานว่า เมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 55 ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ศูนย์อินเดียศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดเสวนา ‘ขบวนการเกษตรอินทรีย์แห่งเอเชีย มุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนจริงหรือ?’ โดยนายเดชา ศิริภัทร ประธานมูลนิธิขวัญข้าว กล่าวถึงการขบวนการเกษตรอินทรีย์กับการพัฒนาที่ยั่งยืนว่า วิธีเกษตรอินทรีย์ เป็น 1 ใน 5 รูปแบบของแผน ‘เกษตรกรรรมยั่งยืน’ ซึ่งบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 แต่ที่ผ่านมานับตั้งแต่ปี 2540 กลับไม่มีรัฐบาลใดสนใจขับเคลื่อนอย่างจริงจัง ตัวอย่างเช่น ในปี 2547 รัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เคยระบุว่าจะขับเคลื่อนแนวทางเกษตรอินทรีย์ โดยภายใน 4 ปีจะทำให้มีพื้นที่เกษตรอินทรีย์ 2 ล้านไร่ และจะลดการนำเข้าปุ๋ยและยาเคมีให้ได้ร้อยละ 50 แต่ ในปี 2551 พื้นที่เกษตรอินทรีย์กลับมีไม่ถึง 1 แสนไร่ และมีนำเข้าปุ๋ยเคมีเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 100

โดยเห็นว่าสิ่งที่ขวางกันขบวนการเกษตรอินทรีย์ คือ อิทธิพลของภาคเอกชนที่เชื่อมโยงกับฝ่ายการเมือง ทำให้การโฆษณาปุ๋ยเคมีเพื่อจูงใจเกษตรกรอย่างที่หลายประเทศเพื่อนบ้านสั่งห้าม ยังคงมีมากขึ้น โดยที่รัฐไม่สามารถระงับการนำเข้าได้ อีกทั้งการพัฒนาพันธุ์ต่างๆของภาครัฐยังเป็นการพัฒนาเพื่อรองรับการเพาะปลูกแบบใช้สารเคมีด้วย ฉะนั้นเกษตรกรส่วนใหญ่จึงไม่มีทางเลือกและเคยชินกับการใช้เคมี ขณะที่บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านการเกษตรก็ไม่มีแนวทางสนับสนุนเกษตรอินทรีย์เพราะจะทำให้เกษตรกรไม่ต้องพึ่งพาปุ๋ย ยา เครื่องกลและวัตถุดิบจากบริษัทตน ทั้งที่ความจริงแล้วหากเกษตรกรรู้จักพัฒนาเทคนิคการเพาะปลูกที่เหมาะสม เช่น การพัฒนาสายพันธุ์พืชที่ไม่ต้องพึ่งเคมีได้ ผลผลิตที่ได้จะไม่น้อยไปกว่าการทำเกษตรเคมีทั้งยังมีต้นทุนต่ำกว่ามาก

“เกษตรอินทรีย์นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนได้จริง แต่ต้องถามว่ารัฐบาลจะเอาไหม” นายเดชากล่าว

อย่างไรก็ดีนายเดชาได้กล่าวถึงโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลปัจจุบันว่า ถือเป็นโครงการหนึ่งในหลายๆโครงการประชานิยมที่ทำลายวิถีเกษตรอินทรีย์ เนื่องจากแต่ก่อนข้าวอินทรีย์มีราคาแพงกว่าข้าวเคมีโดยสามารถขายได้ที่ตันละ 17,000 บาท มากกว่าข้าวหอมมะลิเคมีถึง 2,000 บาท แต่เมื่อรัฐบาลรับซื้อข้าวเปลือกหอมมะลิเคมีที่เข้าโครงการฯตันละ 20,000 บาท ซึ่งเป็นราคาที่สูงกว่าการขายข้าวอินทรีย์มาก เกษตรกรจึงไม่เห็นประโยชน์ของการทำเกษตรอินทรีย์

นอกจากนี้การที่รัฐบาลต้องยอมขาดทุนจากโครงการฯถึง 1.4 แสนล้านบาท โดยอ้างว่าเพื่อผลประโยชน์ของชาวนา ต้องถามว่าผลประโยชน์ตกไปอยู่ที่ชาวนาส่วนใหญ่ที่ยากจนจริงหรือไม่ เนื่องจากชาวนาส่วนใหญ่ของประเทศเป็นเกษตรกรรายย่อยที่ปลูกข้าวไว้รับประทานในครอบครัวและแทบไม่มีข้าวเหลือขาย โดยเห็นว่าจะเป็นการดีกว่าหากรัฐบาลนำเงินที่ยอมขาดทุนไปสมทบกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เพื่อแก้ปัญหาเรื่องหนี้สินให้เกษตรกรที่ยากจนได้อย่างแท้จริง

ด้านนางวัลลภา แวนวิลเลี่ยนสวาร์ด บริษัทสวนเงินมีมา ผู้ประกอบการสังคม กล่าวว่า คนไทยยุคปัจจุบันป่วยเป็นโรคร้ายแรง เช่น มะเร็ง เบาหวาน เพราะพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ผลิตด้วยวิธีเคมีมากขึ้น ขณะที่เกษตรกรที่ใช้สารเคมีในการเพาะปลูกกว่าร้อยละ 70 มีสารพิษตกค้างในร่างกาย ทำให้ปัจจุบันเราตกอยู่ในความเสี่ยงด้านความมั่นคงทางอาหาร ซึ่งไม่เพียงแต่จะมีอาหารปลอดภัยรับประทานน้อยลงและราคาแพงขึ้น แต่พื้นที่ทางอาหารยังถูกแย่งไปจากการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพอีกด้วย

ขณะที่นายวิฑูรย์ เพิ่มพงศาเจริญ ผู้อำนวยการเครือข่ายนิเวศวิทยาและพลังงานลุ่มน้ำโขงกล่าวถึงใช้ทรัพยากรในประเทศว่า ที่ผ่านมาการนำทรัพยากรไปแปลงเป็นพลังงานเพื่อประโยชน์ในเชิงอุตสาหกรรมเป็นหลัก ถือเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อระบบนิเวศและวิถีชีวิตชุมชน ตัวอย่างเช่น การสร้างเขื่อนปาก มูลในแม่น้ำสาขาของแม่น้ำโขงเมื่อ 25 ปีที่ผ่านมา ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อผลิตไฟฟ้าให้ได้ปีละ 280 ล้านหน่วย(GWh) แต่ความเป็นจริงสามารถผลิตไฟฟ้าโดยเฉลี่ยได้เพียงปีละ 160 ล้านหน่วยเท่านั้น ขณะที่บางปีผลิตได้ต่ำเพียง 18 ล้านหน่วย แต่ต้องแลกกับสูญเสียปริมาณปลาในแม่น้ำมูลไปถึงร้อยละ 80 , 166 สายพันธุ์ ขณะที่ชาวบ้าน 6,200 ครอบครัวต้องสูญเสียวิถีชีวิตการทำกิน

โดยการใช้ไฟฟ้าส่วนใหญ่ในประเทศไทยใช้เพื่อที่อยู่อาศัยเพียงร้อยละ 21  ภาคพาณิชย์ร้อยละ 25 ภาคอื่นๆร้อยละ 5 ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมใช้มากถึงร้อยละ 49  โดยเปรียบเทียบให้เห็นได้ว่าห้างสรรพสินค้าสยามพารากอนใช้ไฟฟ้าปีละ 120 ล้านหน่วย/ปี  ห้างฯมาบุญครอง 87 ล้านหน่วย/ปี  ห้างฯเซ็นทรัลเวิร์ล 75 ล้านหน่วย/ปี  รวม 3 ห้างฯใช้ไฟฟ้า 282 ล้านหน่วย/ปี   ซึ่งเป็นปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่มากกว่าเขื่อน 3 เขื่อนในภาคอีสานได้แก่ เขื่อนปากมูล เขื่อนอุบลรัตน์ และเขื่อนสิริธร ผลิตได้รวมกันได้เฉลี่ยปีละ 266 ล้านหน่วย ขณะที่ไทยมีโครงการลงทุนสร้างเขื่อนและโรงผลิตไฟฟ้าในประเทศลาวอีกหลายโครงการรวมมูลค่า 7,750 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยที่คนลาวอีกร้อยละ 39 ยังเข้าไม่มีไฟฟ้าใช้แต่ต้องสูญเสียทรัพยากรไปโดยเปล่าประโยชน์ จึงเกิดคำถามว่าเรากำลังหาพลังงานให้ใครใช้? โดยเห็นว่าหนทางที่ดีคือการหันมาใช้พลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์แทน

เน้น… “วิถีเกษตรอินทรีย์” ลดต้นทุนค่าปุ๋ย เพิ่มผลผลิต – ดินดีสมเป็นนาสวน

http://www.dailynews.co.th/agriculture/157238

วันพุธที่ 26 กันยายน 2555 เวลา 00:00 น.

กรมพัฒนาที่ดิน มีนโยบายหลักในการดำเนินงานส่งเสริมการใช้ สารอินทรีย์ลดใช้สารเคมีทางการเกษตร/เกษตรอินทรีย์ โดยมีเป้าหมายหลักในการ ปรับเปลี่ยนระบบการผลิตภาคการเกษตรเคมีเป็นระบบเกษตรที่ลดการพึ่งพาปุ๋ยเคมีและสารเคมีทางการเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง จึงได้ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชตระกูลถั่วเป็นพืชปุ๋ยสด เช่น ถั่วพุ่ม ถั่วพร้า ปอเทืองโสนอัฟริกัน ซึ่งเป็นพืชที่มีคุณสมบัติในการตรึงไนโตรเจนจากอากาศมากักเก็บไว้ในดิน ผลิตเป็นปุ๋ยไนโตรเจนได้เป็นอย่างดี และการใช้ปุ๋ยพืชสดจะช่วยให้เกษตรกรลดการพึ่งพาปุ๋ยเคมีลงได้ เป็นการประหยัดต้นทุนในการผลิต ทั้งยังได้ปรับปรุงบำรุงดิน ปรับปรุงโครงสร้างของดินคืนความอุดมสมบูรณ์ให้กับพื้นที่ทำการเกษตร   ให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเมื่อดินดีผลผลิตทางการเกษตรก็จะดีตามไปด้วย

นายธวัชชัย สำโรงวัฒนา อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน เปิดเผยว่า ในอนาคตการทำการเกษตรผลผลิตสำหรับผู้บริโภคจะเน้นมาตรฐานสุขอนามัย เป็นหลัก หรือ อาหารปลอดภัย (Food Safety) และการค้าจะเน้นด้านคุณภาพของผลผลิตมากขึ้น จึงมีความจำเป็นจะต้องเปลี่ยนระบบการผลิตใหม่ หันมาใช้วัสดุอินทรีย์ทดแทน อย่างน้อยให้ปลอดภัยต่อผู้บริโภคและพัฒนาไปสู่ อาหารไร้สารพิษและเกษตรอินทรีย์

สำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยการบำรุงดิน และเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินจะแนะนำให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสด นํ้าหมักชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง และปุ๋ยชีวภาพ เพื่อฟื้นฟูดินให้มีความเหมาะสมต่อการปลูกพืชมากขึ้น รวมทั้งการวิเคราะห์ดินเพื่อให้ทราบถึงความอุดมสมบูรณ์ของดินและใช้ปุ๋ยได้เหมาะสมต่อความต้องการของพืชปลูก เพื่อช่วยเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนของเกษตรกร

นอกจากนี้ กรมพัฒนาที่ดินยังส่งเสริมให้เกษตรกรลดต้นทุนค่าปุ๋ย ด้วยการให้สถานีพัฒนาที่ดินทั่วประเทศส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพใช้ในการเพาะปลูกพืช นอกจากนั้น  ยังได้แจกจ่ายเมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสด เพื่อให้เกษตรกรนำไปปลูกเพื่อปรับปรุงบำรุงดินและแจกโดโลไมท์ เพื่อนำไปปรับสภาพดิน ลดกรดในพื้นที่ดินที่มีการใช้สารเคมีมาก พร้อมสร้างจุดเรียนรู้ด้านการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ โดยเน้นการนำวัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาทำปุ๋ยหมักและปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง เช่น ปุ๋ยสูตรไนโตรเจน เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของต้นและใบ ปุ๋ยสูตรฟอสฟอรัสเร่งการติดดอกและผล รวมทั้งสอนการตรวจวิเคราะห์ดิน เพื่อให้เกษตรกรสามารถวิเคราะห์ได้ว่า ดินในพื้นที่ของตนเองเป็นดินประเภทไหน มีปัญหาอย่างไร ขาดธาตุอาหารอะไรบ้าง ก็จะได้แก้ไขตามสภาพปัญหาของดินได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ

เกษตรกรที่สนใจทำเกษตรอินทรีย์เพื่อลดต้นทุนในการผลิต สามารถเข้าไปเรียนรู้ได้ตามศูนย์เรียนรู้ฯ ที่มีอยู่ทั่วประเทศ โดยจะมีหมอดินอาสาที่มีความรู้และประสบการณ์เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ในด้านต่าง ๆ เช่น วิธีการผลิตสารอินทรีย์จากวัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่น การจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ เน้นการใช้หญ้าแฝกปรับปรุงบำรุงดินโดยใช้ปุ๋ยพืชสดเพิ่มธาตุอาหารในดินแทนปุ๋ยเคมี ตลอดจนผลิตและใช้สารอินทรีย์ในการขับไล่แมลง แทนยาปราบศัตรูพืช

….นอกจากจะมีการถ่ายทอดความรู้แล้ว กรมพัฒนาที่ดินยังสนับสนุนด้านปัจจัยการผลิตทางการเกษตร ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ พด. จำนวน 8 ชนิด ให้เกษตรกรได้นำไปใช้ประโยชน์ได้ฟรี…

ดังนั้น เกษตรกรที่สนใจปรับเปลี่ยนระบบการผลิตที่ยั่งยืน สามารถเข้าไปศึกษาเรียนรู้ได้ที่ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาที่ดิน     ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงใกล้บ้าน หรือสอบถามได้ที่หมอดินอาสาประจำพื้นที่ของท่าน หรือติดต่อที่สถานีพัฒนาที่ดินทุกจังหวัด และกรมพัฒนาที่ดิน ทุกปัญหาดินเรามีคำตอบ.

ร่างเกษตรอินทรีย์แห่งชาติฉบับ2 สศก.ชู4ยุทธศาสตร์วิเคราะห์ต้นน้ำถึงปลายน้ำ/พัฒนาองค์ความรู้-งานวิจัย

http://www.naewna.com/local/15455

วันอังคาร ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555, 06.00 น.

นางนารีณัฐ รุณภัย รองเลขาธิการและโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงการดำเนินงานการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2556 – 2559 และแผนปฏิบัติการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ พ.ศ. 2556 – 2559 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่า การดำเนินงานดังกล่าว สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ในฐานะเลขานุการคณะทำงานฯ ได้ยกร่างยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ และจัดประชุมสัมมนาร่างยุทธศาสตร์ฯ ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เมื่อต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา โดยมี นายนิวัติ สุธีมีชัยกุล รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจากหน่วยงานต่างๆ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงสาธารณสุข ร่วมระดมความคิดเห็น

สำหรับการประชุมครั้งนี้ มีการแบ่งกลุ่มเพื่อระดมความคิดเห็นให้เกิดความหลากหลายในความคิดจากผู้เข้าร่วมประชุมพิจารณาใน 4 ประเด็นยุทธศาสตร์ คือ 1) ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการองค์ความรู้และนวัตกรรม 2) ด้านการพัฒนาการผลิต  3) ด้านการสร้างความเข้มแข็งการตลาดและมาตรฐาน และ 4) ด้านการบูรณาการเพื่อขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ไทย พร้อมการวิเคราะห์ถึงห่วงโซ่คุณค่า ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ตลอดถึงปลายน้ำ มาใช้ประกอบการพิจารณาในส่วนสำคัญทั้งวิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย รวมไปถึงกลยุทธ์ภายใต้ยุทธศาสตร์ต่างๆ ในแต่ละด้าน อาทิ การสนับสนุนและต่อยอดงานวิจัย พัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมเกษตรอินทรีย์ให้ผู้เกี่ยวข้องทุกระดับเข้าถึงได้ง่าย การสร้างความเข้มแข็งและสนับสนุนเครือข่ายการผลิตเกษตรอินทรีย์ การสนับสนุนการพัฒนาระบบการรับรองมาตรฐานให้เป็นที่ยอมรับ ส่งเสริมให้มีจุดกระจายสินค้าอย่างน้อยจังหวัดละ 1 แห่ง และการจัดตั้งองค์กรกลางเป็นองค์กรหลักในการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร/องค์ความรู้โดยใช้สื่อต่างๆ ทั้งนี้ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร จะรวบรวมความคิดเห็นและสรุปเพื่อเสนอร่างยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติดังกล่าวต่อคณะกรรมการเกษตรอินทรีย์แห่งชาติต่อไป โดยจะมีรวบรวมข้อคิดเห็นทั้งจากภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา และเครือข่ายเกษตรกรเพื่อให้ยุทธศาสตร์มีความครอบคลุมและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

ปฏิวัติการปลูกข้าว แก้ปัญหายากจนด้วยเกษตรอินทรีย์

http://www.thaipost.net/sunday/240612/58646

24 June 2555

“การปฏิวัติการปลูกข้าว ให้ชาวนาหลุดจากวัฏจักรความยากจน ด้วยการต่อยอดผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่เดิม ให้มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น” คือแนวคิดของ ชัชวาล เวียร์รา ชายวัยเกษียณในจังหวัดสิงห์บุรี ชาวนาใจดีที่เริ่มปลูกข้าวเมื่อ 8 ปีก่อน และพร้อมถ่ายทอดให้ผู้สนใจแบบหมดเปลือก
ใต้ถุนบ้านเรือนไทยยกพื้นสูงบนพื้นที่ของศูนย์การเรียนรู้พันธุ์ข้าวชุมชนบ้านดักคะนน ต.ธรรมามูล อ.เมืองฯ จ.ชัยนาท แหล่งเรียนรู้การทำเกษตรแบบผสมผสาน ทั้งการปลูกข้าว เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา ปลูกพืชผักสวนครัว ฯลฯ รวมถึงสหกรณ์ที่เป็นคลังอาหารของชาวบ้าน ซึ่งได้รับการส่งเสริมจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ทำให้เกิดการพึ่งพาตัวเองอย่างยั่งยืน
ลุงชาวนาใจดีใช้พื้นที่นี้ในการถ่ายทอดองค์ความรู้ว่าการปฏิวัติการปลูกข้าวของตน เริ่มต้นเมื่อ 8 ปีก่อนจากชายวัยเกษียณที่ถนัดเรื่องช่างกล เห็นว่าไม่มีโรงสีแห่งใดขาดทุนจนต้องปิดโรงงาน แต่ชาวนาที่ขายข้าวให้โรงสีกลับมีหนี้สิน ที่นาก็ต้องเช่า ติดอยู่ในวงจรแห่งความยากจน
ด้วยเหตุนี้เอง การปฏิวัติของชาวนาท่านนี้จึงเริ่มขึ้น ลุงชัชวาลเล่าว่า เริ่มที่การคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวไรซ์เบอรี่ที่ผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างข้าวหอมนิลกับข้าวขาวดอกมะลิ 105 จากการพัฒนาพันธุ์ข้าวพิเศษ โดยศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีเม็ดเรียวยาว สีม่วงเข้ม เมื่อหุงแล้วเม็ดข้าวมันวาว มีกลิ่นหอมมะลิ นุ่มน่ารับประทาน ตลาดต้องการอย่างมาก
“ปลูกแทบไม่พอขาย ลูกค้าต้องโทร.สั่งจอง หรือไม่ก็มาแย่งกันถึงบ้าน ข้าวเปลือกสายพันธุ์ไรซ์เบอรี่สีม่วง 1 ตัน ปกติจะได้ข้าวสาร 600 กิโลกรัม แต่นำมาบีบอัดจมูกข้าว จะได้รำข้าวเป็นแผ่นบางๆ จำนวน 100 กิโลกรัม ซึ่งเป็นสุดยอดคุณค่าทางอาหาร มีสารต้านอนุมูลอิสระ วิตามินอี สังกะสี โฟเลต และสารอาหารอื่นที่มีประโยชน์สูงมาก นำมาเป็นอาหารเสริม ชงดื่มพร้อมเครื่องดื่มมื้อเช้า เช่น น้ำเต้าหู้ หรือเครื่องดื่มมอล์ลสกัดก็ได้” ลุงชัชวาลกล่าว
ลุงชัชวาลบอกด้วยว่า ไม่เพียงแต่มีคุณค่าทางโภชนาการชั้นยอด ยังสร้างรายได้จากรำข้าวที่บีบอัดนี้สูงถึงกิโลกรัมละ 2,000 บาท หรือคิดเป็นมูลค่า 200,000 บาท ในระหว่างการบีบอัดรำข้าวยังมีน้ำมันรำข้าวไหลออกมาอีกประมาณ 8 ลิตร ท้องตลาดซื้อ-ขายกันแคปซูลละ 5 บาท น้ำมันรำข้าว 1 ลิตร บรรจุได้ 1,900 แคปซูล รวมบรรจุได้ 9,500 แคปซูล จำหน่ายได้ 76,000 บาท
สรุปว่าข้าว 1 ตัน ได้รำข้าวบีบอัด 100 กิโลกรัม จำหน่ายได้ 200,000 บาท และน้ำมันรำข้าว 8 ลิตร จำหน่ายได้ 76,000 บาท รวมเป็น 276,000 บาท จากเดิมขายข้าวเปลือกได้ไม่ถึง 20,000 บาทเท่านั้น สำหรับการลงทุนมีเครื่องจักรที่ใช้ในการบีบอัดมูลค่า 200,000 บาท แต่จำหน่ายข้าวเพียงแค่ 2 ครั้ง ก็สามารถคืนทุนได้แล้ว ทุกวันนี้หากลูกค้าซื้อผลิตภัณฑ์รำข้าวหรือน้ำมันรำข้าว จะแถมข้าวกล้องไรซ์เบอรี่ปลอดสารพิษไปรับประทานที่บ้านด้วย
นี่คือการปฏิวัติการเกษตรจากประสบการณ์ตรงตลอด 8 ปีของลุงชัชวาลที่พิสูจน์จนเป็นที่ประจักษ์ พร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้นี้ให้กับผู้ที่มีใจรักจริงในอาชีพกระดูกสันหลังของชาติ และต้องการหลุดจากวงจรแบบเดิมๆ
“ผมยินดีหากใครต้องการเรียนรู้ และมุ่งมั่นในการปลูกข้าวกล้องชนิดนี้ มาอยู่ที่บ้าน มาเรียนรู้ตั้งแต่การเตรียมดินดำนา จนกระทั่งการบีบอัดรำข้าวออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ เพราะคิดว่าเราต้องต่อยอดความคิดจากต้นทุนที่มีอยู่ เพิ่มมูลค่าให้มีรายได้มากขึ้น เพื่อชีวิตที่ดีขึ้น” ลุงชัชวาลกล่าว
เมื่อมีตัวอย่างกรุยทางเป็นต้นแบบที่ดีและยั่งยืนไว้แล้ว จึงไม่ใช่เรื่องยากที่ชาวนาผู้สนใจจะนำมาปรับใช้เพิ่มมูลค่าผลผลิตข้าวของตนเองเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แล้วคำกล่าวที่ว่า “ทำนาปรังเหลือแต่ซังกับหนี้ ทำนาทั้งปีเหลือแต่หนี้กับซัง” คงจะไม่มีให้ได้ยินอีกต่อไป.

เกษตรอินทรีย์ในที่ลุ่มน้ำ – เกษตรทั่วไทย

http://www.dailynews.co.th/agriculture/120648

วันพฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน 2555 เวลา 00:00 น.

ลุ่ม น้ำ หมายถึง พื้นที่หน่วยหนึ่งซึ่งครอบคลุมลำน้ำธรรมชาติเพื่อทำหน้าที่รวบรวมน้ำให้ไหลลงสู่แม่น้ำ พื้นที่ลุ่มน้ำแต่ละแห่งจะมีขนาดไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิศาสตร์และวัตถุประสงค์ในการจัดแบ่งพื้นที่เพื่อการบริหารจัดการ

การจัดการลุ่มน้ำ หมายถึง การจัดการพื้นที่เพื่อให้ได้น้ำที่มีปริมาณมากพอ คุณภาพการไหลสม่ำเสมอพร้อมทั้งควบคุมเสถียรภาพของดิน ลดความเสียหายจากน้ำท่วมและจัดการใช้ทรัพยากรลุ่มน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ

เพื่อการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ลุ่มน้ำอย่างคุ้มค่าล่าสุดทางศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงใหม่ ได้ทำการศึกษาและสาธิตรูปแบบการปลูกพืชที่เหมาะสมต่อสภาพพื้นที่ และรูปแบบเกษตรกรรมที่ยั่งยืนขึ้นโดยพิจารณาพันธุ์พืชที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ รวบรวมและขยายพันธุ์พืช เพื่อขยายผลสู่เกษตรกรในพื้นที่ลุ่มน้ำต่อไป

การศึกษานี้มีแนวคิดและหลักการเบื้องต้น คือ การปลูกพืชยึดแนวทางการปลูกแบบผสมผสานหลายชนิดในพื้นที่ทำกินและที่อยู่อาศัยเพื่อให้มีปริมาณผลผลิตที่พอกินพอใช้ในครัวเรือน และปลูกพืชเศรษฐกิจผสมผสานสร้างรายได้ได้ข้อสรุปว่าการปลูกนั้นจะปลูกพืชยืนต้นเป็นแถวตามแนวทิศตะวันออก–ตะวันตก เพื่อเป็นการเปิดแสงให้แก่พืชที่ปลูกระหว่างแถว เลือกชนิดพันธุ์พืชที่เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศ และความสะดวกของการคมนาคมในการขนส่งผลผลิตออกสู่ภายนอก ประเภทชนิดพันธุ์พืชในการพิจารณาปลูกในพืชเพื่อการใช้สอย ควรเป็นพืชยืนต้นดั้งเดิมที่เกษตรกรคุ้นเคยเป็นที่รู้จักดี เช่น แค สะเดา ขี้เหล็ก ขนุน ประโยชน์จากพืชเหล่านี้นอกจากผลผลิตแล้วก็สามารถนำเนื้อไม้มาทำเครื่องเรือน กิ่งก้านแห้งใช้เป็นเชื้อเพลิง  โดยการปลูกผสมผสานกับไม้ยืนต้นและตามแนวรั้วส่วนพืชกินได้ ควรปลูกทั้งพืชไม้ผล พืชผัก และพืชตระกูลถั่วสลับหมุนเวียน เพื่อเป็นการปรับปรุงบำรุงดินและหลีกเลี่ยงการสะสมของโรคในดิน

ด้านพืชรายได้ ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่ตลาดต้องการ ควรคำนึงความเหมาะสมกับสภาพความอุดมสมบูรณ์ของดิน ความชุ่มชื้น แหล่งน้ำ ระยะทางในการขนส่งผลผลิต ความสะดวกในการคมนาคม ปัจจัยพื้นฐานในการลงทุน ทักษะ เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการเพาะปลูกมาเป็นเกณฑ์ในการกำหนด

สำหรับพื้นที่ที่ห่างไกลการคมนาคม ควรพิจารณาปลูกพืชที่มีผลผลิตที่สามารถเก็บรักษาไว้ได้นานเพื่อรอเวลาในการขนส่ง เช่น ปอสา  หางไหล และพืชที่มีเมล็ดเป็นผลผลิตพื้นที่ที่การคมนาคมสะดวก เกษตรกรมีทางเลือกมากที่จะเลือกชนิดพรรณพืชในการปลูก แต่ในการพิจารณานั้นควรจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหรือลักษณะที่เหมาะสมประการอื่น ๆ ประกอบด้วย เช่น แหล่งน้ำ ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ขนาดทุนของเกษตรกรหากทุนน้อย พืชที่ควรเลือกปลูก คือ พืชผักสวนครัว เพราะลงทุนน้อยขยายพันธุ์ง่าย ใช้แรงงานในครอบครัว และสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ทุกวัน หากทุนมาก เลือกชนิดพันธุ์พืชที่ต้องลงทุนมากแต่ให้ผลตอบแทนสูงได้ เช่น ไม้ดอกไม้ประดับ ซึ่งเป็นพืชที่ต้องดูแลเอาใจใส่ค่อนข้างมาก ต้องใช้แรงงานมากและอาจต้องมีการจัดจ้างแรงงานช่วยงานนอกเหนือจากแรงงานในครัวเรือนด้วย นอกจากนี้ส่วนใหญ่ในการเพาะปลูกพืชเช่นนี้จะต้องใช้ความรู้ความชำนาญมาก ตัวอย่างพืชที่มีการเพาะปลูก เช่น กล้วยไม้ ปริก ปาล์ม เฟิร์น เป็นต้นหรือพิจารณาเลือกปลูกพืชที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมบางประการ เช่นพื้นที่ที่อยู่ใกล้โรงงานแปรรูป ชนิดพันธุ์พืชที่ปลูกควรเป็นพืชที่เป็นที่ต้องการของโรงงานแปรรูปนั้น ๆ เช่น ขนุน มะม่วง มะกอกน้ำ มะดัน ว่านหางจระเข้ หากลักษณะพื้นที่แห้งแล้งดินเลว สภาพพื้นที่เสื่อมโทรมและพื้นที่รับน้ำฝน พืชที่ปลูกควรเป็นพืชทนแล้งต้องการน้ำน้อย เช่น มะม่วง ส้มโอ ขนุน มันชนิดต่าง ๆและควรพิจารณาเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ด้วย.

รายงานพิเศษ : สวนผลไม้เกษตรอินทรีย์“หมอดินระยอง”คุณภาพดีมีGAPรับรอง

http://www.naewna.com/local/11239

วันศุกร์ ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555, 06.00 น.

ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการส่งออกผักและผลไม้ รวมไปถึงผลผลิตทางการเกษตรต่างๆในปริมาณมาก ดินและน้ำจึงเป็นทรัพยากรพื้นฐานในการผลิต  หากดินไม่อุดมสมบูรณ์ มีปัญหาทางเคมีและกายภาพแล้ว ก็จะส่งผลให้การเพาะปลูกพืชให้ผลผลิตตกต่ำ นอกจากนี้ยังสร้างปัญหาให้กับสิ่งแวดล้อมก่อให้ก๊าซมีเทน ก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซต่างๆ เกิดการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน สร้างความเดือดร้อนให้กับประชากรของโลกได้

นายอนุสรณ์  จันทนโรจน์ รองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดินด้านบริหารเปิดเผยว่างานของกรมพัฒนาที่ดินที่ดูแลหลักใหญ่ๆก็คือเรื่องทรัพยากรดินและน้ำเพื่อการเกษตร ทั้งนี้โดยพื้นฐานของประเทศไทยนั้นเป็นประเทศเกษตรกรรม ที่องค์การอาหารและยาของโลกเคยให้ความสำคัญประเทศไทยว่าเป็นหนึ่งในสามประเทศของโลกที่สามารถผลิตอาหารเลี้ยงประชากรได้ทั้งโลก และต่อไปเรื่องของอาหารจะเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดของประชาการโลก ซึ่งทรัพยากรดินและน้ำ เป็นฐานการผลิตอาหารที่สำคัญ ฉะนั้นเกษตรกรต้องดูแลในเรื่องดินและน้ำให้ดี อย่านำสารเคมีใส่ลงดินและเมื่อใช้ดินแล้วควรฟื้นฟูปรับปรุงบำรุงดินให้ดินมีโครงสร้างที่แข็งแรงเพื่อให้ดินมีอายุยืนยาว  ก็จะสามารถผลิตอาหารได้ทั้งปีและได้ใช้ทรัพยากรดินอย่างยั่งยืน ส่วนในการผลิตนั้นก็อย่าคิดถึงแต่เรื่องของปริมาณของการเกษตรให้มากนัก  แต่ให้คำถึงคุณภาพของผลผลิตทางการเกษตรให้มากขึ้น เพื่อเตรียมตัวต้อนรับการเปิดการค้าเสรีกับต่างประเทศและแข่งขันกับประเทศในกลุ่มอาเซียนด้วยกันได้ เกษตรกรเองก็จะได้ลดต้นทุนการผลิต สามารถมีแหล่งผลิตอาหารให้กับลูกหลานอย่างมั่นคงและยั่งยืนตลอดไป

ตัวอย่างการดูแลทรัพยากรดิน เพื่อการใช้อย่างยั่งยืนนี้ดูได้จากสวนผลไม้ของผู้ใหญ่สมควร  ศิริภักดี หมอดินตำบลบ้านแลง อ.เมือง จ.ระยอง   ซึ่งเป็นสวนผลไม้ที่มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 100 ไร่ แต่จัดเป็นสวนท่องเที่ยวเชิงเกษตรบนเนื้อที่ร่วม 8 ไร่และถือได้ว่าเป็นสวนที่เก่าแก่ที่สุดสวนหนึ่ง ที่ได้รับเป็นมรดกตกทอดมาจากบรรพบุรุษ ทั้งนี้จะมีต้นมังคุดขนาดใหญ่อายุ 100  กว่าปีการันตีความเก่าแก่  ภายในสวนประกอบด้วยผลไม้นานาชนิด ซึ่งล้วนเป็นผลไม้ที่ขึ้นชื่อของจังหวัดระยองทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น เงาะ มังคุด ทุเรียน กระท้อน ลิ้นจี่ ลองกอง ลางสาด ขนุน สละ ฯลฯ ความสด และปลอดภัยจากสารพิษ โดยการรับรอง GAP เป็นเครื่องยืนยัน

“ก่อนหน้านี้ราคาผลไม้ตกต่ำมาก ทำให้เราเกิดแรงบันดาลใจในการแก้ปัญหาด้วยการเปิดให้บริการท่องเที่ยวเชิงเกษตร โดยมีเจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอ เกษตรจังหวัด และกรมพัฒนาที่ดินเข้ามาแนะนำในเรื่องของปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพและการใช้สารพด.ต่างๆรวมทั้งการผลิตพืชให้ปลอดสาร สวนของเราจึงได้ GAP จากกรมวิชาการเกษตร ซึ่งเรามีความภาคภูมิใจมากที่ได้เป็นสวน GAP ทำให้ผู้บริโภคมั่นใจในคุณภาพของผลไม้เราว่าปลอดภัยแน่นอน”ผู้ใหญ่สมควรเล่า

ผู้ใหญ่สมควรบอกว่า ก่อนหน้านี้ชาวสวนก็ยังใช้ปุ๋ยเคมีกันมาก แต่หลังจากหันมาเปิดเป็นสวนท่องเที่ยวเชิงเกษตรแล้ว  มีเจ้าหน้าที่จากกรมพัฒนาที่ดินและกรมวิชาการเกษตรมาแนะนำและเป็นพี่เลี้ยงในการทำการเกษตรแบบปลอดสาร เปลี่ยนจากปุ๋ยเคมีมาใช้น้ำหมักชีวภาพและสารเร่งพด.สูตรต่างๆของกรมพัฒนาที่ดินแล้วนั้น ปรากฏว่าผลผลิตในสวนเป็นที่ถูกใจของผู้บริโภคเป็นอย่างมาก เพราะทำให้ผลไม้ในสวนมีรสชาติ หวาน  กรอบ อร่อย เปลือกบาง เมื่อส่งเข้าประกวด ปรากฏว่าได้รางวัลชนะเลิศอันดับ 1  ของจังหวัดระยอง  ทำให้เพื่อนบ้านชาวสวนใกล้เคียงสนใจเข้ามาดูงานและเรียนรู้เพื่อนำไปทำตามแบบอย่างบ้าง โดยผู้ใหญ่สมควรในฐานะที่เป็นหมอดินจะให้ความรู้ในเรื่องการทำน้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยหมัก แล้วรวมกลุ่มกันช่วยกันผลิตร่วมกันในหมู่บ้าน จากนั้นเมื่อทำเสร็จแล้วก็จะขายสมาชิกในกลุ่มในราคาที่ต่ำกว่าทุน เพื่อให้สมาชิกได้นำไปใช้ในสวนในการผลิตผลไม้ให้ได้คุณภาพและปลอดภัยอย่างผู้ใหญ่สมควร

สภาพโดยรอบด้านหน้าสวนติดกับคลองชลประทาน ซึ่งจะมีลมพัดเย็นตลอดเวลา ทำให้เหมาะกับการท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจเป็นอย่างยิ่ง ภายในสวนบรรยากาศร่มรื่น มีการจัดเส้นทางเดินชมสวน และมีซุ้มสำหรับให้นักท่องเที่ยวได้นั่งพักผ่อน รับประทานผลไม้ในสวนนานาชนิด สินค้าเด่นภายในสวนผู้ใหญ่สมควรบ้านแลง ประกอบไปด้วย ไม้ผลนานาชนิด และ ผลิตภัณฑ์แปรรูป นานาชนิดให้ได้เลือกซื้อ อาทิเช่น มังคุดคัดคุณภาพจากสวน,ข้าวเกรียบผักผลไม้และสมุนไพร  ซึ่งนอกจากจะได้ความอร่อยแล้วก็ยังดีต่อสุขภาพของผู้ที่ได้รับประทานด้วย ,ทุเรียนหมอนทองทอดกรอบ ของกลุ่มแม่บ้าน เกษตรกรบ้านแลงพัฒนา เป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมมากเพราะใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ และสดใหม่ ไม่นำของเก่ามาขาย  การันตีคุณภาพด้วยสวนที่ได้รับ GAP และรับประกันความอร่อยของผลไม้ด้วย”รางวัลสตรีผู้ผลิตพืชและอาหารยอดเยี่ยมปี 2554 แห่งสหประชาชาติ”นั่นเอง

สนใจ ช๊อป ชิมผลไม้สวนผู้ใหญ่สมควร บ้านแลง โทร.ไปได้ที่ 081-761-9497,081-991-3233

“หมอดิน”เร่งรณรงค์ลดเคมี ย้ำแนวทางเกษตรอินทรีย์ ลดทุนค่าปุ๋ย-ปลูกได้ทั้งปี

http://www.naewna.com/local/9142

วันอังคาร ที่ 05 มิถุนายน พ.ศ. 2555, 06.00 น.

นายธวัชชัย สำโรงวัฒนา อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน กล่าวว่า ปัจจุบันต้นทุนการผลิตของเกษตรกรโดยเฉพาะค่าปุ๋ยเคมี มีราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น เพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิตโดยเฉพาะค่าปุ๋ยเคมีและสารเคมี จึงได้มีการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชตระกูลถั่วเป็นพืชปุ๋ยสด เช่น ถั่วพุ่ม ถั่วพร้า ปอเทือง โสนแอฟริกัน ซึ่งเป็นพืชที่มีคุณสมบัติในการตรึงไนโตรเจนจากอากาศมากักเก็บไว้ในดิน ผลิตเป็นปุ๋ยไนโตรเจนได้เป็นอย่างดี และการใช้ปุ๋ยพืชสดจะช่วยให้เกษตรกรลดการพึ่งพาปุ๋ยเคมีลงได้ เป็นการประหยัดต้นทุนในการผลิต ทั้งยังได้ปรับปรุงบำรุงดิน ปรังปรุงโครงสร้างของดินคืนความอุดมสมบูรณ์ให้กับพื้นที่ทำการเกษตรให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเมื่อดินดีผลผลิตทางการเกษตรก็จะดีตามไปด้วยด้าน นางสาวรัตนา วิภาศรีนิมิต  ผู้อำนวยการสถานีพัฒนาที่ดินพิจิตร กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนของสถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดพิจิตรนั้นได้ส่งเสริมให้เกษตรกรลดต้นทุนค่าปุ๋ย ด้วยการส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักและปุ๋ยอินทรีย์น้ำใช้ในการเพาะปลูกพืช นอกจากนั้นยังได้แจกจ่ายเมล็ดพันธุ์ปอเทืองเพื่อให้เกษตรกรนำไปปลูกเพื่อปรับปรุงบำรุงดิน และแจกโดโลไมท์เพื่อนำไปปรับสภาพดิน ลดกรดในพื้นที่ดินที่มีการใช้สารเคมีมาก พร้อมสร้างจุดเรียนรู้ด้านการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ โดยเน้นการนำวัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาทำปุ๋ยเม็ดและปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง เช่น ปุ๋ยสูตรไนโตรเจน เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของต้นและใบ ปุ๋ยสูตรฟอสฟอรัส เร่งการติดดอกและผล รวมทั้งสอนการตรวจวิเคราะห์ดิน เพื่อให้เกษตรกรสามารถวิเคราะห์ได้ว่าดินในพื้นที่ของตนเองเป็นดินประเภทไหน มีปัญหาอย่างไร ขาดธาตุอาหารอะไรบ้าง ก็จะได้แก้ไขตามสภาพปัญหาของดินได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ

อย่างไรก็ตามในพื้นที่เกษตรกรรมของจังหวัดพิจิตร มักจะประสบกับปัญหาน้ำท่วม และภัยแล้ง อยู่เป็นระยะๆ ในฤดูฝนจึงแนะนำให้เกษตรกรปลูกพืชระยะสั้น เช่น พืชผักต่างๆ ที่สามารถโตและเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เร็ว ส่วนในหน้าแล้ง หลังจากทำนาปรังเสร็จ แนะนำให้ปลูกปอเทือง ปริมาณ 5 กิโลกรัมต่อไร่ เป็นระยะเวลาประมาณ 45 วัน เมื่อออกดอกให้ทำการไถกลบลงดินร่วมกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ พด.2 ก็จะช่วยเพิ่มปุ๋ยและเพิ่มไนโตรเจนให้กับดิน เป็นการปรับปรุงดินเตรียมพื้นที่ไว้สำหรับทำการเกษตรในครั้งต่อไป ซึ่งไม่ว่าฤดูกาลไหนถ้าเกษตรกรรู้จักปรับตัวโดยหันมาทำการเกษตรให้เหมาะกับสถานการณ์และสภาพภูมิอากาศ รู้จักธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงไป จะทำให้เกษตรกรสามารถทำกินได้ตลอดทั้งปี

สำหรับเกษตรกรที่ต้องการขอรับคำแนะนำด้านการปรับปรุงบำรุงดิน วิธีการปลูกพืชให้เหมาะกับสภาพดิน หรือต้องการขอรับเมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสด สามารถติดต่อได้ที่ สถานีพัฒนาที่ดินทุกจังหวัด