ศึกษาระบบการผลิตข้าวร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยการมีส่วนร่วมในเขตชลประทานพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างจังหวัดพิษณุโลก พิจิตร และกำแพงเพชร

doa Home

ฐานข้อมูลผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร

Home |  Show All |  Simple Search |  Advanced Search

1–1 of 1 record found matching your query (RSS): Login

Select All    Deselect All << 1 >> print
Record Links
Author จตุรภัทร รัตนวิสาลนนท์ pdf
Title ศึกษาระบบการผลิตข้าวร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยการมีส่วนร่วมในเขตชลประทานพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างจังหวัดพิษณุโลก พิจิตร และกำแพงเพชร Type Journal Article
Year (up) 2549 Publication การทดลองสิ้นสุด Abbreviated Journal
Volume Issue Pages
Corporate Author สุรัตน์ ทองคำดี; กฤชพร ศรีสังข์; กุลธิดา ดอนอยู่ไพร Thesis
Address สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 2 กรมวิชาการเกษตร
Keywords ลดต้นทุนการผลิต
Abstract การศึกษาระบบการผลิตข้าวร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยการมีส่วนร่วมในเขตชลประทานพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างจังหวัดพิษณุโลก พิจิตร และกำแพงเพชร มีเกษตรกรร่วมโครงการ 30 ราย พื้นที่รวม 128.13 ไร่ ทำการทดสอบการลดการใช้ปุ๋ยเคมี 40 เปอร์เซ็นต์จากที่เกษตรกรใช้และใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมในการผลิตข้าวนาปรังปี 2548/49 จากการทดสอบพบว่า กรรมวิธีทดสอบสามารถลดต้นทุนการผลิตได้ถึง 535 บาทต่อไร่ หรือ 21.3 เปอร์เซ็นต์ โดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทดแทนปุ๋ยเคมี ทำให้เกษตรกรลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมี 66.4 เปอร์เซ็นต์ ทำให้รายได้สุทธิเฉลี่ยสูงกว่ากรรมวิธีเกษตรกรปฏิบัติ 525 บาทต่อไร่หรือ 26.0 เปอร์เซ็นต์ ในการศึกษาครั้งนี้มีเงื่อนไขหรือข้อจำกัดบางประการที่มีองค์ประกอบที่สำคัญที่ก่อให้เกิดผลดีและมีความสำเร็จได้ ซึ่งเป็นข้อที่ควรพิจารณาในการดำเนินการ คือ เกษตรกรต้องมีความมั่นใจและเชื่อในเทคโนโลยีที่ทดสอบ จึงจะประสบความสำเร็จได้
Publisher สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 2 Place of Publication กรมวิชาการเกษตร Editor
Language ไทย Summary Language ไทย Original Title
Series Editor Series Title Abbreviated Series Title
Series Volume Series Issue Edition
ISSN ISBN Medium
Area Expedition Conference
Notes Approved yes
Call Number doa @ user @ Serial 73
Permanent link to this record

การทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีระบบการปลูกข้าวแบบมีส่วนร่วมในเขตชลประทานขนาดเล็ก พื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี ชัยนาท และนครสวรรค์

doa Home

ฐานข้อมูลผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร

Home |  Show All |  Simple Search |  Advanced Search

1–1 of 1 record found matching your query (RSS): Login

Select All    Deselect All << 1 >> print
Record Links
Author ทอม เตียะเพชร pdf
Title การทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีระบบการปลูกข้าวแบบมีส่วนร่วมในเขตชลประทานขนาดเล็ก พื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี ชัยนาท และนครสวรรค์ Type Journal Article
Year (up) 2549 Publication การทดลองสิ้นสุด Abbreviated Journal
Volume Issue Pages
Corporate Author สมบัติ ตงเต๊า; ละเอียด ปั้นสุข; สุธาทิพย์ การรักษา; พัชรี เนียมศรีจันทร์ Thesis
Address สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5, สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 2 กรมวิชาการเกษตร
Keywords ลดต้นทุนการผลิต
Abstract การทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีระบบการปลูกข้าวแบบมีส่วนร่วมในเขตชลประทานขนาดเล็ก พื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันตก แบ่งการทดลองออกเป็น 2 การทดลองย่อย ได้แก่ การทดลองย่อยที่ 1 การทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีระบบการปลูกข้าวแบบมีส่วนร่วมในเขตพื้นที่ชลประทานโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี และการทดลองย่อยที่ 2 การทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีระบบการปลูกข้าวแบบมีส่วนร่วมในเขตพื้นที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาหัวยาง จังหวัดชัยนาทและจังหวัดนครสวรรค์ การทดลองย่อยที่ 1 ดำเนินการทดสอบในแปลงของเกษตรกร 40 ราย (4 กลุ่ม) โดยเปรียบเทียบกรรมวิธีเดิมของเกษตรกรกับกรรมวิธีแบบมีส่วนร่วม (องค์ความรู้ทางวิชาการของกรมวิชาการเกษตรผสมผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่น) เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2547 ถึงปี 2549 โดยมีวัตถุปะสงค์เพื่อลดต้นทุนการผลิตข้าวลดลง 30% จากกรรมวิธีผลิตข้าวเดิมของเกษตรกร เทคโนโลยีแบบมีส่วนร่วมที่จะนำไปทดสอบ ได้แก่ การไม่เผาฟาง ไถหมักฟาง ใส่ปุ๋ยหมักแห้งชีวภาพ อัตรา 200 กิโลกรัม/ไร่ ลดปุ๋ยเคมีลงเหลือ 30 กิโลกรัม/ ไร่ และใช้น้ำหมักชีวภาพที่ทำเองฉีดพ่นไล่แมลงหรือเป็นฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโต ซึ่งเป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน เพื่อลดการใช้สารเคมีลง ผลการทดสอบ พบว่า กรรมวิธีแบบมีส่วนร่วมให้ผลผลิตข้าวเฉลี่ย 791 กิโลกรัม/ไร่ โดยมีต้นทุนการผลิต 1,915 บาท/ไร่ รายได้ สุทธิ 3,040 บาท/ไร่ ส่วนกรรมวิธีของเกษตรกรให้ผลผลิตข้าว 782 กิโลกรัม/ไร่ โดยมีต้นทุนการผลิต 2,445 บาท/ไร่ รายได้สุทธิเท่ากับ 2,352 บาท/ไร่ ตามลำดับ จะเห็นว่ากรรมวิธีแบบมีส่วนร่วมมีต้นทุนต่ำกว่า กรรมวิธีของเกษตรกร 530 บาท/ไร่ หรือสามารถลดต้นทุนลงได้ 21.6% ซึ่งยังต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนด (30%) และยังพบว่าปัจจัยการผลิตที่สามารถลดลงได้มากที่สุด คือ ปุ๋ยเคมี 11.7% เมื่อพิจารณาปริมาณผลผลิตคุ้มทุน พบว่า กรรมวิธีแบบมีส่วนร่วมอยู่ที่ 304 กิโลกรัม/ไร่ และกรรมวิธีเกษตรกรอยู่ที่ 401 กิโลกรัม/ไร่ ซึ่งทั้ง 2 กรรมวิธีมีปริมาณผลผลิตเกินจุดคุ้มทุนทั้ง 2 กรรมวิธี อัตราผลตอบแทนต่อการลงทุน (BCR) ของกรรมวิธีแบบมีส่วนร่วมและกรรมวิธีเกษตรกรเท่ากับ 2.5 และ 1.9 ตามลำดับ ซึ่งหมายถึงทั้ง 2 กรรมวิธี ผลิตได้คุ้มต่อการลงทุนและมีผลกำไร การทดลองย่อยที่ 2 ทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตข้าวแบบมีส่วนร่วมในเขตพื้นที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาหัวยาง จังหวัดชัยนาทและจังหวัดนครสวรรค์ ดำเนินการทดสอบระหว่างปี 2548 – 2549 ในพื้นที่เกษตรกร อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท และพื้นที่อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ รวมเกษตรกร 13 ราย พื้นที่ 39 ไร่ ทดสอบตามกรรมวิธีดังนี้ (1) ข้าว กรรมวิธีเกษตรกร (2)ข้าว กรรมวิธีแบบมีส่วนร่วมโดยเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการทดสอบ (ตารางที่ 3) การปรับลดอัตราเมล็ดพันธุ์จากเดิม 25-35 กก./ไร่ เป็น 20 กก./ไร่ ไม่เผาฟาง และใส่ปุ๋ยหมักแห้งชีวภาพในช่วงเตรียมดิน อัตรา 250 กก./ไร่ ใช้ปุ๋ยเคมีจากเดิมที่เคยใช้ระหว่าง 75- 100 กก./ไร่ ให้เหลือเพียงครึ่งหนึ่งจากที่เคยใช้ปกติ ใช้น้ำหมักชีวภาพ และน้ำสกัดสมุนไพรสูตรไล่แมลงมาใช้แทนสารเคมี ผลการทดสอบ พบว่า กรรมวิธีเกษตรกรผลผลิตข้าวเฉลี่ย 765 กก./ไร่ ในกรรมวิธีแบบมีส่วนร่วมเฉลี่ย 741 กก./ไร่ ซึ่งจะต่ำกว่ากรรมวิธีเกษตรกร 3 เปอร์เซ็นต์ ต้นทุนในกรรมวิธีเกษตรกรเฉลี่ย 2,409 บาท/ไร่ กรรมวิธีแบบมีส่วนร่วมเฉลี่ย 2,229 บาท จะต่ำกว่ากรรมวิธีเกษตรกร 8 เปอร์เซ็นต์ รายได้สุทธิกรรมวิธีเกษตรกรเฉลี่ย 3,109 บาท/ไร่ กรรมวิธีแบบมีส่วนร่วม 3,143 บาท/ไร่ ซึ่งจะไม่ค่อยแตกต่างกันมากนัก สำหรับปุ๋ยเคมีในกรรมวิธีเกษตรกรคิดเป็นเงินเฉลี่ย 614 บาท/ไร่ ในกรรมวิธีแบบมีส่วนร่วมเฉลี่ย 326 บาท/ไร่ จะต่ำกว่ากรรมวิธีเกษตรกร 47 เปอร์เซ็นต์ และสารเคมีที่ใช้ในการป้องกันกำจัดโรคแมลงในกรรมวิธีเกษตรกรจะใช้เฉลี่ย 226 บาท/ไร่ ในกรรมวิธีแบบมีส่วนร่วมเฉลี่ย 178 บาท/ไร่ ซึ่งจะต่ำกว่าในกรรมวิธีเกษตรกรเท่ากับ 21 เปอร์เซ็นต์ เมื่อวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนต่อการลงทุน (BCR) ในกรรมวิธีเกษตรกรและกรรมวิธีแบบมีส่วนร่วมจะมีค่าเท่ากับ 2.29 และ 2.41 ตามลำดับซึ่งจะเห็นได้ว่าทั้ง 2 กรรมวิธีสามารถผลิตได้มีกำไรทั้ง 2 กรรมวิธี
Publisher สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5 Place of Publication กรมวิชการเกษตร Editor
Language ไทย Summary Language ไทย Original Title
Series Editor Series Title Abbreviated Series Title
Series Volume Series Issue Edition
ISSN ISBN Medium
Area Expedition Conference
Notes Approved yes
Call Number doa @ user @ Serial 72
Permanent link to this record

ทดสอบและพัฒนาเครื่องปลูกข้าวแห้งแบบสะพาย

doa Home

ฐานข้อมูลผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร

Home |  Show All |  Simple Search |  Advanced Search

1–1 of 1 record found matching your query (RSS): Login

Select All    Deselect All << 1 >> print
Record Links
Author ชัชชัย ชัยสัตตปกรณ์ pdf
Title ทดสอบและพัฒนาเครื่องปลูกข้าวแห้งแบบสะพาย Type Journal Article
Year (up) 2549 Publication การทดลองสิ้นสุด Abbreviated Journal
Volume Issue Pages
Corporate Author สุชาติ สุขนิยม; บาลทิตย์ ทองแดง; จารุวัฒน์ มงคลธนทรรศ Thesis
Address สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร
Keywords ทดสอบและพัฒนาเครื่องปลูกข้าวแห้งแบบสะพาย
Abstract สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม ได้นำต้นแบบเครื่องพ่นหว่านเมล็ดข้าวแบบสะพายหลังที่พัฒนาขึ้นไปให้เกษตรกรในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือทดสอบใช้ในการหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวแห้ง ผลการทดสอบเครื่องพบว่า เกษตรกรให้ความยอมรับในแง่ของการลดเวลา แรงงาน และความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าที่เกิดขึ้นจากการหว่านลง อีกทั้งเมล็ดที่หว่านมีความสม่ำเสมอมากขึ้นซึ่งการใช้เครื่องพ่นหว่านเมล็ดข้าวแบบสะพายหลังนี้ มีข้อได้เปรียบการใช้เครื่องปลูกข้าวชนิดอื่นในกรณีที่ขนาดของแปลงมีขนาดเล็ก การเตรียมดินไม่ดี สภาพพื้นที่ไม่เรียบ แปลงที่มีวัชพืชมากหรือความชื้นในดินสูงขณะที่ทำการปลูกข้าว เป็นต้น เนื่องจากเครื่องสามารถหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวอย่างได้ผล ในขณะที่เครื่องปลูกชนิดอื่นใช้งานได้ไม่ดีนัก นอกจากนี้ จากผลการทดสอบเบื้องต้นของการหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวพร้อมการหว่านปุ๋ยเม็ด พบว่ามีแนวโน้มที่จะใช้งานได้ ยังช่วยลดขั้นตอนและเวลาในการปฏิบัติงานของเกษตรกรลง สำหรับการพัฒนาเครื่อง ได้ดำเนินการออกแบบถังบรรจุเมล็ดแบบไม่มีฝาปิดขึ้น ทำให้เกษตรกรสามารถเติมเมล็ดได้ง่ายขึ้นและเป็นทางเลือกใหม่ของเกษตรกร อีกทั้งได้ดำเนินการออกแบบอุปกรณ์ที่ใช้ในการพับถัง และอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดสร้างแผ่นกั้นลมขึ้น เพื่อช่วยให้เกษตรกรที่นำเครื่องไปผลิตจำหน่ายสามารถผลิตเครื่องอย่างมีประสิทธิภาพและมาตรฐานดียิ่งขึ้น
Publisher สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม Place of Publication กรมวิชาการเกษตร Editor
Language ไทย Summary Language ไทย Original Title
Series Editor Series Title Abbreviated Series Title
Series Volume Series Issue Edition
ISSN ISBN Medium
Area Expedition Conference
Notes Approved yes
Call Number doa @ user @ Serial 71
Permanent link to this record

การออกแบบและพัฒนาขลุบหมุนสำหรับพ่วงต่อรถไถเดินตามเพื่อเตรียมดินในนาหล่ม

doa Home

ฐานข้อมูลผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร

Home |  Show All |  Simple Search |  Advanced Search

1–1 of 1 record found matching your query (RSS): Login

Select All    Deselect All << 1 >> print
Record Links
Author ยุทธนา เครือหาญชาญพงค์ pdf
Title การออกแบบและพัฒนาขลุบหมุนสำหรับพ่วงต่อรถไถเดินตามเพื่อเตรียมดินในนาหล่ม Type Journal Article
Year (up) 2549 Publication การทดลองสิ้นสุด Abbreviated Journal
Volume Issue Pages
Corporate Author พักตร์วิภา สุทธิวารี; ขนิษฐ์ หว่านณรงค์; อัคคพล เสนาณรงค์; สุภาษิต เสงี่ยมพงศ์; อนุชิต ฉ่ำสิง�� Thesis
Address สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร
Keywords พัฒนาเครื่องเตรียมดินในนาหล่ม
Abstract สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรมได้ออกแบบและพัฒนาขลุบหมุนติดพ่วงท้ายรถไถเดินตามสำหรับเตรียมดินขั้นที่ 1 และ ขั้นที่ 2 สำหรับนาข้าวชลประทาน ขลุบหมุนใช้เครื่องยนต์ดีเซล 11 แรงม้าเป็นต้นกำลัง ที่ความเร็วรอบเครื่องยนต์ 2,400 รอบต่อนาที ใช้พูเล่เครื่องยนต์ 3.5 นิ้ว ส่งกำลังผ่านสายพานไปยังพูเล่ขนาด 15 นิ้ว ซึ่งติดกับชุดเกียร์ทด อัตราทด 1.46:1 แล้วส่งผ่านไปยังเฟืองโซ่ที่มีอัตราทด 1.875:1 เพื่อขับเพลาขลุบหมุน ให้หมุนที่ความเร็วรอบประมาณ 200 รอบต่อนาที ขลุบหมุนมีหน้ากว้างการทำงาน 1.20 เมตร มีใบมีด L- C 6 ชุด ชุดละ 6 ใบ รวม 36 ใบ โดยจัดเรียงใบมีดแบบเกลียว ได้ทดสอบหาสมรรถนะในการทำงาน โดยใช้รถไถเดินตาม ติดเครื่องยนต์ดีเซล 11 แรงม้าเป็นต้นกำลัง ทำการทดสอบเตรียมดินขั้นที่ 1 และ 2 ในพื้นที่นาข้าวชลประทาน จ.ปทุมธานี พบว่าความสามารถในการทำงานเฉลี่ยสำหรับเตรียมดินขั้นที่ 1 2.87 ไร่/ชม. ประสิทธิภาพการทำงานเชิงพื้นที่ 91.58 % อัตราการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเฉลี่ย 1.39 ลิตร/ไร่ (รวมเครื่องยนต์รถไถเดินตามและเครื่องยนต์ขลุบหมุน) แล้วขังน้ำในแปลง 1 วัน ทำการทดสอบเตรียมดินขั้นที่ 2 พบว่า ความสามารถในการทำงานเฉลี่ย 3.02 ไร่/ชม. ประสิทธิภาพการทำงานเชิงพื้นที่ 2 ฉลี่ย 94.63 % อัตราการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเฉลี่ย 1.28 ลิตร/ไร่ (รวมเครื่องยนต์รถไถเดินตามและเครื่องยนต์ขลุบหมุน) ค่าความเป็นเทือกของดิน 60 % จากผลการทดสอบพบว่าขลุบหมุนติดพ่วงท้ายรถไถเดินตาม สามารถใช้เตรียมดินได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพและค่าความเป็นเทือก สำหรับเตรียมดินขั้นที่ 2 อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ สำหรับนาหว่านน้ำตม
Publisher สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม Place of Publication กรมวิชาการเกษตร Editor
Language ไทย Summary Language ไทย Original Title
Series Editor Series Title Abbreviated Series Title
Series Volume Series Issue Edition
ISSN ISBN Medium
Area Expedition Conference
Notes Approved yes
Call Number doa @ user @ Serial 70
Permanent link to this record

ศึกษาสารพา (carriers) ที่เหมาะสมในการใช้ร่วมกับผลิตภัณฑ์แป้ง

doa Home

ฐานข้อมูลผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร

Home |  Show All |  Simple Search |  Advanced Search

1–1 of 1 record found matching your query (RSS): Login

Select All    Deselect All << 1 >> print
Record Links
Author เสาวนิตย์ โพธิ์พูนศักดิ์ pdf
Title ศึกษาสารพา (carriers) ที่เหมาะสมในการใช้ร่วมกับผลิตภัณฑ์แป้ง Type Journal Article
Year (up) 2549 Publication การทดลองสิ้นสุด Abbreviated Journal
Volume Issue Pages
Corporate Author วัชรี สมสุข; อภิรัชต์ สมฤทธิ์; สุชลวัจน์ ว่องไวลิขิต; สาทิพย์ มาลี Thesis
Address สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร
Keywords วิจัยการผลิตและการใช้สารชีวภาพและชีวินทรีย
Abstract การศึกษาสารพา (carriers) ที่เหมาะสมในการใช้ร่วมกับผลิตภัณฑ์แป้ง แบ่งงานทดลองเป็น 2 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1. ศึกษาสารพา (carrier) ที่เหมาะสมในการใช้ร่วมกับแป้งสาลี วางแผนการทดลองแบบ CRD การทดลองประกอบด้วย 6 ซ้ำ 5 วิธีการ คือการเลี้ยงราเขียวบนแป้งสาลี ผสมสารพา (carrier) ในอัตราส่วน 1: 1 สารพาที่ใช้ 5 ชนิด ได้แก่ pumice, smectite, clinoptilolite, ดินลพบุรีและดินลำปาง ทดลองโดยชั่งแป้งสาลีและสารพา ชนิดละ 25 กรัม ใส่ในถุงพลาสติกทนความร้อน วิธีการละ 12 ถุง ปิดปากถุงด้วยจุกสำลีและหุ้มทับด้วยกระดาษ นำไปนึ่งฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิ121o ซ ความดัน 15 ปอนด์/ ตารางนิ้ว เป็นเวลา 20 นาที ทิ้งไว้ให้เย็น จากนั้นนำอาหาร 6 ถุงแรกของแต่ละวิธีการไปวัดความชื้น ส่วนอีก 6 ถุงที่เหลือของแต่ละวิธีการนำหัวเชื้อราเขียวมาถ่ายใส่ในอัตรา 20 มล./ถุง นำไปวางบนชั้นที่อุณหภูมิห้อง (27 – 30 oซ.) เป็นเวลา 7 วัน พบว่าเชื้อราเขียวที่เลี้ยงบนแป้งสาลีผสม pumice และแป้งสาลี ผสม smectite จะสร้างคอนนิเดียและเกิดการงอกได้ดีไม่แตกต่างกันในทางสถิติ โดยจะสร้างคอนนิเดียได้ที่ 1.79 X 109 และ1.75 X 109 คอนนิเดีย/มล. และการงอกของเชื้อจะอยู่ที่ 7.17 X 1010 และ 7.27 X 1010 cfu/มล. ตามลำดับ
ขั้นตอนที่ 2. ศึกษาการงอกของเชื้อราเขียวในระยะเวลา 4 สัปดาห์ วางแผนการทดลองแบบ T-test จำนวน 7 ซ้ำ เลือกสารพา (carrier) ที่ดีจากการทดลองที่ 1 คือ pumice และ smectite มาใช้ในการศึกษาชั่งแป้งสาลีและสารพาแต่ละชนิดอย่างละ 25 กรัม อัตราส่วนผสม 1: 1 ใส่ในถุงพลาสติกทนความร้อนวิธีการละ 7 ถุง ปิดถุงด้วยจุกสำลีและหุ้มทับด้วยกระดาษ ก่อนนำไปนึ่งฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิ 121o ซ ความดัน 15 ปอนด์/ ตารางนิ้ว เป็นเวลา 20 นาที ปล่อยทิ้งไว้ให้เย็น จากนั้นถ่ายเชื้อราเขียวที่เลี้ยงในอาหารเหลว (PDB) ใส่ในอัตรา 20 มล./ถุง คลุกให้เชื้อ กระจายทั่วอาหาร นำไปวางบนชั้นที่อุณหภูมิห้อง (27 – 30 oซ.) จากการตรวจนับการงอกทุกสัปดาห์พบว่าเชื้อราเขียวที่เลี้ยงบนแป้งสาลีผสม pumice จะให้การงอกของเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่สัปดาห์ที่ 1 – 3 โดยจะสูงสุดในสัปดาห์ที่ 3 ดังนี้ 0.93 X 108,3.74 X 108 และ 4.83 X 108 cfu/มล. หลังจากนั้นการงอกจะลดต่ำลงเหลือ 0.02 X 108 cfu/มล. ในสัปดาห์ที่ 4 ส่วนการตรวจนับการงอกของเชื้อที่เลี้ยงบนแป้งสาลีผสม smectite จะให้การงอกของเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในสัปดาห์ที่ 1 และ 2 ที่ 1.60 X 108 และ 4.31 X 108 cfu/มล. จากนั้นการงอกจะลดต่ำลงในสัปดาห์ที่ 3 และ 4 ที่ 3.93 X 108 และ 0.47 X 108 cfu/มล. ตามลำดับ เมื่อพิจารณาต้นทุนการผลิตพบว่า pumice จะให้ต้นทุนการผลิตที่ 0.82 บาท ต่ำกว่า smectite ที่ให้ต้นทุนการผลิตที่ 0.86 บาท
Publisher สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช Place of Publication กรมวิชาการเกษตร Editor
Language ไทย Summary Language ไทย Original Title
Series Editor Series Title Abbreviated Series Title
Series Volume Series Issue Edition
ISSN ISBN Medium
Area Expedition Conference
Notes Approved yes
Call Number doa @ user @ Serial 69
Permanent link to this record

ศึกษาการเจริญของเชื้อราเขียว Metarhizium anisopliae ในผลิตภัณฑ์แป้งชนิดต่างๆ

doa Home

ฐานข้อมูลผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร

Home |  Show All |  Simple Search |  Advanced Search

1–1 of 1 record found matching your query (RSS): Login

Select All    Deselect All << 1 >> print
Record Links
Author เสาวนิตย์ โพธิ์พูนศักดิ์ pdf
Title ศึกษาการเจริญของเชื้อราเขียว Metarhizium anisopliae ในผลิตภัณฑ์แป้งชนิดต่างๆ Type Journal Article
Year (up) 2549 Publication การทดลองสิ้นสุด Abbreviated Journal
Volume Issue Pages
Corporate Author วัชรี สมสุข; อภิรัชต์ สมฤทธิ์; สุชลวัจน์ ว่องไวลิขิต; สาทิพย์ มาลี Thesis
Address สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร
Keywords วิจัยการผลิตและการใช้สารชีวภาพและชีวินทรีย์
Abstract การศึกษาการเจริญของเชื้อราเขียว Metarhizium anisopliae ในผลิตภัณฑ์แป้งชนิดต่างๆ แบ่งงานทดลองเป็น 2 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1. ศึกษาการเจริญของราเขียวในผลิตภัณฑ์แป้งชนิดต่างๆ วางแผนการทดลองแบบ CRD การทดลองประกอบด้วย 5 ซ้ำ 6 วิธีการ คือการเลี้ยงราเขียวบนผลิตภัณฑ์แป้งชนิดต่างๆ 6 ชนิด ได้แก่ แป้งสาลี, แป้งข้าวเหนียว, แป้งข้าวเจ้า, และแป้งข้าวโพด, แป้งถั่วเขียว และแป้งมันสำปะหลัง ชั่งแป้งปริมาณ 50 กรัม/ถุง นำไปนึ่งฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิ121oซ. ความดัน 15 ปอนด์/ ตารางนิ้ว เป็นเวลา 20 นาที ปล่อยไว้ให้เย็น ใส่หัวเชื้อราเขียวอัตรา 20 มล./ถุง คลุกเชื้อให้กระจายทั่วทั้งถุงอาหาร นำไปวางบนชั้นที่อุณหภูมิห้อง (27 – 30 oซ.) เป็นเวลา 7 วัน จึงทำการตรวจนับปริมาณคอนนิเดียในแต่ละวิธีการพบว่าราเขียวสามารถเจริญเติบโตและสร้างคอนนิเดียได้มากที่สุดบนแป้งสาลี โดยสามารถสร้างคอนนิเดียได้สูงสุดคือ 6.95 X 109 คอนนิเดีย/มล และให้การงอกของเชื้อสูงสุดที่ 31.14 X 109 cfu/มล.
ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาปริมาณหัวเชื้อที่เหมาะสมสำหรับแป้งสาลี วางแผนการทดลองแบบ CRD การทดลองประกอบด้วย 6 ซ้ำ 5 วิธีการ คือการเลี้ยงราเขียวบนแป้งสาลี: ปริมาณหัวเชื้อ 5 อัตรา คือ 1:0.2, 1: 0.3, 1: 0.4, 1: 0.5 และ 1: 0.6 ใส่ถุงพลาสติกทนร้อนวิธีการละ 12 ถุง ปิดปากถุงด้วยจุกสำลีและหุ้มทับด้วยกระดาษ นึ่งฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิ121o ซ. ความดัน 15 ปอนด์/ ตารางนิ้ว เป็นเวลา 20 นาที ทิ้งไว้ให้เย็น นำหัวเชื้อราเขียวมาถ่ายใส่ตามวิธีการต่างๆที่เตรียมไว้ 5 วิธีการ จากนั้นนำอาหาร 6 ถุงแรกของแต่ละวิธีการไปวัดความชื้น ส่วนอีก 6 ถุง ที่เหลือของแต่ละวิธีการ นำไปวางบนชั้นที่อุณหภูมิห้อง (27 –30 oซ.) เป็นเวลา 7 วัน จึงนำมาตรวจนับปริมาณคอนนิเดีย พบว่าการใช้อัตราส่วนแป้งสาลี: ปริมาณหัวเชื้อที่อัตรา 1: 0.5 ทำให้แป้งมีความชื้น 40% จะกระตุ้นให้เชื้อราเขียวสร้างคอนนิเดียและเกิดการงอกได้ดีโดยจะให้คอนนิเดียที่ 2.63 X 109 คอนนิเดีย/มล. และให้การงอกของเชื้อที่ 23.86 X 1010 cfu/มล.
Publisher สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช Place of Publication กรมวิชาการเกษตร Editor
Language ไทย Summary Language ไทย Original Title
Series Editor Series Title Abbreviated Series Title
Series Volume Series Issue Edition
ISSN ISBN Medium
Area Expedition Conference
Notes Approved yes
Call Number doa @ user @ Serial 68
Permanent link to this record

วิจัยและทดสอบเทคโนโลยีการผลิตสารสกัดจากพืชทดแทนสารเคมีเพื่อใช้ในการควบคุมเชื้อรา Pyricularia grisea สาเหตุโรคไหม้ข้าว

doa Home

ฐานข้อมูลผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร

Home |  Show All |  Simple Search |  Advanced Search

1–1 of 1 record found matching your query (RSS): Login

Select All    Deselect All << 1 >> print
Record Links
Author อภิญญา สุราวุธ pdf
Title วิจัยและทดสอบเทคโนโลยีการผลิตสารสกัดจากพืชทดแทนสารเคมีเพื่อใช้ในการควบคุมเชื้อรา Pyricularia grisea สาเหตุโรคไหม้ข้าว Type Journal Article
Year (up) 2549 Publication การทดลองสิ้นสุด Abbreviated Journal
Volume Issue Pages
Corporate Author ปิยนันท์ สังขะไพฑูรย์; สุจินต์ แก้วฉีด; นันทิการ์ เสนแก้ว; อาริยา จูดคง Thesis
Address สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 8 กรมวิชาการเกษตร
Keywords วิจัยและพัฒนาการผลิตและการใช้สารสกัดจากพืชเพื่อควบคุมโรคพืช
Abstract การศึกษาวิจัยและทดสอบเทคโนโลยีการผลิตสารสกัดจากพืชทดแทนสารเคมีเพื่อใช้ในการควบคุมเชื้อรา Pyricularia grisea สาเหตุโรคไหม้ข้าว เพื่อทราบถึงชนิดของสารสกัด และ อัตราส่วนที่เหมาะสมในการผลิตสารสกัดเพื่อใช้ในการควบคุมโรคไหม้ข้าว โดยตรวจสอบเชื้อราที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์ พบเชื้อรา Curvularia Helminthosporium Sarocladium Pyricularia Aspergillus และ Penicillium โดยพบ 5.33, 4.00, 9.33, 2.66, 2.66 และ 1.33 % ตามลำดับ ซึ่งเชื้อราทั้ง 4 ชนิดคือ Curvularia Helminthosporium Sarocladium และ Pyricularia เป็นเชื้อราที่มีรายงานว่าสามารถติดมากับเมล็ดพันธุ์ได้ และมีเปอร์เซ็นต์การงอก 71 % และการทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดจากพืช 5 ชนิด คือขมิ้นชัน ว่านน้ำ ข่า กระเทียม และพริกไทย พบว่าสารสกัดทั้ง 5 ชนิดสามารถยับยั้งการเจริญของเส้นใยได้ และเมื่อความเข้มข้นของสารสกัดสูงขึ้นเปอร์เซ็นต์การยับยั้งการเจริญของเส้นใยจะสูงขึ้น และที่ระดับความเข้มข้น 10000 ppm. ของสารสกัดทุกชนิดสามารถยับยั้งการเจริญของเส้นใยได้100 เปอร์เซ็นต์ จากการตรวจสอบเปอร์เซ็นต์การงอกของเมล็ดพันธุ์หลังแช่ในสารสกัดขมิ้นชัน ว่านน้ำ ข่า กระเทียม พริกไทย สารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืช และ Control (น้ำกลั่น) พบอัตราการงอกของเมล็ด 70, 68, 65, 67, 63.5, 73 และ 75 % ตามลำดับ แต่อย่างไรก็ตามไม่สามารถสรุปได้ว่าการใช้สารสกัดแช่ในเมล็ดพันธุ์สามารถควบคุมเชื้อรา P. grisea ที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์ได้ และเนื่องจากการปลูกเชื้อไม่ประสบผลสำเร็จจึงไม่สามารถสรุปผลการทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดที่มีต่อการยับยั้งการเกิดโรคบนต้นข้าวได้
Publisher สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 8 Place of Publication กรมวิชาการเกษตร Editor
Language ไทย Summary Language ไทย Original Title
Series Editor Series Title Abbreviated Series Title
Series Volume Series Issue Edition
ISSN ISBN Medium
Area Expedition Conference
Notes Approved yes
Call Number doa @ user @ Serial 67
Permanent link to this record

ศึกษาวิจัยการใช้ผักกาดน้ำ (Rorippa sp) เพื่อควบคุมวัชพืช

doa Home

ฐานข้อมูลผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร

Home |  Show All |  Simple Search |  Advanced Search

1–1 of 1 record found matching your query (RSS): Login

Select All    Deselect All << 1 >> print
Record Links
Author ชอุ่ม เปรมัษเฐียร pdf
Title ศึกษาวิจัยการใช้ผักกาดน้ำ (Rorippa sp) เพื่อควบคุมวัชพืช Type Journal Article
Year (up) 2549 Publication การทดลองสิ้นสุด Abbreviated Journal
Volume Issue Pages
Corporate Author ศิริพร ซึงสนธิพร Thesis
Address สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร
Keywords วิจัยพัฒนาการใช้สารจากพืชควบคุมวัชพืช
Abstract ผักกาดน้ำที่พบทั่วไปมากมีสองชนิด คือผักกาดน้ำ หรือผักกาดนำ (Rorippa dubia) และผักกาดน้ำดอกเหลือง (Rorippa indica) – การทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพเบื้องต้น ด้วยวิธี sandwich method พืชทั้งสองชนิดให้ผลการยับยั้งในทางเดียวกันและใกล้เคียงกัน แต่คือผักกาดน้ำดอกเหลืองสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของพืชทดสอบได้มากกว่าทั้งพืชสดและพืชแห้ง และส่วนของใบให้ผลในการยับยั้งมากกว่ารากและต้น ตัวทำละลายในการสกัด ชนิดต่างๆ คือ Benzene, normal hexane, ethyl acetate, 70% methanol, 70% ethyl alcohol, dichloromethane, acetone, butanlol, น้ำร้อน และน้ำเย็น ปรากฏว่า การสกัดด้วยเมทานอล 70% ให้ผลการยับยั้งการเจริญรากของพืชทดสอบได้ดีที่สุด รองลงมาคือน้ำ สารสกัดจากผักกาดน้ำดอกเหลืองต่อการงอกและการเจริญเติบโตของวัชพืชชนิดต่างๆ ในห้องปฏิบัติการ จำนวน 9 ชนิด ได้แก่ ไมยราบเครือ(Mimosa invisa Mart.) ไมยราบยักษ์ (Mimosa pigra L.) กระเฉดต้น (Neptunia sp.) กระเพาผี (Hyptis suaveolense) โสนขน (Aeschynomene Americana ) ถั่วผี (Phaseolus lathyroides) หญ้าปากควาย (Dactyloctenium eagyptium ) หญ้าขจรจบดอกเล็ก (Pennisetum polystachyon ) หญ้าขจรจบดอกใหญ่(Pennisetm pedicellatum) ปรากฏว่า สารสกัดจากผักกาดน้ำดอกเหลือง อัตราเทียบเท่าสกัดจาพืชแห้ง 1 กรัม สามารถยับยั้งการงอกของพืชทดสอบ เช่น ถัวผี หญ้าปากควาย ได้ดีแต่ที่อัตราต่ำ คือเทียบเท่าสกัดจากพืช 0.1 กรัม ทำให้ถัวผี และหญ้าปากควายงอกได้มากกว่าชุดควบคุมโดยอัตราที่สามารถยับยั้งการเจริญของพืชทดสอบได้สูงสุดคือ เทียบเท่าสกัดจากพืช1.0 กรัม ในน้ำ 5 มิลลิลิตร
Publisher สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช Place of Publication กรมวิชาการเกษตร Editor
Language ไทย Summary Language ไทย Original Title
Series Editor Series Title Abbreviated Series Title
Series Volume Series Issue Edition
ISSN ISBN Medium
Area Expedition Conference
Notes Approved yes
Call Number doa @ user @ Serial 66
Permanent link to this record

พัฒนารูปแบบการใช้สารจากเทียนหยดเพื่อควบคุมวัชพืช

doa Home

ฐานข้อมูลผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร

Home |  Show All |  Simple Search |  Advanced Search

1–1 of 1 record found matching your query (RSS): Login

Select All    Deselect All << 1 >> print
Record Links
Author ชอุ่ม เปรมัษเฐียร pdf
Title พัฒนารูปแบบการใช้สารจากเทียนหยดเพื่อควบคุมวัชพืช Type Journal Article
Year (up) 2549 Publication การทดลองสิ้นสุด Abbreviated Journal
Volume Issue Pages
Corporate Author ศิริพร ซึงสนธิพร Thesis
Address สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร
Keywords วิจัยและพัฒนาสารสกัดจากพืชเพื่อควบคุมวัชพืช
Abstract สารสกัดจากเทียนหยดด้วยน้ำ สามารถยับยั้งการงอกและการเจริญของวัชพืชหลายชนิดในห้องปฏิบัติการ เมื่อนำมาศึกษารูปแบบการใช้สารที่มีในเทียนหยด เพื่อการควบคุมวัชพืชโดยใช้ไมยราบยักษ์เป็นพืชทดสอบในสภาพเรือนทดลอง พบว่าการแช่ใบแห้งในน้ำ ในอัตรา 1:1 – 1:1.2 (น้ำหนัก:ปริมาตร) ผสมกับสารจับใบ ทำให้พืชทดสอบ เช่น ไมยราบยักษ์ตาย ส่วนก้นจ้ำขาวดอกใหญ่ใบเป็นสีน้ำตาล สารสกัดจากเทียนหยดสามารถใช้ได้กับไมยราบยักษ์อายุ 2 – 4 สัปดาห์ได้ดี คือทำให้ใบเหี่ยวและร่วงและบางต้นรุนแรงถึงตายได้ ผลกระทบของสารสกัดจากเทียนหยดต่อการเจริญเติบโตของพืชปลูกชนิดต่างๆ ในสภาพเรือนทดลอง ได้แก่ ผักคะน้า ผักกาดขาว ผักกาดเขียว โหระพา กะเพรา แมงลัก ผักชีพริก ข้าวโพด เมื่อพืชอายุประมาณ 30 วันหลังงอก แต่พืชทดสอบหลายชนิดในชุดควบคุมถูกแมลงทำลายก่อนที่จะเริ่มการทดสอบ ทำให้ไม่สามารถทดสอบได้
Publisher สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช Place of Publication กรมวิชาการเกษตร Editor
Language ไทย Summary Language ไทย Original Title
Series Editor Series Title Abbreviated Series Title
Series Volume Series Issue Edition
ISSN ISBN Medium
Area Expedition Conference
Notes Approved yes
Call Number doa @ user @ Serial 65
Permanent link to this record

การศึกษาประสิทธิภาพสารฆ่าแมลงป้องกันกำจัดด้วงหนวดยาวเจาะลำต้นทุเรียนในระยะไข่

doa Home

ฐานข้อมูลผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร

Home |  Show All |  Simple Search |  Advanced Search

1–1 of 1 record found matching your query (RSS): Login

Select All    Deselect All << 1 >> print
Record Links
Author พิเชฐ เชาวน์วัฒนวงศ์ pdf
Title การศึกษาประสิทธิภาพสารฆ่าแมลงป้องกันกำจัดด้วงหนวดยาวเจาะลำต้นทุเรียนในระยะไข่ Type Journal Article
Year (up) 2549 Publication การทดลองสิ้นสุด Abbreviated Journal
Volume Issue Pages
Corporate Author ศรุต สุทธิอารมณ์; ศรีจำนรรจ์ ศรีจันทรา; วิภาดา ปลอดครบุรี; เกรียงไกร จำเริญมา Thesis
Address สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร
Keywords การจัดการด้วงหนวดยาวเจาะลำต้นในทุเรียน
Abstract การศึกษาประสิทธิภาพสารฆ่าแมลงป้องกันกำจัดด้วงหนวดยาวเจาะลำต้นในทุเรียนในระยะไข่ ที่สวนเกษตรกร จังหวัดจันทบุรี และตราด ระหว่าง ตุลาคม 2548 – กันยายน 2549 โดยวางแผนการทดลองแบบ RCB มี 4 ซ้ำ (ซ้ำละ 1 ต้น) ประกอบด้วย 6 กรรมวิธี คือ การพ่นสาร imidacloprid (Confidor 100 SL 10%SL) acetamiprid (Molan 20% SP), thiametoxam (Actara25% WG), dinotefuran (Stakle 10% SL) และพ่นสาร cypermethrin/phosalone (Parzon 6.25%/22.5% EC) อัตรา 30 มล. 30, 40, 40 กรัม และ 60 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร ตามลำดับ เปรียบเทียบกับการพ่นน้ำเปล่า ศึกษาโดยพ่นสารทดสอบ 1 ครั้ง และตรวจนับการฟักของไข่หลังการพ่นสารทดสอบ 1 สัปดาห์ จากการทดสอบใน 5 สวน พบ สารทดสอบมีประสิทธิภาพในการฆ่าไข่ (ทำให้ไข่ฝ่อ) เฉลี่ยระหว่าง 54.38 – 77.01% โดยสารที่มีประสิทธิภาพดีที่สุด dinotefuran ทำให้ไข่ด้วงหนวดยาวฝ่อ เฉลี่ย 77.01% รองลงมาคือ imidacloprid และ thiametoxam ทำให้ไข่ฝ่อเฉลี่ย 66.49 และ 62.49% ตามลำดับ ขณะที่พ่นน้ำเปล่าพบไข่ฝ่อเฉลี่ย 19.58% เมื่อนำไปคำนวณหาเปอร์เซ็นต์การป้องกันกำจัด พบ สารทดสอบมีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดไข่ด้วงหนวดยาวเจาะลำต้นทุเรียนระหว่าง 39.87 – 64.95% โดยสารที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดสูงสุดคือ dinotefuran มีประสิทธิภาพป้องกันได้ 64.95%
Publisher สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช Place of Publication กรมวิชาการเกษตร Editor
Language ไทย Summary Language ไทย Original Title
Series Editor Series Title Abbreviated Series Title
Series Volume Series Issue Edition
ISSN ISBN Medium
Area Expedition Conference
Notes Approved yes
Call Number doa @ user @ Serial 64
Permanent link to this record