สารหนูในปลาหมึกแห้ง

28 มกราคม 2554, 05:00 น.

ผ่านทางสารหนูในปลาหมึกแห้ง – ข่าวไทยรัฐออนไลน์.

EyWwB5WU57MYnKOvIY2E92UqCsQ2Pjde5MagP2tbRLWNvn5NB2zNAv

 

ความปลอดภัยของผู้บริโภคถือได้ว่าเป็นเรื่องใหญ่สำหรับผู้ผลิตอาหาร จะผลิตได้มากหรือน้อย ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเสมอ

ถ้าเมื่อใดขาดการรักษาความสะอาดหรือความใส่ใจในเรื่องความปลอดภัย ผู้บริโภคอาจตกอยู่ในอันตรายได้ทุกวินาที

อันตรายที่ว่านั้นอาจมาจากทั้งเชื้อก่อโรคปนเปื้อนอยู่ในอาหารหรือสารพิษ สารเคมีต่างๆ หรือสิ่งแปลกปลอมที่ตกค้างในอาหาร

สำหรับอาหารทะเลโดยทั่วไปนั้นจะพบอันตรายจากโลหะหนักตกค้าง ซึ่งโลหะหนักที่เราได้ยินกันบ่อยๆ เห็นจะเป็นสารหนู ซึ่งพบตกค้างปริมาณมากในปลาหมึกและสาหร่ายทะเล ทั้งสารหนูในรูป อินทรีย์ (Organic Arsenic) และสารหนูที่อยู่ในรูป อนินทรีย์ (Inorganio Arsenic)

สำหรับพิษภัยของสารหนูตกค้างในอาหาร มาจากสารหนูที่อยู่ในรูปอนินทรีย์ ถ้าร่างกายได้รับเข้าไปมาก  จะสะสมที่ตับและทำลายระบบการทำงานของตับ และบางส่วนไปอยู่ที่ผม เล็บ และผิวหนัง ทำให้หนังเป็นรอยจ้ำและเกิดมะเร็งผิวหนัง

นอกจากนั้น ยังทำลายประสาทสัมผัสของร่างกาย โดยปกติร่างกายจะกำจัดสารหนูอยู่แล้ว  แต่ถ้าทานอาหารที่มีสารหนูตกค้างเข้าไปมากเกินจะทำให้เกิดการสะสมและเกิดอันตรายได้

สารหนูไม่ได้มีโทษเพียงอย่างเดียว  แต่ยังมีสารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและการดำรงชีวิตของพืชและสัตว์โดยต้องการในปริมาณที่ต่ำมาก

วันนี้ คอลัมน์มันมากับอาหารได้สุ่มตรวจปลาหมึกแห้งเพื่อวิเคราะห์หาการปนเปื้อนสารหนู จำนวน 5 ตัวอย่าง จาก 5 ย่านการค้าในเขตกรุงเทพฯ

ผลการวิเคราะห์พบว่า มีสารหนูปนเปื้อนทุกตัวอย่าง

แต่ในปริมาณที่ไม่สูงมาก และไม่เกินประกาศของกระทรวงสาธารณสุข ที่กำหนดให้สารหนูในรูปอนินทรีย์ปนเปื้อนในสัตว์น้ำและอาหารทะเลได้ไม่เกิน 2 มิลลิกรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม

วันนี้  ยังทานปลาหมึกแห้งได้  แต่ขอเตือนว่าไม่ควรทานให้บ่อยนัก.

NjpUs24nCQKx5e1GEtlgnu1mbvBdSvCshujN8IMDMkC

 

 

ไทยรัฐ+สถาบันอาหารโครงการอาหารปลอดภัย

 

 

ระวัง ผลไม้อบแห้งนำเข้า

21 มกราคม 2554, 05:00 น.

ผ่านทางระวัง ผลไม้อบแห้งนำเข้า – ข่าวไทยรัฐออนไลน์.

EyWwB5WU57MYnKOvIY0JdGTCoRCGaeEsrfEkU34JMH15KGYK40BKfx

 

ผลไม้เป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหาร รับประทานเป็นผลสดก็ได้รับวิตามินไปเต็มๆ  แต่ถ้าไม่สะดวก ลองหันมามองผลไม้อบแห้งชนิดต่างๆบ้างก็ดี

ส่วนใหญ่แล้วคนไทยไม่นิยมรับประทานผลไม้อบแห้งกันนัก จะทานก็แต่ลูกพรุนหรือบ๊วยชนิดต่างๆ

กรรมวิธีการทำ ถ้าเป็นโรงงานบ้านเราการผลิตต้องได้รับการรับรองคุณภาพว่าปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค แต่ถ้าเป็นผลไม้นำเข้าโดยเฉพาะจากจีนก็ไม่แน่ อาจไม่รู้แหล่งผลิตว่าได้มาตรฐานหรือไม่

และกว่าจะถึงมือผู้บริโภคอย่างเราๆ  บางครั้งอาจมีสภาพยับเยินมาก่อนแล้ว สภาพถุงบรรจุภัณฑ์อาจอยู่ในสภาพไม่น่ารับประทาน

นอกจากนี้ ยังมีพวกพ่อค้าที่รับซื้อเป็นถุงใหญ่ๆ แล้วนำมาตักแบ่งขายอีกทอด ซึ่งเราไม่อาจรู้ได้เลยว่าผ่านการตักมากี่ครั้ง เชื้อโรคปะปนเข้าไปเท่าไร

จากการสุ่มตรวจผลไม้อบแห้งนำเข้า  พบว่ามีสารตะกั่วปนเปื้อนมาด้วย

ตะกั่วเป็นโลหะหนักที่มักพบได้ในดิน น้ำ และอากาศ นอกจากนี้ยังพบได้ตามธรรมชาติ โดยเกิดจากความตั้งใจของมนุษย์ นั่นคือ การปล่อยน้ำเสียจากโรงงานผลิตแบตเตอรี่ พลาสติก ที่มีสารตะกั่วปนเปื้อนลงในแม่น้ำ ลำคลอง ส่งผลให้อาหารเหล่านั้นมีสารตะกั่วปนเปื้อน

สำหรับพิษ เมื่อร่างกายได้รับเข้าไปมากๆ จะส่งผลต่อไขกระดูก ระบบประสาท ระบบไต เกิดการท้องผูก อุจจาระมีสีดำ กระหายน้ำ อาเจียนเป็นพักๆ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ปัสสาวะมากผิดปกติ และไตอาจพิการได้

วันนี้ผู้ที่ชอบทานผลไม้แห้งชนิดต่างๆควรต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ

เพราะจากผลการวิเคราะห์พบว่า มีสารตะกั่วปนเปื้อนถึง 4 ตัวอย่าง

แต่พบในปริมาณไม่มาก เมื่อเทียบกับประกาศกระทรวงสาธารณสุขในบ้านเรา ที่กำหนดไว้ว่าในอาหารมีสารตะกั่วปนเปื้อนได้ไม่เกิน 1 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม เท่านั้น

หลังจากนี้ไป คงต้องตัดสินเองว่าจะกินต่อดีหรือไม่?

 

NjpUs24nCQKx5e1GEtgFcoA11ZUP6jgrovDPeiQq51F

 

 

ไทยรัฐออนไลน์

  • โดย ไทยรัฐ+สถาบันอาหารโครงการอาหารปลอดภัย
  • 21 มกราคม 2554, 05:00 น.

 

ระวัง ส้มตำปลาร้า

14 มกราคม 2554, 05:00 น.

ผ่านทางระวัง ส้มตำปลาร้า – ข่าวไทยรัฐออนไลน์.

 

EyWwB5WU57MYnKOvIYyIjdtXKVZeGxqe5GzFWqlbpC5S9k3FKeJDMx

จะว่าไปแล้ววัฒนธรรมการกินและการประกอบอาหารของแต่ละท้องถิ่น เป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ที่บ่งบอกอะไรได้หลายอย่าง

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่มีการนำเอาสิ่งที่เหลือใช้จากการบริโภคมาปรับเปลี่ยนให้เกิดเป็นอาหารอีกชนิดหนึ่งได้อย่างน่าอัศจรรย์ ตัวอย่างที่เห็นชัดคือ คนใต้ชอบกินน้ำบูดู คนอีสานชอบกินน้ำปลาร้า

อาหาร 2 ชนิดนี้ แม้ชื่อต่างกัน แต่กรรมวิธีการทำนั้นไม่แตกต่างกันเลย

น้ำบูดู เป็นการนำปลาไส้ตันตัวเล็กๆ มาหมักด้วยเกลือให้ได้ที่ แล้วเอาแต่น้ำใสๆ หรือบางทีอาจมีเนื้อปลาปนมาบ้างมาใช้ในการบริโภค

ซึ่งก็แล้วแต่ความชอบของแต่ละคน ส่วนปลาร้าจะนำปลามาหมักกับเกลือ เมื่อได้ที่แล้วก็ใส่ข้าวคั่ว บางคนกินกันเป็นตัวๆ หรือบางรายก็นำแต่น้ำปลาร้ามาใช้เป็นส่วนผสมของอาหารชนิดต่างๆ

แต่ที่ขึ้นหน้าขึ้นตาและเป็นที่นิยมที่สุดเห็นจะเป็น ส้มตำปลาร้า

ซึ่งนับว่าเป็นอาหารขึ้นชื่อและพบได้ทั่วไป ไม่เว้นแม้แต่ในร้านอาหารใหญ่ๆ ท่านที่ชอบทานคงต้องระวังกันสักนิดเพราะอาจมีเชื้อโรคปนเปื้อน

สำหรับเชื้อชนิดนี้ มักพบในปลาร้าคือ เชื้อคลอสทริเดียม เปอร์ฟริงเจนส์

หากได้รับเชื้อนี้เข้าสู่ร่างกาย ทำให้เกิดโรคท้องร่วง กระเพาะอาหารอักเสบ เป็นไข้ อาเจียน

มีที่ใดที่ตรวจพบการปนเปื้อน ดูได้จากตารางด้านล่าง

ทางที่ดี  ผู้บริโภคควรต้องระมัดระวังในการเลือกซื้อและเลือกรับประทานอาหารที่ปลอดภัยต่อสุขภาพเองด้วย

ควรมีการอุ่นอาหารทุกครั้งก่อนรับประทานเสมอ ป้องกันไว้ก่อนดีที่สุด.

NjpUs24nCQKx5e1GEtgFcoA11ZUP6jgrovDPeiQq51F

“ไทยรัฐ+สถาบันอาหารโครงการอาหารปลอดภัย”

 

ไทยรัฐออนไลน์

  • โดย ไทยรัฐ+สถาบันอาหารโครงการอาหารปลอดภัย
  • 14 มกราคม 2554, 05:00 น.

 

ติดอาวุธทางปัญญาก่อนใคร…งานดีๆไม่ไปไหนแน่นอน!

7 มกราคม 2554, 05:00 น.

ผ่านทางติดอาวุธทางปัญญาก่อนใคร…งานดีๆไม่ไปไหนแน่นอน! – ข่าวไทยรัฐออนไลน์.

EyWwB5WU57MYnKOvIWHZD0UB68gcyotw8lz8acmr6T9kPJ5rXzEe7i

 

“อาหารปลอดภัย” ปัจจัยแรกที่ผู้บริโภคทั่วโลกต่างให้ความสำคัญและตื่นตัวอยู่ในขณะนี้

แม้ว่าจะมีนวัตกรรมใหม่ๆมาใช้ในการผลิตอาหารให้ปลอดภัยก็ตาม แต่สิ่งที่จะละเลยไม่ได้คือ ศักยภาพของบุคลากรที่เกี่ยวข้องในทุกขั้นตอนการผลิต

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และ สถาบันอาหาร ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการผลิตอาหารที่มีคุณภาพและความปลอดภัย ให้แก่ผู้บริโภคชาวไทยมาโดยตลอด

ปีใหม่ปีนี้…จึงมีข่าวดี เกี่ยวกับการอบรมฟรี! มาแจ้ง…

1. อบรมฟรี หลักสูตรนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหาร ระบบ GMP และ HACCP ในโรงงานอาหาร กฎหมายอาหารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ในระหว่างวันที่ 14 มีนาคม-11 เมษายน 2554 ที่ จ.นครราชสีมา อบรมเสร็จมีใบประกาศนียบัตรเพื่อนำไปสมัครงานให้ด้วย

หลักสูตรนี้จัดให้น้องๆจบใหม่ สาขาวิทยาศาสตร์การอาหาร เทคโนโลยีการอาหาร และสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง ที่มีภูมิลำเนา หรือจบจาก สถาบันการศึกษาใน  จ.นครราชสีมา  ชัยภูมิ  สุรินทร์  และบุรีรัมย์เท่านั้น

ด่วน! รับสมัครตั้งแต่วันนี้ถึง 20 ม.ค.54 เท่านั้น

2.โครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ (กลุ่มธุรกิจด้านอาหารและผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูป) สำหรับผู้ว่างงาน เพิ่งจบการศึกษา ทายาทธุรกิจ ผู้้ที่เริ่มประกอบธุรกิจด้านอาหารไม่เกิน 3 ปี และผู้สนใจทั่วไปที่มีประสบการณ์เกี่ยวข้องกับธุรกิจด้านอาหารหรือเกษตรแปรรูป

ช้าไม่ได้! กับหลักสูตรเชิงปฏิบัติการทั้งด้านความปลอดภัยอาหาร ระบบ GMP และ HACCP กฎระเบียบ กฎหมาย ข้อบังคับของ อย. การบริหารการผลิต กรรมวิธีเก็บรักษาผลิตภัณฑ์อาหารอย่างไรให้อยู่ได้นาน เทคนิคการเขียนแผนธุรกิจให้กู้กับธนาคารได้ ฯลฯ   พร้อมจัดศึกษาดูงานสถานประกอบการอาหารนอกสถานที่ ถึง 2 แห่ง

สมัครได้ตั้งแต่วันนี้-31 ม.ค.54 รับจำนวนจำกัด!

สอบถามและสมัครได้ที่ แผนกบริการฝึกอบรม โทร.0-2886-8088 ต่อ 2202-2212, E-mail training@nfi.or.th หรือ www.nfi.or.th

 

ไทยรัฐออนไลน์

  • โดย ไทยรัฐ+สถาบันอาหารโครงการอาหารปลอดภัย
  • 7 มกราคม 2554, 05:00 น.

 

เชื้อก่อโรคในน้ำส้มคั้นสด

24 ธันวาคม 2553, 05:01 น.

ผ่านทางเชื้อก่อโรคในน้ำส้มคั้นสด – ข่าวไทยรัฐออนไลน์.

EyWwB5WU57MYnKOvIV95ni22NgyQpgw72mcjwetxXAurAn2fMBdPou

 

ปัจจุบันผู้บริโภคส่วนใหญ่ต่างหันมาดื่มน้ำผลไม้สดๆ   ที่คั้นขายตามซุปเปอร์มาร์เกตหรือตามตลาดใหญ่ๆ มากกว่าการบริโภคผลสดๆ

เนื่องจากมีข้อจำกัดทั้งด้านเวลาและความสะดวก    อีกทั้งน้ำผลไม้ยังหาซื้อได้ง่าย ตั้งแต่ตลาดสด ซุปเปอร์มาร์เกต จนถึงรถเข็นขายตามริมฟุตปาท

กระบวนการผลิตน้ำผลไม้ให้ได้มาตรฐานและปลอดภัยสำหรับผู้บริโภคนั้น เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการหรือผู้ขายจะต้องตระหนักอยู่เสมอ

เนื่องจากการจะหยิบจับหรือสัมผัสสิ่งใดๆที่เกี่ยวข้องกับวัตถุดิบ และภาชนะที่ใช้นั้นล้วนแล้วแต่ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมด้านสุขลักษณะเป็นอย่างดี ที่สำคัญต้องสะอาด   ไม่เช่นนั้นอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภคได้

อาจมีการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคอย่าง  เชื้อ  อี.โคไล

อี.โคไล เป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่พบได้ในทางเดินอาหารของสัตว์เลือดอุ่น และคน มีหลายสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดโรค และเป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยในคน

มักพบปนเปื้อนในอาหารที่สุกแล้ว   หากใช้มือไม่สะอาดสัมผัสภาชนะอุปกรณ์ หรือใช้น้ำไม่สะอาดเป็นส่วนผสมในการผลิตหรือปรุง ก็อาจทำให้เชื้อนี้ปนเปื้อนเข้าไป ผู้ที่รับเชื้อนี้จะมีอาการท้องเสีย อุจจาระเหลว อาเจียน ขาดน้ำ

สถาบันอาหารได้สุ่มตัวอย่างน้ำส้มคั้นสดที่จำหน่ายในเขตกรุงเทพฯ วิเคราะห์หา เชื้อ  อี.โคไล

ผลปรากฏว่า พบในทุกตัวอย่าง และน่าตกใจมากกว่านั้นคือ ปริมาณเชื้อ อี.โคไล เกินเกณฑ์มาตรฐานที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กำหนดไว้คือ

ต้องพบในปริมาณที่น้อยกว่า 2 MPN ในเครื่องดื่ม 100 มิลลิลิตร

ต่อไปโปรดใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจเลือกซื้อ ทางที่ดีควรซื้อจากร้านที่ถูกสุขลักษณะและสะอาด หรืออาจยอมเสียเวลาซื้อผลสดมาคั้นเองจะดีกว่า

เพราะมั่นใจได้ว่าทั้งวัตถุดิบและภาชนะที่ใช้   ผ่านการล้างทำความสะอาดและถูกสุขลักษณะแน่นอน!

NjpUs24nCQKx5e1GEle8reag3gMwlEoZYkncGGJIxjy

 

 

ไทยรัฐออนไลน์

  • โดย ไทยรัฐ+สถาบันอาหารโครงการอาหารปลอดภัย
  • 24 ธันวาคม 2553, 05:01 น.

 

เชื้อก่อโรคในอาหารปรุงสำเร็จและอาหารตามสั่ง

17 ธันวาคม 2553, 05:00 น.

ผ่านทางเชื้อก่อโรคในอาหารปรุงสำเร็จและอาหารตามสั่ง – ข่าวไทยรัฐออนไลน์.

EyWwB5WU57MYnKOvIV8uGS0F77TTsSbAsVl70Zft0V5q6bX9smJLC6

 

ในช่วงที่โลกตกอยู่ในภาวะร้อนระอุ และสภาพอากาศแปรปรวนอย่างคาดไม่ถึงเช่นทุกวันนี้ สิ่งสำคัญที่เราจะต้องระวังที่สุด เห็นจะเป็นเรื่องของสุขภาพและเรื่องของอาหารการกิน

เพราะในภาวะที่ร้อน อากาศอบอ้าวแล้วเปลี่ยนมาเป็นหนาวหรือมีฝนตกเช่นนี้ โรคอาหารเป็นพิษนับเป็นสิ่งใกล้ตัวที่เราไม่ควรมองข้าม

โดยเฉพาะอาหารปรุงสำเร็จนั้นเป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นอาหารที่เราไม่สามารถเข้าไปดูถึงก้นครัวได้ว่าคนปรุงมีวิธีการปรุงกันอย่างไร

ถูกสุขลักษณะและสะอาดหรือไม่ อย่างดีก็เห็นแค่ตอนที่นำออกมาวางขายหน้าร้านเท่านั้น

วันนี้คอลัมน์ “มันมากับอาหาร” มีเรื่องของเชื้อก่อโรคในอาหารสำเร็จรูป และอาหารตามสั่งมาฝาก

เชื้อ ซาลโมเนลลา เป็นจุลินทรีย์ที่พบได้ในของเสียจากการขับถ่ายของมนุษย์และสัตว์ ส่วนในอาหารมักพบปนเปื้อนอยู่ในเนื้อสัตว์ปีก เนื้อสัตว์ ผัก เครื่องเทศ ไข่ และผลิตภัณฑ์นม

เมื่อเราได้รับเชื้อนี้เข้าสู่ร่างกาย จากการกินอาหารที่มีเชื้อชนิดนี้ปนเปื้อน อาจทำให้เกิดโรค ซาลโมเนลโลซิส ได้

โรคดังกล่าวทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน ปวดท้อง มีไข้ และอ่อนเพลีย หากเกิดในผู้สูงอายุหรือเด็กทารกจะทำให้มีอาการรุนแรงกว่าคนวัยอื่น

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้กำหนดเกณฑ์คุณภาพของเชื้อ ซาลโมเนลลา ในอาหารปรุงสุกทั่วไป เช่น อาหารปรุงสำเร็จ (ประเภทข้าวแกง) ก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน ยำ น้ำพริกจิ้ม ไส้กรอก หมูยอ ปูอัด ฯลฯ ว่าต้องไม่พบปนเปื้อนอาหาร ในปริมาณ 25 กรัม

วันนี้ สถาบันอาหารได้สุ่มตัวอย่างอาหารปรุงสำเร็จ 5 ตัวอย่าง ที่จำหน่ายตามร้านค้าในเขตกรุงเทพฯ นำมาวิเคราะห์หาเชื้อ ซาลโมเนลลา ปนเปื้อน

ผลการวิเคราะห์พบว่า ทุกตัวอย่างไม่พบการปนเปื้อนของเชื้อ ซาลโมเนลลา เลย

ขอเตือนว่า อย่าชะล่าใจกันนัก ทางที่ดีควรเลือกซื้อจากร้านค้าเจ้าประจำ หรือเจ้าที่ไว้ใจได้ในเรื่องของความสะอาดและปรุงอย่างถูกสุขลักษณะ เพื่อความปลอดภัย.

NjpUs24nCQKx5e1GElbnQPEAONwtmzslTYTlvH0CBgm

 

 

ไทยรัฐออนไลน์

  • โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
  • 17 ธันวาคม 2553, 05:00 น.

 

สารบอแรกซ์ ในลูกชิ้นและไส้กรอก

10 ธันวาคม 2553, 05:01 น.

ผ่านทางสารบอแรกซ์ ในลูกชิ้นและไส้กรอก – ข่าวไทยรัฐออนไลน์.

EyWwB5WU57MYnKOvIWDlE7QmK6V2LXIBWTEJtQit52eMDjs1r1QzMe

 

สารบอแรกซ์ หลายคนคงจะรู้สึกคุ้นหูกับสารเคมีชนิดนี้ เนื่องจากสังคมไทยมีการกล่าวถึงอยู่บ่อยครั้ง

ด้วยเหตุที่ว่า เป็นสารที่ทำให้เกิดอันตรายกับร่างกายของเราอย่างมาก

สารบอแรกซ์ หรือน้ำประสานทอง เป็นสารเคมีที่ส่วนใหญ่มักใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตแก้วและเครื่องเคลือบต่างๆ

โดยใช้เป็นสารต้านจุลินทรีย์ ทำความสะอาดและใช้ทำสเปรย์ ถ้าเรารู้จักใช้อย่างถูกวิธี สารชนิดนี้ก็จะไม่ทำให้เกิดอันตรายแต่อย่างใด

แต่ปัจจุบันอาจไม่เป็นเช่นนั้น เนื่องจากมีพ่อค้า แม่ค้าหัวใสบางราย นำสารบอแรกซ์ไปผสมอาหารโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์

เพียงคิดว่าใส่ไปเพื่อให้อาหารมีความกรอบและหยุ่นมากขึ้น ส่วนใหญ่มักผสมในอาหารคาว เช่น ลูกชิ้น หมูยอ ไส้กรอก หัวไช้โป๊ ผักและผลไม้ดอง ในขนมหวาน เช่น ลอดช่อง วุ้นกรอบ สาคู ทับทิมกรอบ

ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ กำลังส่งผลกระทบอย่างรุนแรงสำหรับผู้บริโภคอย่างเราๆ

เนื่องจากส่วนผสมสารบอแรกซ์เป็นพิษต่อร่างกายทั้งเฉียบพลันและเรื้อรัง โดยมีอาการเป็นพิษต่อระบบประสาท ตับ ไต และผิวหนัง

วันนี้ สถาบันอาหารขอส่งสัญญาณเตือนให้กับผู้บริโภคและหน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแลควบคุมการผลิตและจำหน่ายในประเทศว่า

ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะเอาจริงเอาจังกับผู้ผลิตที่ฉวยโอกาสและไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของกระทรวงสาธารณสุขที่ห้ามใช้สารบอแรกซ์ในอาหารเหล่านี้

แต่คนไทยก็ไม่โชคร้ายเสมอไป เมื่อสถาบันอาหารได้สุ่มตัวอย่างลูกชิ้นปลาและไส้กรอก จำนวน 5 ตัวอย่าง จาก 5 ย่านการค้า เพื่อวิเคราะห์หาสารบอแรกซ์ปนเปื้อน

ผลปรากฏว่า ทุกตัวอย่างไม่พบการปนเปื้อนเลย ดังแสดงในตาราง.

NjpUs24nCQKx5e1GElpUSNhPexYR0fOmt1xN9HOBJJF

 

 

ไทยรัฐออนไลน์

  • โดย ไทยรัฐ+สถาบันอาหารโครงการอาหารปลอดภัย
  • 10 ธันวาคม 2553, 05:01 น.

 

อุตสาหกรรมอาหารก้าวไกล เศรษฐกิจไทยเข้มแข็ง!

3 ธันวาคม 2553, 05:00 น.

ผ่านทางอุตสาหกรรมอาหารก้าวไกล เศรษฐกิจไทยเข้มแข็ง! – ข่าวไทยรัฐออนไลน์.

EyWwB5WU57MYnKOvIWBVBFHgqfoiBgFFc8BnnenFY4zkdO3IBhaJem

 

แนวคิดของระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) ในปัจจุบัน ได้ถูกปรับเปลี่ยนจากภาพการให้ความสำคัญเฉพาะปัจจัยในการดำรงชีวิต

ไปสู่แนวคิดที่ผู้บริโภคต้องการมากกว่าความต้องการขั้นพื้นฐานในชีวิตประจำวัน และยังรวมถึงสิ่งที่สามารถเติมเต็มอารมณ์ สร้างประสบการณ์

โดยจะนำมาซึ่งยุทธศาสตร์การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน และยังทำให้ผู้บริโภคยินดีที่จะเลือกซื้อสินค้าดังกล่าวในราคาที่สูงกว่าสินค้าทั่วไป

ตามแนวคิดของการสร้างมูลค่าให้กับตัวสินค้า (Value Creation) มากขึ้น

ส่วนสิ่งที่จะไปกระตุ้นและเร่งเร้าให้ผู้ประกอบการเกิดความรู้สึกอยากจะพัฒนาและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ของตนเอง

“โครงการเสริมสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจแก่อุตสาหกรรมอาหารของไทย”

เป็นอีกหนึ่งโครงการที่ “สถาบันอาหาร” ดำเนินการขึ้นอย่างเป็นรูปเป็นร่าง  ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการต้องรับเงื่อนไขและหลักเกณฑ์

ในการพัฒนาคือ เป็นสินค้าที่มีนวัตกรรมใหม่ มีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นไปใช้ และมีความคิดสร้างสรรค์

คิดแล้วก็ได้นักวิชาการเป็นที่ปรึกษาทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติ

ลองผิด ลองถูก สารพัด กระทั่งถึงวันนี้

16 ธันวาคม 2553 เป็นอีกวันที่ภาคอุตสาหกรรมอาหารไทย จะเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เพราะเป็นวันเปิดตัวสุดยอดผลิตภัณฑ์ 50 ผลิตภัณฑ์ ที่วิจัยและถูกพัฒนาขึ้นจากมันสมองของคนไทย

ที่ต่อไปจะก้าวสู่เวทีการค้าโลก ผู้บริโภคต้องมั่นใจว่าอาหารไทยปลอดภัย และมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง

งานนิทรรศการและแสดงสินค้า “เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์… จากแนวคิดสู่ปฏิบัติการเพิ่มมูลค่าสินค้าอาหารไทย”

เป็นงานที่น่าชมอีกงานนึงสำหรับเดือนนี้ ใครว่างหรือใครสนใจ สามารถไปเยี่ยมชมกันได้

งานนี้ถ้าพลาดจะต้องรอไปอีกหลายปี…!!!

 

ไทยรัฐออนไลน์

  • โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
  • 3 ธันวาคม 2553, 05:00 น.

 

อะฟลาท็อกซินในพริกแห้ง

26 พฤศจิกายน 2553, 05:01 น.

ผ่านทางอะฟลาท็อกซินในพริกแห้ง – ข่าวไทยรัฐออนไลน์.

EyWwB5WU57MYnKOvIS229oTtg7t0UIEmM3oC0J5kmCAx8TUBhCcTK7

เชื้อรามีส่วนเกี่ยวข้องกับอาหารทั้งในแง่คุณประโยชน์และก่อให้เกิดการเสื่อมเสียของอาหารในระหว่างการเก็บรักษา

ถ้าอาหารถูกเก็บในสภาพที่เหมาะสม ทั้งความชื้นและอุณหภูมิต่อการเจริญของเชื้อรา ก็อาจก่อให้เกิดการเสื่อมเสียของอาหารนั้นๆได้

นอกจากเชื้อราจะก่อให้เกิดการเสื่อมเสียของอาหารแล้วยังมีเชื้อราบางชนิดที่ผลิตสารพิษเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค เช่น ราในกลุ่ม Aspergillus flavus และ Aspergillus parasiticus ซึ่งมีสีเหลืองอมเขียวหรือเหลืองอมน้ำตาล

ราพวกนี้สามารถสร้างสารพิษกลุ่มหนึ่งที่เรียกว่า อะฟลาท็อกซิน

อะฟลาท็อกซินเป็นสารที่ทนต่อความร้อนได้สูงถึง 288 องศาเซลเซียส ความร้อนที่เราใช้ประกอบอาหารประจำวัน เช่น หุง ต้ม นึ่ง หรือแม้แต่วิธีพาส–
เจอไรซ์และสเตอริไรซ์ก็ไม่สามารถทำลายพิษของมันได้

ส่วนใหญ่ผลิตภัณฑ์ที่มักจะตรวจพบการปนเปื้อนของอะฟลาท็อกซิน คือพวกพืชผลทางการเกษตร เช่น ถั่ว พริก ข้าวโพด เป็นต้น

เมื่อร่างกายได้รับพิษของ อะฟลาท็อกซิน จะเกิดอาการชัก หายใจลำบาก ตับถูกทำลาย หัวใจและสมองบวม ถ้าโชคร้ายหากร่างกายได้รับพิษมาก อาจทำให้เกิดมะเร็งในตับได้

เพราะฉะนั้นวิธีการหลีกเลี่ยงอย่างง่ายคือ การหัดเป็นคนช่างสังเกต เลือกดูอาหารที่เสื่อมสภาพด้วยตาเปล่า หากเห็นว่ามีสีหรือลักษณะเปลี่ยนไปจากเดิม ก็ควรหลีกเลี่ยง เลือกหาอาหารชนิดอื่นเสริมให้ร่างกายแทนดีกว่า

วันนี้สถาบันอาหารได้ทำการสุ่มตัวอย่างพริกแห้งจำนวน 5 ตัวอย่าง ที่มีจำหน่ายตามท้องตลาดในเขตกรุงเทพฯ เพื่อนำมาวิเคราะห์หาการปนเปื้อนของสาร อะฟลาท็อกซิน

ผลปรากฏว่าทั้ง 5 ตัวอย่าง พบสารพิษอะฟลาท็อกซินปนเปื้อนในปริมาณที่สามารถยอมรับได้ คือไม่เกิน 20 ไมโครกรัม/กิโลกรัม.

NjpUs24nCQKx5e1GEtgFcoA11ZUP6jgrovDPeiQq51F

ไทยรัฐออนไลน์

  • โดย ไทยรัฐ+สถาบันอาหารโครงการอาหารปลอดภัย
  • 26 พฤศจิกายน 2553, 05:01 น.

แคดเมียมในเห็ดหอมแห้ง

19 พฤศจิกายน 2553, 05:00 น.

ผ่านทางแคดเมียมในเห็ดหอมแห้ง – ข่าวไทยรัฐออนไลน์.

EyWwB5WU57MYnKOvIS6yiYVRfx0qsC17IStGBgJ73FoQ7BbaX3v5bx

 

คนไทยมีวิวัฒนาการของการรับประทานอาหารไม่เหมือนชาติใดในโลก คือสามารถนำอาหารท้องถิ่นของแต่ละแห่งมาผสมรวมกันกลายเป็นอาหารอีกชนิดหนึ่งได้อย่างน่าอัศจรรย์

จะว่าเป็นพรสวรรค์หรือฝีมืออันนี้ก็แล้วแต่ใครจะเรียก แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่อาจเหมือนใครนั่นคือ รสชาติที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว

อาหารไทยเป็นอาหารที่มีรสชาติจัดจ้านเป็นเอกลักษณ์ คนจีนกินอาหารที่มีรสชาตินุ่มนวลไม่จัดจ้าน แต่ก็ไม่เชิงไม่มีรสชาติเสียทีเดียว

วัตถุดิบก็เป็นสิ่งที่มีอยู่ในท้องถิ่น แต่เครื่องจะไม่เยอะเหมือนกับอาหารไทย

เมื่อคนจีนเริ่มเข้ามามีบทบาทในประเทศไทยมากขึ้น ก็ได้นำเอาวัฒนธรรม ด้านอาหารการกินเข้ามาด้วย เครื่องปรุงรสที่ใช้ก็จะมีเต้าเจี้ยว ซอส ซีอิ๊วต่างๆ หรือแม้แต่เห็ดหอม

เห็ดหอม เป็นเห็ดที่คนจีนใช้เป็นยาอายุวัฒนะ โดยมีความเชื่อว่าช่วย รักษาหวัด ทำให้เลือดลมดี

ประโยชน์ของเห็ดหอม คือบำรุงสมอง เพิ่มความสดชื่น คึกคัก ช่วย ในระบบย่อยอาหาร ป้องกันหลอดเลือดแดงแข็งตัว ต้านมะเร็ง รักษาหอบหืด ลดความเครียด ต้านไวรัส บำรุงประสาท ช่วยให้หลับง่าย บำรุงปอด บำรุง หลอดลม ชะลอความชรา

อีกทั้งเห็ดหอมยังมีกรดอะมิโนชื่อ eritadenine ช่วยให้ไตย่อยคอเลสเทอรอลได้ดี โดยตัวเห็ดหอมนั้นล้วนมีแต่ของที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

แต่สิ่งแวดล้อมภายนอกอาจทำให้เห็ดหอมนั้นมีโทษแฝงอยู่ เช่น ปนเปื้อน สารแคดเมียมในเห็ดหอมแห้ง ซึ่งอาจเกิดจากสภาพแวดล้อมที่ปนเปื้อน เช่น อาจมีการเพาะปลูกเห็ดหอมอยู่ใกล้ๆโรงงานอุตสาหกรรมหนักที่อาจปล่อยควันพิษ หรือของเสียต่างๆ หรือโลหะหนักลงสู่แหล่งน้ำและดิน

และเมื่อแคดเมียมปนเปื้อนอยู่ในแหล่งน้ำ ดิน และอากาศแล้ว โอกาสที่แคด-เมียมจะปนเปื้อนในพืช ผัก รวมถึงเห็ดที่เพาะปลูกอยู่ใกล้ๆ ก็มีสูงตามไปด้วย

สำหรับวันนี้ สถาบันอาหารได้ทำการสุ่มตัวอย่างเห็ดหอมแห้งเพื่อนำมาวิเคราะห์หาการปนเปื้อนของสารแคดเมียมในเห็ดหอม จำนวน 5 ตัวอย่าง

ผลวิเคราะห์ ปรากฏว่าพบแคดเมียมปนเปื้อนในทุกตัวอย่าง แต่ปริมาณที่ปนเปื้อนนั้นยังนับว่าไม่สูงมาก

วันนี้ยังทานเห็ดหอมกันได้ แต่ไม่ควรทานให้บ่อยมากนัก.

NjpUs24nCQKx5e1GEtgFcoA11ZUP6jgrovDPeiQq51F

 

 

ไทยรัฐออนไลน์

  • โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
  • 19 พฤศจิกายน 2553, 05:00 น.