อ้อย ชื่อพันธุ์ : ชัยนาท 1

ผ่านทางรายชื่อพันธุ์พืชรับรอง.

อ้อย
ชื่อพันธุ์ :  ชัยนาท 1
วันที่รับรอง : 14 ธันวาคม 2526
ประเภทพันธุ์ : พันธุ์รับรอง
ข้อมูลทั่วไป :
ประวัติ :
อ้อยพันธุ์ชัยนาท 1 ได้จากการคัดเลือกพันธุ์ลูกผสมระหว่างพันธุ์ F160 กับพันธุ์ CO.775 ทำการผสมอ้อยต่าง ๆ ในแปลงรวบรวมและศึกษาพันธุ์อ้อย ที่สถานีทดลองพืชไร่ชัยนาท ปี พ.ศ.2519 ทำการเพาะเมล็ดได้อ้อยลูกผสมประมาณ 3,968 ต้น นำมาปลูกแบบต้นต่อหลุม และคัดเลือกเฉพาะกออ้อยที่มีลักษณะดีเด่น
ลักษณะทั่วไป :
ใบมีขนาดใหญ่ ปล้องยาวมาก โคนโต สีน้ำตาลอมเขียว ไม่มีร่องตา ข้อโปนเด่น ออกดอกประมาณเดือนตุลาคม แตกกอดีปานกลาง ประมาณ 5 ลำต่อกอไม่ต้านทานการหักล้ม กาบใบไม่หลุดร่วงเอง แต่ลอกง่ายเหมาะที่จะใช้ปลูกในเขตชลประทานและที่มีดินเหนียวจัด ต้านทานโรคแส้ดำปานกลาง ทนแล้ง เจริญเติบโตค่อนข้าง เร็ว
ลักษณะเด่น :
เป็นพันธุ์ที่ให้น้ำตาลต่อไร่สูงผลผลิตสูงประมาเณ 15-18 ตันต่อไร่ ในไร่เกษตรกรที่มีน้ำชลประทานให้ผลผลิต 11 -15 ตันต่อไร่ ในสภาพน้ำฝนให้ค่าความหวาน 12-13 บริกซ์
พื้นที่แนะนำ :
ในเขตที่มีการชลประทานและในสภาพดินเหนียว ถ้าปลูกในเขตภาคตะวันออกจะออกดอกเร็ว ควรปลูกเป็นอ้อยข้ามปี คือปลูกหลังเดือนกรกฎาคม
ข้อควรระวัง :
ปลูกในสภาพดินมีความอุดมสมบูรณ์สูงจะมีการหักล้มง่าย

ข้าวเหนียว ชื่อพันธุ์ : อุบล 1

ผ่านทางรายชื่อพันธุ์พืชรับรอง.

ข้าวเหนียว
ชื่อพันธุ์ :  อุบล 1
วันที่รับรอง : 19 ตุลาคม 2526
ประเภทพันธุ์ : พันธุ์รับรอง
ข้อมูลทั่วไป :
ประวัติ :
ข้าวเหนียวพันธุ์อุบล 1 เป็นพันธุ์ผสมที่ได้จากการผสมพันธุ์ ระหว่างพันธุ์ข้าวเหนียวสันป่าตองกับพันธุ์ไออาร์ 262 ใน ปี พ.ศ.2509 นำข้าวลูกผสมชั่วที่ 1 ผสมกับพันธุ์ข้าวเหนียวสันป่าตองอีกครั้งหนึ่ง ในปีพ.ศ.2510 ที่สถานีทดลองข้าวบางเขนทำการปลูกคัดเลือกและเปรียบเทียบพันธุ์ที่สถานีทดลองข้าวอุบลราชธานีได้สายพันธุ์ UBN6721-11-1-6(3) ให้ผลผลิตสูงคุณภาพเมล็ดดี
ลักษณะทั่วไป :
ข้าวไวต่อช่วงแสงปลูกได้เฉพาะฤดูนาปี เก็บเกี่ยวประมาณกลางเดือนพฤศจิกายน ลำต้นเจริญเติบโตเต็มที่ สูงประมาณ 145 เซนติเมตร ทรงกอตั้งตรง แตกกอดี ต้นและใบสีเขียวเข้ม ใบธงตั้ง ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 7 สัปดาห์ ข้าวเปลือกสีฟางน้ำหนัก 100 เมล็ด 2.73 กรัม เมล็ดข้าวกล้องยาว 7.25 มิลลิเมตร รูปร่างเพรียว ลักษณะข้าวสุกนุ่มเหนียว
ลักษณะเด่น :
ผลผลิตเก็บเกี่ยวจากแปลงทดลองเฉลี่ยประมาณ 660 กิโลกรัมต่อไร่ เมล็ดยาว คุณภาพการหุงต้มดีอายุเบากว่า กข 8 และข้าวเหนียวสันป่าตองประมาณ 1 อาทิตย์ ต้านทานโรคใบสีส้ม ในสภาพธรรมชาติดี พอสมควร
พื้นที่แนะนำ :
ปลูกได้เฉพาะฤดูนาปีเก็บเกี่ยวประมาณกลางเดือนพฤศจิกายน
ข้อควรระวัง :
ไม่ต้านทานโรคไหม้ในระยะออกรวง

ข้าวเจ้า ชื่อพันธุ์ : แก่นจันทร์

ผ่านทางรายชื่อพันธุ์พืชรับรอง.

ข้าวเจ้า
ชื่อพันธุ์ :  แก่นจันทร์
วันที่รับรอง : 19 ตุลาคม 2526
ประเภทพันธุ์ : พันธุ์รับรอง
ข้อมูลทั่วไป :
ประวัติ :
ข้าวเจ้าพันธุ์แก่นจันทร์พันธุ์ข้าวพึ้นเมืองของภาคใต้เก็บรวงมาจากนาเกษตรกรในอำเภอกระบุรี จังหวัดระนองเมื่อปี พ.ศ.2509 ปลูกคัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์นำไปปลูกเปรียบเทียบผลผลิตในนาเกษตรกรปรากฏว่าต้านทานโรคและแมลงที่สำคัญบางชนิดและให้ผลผลิตเฉลี่ยดีเท่า ๆ กับข้าวพันธุ์นางพญา 132
ลักษณะทั่วไป :
ข้าวไวต่อช่วงแสงเก็บเกี่ยวระหว่างปลายเดือนมกราคมถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์ ลำต้นสูงประมาณ 165 เซนติเมตร ผลผลิตเก็บเกี่ยวจากแปลงทดลองเฉลี่ยประมาณ 450 กิโลกรัมต่อไร่ ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 5-6 สัปดาห์ ข้าวเปลือกสีฟาง น้ำหนัก 100 เมล็ด 2.54 กรัม เมล็ดข้าวกล้องยาว 7.2 มิลลิเมตร รูปร่างเรียวลักษณะข้าวสุกร่วนคล้าย กข 13
ลักษณะเด่น :
คุณภาพเมล็ดดีกว่า กข 13 ผลผลิตดีกว่าข้าวนางพญา 132 ต้านทานโรคใบหงิก โรคใบขีดสีน้ำตาลและต้านทานปานกลางต่อเพลี้ยจั๊กจั่นสีเขียว
พื้นที่แนะนำ :
เหมาะสำหรับปลูกเป็นข้าวนาสวนในภาคใต้เท่านั้นไม่แนะนำให้ปลูกในภาคอื่น
ข้อควรระวัง :
ไม่ต้านทานโรคไหม้ และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

สุุทิน-จิตรา คล้ายมนต์

ข้าวสาลี ชื่อพันธุ์ : สะเมิง 2

ผ่านทางรายชื่อพันธุ์พืชรับรอง.

ข้าวสาลี
ชื่อพันธุ์ :  สะเมิง 2
วันที่รับรอง : 19 ตุลาคม 2526
ประเภทพันธุ์ : พันธุ์รับรอง
ข้อมูลทั่วไป :
ประวัติ :
ข้าวสาลีพันธุ์ผสมที่รัฐบาลเม็กซิโก ประกาศใช้เป็นพันธุ์ดีในชื่อโซโนร่า 64 เมื่อปี พ.ศ.2507 ได้จากการผสมพันธุ์ 3 ทางระหว่างพันธุ์ยาคทานาร์ 54 นอริน 10 กับบริเวอร์ แล้วนำลูกผสมไปผสมกับยากี้ 54 อีก 2 ครั้ง นำเข้ามาปลูกในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ.2510 และปลูกทดสอบต่อ ๆ มา เป็นพันธุ์ที่ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมต่าง ๆได้ดี
ลักษณะทั่วไป :
ลำต้นเจริญเติบโตเต็มที่ สูงประมาณ 70 เซนติเมตร รวงมีหาง อายุตั้งแต่ปลูกถึงเก็บเกี่ยวประมาณ 110 วัน ให้ผลผลิตสูง เมล็ดขนาดปานกลางมีสีน้ำตาลแดง เปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบ เมล็ดหักน้อย น้ำหนัก 100 เมล็ด 4.14 กรัม เมล็ดมีขนาดยาว 6.44 มิลลิเมตร อัตราการสกัดเมล็ดเป็นแป้ง 72 เปอร์เซ็นต์
ลักษณะเด่น :
ผลผลิต 450 กิโลกรัมต่อไร่ ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมดี ปริมาณโปรตีนค่อนข้างสูง แป้งมีความยืดหยุ่นปานกลางมีสีคล้ำคุณภาพแป้งใช้ทำขนมปังได้
พื้นที่แนะนำ :
ให้ปลูกในภาคเหนือ
ข้อควรระวัง :
ต้นค่อนข้างเตี้ยทำให้ผลผลิตต่ำ

ข้าวสาลี ชื่อพันธุ์ : สะเมิง 1

ผ่านทางรายชื่อพันธุ์พืชรับรอง.

ข้าวสาลี
ชื่อพันธุ์ :  สะเมิง 1
วันที่รับรอง : 19 ตุลาคม 2526
ประเภทพันธุ์ : พันธุ์รับรอง
ข้อมูลทั่วไป :
ประวัติ :
ข้าวสาลีพันธุ์ สะเมิง 1 เป็นพันธุ์ข้าวสาลีลูกผสมพันธุ์ดีชื่อ อินเนีย 66 เป็นข้าวสาลีขนมปัง ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างข้าวสาลีพันธุ์เลอร์มาโรโฮ 64 กับโซโนร่า 64 นำเข้ามาทดลองปลูกที่สถานีทดลองพืชสวนฝางจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ.2510 และปลูกทดลองที่สถานีทดลองข้าวไร่และธัญพืชเมืองหนาวสะเมิง
ลักษณะทั่วไป :
ลำต้นเจริญเติบโตเต็มที่ สูงประมาณ 80 เซนติเมตร หูใบสีแดง รวงมีหาง อายุตั้งแต่ปลูกถึงเก็บเกี่ยวประมาณ 115 วัน ให้ผลผลิตสูง เมล็ดมีสีน้ำตาลแดง ขนาดใหญ่ มีเปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบ เมล็ดหักน้อย น้ำหนัก 100 เมล็ด 4.23 กรัม เมล็ดมีขนาดยาว 7.25 มิลลิเมตร อัตราการสกัดเมล็ดเป็นแป้ง 70 เปอร์เซ็นต์
ลักษณะเด่น :
ผลผลิต 330 กิโลกรัมต่อไร่ ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดีและค่อนข้างต้านทานโรคราสนิม แป้งที่นวดแล้ว มีความยืดหยุ่นใช้ทำขนมปัง และทำแป้งเอนกประสงค์ดี
พื้นที่แนะนำ :
ปลูกในภาคเหนือ
ข้อควรระวัง :
ต้นค่อนข้างเตี้ยทำให้ผลผลิตต่ำ

ข้าวบาร์เลย์ ชื่อพันธุ์ : สะเมิง 2

ผ่านทางรายชื่อพันธุ์พืชรับรอง.

ข้าวบาร์เลย์
ชื่อพันธุ์ :  สะเมิง 2
วันที่รับรอง : 19 ตุลาคม 2526
ประเภทพันธุ์ : พันธุ์รับรอง
ข้อมูลทั่วไป :
ประวัติ :
ข้าวบาร์เลย์พันธุ์สะเมิง 2 พันธุ์ไอบอน 42 ได้มาจากศูนย์ปรับปรุงข้าวโพดและข้าวสาลีนานาชาติ(CIMMYT) เมื่อปี พ.ศ.2517 นำมาทดลองปลูกครั้งแรกที่สถานีทดลองเกษตรที่สูงขุนช่างเคี่ยน ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาได้ปลูกทดลองตามสถานีทดลองต่าง ๆ หลายแห่งให้ผลผลิตสูง คุณภาพดี
ลักษณะทั่วไป :
ลำต้นเจริญเติบโตเต็ม สูงประมาณ 75 เซนติเมตร รวงมีหาง เมล็ดติดเปลือก อายุตั้งแต่ปลูกถึงเก็บเกี่ยวประมาณ 125 วัน ให้ผลผลิตค่อนข้างสูง น้ำหนัก 100 เมล็ด 3.36 กรัม เมล็ดมีขนาดยาว 8.15 มิลลิเมตร
ลักษณะเด่น :
ผลผลิตค่อนข้างสูง เฉลี่ย 300 กิโลกรัมต่อไร่ มีคุณภาพมอท์ลเป็นที่ยอมรับในการผลิตเบียร์
พื้นที่แนะนำ :
ปลูกใน ภาคเหนือ
ข้อควรระวัง :
เติบโตไม่ดีในสภาพอากาศร้อน ในสภาพพื้นที่ปลูกชื้นแฉะจะเป็นโรคต้นกล้าเน่า และเป็นโรคใบจุดสีน้ำตาล และโรคไหม้มาก

ข้าวบาร์เลย์ ชื่อพันธุ์ : สะเมิง 1

ผ่านทางรายชื่อพันธุ์พืชรับรอง.

ข้าวบาร์เลย์
ชื่อพันธุ์ :  สะเมิง 1
วันที่รับรอง : 19 ตุลาคม 2526
ประเภทพันธุ์ : พันธุ์รับรอง
ข้อมูลทั่วไป :
ประวัติ :
ข้าวบาร์เลย์พันธุ์ สะเมิง 1 คือพันธุ์ ไอบอน 118 ได้มาจากศูนย์ปรับปรุงข้าวโพดและข้าวสาลีนานาชาติ (CIMMYT) เมื่อ ปี พ.ศ.2517 นำมาทดลองปลูกครั้งแรกที่สถานีทดลองเกษตรที่สูงขุนช่างเคี่ยน ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาได้ปลูกทดลองตามสถานีทดลองต่าง ๆ หลายแห่งให้ผลผลิตสูง คุณภาพดี
ลักษณะทั่วไป :
ลำต้นเจริญเติบโตเต็มที่ สูงประมาณ 70 เซนติเมตร รวงมีหาง เมล็ดติดเปลือก มีอายุตั้งแต่ปลูกถึงเก็บเกี่ยว ประมาณ 120 วัน ให้ผลผลิตค่อนข้างสูง น้ำหนัก 100 เมล็ด 3.65 กรัม เมล็ดมีขนาด ยาว 8.24 มิลลิเมตร
ลักษณะเด่น :
ผลผลิตค่อนข้างสูง ประมาณ 270 กิโลกรัมต่อไร่ มีคุณภาพมอท์ลเป็นที่ยอมรับในการผลิตเบียร์
พื้นที่แนะนำ :
แนะนำให้ปลูกในภาคเหนือ
ข้อควรระวัง :
เติบโตไม่ดีในสภาพอากาศร้อน ในสภาพพื้นที่ชื้นแฉะจะเป็นโรคต้นกล้าเน่า และเป็นโรคใบจุดสีน้ำตาลและโรคไหม้มาก

มันสำปะหลัง ชื่อพันธุ์ : ระยอง 3

ผ่านทางรายชื่อพันธุ์พืชรับรอง.

มันสำปะหลัง
ชื่อพันธุ์ :  ระยอง 3
วันที่รับรอง : 18 พฤษภาคม 2526
ประเภทพันธุ์ : พันธุ์รับรอง
ข้อมูลทั่วไป :
ประวัติ :
มันสำปะหลังพันธุ์ ระยอง 3 ได้มาจากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์ Mmex 55 กับพันธุ์ Mven 307 เรียกชื่อคู่ผสมนี้ว่า CM 407 กองพืชไร่นำเมล็ดลูกผสมมาจากศูนย์วิจัยเกษตรเขตร้อนนานาชาติ (CIAT) ประเทศโคลัมเบีย เมื่อปีพ.ศ.2518 นำมาปลูกคัดเลือกตามขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์ที่สถานีทดลองพืชไร่ระยองได้ต้นที่ค่อนข้างเตี้ยเก็บเกี่ยวผลผลิตง่าย
ลักษณะทั่วไป :
ยอดและใบแรกที่เจริญเต็มที่สีเขียวอ่อน ก้านใบสีเขียวอ่อนปนแดง ใบแหลมแบบใบหอก ลำต้น หัวเปลือกมีสีน้ำตาลอ่อนเนื้อในสีขาวความสูงของต้นประมาณ 73 เซนติเมตร ลักษณะการเกิดของหัวจะรวมกันแน่นอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 2 เดือน ขยายพันธุ์ด้วยลำต้น
ลักษณะเด่น :
ผลผลิตหัวสด 3,899 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตแป้งสูงถึง 914 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ระยอง 1 19.8 เปอร์เซ็นต์ เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมทำแป้งและอาหารสัตว์ หัวสดมีแป้งสูง 23.4 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสูงกว่าพันธุ์ ระยอง 1 ซึ่งมีแป้งเพียง 18.3 เปอร์เซ็นต์ ให้ผลผลิตมันเส้นหรือมันแห้ง สูงถึง 1,489 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งสูงกว่าพันธุ์ระยอง 1 ถึง 11.5 เปอร์เซ็นต์ ต้านทานต่อโรคใบไหม้ปานกลาง
พื้นที่แนะนำ :
ต้นฤดูฝนเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายนปลายฤดูฝนเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม
ข้อควรระวัง :
ไม่ควรปลูกช่วงฝนตกหนักหรือแล้งจัด เพราะอัตราการตายสูง และให้ผลผลิตต่ำ

มะพร้าว ชื่อพันธุ์ : สวีลูกผสม 1

ผ่านทางรายชื่อพันธุ์พืชรับรอง.

มะพร้าว
ชื่อพันธุ์ :  สวีลูกผสม 1
วันที่รับรอง : 23 กุมภาพันธ์ 2525
ประเภทพันธุ์ : พันธุ์รับรอง
ข้อมูลทั่วไป :
ประวัติ :
กองพืชสวน กรมวิชาการเกษตร ได้สั่งซื้อมะพร้าวลูกผสม PB.121 และอีกจำนวน 6 คู่ผสม จากประเทศไอวอรี่โคสท์ เมื่อปี พ.ศ.2517 นำมาปลูกที่สถานีทดลองพืชสวนสวี ปี พ.ศ.2519 ได้สั่งซื้อจากประเทศมาเลเซียซึ่งแม่พันธุ์เป็นมลายูสีแดง ต้นเตี้ย พ่อพันธุ์คือเวสท์แอฟริกันต้นสูง นำมาปลูกเปรียบเทียบที่สถานีทดลองยางคันธุลี ในปี พ.ศ.2520 ซื้อลูกผสมมลายูสีเหลืองต้นเตี้ยกับเวสแอฟริกัน ต้นสูง จากประเทศไอวอรี่โคสท์มาปลูกเปรียบเทียบกับพันธุ์ไทยพื้นเมืองที่สถานีทดลองยางคันธุลีสถานีทดลองยางคลองท่อมสถานีทดลองยางถลางพบว่า มะพร้าวสวีลูกผสม 1 ตกผลเร็วให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์อื่น
ลักษณะทั่วไป :
ทรงพุ่มหน่อพันธุ์เป็นรูปทรงกลม ก้านทางใบมีสีเขียว หรือน้ำตาลแกมเขียวใบเป็นมัน อัตราการเพิ่มของใบประมาณ 14-16 ใบต่อปีเมื่อตกผลแล้ว ออกจั่นครบ 50 เปอร์เซ็นต์ เมื่ออายุ 44 เดือน หน่อเริ่มงอกมีสีเขียว สีน้ำตาล และสีน้ำตาลอมเขียว ตอบสนองต่อปุ๋ยดี
ลักษณะเด่น :
อายุการออกผลเร็ว สามารถเก็บผลผลิตได้เมื่ออายุ 4 ปี 6 เดือนในปีที่ 13 หลังปลูกให้ผลผลิตเฉลี่ย 2,392 ผลต่อไร่ เมื่อปลูก 22 ต้นต่อไร่ หรือให้ผลผลิตเนื้อมะพร้าวแห้ง 572 กิโลกรัมต่อไร่ น้ำหนักเนื้อมะพร้าวสด ประมาณ 322 กรัมต่อผล น้ำหนักเนื้อมะพร้าวแห้ง 210 กรัมต่อผล มีน้ำมันสูงถึง 64-67 เปอร์เซ็นต์ ทนแล้งปานกลาง
พื้นที่แนะนำ :
แหล่งปลูกมะพร้าวในเขตภาคกลางและภาคใต้
ข้อควรระวัง :

ข้าวโพดฝักอ่อน ชื่อพันธุ์ : รังสิต 1

ผ่านทางรายชื่อพันธุ์พืชรับรอง.

ข้าวโพดฝักอ่อน
ชื่อพันธุ์ :  รังสิต 1
วันที่รับรอง : 28 กันยายน 2525
ประเภทพันธุ์ : พันธุ์รับรอง
ข้อมูลทั่วไป :
ประวัติ :
กองพืชไร่นำเชื้อพันธุกรรมข้าวโพดฝักอ่อนมาจากแหล่งต่าง ๆในปี พ.ศ.2519 ทำการผสมพันธุ์เพื่อให้ได้พันธุ์ข้าวโพดฝักอ่อนตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เป็นจำนวน 147 พันธุ์ ในปี พ.ศ.2520 ดำเนินการ 4 ปี ได้พันธุ์ข้าวโพดไร่ที่ดีกว่าข้าวโพดพันธุ์ต่างๆ ที่เกษตรกรใช้ปลูกเพิ่มโดยให้ผลผลิตสูงกว่ามีคุณภาพดีกว่าได้มาตรฐานตามที่โรงงานอุตสาหกรรมต้องการ
ลักษณะทั่วไป :
ลำต้นสีเขียว แข็งแรงการเจริญเติบโตดี เหมาะสำหรับปลูกเพื่อเก็บฝักอ่อนอายุเก็บเกี่ยว 110-120 วัน ให้ผลผลิตสูง ขนาด สีและรูปทรงของฝักสดที่ปอกเปลือกแล้วได้มาตรฐานสูง ตรงตามความต้องการของตลาด คือมีขนาด 1.0-1.5 x 4.0-9.0 เซนติเมตร ให้จำนวนฝัก 2-3 ฝักต่อต้น น้ำหนักฝักสด 1 กิโลกรัม จะมีฝักอ่อนปอกเปลือกแล้ว 12-13 ฝัก
ลักษณะเด่น :
ลำต้นแข็งแรงเจริญเติบโตเร็วให้น้ำหนักฝักสดก่อนปอกเปลือกและน้ำหนักฝักสดหลังปอกเปลือกแล้วสูงคือน้ำหนักฝักสดก่อนปอกเปลือก 800-1,000 กิโลกรัมต่อไร่ น้ำหนักฝักสดหลังปอกเปลือกแล้ว 100-175 กิโลกรัมต่อไร่ เป็นพันธุ์ที่เหมาะสมสำหรับอุตสาหกรรมบรรจุกระป๋อง
พื้นที่แนะนำ :
สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปีหากพื้นที่นั้นมีน้ำอุดมสมบูรณ์พอเพียง
ข้อควรระวัง :
ไม่ต้านทานโรคราน้ำค้าง