คนล่าฝัน..ฟื้นขุมทรัพย์แผ่นดิน อ่างเก็บน้ำในพระราชดำริ

ศาสตร์เกษตรดินปุ๋ย : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

http://www.thairath.co.th/content/555348

โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 29 ธ.ค. 2558 05:01

คนล่าฝัน..ฟื้นขุมทรัพย์แผ่นดิน อ่างเก็บน้ำในพระราชดำริ

สภาพก่อนฟื้นฟู

น้ำคือชีวิต…แม้วันนี้น้ำในเขื่อนจะมีน้อยนิดในระดับวิกฤติ ตราบใดที่เปิดก๊อก น้ำประปายังคงไหลซู่ให้อาบใช้ คนในเมืองคงไม่รู้สึกรู้สา ภัยแล้งเป็นอย่างไร แต่สำหรับเกษตรกร คนในถิ่นทุรกันดาร รู้ซึ้งเป็นที่สุด น้ำคือชีวิต มีความหมายยิ่งใหญ่เพียงไหน

ไม่มีน้ำ…ไม่มีชีวิต…ไม่อาจทำมาหาเลี้ยงชีพได้

น้ำคือชีวิต…คำนี้เราได้ยินได้ฟังกันมานาน จากทั้งสองพระองค์ท่าน พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งถึงเรื่องนี้อยู่เนืองๆมาตั้งแต่ก่อนที่คนไทยจะได้รู้จักคำว่าโลกร้อน ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง Climate Change และตลอดระยะเวลาที่เนิ่นนาน โครงการช่วยเหลือราษฎรของพระองค์ท่าน ทรงมุ่งเน้นไปที่การสร้างแหล่งน้ำเป็นสำคัญ

เพราะมีน้ำมีชีวิต มีอาชีพ มีรายได้เลี้ยงชีวิตและครอบครัว

พื้นที่ชายแดนไทยด้าน อ.พบพระ อ.อุ้มผาง จ.ตาก ในช่วงก่อนปี 2524 รอบรั้วบ้านเราแต่ละประเทศต่างมีปัญหาสงครามลัทธิการเมืองแย่งชิงมวลชน ในบ้านเราเองก็เช่นกัน ห้วงเวลานั้นสถานการณ์ความมั่นคงด้านชายแดนน่าเป็นห่วงยิ่งนัก เพราะไม่อาจทราบได้ว่า กองกำลังฝ่ายไหน จากประเทศใด จะเข้ามาแทรกซึมฝังตัวในแผ่นดินไทยหรือไม่ รัฐบาลจึงมีโครงการพัฒนาหมู่บ้านป้องกันตัวเองตามแนวชายแดน ด้วยการรวบรวมชาวเขาที่ตั้งถิ่นฐานกระจัดกระจายไปตามผืนป่า ให้มารวมตัวกันตั้งหมู่บ้านใหม่ขึ้นมา เพื่อความมั่นคงของประเทศ

ตั้งหมู่บ้านจะให้ผู้คนมาลงหลักปักฐานได้ ย่อมต้องมีแหล่งน้ำ…ในบันทึกของกรมชลประทาน อ.พบพระ และ อ.อุ้มผาง มีโครงการสร้าง แหล่งน้ำในพระราชดำริอยู่ทั้งหมด 45 แห่ง

แต่ด้วยวันเวลาที่ผ่านไป ประกอบกับเส้นทางคมนาคมสุดกันดาร แม้แต่ปัจจุบันที่ว่าถนนดี รถยนต์ดี จากตัวจังหวัดไป อ.อุ้มผาง ระยะทาง 200 กม. ต้องใช้เวลา 6 ชั่วโมง ยุคก่อนแทบไม่ต้องพูดถึงจะสาหัสแค่ไหน แถมชลประทานมีเจ้าหน้าที่ดูแลโครงการในพื้นที่แค่หนึ่งเดียว…แหล่งน้ำจึงขาดการบำรุงรักษา มีอันชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา

โชคดี วันนี้กรมชลประทานมีข้าราชการจิตอาสาเข้าไปรื้อฟื้นแหล่งน้ำในพระราชดำริให้ฟื้นกลับคืนมา

คนล่าฝัน..ฟื้นขุมทรัพย์แผ่นดิน อ่างเก็บน้ำในพระราชดำริ
  • ไทยรัฐฉบับพิมพ์

คนล่าฝัน..ฟื้นขุมทรัพย์แผ่นดิน อ่างเก็บน้ำในพระราชดำริ

สภาพก่อนฟื้นฟู

น้ำคือชีวิต…แม้วันนี้น้ำในเขื่อนจะมีน้อยนิดในระดับวิกฤติ ตราบใดที่เปิดก๊อก น้ำประปายังคงไหลซู่ให้อาบใช้ คนในเมืองคงไม่รู้สึกรู้สา ภัยแล้งเป็นอย่างไร แต่สำหรับเกษตรกร คนในถิ่นทุรกันดาร รู้ซึ้งเป็นที่สุด น้ำคือชีวิต มีความหมายยิ่งใหญ่เพียงไหน

ไม่มีน้ำ…ไม่มีชีวิต…ไม่อาจทำมาหาเลี้ยงชีพได้

น้ำคือชีวิต…คำนี้เราได้ยินได้ฟังกันมานาน จากทั้งสองพระองค์ท่าน พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งถึงเรื่องนี้อยู่เนืองๆมาตั้งแต่ก่อนที่คนไทยจะได้รู้จักคำว่าโลกร้อน ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง Climate Change และตลอดระยะเวลาที่เนิ่นนาน โครงการช่วยเหลือราษฎรของพระองค์ท่าน ทรงมุ่งเน้นไปที่การสร้างแหล่งน้ำเป็นสำคัญ

เพราะมีน้ำมีชีวิต มีอาชีพ มีรายได้เลี้ยงชีวิตและครอบครัว

พื้นที่ชายแดนไทยด้าน อ.พบพระ อ.อุ้มผาง จ.ตาก ในช่วงก่อนปี 2524 รอบรั้วบ้านเราแต่ละประเทศต่างมีปัญหาสงครามลัทธิการเมืองแย่งชิงมวลชน ในบ้านเราเองก็เช่นกัน ห้วงเวลานั้นสถานการณ์ความมั่นคงด้านชายแดนน่าเป็นห่วงยิ่งนัก เพราะไม่อาจทราบได้ว่า กองกำลังฝ่ายไหน จากประเทศใด จะเข้ามาแทรกซึมฝังตัวในแผ่นดินไทยหรือไม่ รัฐบาลจึงมีโครงการพัฒนาหมู่บ้านป้องกันตัวเองตามแนวชายแดน ด้วยการรวบรวมชาวเขาที่ตั้งถิ่นฐานกระจัดกระจายไปตามผืนป่า ให้มารวมตัวกันตั้งหมู่บ้านใหม่ขึ้นมา เพื่อความมั่นคงของประเทศ

ตั้งหมู่บ้านจะให้ผู้คนมาลงหลักปักฐานได้ ย่อมต้องมีแหล่งน้ำ…ในบันทึกของกรมชลประทาน อ.พบพระ และ อ.อุ้มผาง มีโครงการสร้าง แหล่งน้ำในพระราชดำริอยู่ทั้งหมด 45 แห่ง

แต่ด้วยวันเวลาที่ผ่านไป ประกอบกับเส้นทางคมนาคมสุดกันดาร แม้แต่ปัจจุบันที่ว่าถนนดี รถยนต์ดี จากตัวจังหวัดไป อ.อุ้มผาง ระยะทาง 200 กม. ต้องใช้เวลา 6 ชั่วโมง ยุคก่อนแทบไม่ต้องพูดถึงจะสาหัสแค่ไหน แถมชลประทานมีเจ้าหน้าที่ดูแลโครงการในพื้นที่แค่หนึ่งเดียว…แหล่งน้ำจึงขาดการบำรุงรักษา มีอันชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา

โชคดี วันนี้กรมชลประทานมีข้าราชการจิตอาสาเข้าไปรื้อฟื้นแหล่งน้ำในพระราชดำริให้ฟื้นกลับคืนมา

“2 ปีที่เราออกสำรวจหาตามบันทึก พบแล้ว 29 แห่ง และฟื้นฟูให้กลับมาใช้งานได้แล้ว 19 แห่ง”

ธรณิศ มั่นศรี หน.ฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 4 ชลประทานตาก เผยถึงความสำเร็จของการร่วมทำตามนโยบายใหม่กรมชลประทาน ได้เข้าไปดูแลฟื้นฟูแหล่งน้ำในความรับผิดชอบให้เกิดประสิทธิภาพการใช้งานได้สูงสุด ไม่ใช่ดูแลระบบชลประทานในพื้นที่ราบเท่านั้น ในพื้นที่ป่าต้นน้ำก็สำคัญเช่นกัน เพราะเป็นแหล่งน้ำต้นทุน…ฟื้นฟูอ่างเล็กอ่างน้อยให้มีประสิทธิภาพ ไม่เพียงชาวบ้านจะได้มีน้ำประกอบสัมมาอาชีพ น้ำต้นทุนจะได้ไหลสู่เบื้องล่างช้าลง น้ำที่เก็บกักจะได้มีโอกาสค่อยๆซึมลงดิน ช่วยอนุรักษ์ดิน ป่า ให้ช่วยเก็บน้ำไม่ให้ไหลลงทะเลเร็ว และคนพื้นล่างจะได้มีน้ำใช้นานวันมากขึ้น

2 ปี แหล่งน้ำ 45 แห่ง ค้นพบ 29 ฟื้นฟูได้ 19 แห่ง…หลายคนอาจมองเป็นเรื่องชิวๆ ด้วยอุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือยุคปัจจุบันน่าจะทำได้มากกว่านี้

แต่สำหรับคนที่รู้จักพื้นที่แถบนี้ดี ถือเป็นเรื่องอัศจรรย์ที่เกิดขึ้นบนแผ่นดินนี้ เพราะอ่างที่ชำรุดทรุดโทรมไปนั้น หลายแห่งอยู่ในสภาพที่เรียกว่า แทบไม่เหลือสภาพเดิม แม้จะใช้เครื่องจีพีเอสตรวจจับหาพิกัดได้ก็ตาม แต่ไปเห็นแล้วยังไม่อาจมั่นใจได้ว่าพิกัดถูกต้อง เลยต้องไหว้วานคนเก่าคนแก่มายืนยันชี้จุด

ที่สำคัญกว่าจะเข้าไปถึงจุดได้ ไม่เพียงต้องเดินบุกป่าฝ่าดง บางแห่งยังต้องถ่อแพตามหา มิต่างตามหาขุมทรัพย์ในลายแทง…หาจนเจอแล้วใช่ว่าจะฟื้นฟูกันง่ายๆ รถขุด รถแบ็กโฮ ต่อให้มีเป็น 10 คัน ช่วยอะไรไม่ได้ เพราะไม่มีถนนให้รถเข้าไป ต้องใช้แรงงานคนสถานเดียว

นั่นเป็นแค่ความยากลำบากเบื้องต้นเท่านั้น…ยังเสี่ยงอันตรายถึงชีวิตอีกต่างหาก

“อ่างเก็บน้ำบางแห่งแทบไม่เหลือสภาพเดิม เพราะถูกดินสไลด์ทับถมหนา 7-8 เมตร เหลือเป็นแอ่งน้ำเล็กๆ ตรงบริเวณสะดืออ่าง จะฟื้นฟูให้เหมือนเดิมได้ เราต้องใส่ชุดประดาน้ำลงไปตรวจสอบท่อส่งน้ำตรงสะดืออ่างว่ามีปัญหาอะไรถึงส่งน้ำไปให้ชาวบ้านไม่ได้ เพื่อจะได้แก้ปัญหาได้ถูกจุด บางครั้งเจอตอไม้ ท่อนซุง ไปอุดอยู่บริเวณปากท่อส่งน้ำ การดำลงไปเราต้องระวังแรงน้ำจะดูดให้เราเข้าไปติดอยู่ในท่อเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้”

2 ปี หาได้ 29 ฟื้นฟูได้ 19 แห่ง… ใครจะว่ามากหรือน้อย “ธรณิศ” ไม่ย่อท้อ ยังคงเดินตามเส้นทางคนมุ่งมั่นล่าฝัน เพื่อทำให้ได้ครบ 45 แห่งต่อไป.

ทีมข่าวเกษตร

ไม้ดอกไม้ประดับมุ่ง AEC มีโอกาสเป็นเงินเป็นทอง

ศาสตร์เกษตรดินปุ๋ย : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

http://www.thairath.co.th/content/554967

โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 28 ธ.ค. 2558 05:01

 

แวนด้า หลากหลายพันธุ์

แม้เกษตรกรหลายภาคส่วนที่ไม่ได้เตรียมเนื้อเตรียมตัวรับการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC จะได้รับผลกระทบ…แต่เกษตรกรปลูกไม้ดอกไม้ประดับถือเป็นโชคที่จะขยายตลาดออกไปได้อย่างมากกว่าเดิม

“ที่ผ่านมาสินค้าไม้ดอกไม้ประดับของเราถูกกีดกันทางการค้าเยอะมาก บางครั้งถูกพ่อค้าต่างชาติแอบมาสร้างนอมินีขึ้นมาแล้วปลูกส่งไปขายเอง ใครที่มีสายพันธุ์ดีๆจะถูกกว้านซื้อผลผลิตแล้วแอบขนไปกักตุนไว้ เมื่อถึงฤดูเทศกาลใช้ไม้ดอกไม้ประดับจึงเอาออกมาขายตัดราคา โดยอ้างชื่อว่าไม้ดอกไม้ประดับจากประเทศไทย”

นายทวีพงศ์ สุวรรณโร ผอ.กลุ่มส่งเสริมไม้ดอกและไม้ประดับ กรมส่งเสริมการเกษตร บอกว่า ฉะนั้นการเปิด AEC ข้อกีดกันทางการค้าต่างๆย่อมลดน้อยถอยลง ย่อมมีผลทำให้เกษตรกรไทยที่ปลูกไม้ดอกไม้ประดับมีช่องทางทำมาหากินได้มากขึ้นอย่างแน่นอน

“เพราะบ้านเราเป็นแหล่งผลิตไม้ดอกไม้ประดับที่สำคัญติดอันดับของโลก เรามีแหล่งน้ำ มีธาตุอาหารในดิน สภาพอากาศที่ดี และยังมีเทคโนโลยีการผลิตที่มีมาตรฐานสูงกว่าประเทศอื่น แถมนักปรับปรุงพันธุ์ของเราฝีมือไม่เป็นสองรองใคร สามารถสร้างพันธุ์ดีๆออกมาสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก แต่ละปีมีผลผลิตได้ลูกผสมใหม่ๆ ที่มีสีสันสวยงาม แปลกตา ซึ่งไม่มีประเทศใดในโลกทำได้เท่าบ้านเรา”

ม่วงราชกุมารี

รักตสิริน

ตลาดไม้ดอกไม้ประดับที่โดดเด่นในปีนี้ ยังคงจะเป็นกล้วยไม้สกุลหวาย กับแวนด้า ที่จะช่วยรายได้หลักให้กับประเทศด้วย ล่าสุดมีลูกผสมที่ได้รับพระราชทานชื่อ เช่น รักตสิริน และ ม่วงราชกุมารี

ส่วนไม้ดอกไม้ประดับในปีหน้าที่มองแล้วจะมีอนาคตไกล ผอ.กลุ่มส่งเสริมไม้ดอกและไม้ประดับ มองไปที่กลุ่มไม้ดอกเมืองหนาว คาร์เนชั่น ลิลลี่ เนื่องจากทุกวันนี้มีการปลูกน้อยมาก

ไฮเดรนเยีย

แต่ที่มาแรงสุดๆ…ไฮเดรนเยียที่วันนี้ปลูกได้ทั้งเป็นไม้กระถางและไม้ตัดดอก แหล่งผลิตมีเพียง จ.เชียงใหม่ และเลย เกษตรกรผู้จ้องมองหารายได้ในอนาคตควรจะเริ่มทำความรู้จักกับไม้ดอกสายพันธุ์นี้ให้มากขึ้น เพราะในต่างประเทศรู้จักไฮเดรนเยียในชื่อของฮอร์เดนเชีย (Hortensia) พืชสกุลหนึ่งในวงศ์ Hydrangeaceae ที่มีถึง 80 สกุล ส่วนใหญ่พบในจีน ญี่ปุ่น ทวีปอเมริกาพบในเม็กซิโกและอเมริกาใต้ บางสกุลอาจพบในออสเตรเลีย ในยุโรปพบเพียงสกุลเดียวเท่านั้น

ส่วนในบ้านเราถึงจะไม่ใช่ไม้พื้นเมืองของไทยก็ตาม แต่นักปรับปรุงพันธุ์คนไทยได้นำมาพัฒนาสายพันธุ์ให้ปลูกได้ง่าย ในที่ที่ไม่ต้องหนาวมาก แค่ปักชำกิ่งในพื้นที่มีความชื้นสูง แดดไม่จัด เลยทำให้วันนี้บ้านเรามีไฮเดรนเยียมากมายหลายสกุล แถมยังมีการผสมให้เกิดสีสันใหม่ๆตามมาอีกมากมาย

เบญจมาศ

เบญจมาศ… เป็นไม้ดอกไม้ประดับอีกพันธุ์ที่น่าสนใจ ทั้งที่บ้านเราปลูกไม้ดอกไม้ประดับได้สารพัดสายพันธุ์ แต่ไม่น่าเชื่อทุกวันนี้เราต้องนำเข้ามาจากมาเลเซีย เพราะเราผลิตได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดภายในประเทศยิ่งในช่วงธันวาคมไปจนถึงเมษายน บ้านเรามีเทศกาลเยอะมาก ตั้งแต่วันเฉลิมพระชนมพรรษา คริสต์มาส ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ตรุษจีน สงกรานต์ ต้องใช้ดอกไม้เยอะมาก…นี่ยังไม่นับวันพระ งานบุญ งานศพรายวันใช้ดอกเบญจมาศกันทั้งนั้น

และดอกเบญจมาศที่ช่วยทำเงินได้ดีที่สุด พันธุ์ดอกสีขาว…ให้จำไว้ว่า ไม้ดอกทุกพันธุ์ปลูกสีขาวดีที่สุด เพราะสามารถนำไปใช้ได้ทุกเทศกาล และทุกงานได้อย่างเหมาะสม ไม่เหมือนไม้ดอกหลากสี.

ทีมข่าวเกษตร

 

“ไม้เท้าเฒ่าอาลี” สรรพคุณดีมีต้นขาย

ศาสตร์เกษตรดินปุ๋ย : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

http://www.thairath.co.th/content/553492

โดย นายเกษตร 25 ธ.ค. 2558 05:01

 

ในประเทศไทย รู้จักต้น “ไม้เท้าเฒ่าอาลี” มาช้านานแล้ว และรู้จักนำเอาบางส่วนของต้นไปใช้ประโยชน์เป็นยาสมุนไพรมาแต่โบราณเช่นกัน โดยเฉพาะในแถบ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส ด้วยการนำเอากิ่งก้านและเนื้อไม้หรือลำต้นจะแก่หรืออ่อน สดหรือตากแห้งก็ได้ กะจำนวนตามต้องการ ต้มกับน้ำจนเดือดดื่มวันละ 4 เวลาก่อนอาหารและก่อนนอนครั้งละ 1 แก้วประจำ จะช่วยเพิ่มพลังทางเพศให้บุรุษได้ดีมาก จึงทำให้มีชื่อเรียกในท้องถิ่นว่า ต้น “ตุกะอาลี” แต่เป็นไม้ที่พบขึ้นทั่วไปบนเขาสูงและป่าดิบชื้นใน จ.ประจวบคีรีขันธ์ และมีชื่อเรียกตามสรรพคุณอีกว่า “เจ้าคุณกวนเมีย”

ในประเทศมาเลเซีย เรียกไม้ต้นนี้ว่า “สตรองกัสอาลี” และได้นำเอาเนื้อไม้ไปทำเป็นผงบรรจุใส่แคปซูลออกวางขาย โดยได้จดทะเบียนยาเป็นลิขสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมายในประเทศมาเลเซีย ซึ่งชาวมาเลเซียถือเป็นยาไวอากร้าของประเทศเขาเลยทีเดียว

ไม้เท้าเฒ่าอาลี หรือ “สตรองกัสอาลี” ยังมีสรรพคุณดีอีกหลายอย่าง คือ สามารถรักษาโรคผิวหนังด้วยการต้มอาบ โรคร้ายแรงเช่นเอดส์และมะเร็งผิวหนังได้ระดับหนึ่ง และยังนำไปเข้ายา เช่น ต้นแกแล ที่มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลัง ต้นไกรทอง และอื่นๆอีกมากกว่า 10 ชนิด จำนวนแตกต่างกันตามตำรับยาโบราณและพิกัดยาแผนไทย ทำเป็นห่อๆต้มกับน้ำจนเดือด ดื่มต่างน้ำเรื่อยๆ กินจนยาจืดช่วยคลายเส้นคลายกล้ามเนื้อแก้เกาต์ ลดอาการบวมที่เกิดจากเกาต์ และลดน้ำตาลในเลือดหรือโรคเบาหวานได้ระดับหนึ่ง ส่วนคนไม่เป็นเบาหวาน สามารถนำไปดองกับเหล้าขาว 40 ดีกรี ดื่มครั้งละ 1 แก้วตะไลก่อนอาหารและก่อนนอนได้

ไม้เท้าเฒ่าอาลี เป็นไม้พุ่ม สูง 4-5 เมตร ผ่าหรือตัดเนื้อไม้จะมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ใบประกอบออกเรียงสลับ ใบย่อยออกตรงกันข้ามรูปใบหอก ปลายแหลม โคนมน ขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง มีต้นขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯบริเวณโครงการ 21 แผง “คุณพร้อมพันธุ์” ราคาสอบถามกันเองครับ.

“นายเกษตร”

 

สเต็มเซลล์…ข้าวมันปู จากหลักร้อยสู่หลักหมื่น

ศาสตร์เกษตรดินปุ๋ย : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

http://www.thairath.co.th/content/553572

โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 25 ธ.ค. 2558 05:01

 

สเต็มเซลล์…คำนี้นับวันเราจะได้ยินกันบ่อยขึ้น และหลายคนคงนึกไปถึงการเพาะเลี้ยงเซลล์ต้นกำเนิดใหม่ไปทดแทนเซลล์เก่าที่ชำรุดเพื่อรักษาโรคให้มนุษย์ แต่สเต็มเซลล์ไม่ได้มีเฉพาะเซลล์มนุษย์ ในพืชก็ทำได้

ในต่างประเทศทำกันมานานแล้ว…วันนี้บ้านเราไม่น้อยหน้า เอาข้าวมาทำสเต็มเซลล์

“นักวิทยาศาสตร์ต่างประเทศมีการทำสเต็มเซลล์จากแอปเปิ้ล องุ่น รวมทั้งมะเขือเทศ มาใช้ในการผลิตเครื่องสำอาง เพื่อให้มีสรรพคุณต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันแก้ไขผิวเสื่อมสภาพ และลบรอยเหี่ยวย่น”

แคลลัส

ดร.นิสากร แซ่วัน สำนักวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ผู้ได้รับโจทย์จาก สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.) ให้ศึกษาความเป็นไปได้ในการนำข้าวมาสกัดสเต็มเซลล์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับข้าวไทย บอกว่า ปัจจุบันวงการเครื่องสำอางได้นำสเต็มเซลล์จากพืชมาเป็นส่วนผสมในครีมสเต็มเซลล์ ซีรั่มสเต็มเซลล์เพื่อช่วยกระตุ้นฟื้นฟูผิวให้อ่อนเยาว์เหมือนเด็กได้เร็วขึ้น โดยเฉพาะในสวิตเซอร์แลนด์ ฝรั่งเศส เกาหลี ญี่ปุ่น แหล่งผลิตสเต็มเซลล์จากพืชที่ขายกันในราคา กก.ละ 20,000 บาท

ส่วนไทยยังไม่เคยมีใครศึกษาเรื่องนี้เลย

นับเป็นเรื่องท้าทาย ดร.นิสากร ต้องเริ่มจากนำข้าวสารพัดสายพันธุ์ที่มีในบ้านเรา มาเพาะเลี้ยงเซลล์ต้นกำเนิดเพื่อทดสอบประสิทธิภาพสเต็มเซลล์จากข้าวพันธุ์ไหนมีฤทธิ์ต้านสารอนุมูลอิสระและช่วยกระตุ้นให้เซลล์ผิวหนังของมนุษย์สร้างเซลล์ใหม่แทนเซลล์เก่าที่เสื่อมโทรมได้ดีและมากที่สุด

ในที่สุดได้คำตอบ…เซลล์ต้นกำเนิดจากข้าวมันปู มีสารสำคัญมากกว่าข้าวพันธุ์อื่นๆ

กระบวนการเพาะเลี้ยงเซลล์ต้นกำเนิดจากข้าวมันปูจึงเริ่มขึ้นอย่างจริงจัง ด้วยการนำข้าวที่เก็บเกี่ยวจากแปลงนา นำมาสีกะเทาะเปลือกออกให้เสร็จภายใน 3 วัน เพื่อให้ข้าวเปลือกมีความสดใหม่ เซลล์สำคัญยังมีชีวิต และเมล็ดข้าวสารที่นำมาเพาะเลี้ยงสเต็มเซลล์ ต้องเป็นเมล็ดสมบูรณ์ไม่แตกหรือหัก จมูกข้าวอยู่ครบ…ถึงจะได้เมล็ดข้าวที่มีเซลล์สมบูรณ์ 100 เปอร์เซ็นต์

จากนั้นนำไปฆ่าเชื้อ เลี้ยงในอาหารวุ้นฮอร์โมน KD 24D (อาหารสำหรับเพาะเลี้ยงเซลล์พืช) ทุกขั้นตอนต้องรักษาความสะอาด ไม่อย่างนั้นการเลี้ยงเซลล์จากข้าวจะไม่สำเร็จ…กระทั่งเมล็ดข้าวกลายเป็น แคลลัส ซึ่งมีลักษณะเป็นเซลล์เล็กๆ เกาะรวมกันเป็นปุย จากนั้นจึงเอาไปขยายต่อเพื่อให้เซลล์ต้นกำเนิดมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น

ดร.นิสากร กับสารสกัดที่ได้จากสเต็มเซลล์ข้าวมันปู.

เซลล์นี้นี่แหละ “สเต็มเซลล์ข้าวมันปู” …นำไปตรวจวิเคราะห์ มีสารในกลุ่มอะมิโนแอซิด กรดฟีโนลิก มีประโยชน์ช่วยทำให้ผิวคนเราดูดีชุ่มชื้นริ้วรอยลดลง ผิวเนียนช่วยกระตุ้นเซลล์ผิวให้สร้างใหม่ได้เร็วขึ้น และทำให้ผิวเนียนนุ่มเหมือนกับผิวเด็ก

ข้าวมันปู 1 กก. ราคา 100 บาท เมื่อนำมาสกัดเพาะเลี้ยงจะได้เซลล์ต้นกำเนิด 3 กก. คิดตัวเลขกลมๆ สนนราคาปาเข้าไป 60,000 บาทเท่านั้นเอง.

เพ็ญพิชญา เตียว

 

“สะระแหน่กลิ่นตะไคร้” หอมอร่อยมีสรรพคุณ

ศาสตร์เกษตรดินปุ๋ย : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

http://www.thairath.co.th/content/553005

โดย นายเกษตร 24 ธ.ค. 2558 05:01

 

สะระแหน่กลิ่นตะไคร้ เป็นพืชผักกินได้ที่มีถิ่นกำเนิด จากประเทศเวียดนาม ถูกนำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ในประเทศไทยนานหลายปีแล้ว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า MENTHA PULEGIUM อยู่ในวงศ์ LABIATAE มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้พุ่มล้มลุกอายุหลายปี แตกกิ่งก้านเยอะ ลำต้นมีขนสั้นนุ่มปกคลุม ต้นสูงประมาณครึ่งเมตร ใบเดี่ยว ออกตรงกันข้าม รูปรีกว้าง ปลายใบเกือบมน โคนใบมน ก้านใบยาวไม่สั้นเหมือนสะระแหน่ไทย ผิวใบมีรอยย่นเหมือนกับใบสะระแหน่ทั่วไป ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย เนื้อใบค่อนข้างหนา สีเขียวสด ใบมีกลิ่นหอมเฉพาะตัวคือ กลิ่นจะหอมแรงคล้ายกลิ่นของต้นตะไคร้แกงที่นิยมปรุงอาหารทั่วไป

ซึ่ง “สะระแหน่กลิ่นตะไคร้” ดังกล่าว ชาวเวียดนามนิยมกินเป็นผักสดกับอาหารคาวหลายอย่าง โดยเฉพาะกินกับขนมจีนเวียดนาม จะเพิ่มกลิ่นหอมให้รับประทานอร่อยยิ่งขึ้น ใครที่เคยเดินทางไปท่องเที่ยวประเทศเวียดนามและชอบเดินตลาดเช้า จะพบว่า “สะระแหน่กลิ่นตะไคร้” ที่ว่านี้จะมีวางรวมกับผักสดชนิดต่างๆบนถาดให้ลูกค้าหยิบกินตามใจชอบ เป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง

ประโยชน์ของ “สะระแหน่กลิ่นตะไคร้” นอกจากใบและยอดอ่อนมีกลิ่นหอมรับประทานเป็นผักสดได้อร่อยแล้ว ยังมีสรรพคุณทางสมุนไพรเหมือนกับสะระแหน่ทั่วไปทุกอย่างคือ ใบมีกลิ่นหอมร้อนกินเป็นยาขับผายลม ขับเหงื่อ ช่วยบรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้ปวดท้อง ใบสดขยี้ดมกลิ่นช่วยลดอาการหืดหอบ ลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ ใบแห้งชงกับน้ำร้อนดื่มช่วยย่อยอาหารได้ ใบสดขยี้ทาขมับแก้ปวดหัว แก้ลม ใบสดขยี้ทาบริเวณที่ฟกบวมช่วยให้ดีขึ้นระดับหนึ่ง มีต้นขาย ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ 2 แผง “ป้าแอ๊ด–คุณขวัญ” ราคาสอบถามกันเองครับ.

“นายเกษตร”

 

โกโก้ไทย…อนาคตอาจสดใส

ศาสตร์เกษตรดินปุ๋ย : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

http://www.thairath.co.th/content/553007

โดย ดอกสะแบง 24 ธ.ค. 2558 05:01

 

โกโก้….วัตถุดิบอันเป็น ส่วนประกอบในการทำขนมหวาน ที่นิยมกันไปทั่วโลก ส่วนใหญ่บ้านเรารู้จักกันในนามของ ช็อกโกแลต และมีการนำเมล็ดโกโก้เข้าปีหนึ่งเกือบ 2 หมื่นตัน มูลค่าก็เฉียด 2 พันล้านบาท และสำหรับที่ปรุงแต่งแล้วก็ตกกว่า 3 พันล้านบาท….

ในภูมิภาคอาเซียน อินโดนีเซียถือเป็นแชมป์เพราะมีการผลิตโกโก้มากกว่าใครๆ ปีหนึ่งประมาณ 500,000 ตัน เป็นอันดับ 3 ของโลก ส่วนไทยนั้นยังถูกทิ้งห่างอีกหลายขุมจะด้วยที่ว่าสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศไม่เหมาะสมหรือเกษตรกรของเรายังไม่คุ้นเคยก็เป็นได้…

คุณจินตน์กานต์ งามสุทธา นักวิชาการเกษตร กรมวิชาการเกษตร มีบันทึกในจดหมาย ข่าวผลิใบ ว่า พันธุ์โกโก้ส่วนใหญ่พัฒนามาจาก 3 สายพันธุ์หลักคือ สายพันธุ์คริโอโล “Criollo” ฟอรัสเทอร์โร “Forastero” สายพันธุ์นี้มี 2 ชนิดคือ เวสท์แอฟริกัน อมีโลนาโด “West African Amelonsdo” กับ อัปเปอร์ อะเมซอน “Upper Amazon” และ สายพันธุ์ตรินิทาริโอ “Triritario”

ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร เคยทำการ วิจัยและพัฒนาพันธุ์โกโก้ได้เป็นผลสำเร็จ เป็นลูกผสมระหว่างพันธุ์ PA 7 กับ NA 32 และได้รับการรับรองพันธุ์ชื่อ “ลูกผสมชุมพร 1” และได้นำไปปลูกเปรียบเทียบกับโกโก้พันธุ์ลูกผสมจากประเทศมาเลเซียยาวนานถึง 112 ปี เพื่อหาพันธุ์ที่ดีที่สุด

ซึ่งก็ได้ข้อมูลในภาพกว้างว่า “ลูกผสมชุมพร 1” มีลักษณะประจำพันธุ์คือ รอบๆโคนต้นเล็กกว่าพันธุ์อื่นๆและให้ผลผลิตสูงสม่ำเสมอกว่าพันธุ์ผสมทั่วๆไป มีความเด่นคือให้ผลผลิตแบบออกผลเร็ว สามารถผสมพันธุ์ได้ทั้งวิธีผสมด้วยมือและปล่อยเองตามธรรมชาติหรือทั้งแบบคละ

…..คุณภาพเมล็ดตรงตามมาตรฐานสากล คือ มีไขมันสูง 57.27 เปอร์เซ็นต์ ผลผลิตโดยเฉลี่ย 127.2 กิโลกรัมต่อไร่ และ นำหนักไม่เกิน 110 เมล็ดต่อน้ำหนักเมล็ดแห้ง 100 กรัม จึงเหมาะที่จะใช้เป็นพันธุ์ปลูกสำหรับเกษตรกร…

โกโก้…..สามารถปลูกได้ทั้งเป็นพืชเชิงเดี่ยวและหรือเป็นพืชแซม เพราะต้องอาศัยร่มเงา ทั้งแบบชั่วคราว อาทิ กล้วย แคฝรั่ง กระถินยักษ์ ในช่วงแรกรุ่นหรือร่มเงาถาวร เช่น มะพร้าว สะตอ ฯลฯ

หากมีการส่งเสริมให้เกษตรกรมีความรู้ถึงเทคโนโลยีที่เหมาะสม และการพัฒนาอย่างมีระบบ ในอนาคตที่ไม่ไกลนัก โกโก้อาจก้าวขึ้นมาเป็นพืชที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจของไทยเราก็เป็นได้…..!!

ดอกสะแบง

 

ฝนแล้ง..ทะเลหนุน 4 ลุ่มน้ำระวังกล้วยไม้

ศาสตร์เกษตรดินปุ๋ย : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

http://www.thairath.co.th/content/553010

โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 24 ธ.ค. 2558 05:01

 

จากปัญหาภัยแล้งที่ผ่านมา ส่งผลให้กล้วยไม้พืชเศรษฐกิจส่งออกปีละ 3,000 กว่าล้านบาท ในพื้นที่ลุ่มภาคกลางและภาคตะวันตก แม้จะมีน้ำอุดมสมบูรณ์ ได้รับความเสียหายไปบางส่วน จากอาการใบไหม้ เนื่องจากน้ำที่นำมาใช้รดกล้วยไม้มีค่าความเค็มจากอิทธิพลน้ำทะเลหนุนสูง

เพื่อเตรียมรับสถานการณ์ผลกระทบจากภัยแล้งที่จะเกิดขึ้นในปีหน้า นายทวีพงศ์ สุวรรณโร ผอ.กลุ่มส่งเสริมไม้ดอกและไม้ประดับ กรมส่งเสริมการเกษตร เตือนเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยไม้ในพื้นที่ 4 ลุ่มน้ำ เจ้าพระยา-ท่าจีน-แม่กลอง-บางปะกง ให้หมั่นตรวจวัดค่าการนำไฟฟ้าของน้ำที่จะนำมาใช้ หรือนำมาผสมปุ๋ย ผสมสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช โดยใช้เครื่องวัด EC ตรวจวัด น้ำควรมีค่าความเค็ม หรือค่าการนำไฟฟ้า (EC) ไม่ควรจะสูงเกินกว่า 750 micro-mhos/cm (0.75 กรัม/ลิตร) หรือส่งน้ำไปตรวจที่ห้องปฏิบัติการของกรมส่งเสริมการเกษตร และหน่วยงานราชการใกล้พื้นที่

“และควรตรวจวัดปริมาณการใช้น้ำในสวนกล้วยไม้ เพื่อประเมินปริมาณน้ำที่สมควรจะต้องกักเก็บไว้ใช้ได้เพียงพอในฤดูแล้ง และเตรียมแหล่งน้ำธรรมชาติสำรองไว้ด้วย หากพบว่าแหล่งน้ำที่นำมารดกล้วยไม้ยังมีคุณภาพดี ไม่มีความเค็มเกินมาตรฐานให้เร่งสูบน้ำเข้ามาเก็บกักในบ่อพักให้เต็ม เพื่อสำรองไว้กรณีเกิดน้ำทะเลหนุน แล้วควรรักษาระดับน้ำในบ่อพักน้ำในสวนกล้วยไม้ให้สูงกว่าระดับน้ำข้างนอก เพื่อเป็นแรงดันไม่ให้น้ำจากข้างนอก ซึ่งอาจจะไหลซึมเข้ามาแล้วทำให้น้ำมีค่าความเค็มสูงขึ้น”

ผอ.กลุ่มส่งเสริมไม้ดอกและไม้ประดับแนะนำอีกว่า ในการนำน้ำมาใช้ผสมปุ๋ยในช่วงน้ำทะเลหนุน ควรลดอัตราการผสมปุ๋ยลงจากเดิม เพราะปุ๋ยเป็นเกลือชนิดหนึ่ง จะยิ่งเป็นการเพิ่มความเค็มให้น้ำมาก ฉีดพ่นไปแล้วปุ๋ยจะไม่ถูกดูดซึมเข้าสู่รากหรือต้นกล้วยไม้ แต่ควรเพิ่มปุ๋ยที่มีธาตุอาหารรองประเภท แคลเซียม แมกนีเซียม จะสามารถลดความเค็มที่มาจากน้ำทะเลได้ในระดับหนึ่ง และควรปรับความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำให้อยู่ในช่วง pH 5.2-6.2 จะทำให้ค่าเกลือไบคาร์บอเนตลดลง ทำให้ธาตุอาหารต่างๆ ละลายออกมาในรูปที่เป็นประโยชน์กับกล้วยไม้

สำหรับเกษตรกรกลุ่มผู้ผลิตกล้วยไม้ราคาสูง และต้องการให้กล้วยไม้มีคุณภาพในช่วงน้ำทะเลหนุนสูง อาจจะนำเครื่อง reverse-osmosis ซึ่งมีราคาแพงมาใช้ได้ เพราะสามารถกำจัดเกลือได้เป็นอย่างดี เกษตรกรมีข้อสงสัยสอบถามได้ที่ กลุ่มส่งเสริมการผลิตไม้ดอกไม้ประดับ 0-2579-1501 ในเวลาราชการ.

 

“มะนาวแป้นสุขประเสริฐ” ทนโรคดกไร้เมล็ด

ศาสตร์เกษตรดินปุ๋ย : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

http://www.thairath.co.th/content/552428

โดย นายเกษตร 23 ธ.ค. 2558 05:01

 

มะนาว ชนิดนี้ เกิดจากการผสมเกสรโดย อ.วัง สุขประเสริฐ ระหว่างมะนาวแป้นพิจิตร 1 ที่มีเอกลักษณ์เป็นมะนาวที่ทนทานต่อโรคแคงเกอร์สูงผสมกับเกสรของมะนาวแม่ลูกดก จากนั้นก็นำเอาเมล็ดจากผลที่ได้ จำนวนกว่า 500 เมล็ด ไปเพาะเป็นต้นกล้าแล้วแยกต้นไปปลูกในบ่อซีเมนต์จนต้นโตมีอายุประมาณ 2-3 เดือน ได้ทดสอบความทนต่อโรคแคงเกอร์ ด้วยการฉีดสเปรย์เชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคแคงเกอร์ให้กับต้นโดยตรง ปรากฏว่ามีหลายต้นสามารถทนต่อโรคดังกล่าวได้ดี ต้นเจริญเติบโตมีดอกและติดผลดก ผลมีขนาดใหญ่ เปลือกผลบาง น้ำเยอะ มีกลิ่นหอมแรง และที่สำคัญไม่มีเมล็ด โดยใน 100 ผลจะพบมีเมล็ดไม่เกิน 10 ผล แต่มีเมล็ดน้อยเพียง 2-3 เมล็ดเท่านั้น ผู้ขยายพันธุ์จึงได้จดทะเบียนพันธุ์พืชชื่อ “มะนาวแป้นสุขประเสริฐ” ไว้กับกรมวิชาการเกษตรอย่างถูกต้องตามกฎระเบียบ พร้อมปล่อยพันธุ์ด้วยการขยายพันธุ์ตอนกิ่งออกวางขายได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายอยู่ในเวลานี้

มะนาวแป้นสุขประเสริฐ มีชื่อวิทยาศาสตร์และลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับมะนาวทั่วไปทุกอย่างคือ เป็นไม้พุ่ม สูง 2-4 เมตร ใบประกอบชนิดมีใบย่อยใบเดียว ดอกออกตามซอกใบและปลายยอด สีของดอกจะแปลกกว่าสีของดอกมะนาวทั่วไปที่เป็นสีขาว แต่ดอกของ “มะนาวแป้นสุขประเสริฐ” จะเป็นสีขาวอมม่วงอย่างชัดเจน ดอกมีกลิ่นหอม “ผล” รูปกลมแป้น ผลมีขนาดใหญ่ ติดผลดกเต็มต้นและไม่มีเมล็ด ผลสามารถติดอยู่บนต้นได้ถึง 5 เดือน โดยสีของผลจะไม่เหลืองหรือหล่น มีดอกและผลเกือบทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่งและเสียบยอด เหมาะจะปลูกเพื่อเก็บผลกินในครัวเรือน หรือปลูกเพื่อเก็บผลขายเชิงพาณิชย์ได้ราคาดีและสดคุ้มค่ามาก

ใครต้องการ กิ่งตอนด้วยระบบเสียบยอดมีรากแก้วดีทุกต้น เป็นของแท้ติดต่อ “สวนอัฐมะนาวนิ้ว” โทร. 09–5593–2468, 08–1761–8210 ราคาสอบถามกันเองครับ.

“นายเกษตร”

 

หม่อนไหม…วางแผนพัฒนาเครือข่าย

ศาสตร์เกษตรดินปุ๋ย : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

http://www.thairath.co.th/content/552438

โดย ดอกสะแบง 23 ธ.ค. 2558 05:01

 

เมื่อวันวาน……สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ได้เปิด ศูนย์บริการ SMEs ครบวงจร (SME One-Stop Service Center-OSS) ขึ้น ณ ศาลากลางจังหวัดสุพรรณบุรี เพื่ออำนวยความสะดวกและ ให้ความช่วยเหลือ SMEs จากภาครัฐสู่ผู้ประกอบการให้ยิ่งยวด…

เท่าที่ผ่าน…สสว.ได้เข้าไปร่วมมือกับภาครัฐจัดทำโครงการต่างๆเพื่อเสริมสร้างศักยภาพความเข้มแข็งเชิงเศรษฐกิจอย่างครบวงจรทั้งในการผลิตและการค้า อย่างเช่น “โครงการพัฒนาศักยภาพและเครือข่ายกลุ่มผู้ผลิตไหมไทยแบบครบวงจร” หรือ “คลัสเตอร์ไหมไทย” ซึ่งร่วมกับ กรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

คุณสฤษดิพร ชูประยูร รองอธิบดีกรมหม่อนไหม พูดถึงเรื่องนี้ว่า…..กรมได้จัดทำแผนพัฒนาเครือข่าย หรือ Cluster Roadmap แผนการผลิต แผนการตลาด ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพ และเครือข่ายกลุ่มผู้ผลิตไหมไทยครบวงจรในพื้นที่ 6 จังหวัดมี ขอนแก่น นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ ร้อยเอ็ด และ มหาสารคาม…

แผนพัฒนาฯนี้…..มีกิจกรรมการเสริมสร้างคลัสเตอร์ไหมไทยครบวงจร โดยมีการวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อน ด้วย Diamond Model และ Cluster Roadmap กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์และแผนปฏิบัติการของแต่ละจังหวัด…

โดย…ก่อนหน้านี้ได้มีการศึกษาข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย การกำหนดโครงสร้างของกลุ่ม ผู้นำกลุ่ม ผู้ประสานงานคลัสเตอร์ การสัมมนาคลัสเตอร์ไหมไทยสู่ตลาดโลกและการจำหน่ายผลิตภัณฑ์หม่อนไหม เพื่อส่งเสริมการตลาดให้กับเกษตรกร….

ทั้งนี้…ได้มีสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอเป็นที่ปรึกษาในการพัฒนาเครือข่ายผู้ผลิตหม่อนไหม ทั้งพวกเกษตรกรผู้ผลิตและผู้ประกอบการด้านหม่อนไหม ในประเทศไทยซึ่งมีมากกว่า 70,000 รายมาให้เป็นกลุ่มคลัสเตอร์เดียวกัน…โดยเน้นการพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรเป็นสำคัญ

ในการ……พัฒนาศักยภาพเกษตรกรและพัฒนาเครือข่ายกลุ่มผู้ผลิตไหมไทยแบบครบวงจรนี้ สสว.จะเข้ามามีบทบาทความสำคัญเป็นนวัตกรรมเชื่อมโยงเครือข่ายกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตและผู้ประกอบการให้เติบโตอย่างยั่งยืน…

….ด้วยการส่งเสริมสนับสนุนและ ต่อยอดการดำเนินธุรกิจร่วมกันพัฒนาศักยภาพเครือข่าย SME ให้เป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจในพื้นที่ทั้ง 6 จังหวัดนำร่อง ซึ่งอาจผิดแผกกันไปบ้าง ให้มีศักยภาพเทียมเท่ากันและกัน หรืออาจมีเหลื่อมล้ำแต่ก็ มิให้ไกลกันแบบสุดโต่ง….!!

ดอกสะแบง

 

ที่ทำกินแค่ 3 งาน กำไรปีละ 4.8 แสน

ศาสตร์เกษตรดินปุ๋ย : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

http://www.thairath.co.th/content/552483

โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 23 ธ.ค. 2558 05:01

 

“เรามีพื้นที่ว่างให้ทำกินแค่ 3 งาน จึงปลูกได้แค่พืชอายุสั้น แตงกวา บวบ ถั่วฝักยาว เพราะขายทำเงินได้เร็ว ที่ผ่านมาแม้พ่อแม่จะขยันมากแค่ไหน มีรายได้มีเงินเหลืออะไรไม่มากมาย จึงคิดว่าถ้าจะปลูกผักแบบเดิมๆ เหมือนที่พ่อแม่เคยทำ คงไปไม่รอด จึงเปลี่ยนมาเป็นการทำเกษตรสมัยใหม่ ใช้พื้นที่น้อยแต่ได้เงินมาก”

นายปิยะ กิจประสงค์ เกษตรกรหนุ่มวัย 29 ปี ต.ปลายนา อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี เล่าว่า หลังเรียนจบจากคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน เข้าทำงานเป็นพนักงานปรับปรุงพันธุ์พืชบริษัทเอกชน 6 ปี กระทั่งถึงจุดอิ่มตัว จึงลาออกนำเงินเก็บสะสมเท่าที่มีมาสร้างโรงเรือนกางมุ้ง

พืชผักปลูกในมุ้ง มีโอกาสขายได้เร็วกว่า…คนปลูกสามารถควบคุมป้องกันโรคแมลงศัตรูพืชได้ง่าย ไม่ต้องใช้สารเคมีกำจัด แม้การสร้างโรงเรือนจะต้องลงทุนสูงก็จริง แต่ในระยะยาวกำไรเห็นๆ เพราะใช้งานได้หลายสิบปี

ปลูกโรงเรือนหลังแรกในพื้นที่ 1 งาน ด้วยต้นทุน 1 แสนบาท โรงเรือนสร้างเสร็จ หาความรู้เรื่องการตลาด พืชผักชนิดไหนปลูกแล้วถึงจะขายได้ เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในพื้นที่ ดูทั้งผักกินใบ แตงเมล่อน…แต่แล้วมาลงตัวที่มะเขือเทศราชินี เพราะในพื้นที่ยังไม่มีใครทำ แถมยังขายง่าย 5-10 บาท แบ่งขายได้หมด

การคัดสายพันธุ์ ปลูกครั้งแรกเอาสายพันธุ์ต่างๆ ที่มีขายตามท้องตลาดมาทดลองปลูกอย่างละ 4 กระถาง แล้วคัดเลือกว่า สายพันธุ์ไหนให้ผลผลิตดีที่สุด…รอบหน้าถึงจะลงมือปลูกแบบจริงจัง

โรงเรือน 1 หลัง ลงมะเขือเทศ 460 ต้น ผลผลิตออกในช่วงฤดูหนาวพอดี เลยเก็บมะเขือเทศได้ 1 ตัน ได้ราคา กก.ละ 100-150 บาท…หลังหักต้นทุนค่าโรงเรือน ค่าเมล็ดพันธุ์ ค่าปุ๋ย ยังมีกำไร จึงตัดสินใจสร้างโรงเรือนเพิ่มขึ้นอีก 2 หลัง

“การปลูกพืชในโรงเรือนมีข้อเสีย ไม่มีแมลงมาช่วยผสมเกสรให้มะเขือเทศติดลูก เราจึงต้องใช้ออกซินสังเคราะห์ สารฮอร์โมนที่พืชสร้างขึ้น มาฉีดพ่นเพื่อให้ทำหน้าที่แทนเกสรตัวผู้”

ส่วนรสชาติของมะเขือเทศที่ได้มาจะดีแค่ไหน ปิยะ บอกว่า อยู่ที่การให้ปุ๋ยต้องผสมปุ๋ยเอง เพื่อจะได้ปุ๋ยตรงตามความต้องการของพืช หน้าที่ตรงนี้เป็นของภรรยา ซึ่งเรียนจบมาด้านปฐพีวิทยา รู้ดีเรื่องดินและปุ๋ย

ช่วงย้ายกล้าลงกระถางจะใช้ปุ๋ยสูตร 25-7-7 ช่วงติดลูกใช้สูตร 15-15-15 และช่วงผลมะเขือเทศเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีแดงจะใช้ปุ๋ยสูตร 8-24-24…และส่วนผสมสูตรปุ๋ยที่ว่ามานี้ จะให้ผ่านทางท่อระบบน้ำหยด…ภายในระยะเวลา 1 ปี ปลูกมะเขือเทศได้ 2 รอบ หลังหักต้นทุน (ไม่รวมค่าโรงเรือน) จะเหลือกำไรโรงเรือนละ 160,000 บาท

สนใจอยากจะเอาอย่าง ทำเกษตรในพื้นที่เล็กๆ แค่ 3 งาน ได้เงินปีละ 480,000 บาท สอบถามได้ที่ 08-3447-0319.

เพ็ญพิชญา เตียว