สืบสานงานหม่อนไหมในพระราชปณิธาน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จากลานคำหอม สู่มหกรรมหม่อนไหมของประเทศ

ศาสตร์เกษตรดินปุ๋ย : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือเทคโนโลยีชาวบ้าน

http://info.matichon.co.th/techno/techno.php?srctag=05020010858&srcday=2015-08-01&search=no

วันที่ 01 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ปีที่ 27 ฉบับที่ 604

สารคดีพิเศษ เฉลิมพระเกียรติ แม่ของแผ่นดิน

เครือวัลย์ เวชรักษ์

สืบสานงานหม่อนไหมในพระราชปณิธาน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จากลานคำหอม สู่มหกรรมหม่อนไหมของประเทศ

ย้อนไปในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทุกๆ ปี ลานคำหอม ลานอเนกประสงค์ บนพระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จังหวัดสกลนคร ซึ่งเป็นสถานที่จัดงานประกวดผ้าไหม ของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพและแสดงผลงานของศูนย์ศิลปาชีพต่างๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะคลาคล่ำไปด้วยพสกนิกรทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติทุกหมู่เหล่า ที่มาชุมนุมกันเพื่อชื่นชมความงดงามของผ้าไหมและสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ที่สมาชิกศูนย์ศิลปาชีพส่งเข้าประกวด และเยี่ยมชมกิจกรรมของหน่วยงานราชการต่างๆ ที่จัดถวายแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งอยู่ในช่วงที่พระองค์แปรพระราชฐานไปประทับ ณ พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จังหวัดสกลนคร

กิจกรรมในลานคำหอม จะมีทั้งการแสดงชีพจักรของไหม การสาวไหม และการย้อมสีเส้นไหมด้วยสีธรรมชาติ บนชานบ้าน มีการเลี้ยงไหม การกรอเส้นไหม การมัดหมี่ เส้นไหมของสมาชิกที่ชนะเลิศการแข่งขันการสาวไหมด้วยมือ เป็นกิจกรรมตามพระราชปณิธานในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์ภูมิปัญญาหม่อนไหม ด้วยการกระตุ้นให้เกษตรกรและผู้ประกอบการ รวมทั้งเยาวชนได้แสดงความคิดสร้างสรรค์ผ่านการแข่งขันสาวไหม เพื่อให้ได้เส้นไหมที่ดีมีคุณภาพ ประกวดผ้าไหมเพื่อให้ได้ผ้าไหมลวดลายต่างๆ ที่สวยงามและมีคุณภาพ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์จากหม่อนไหมในรูปแบบต่างๆ ก่อให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์หม่อนไหมให้ตอบรับกับความต้องการในตลาดได้ดียิ่งขึ้น ยังความปลื้มปีติให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและทอผ้าไหม มาจนถึงทุกวันนี้

กรมหม่อนไหม หน่วยงานที่จัดตั้งโดยพระราชดำริในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์อาชีพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม และทอผ้าไหมไทยให้มีความยั่งยืน และสามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร ได้น้อมนำพระราชปณิธานในพระองค์ท่านมาสานต่อ ด้วยการกระตุ้น เผยแพร่ และประชาสัมพันธ์ให้เยาวชน เกษตรกร และบุคคลทั่วไป เห็นคุณค่าและเกิดจิตสำนึกในการหวงแหนอาชีพที่เป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมให้อยู่คู่ประเทศไทยตลอดไป โดยการจัดการแข่งขันและประกวดเส้นไหม ผ้าไหมตรานกยูงพระราชทาน ผลิตภัณฑ์หม่อนไหมในประเทศ และการแข่งขันสาวไหม เป็นประจำทุกปี

การแข่งขันและการประกวดผลงานด้านหม่อนไหมนั้น กรมหม่อนไหมจัดขึ้นเพื่อประชาสัมพันธ์ให้ทุกคนมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเอกลักษณ์และคุณค่าของไหมไทย เป็นการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและทอผ้าไหม รวมทั้งเพื่อให้เกษตรกรและกลุ่มผู้ประกอบการด้านการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและทอผ้าไหม มีการตื่นตัวในการผลิตให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพและมาตรฐาน สร้างสรรค์ผลงานให้เหมาะสมกับความต้องการของตลาดและผู้บริโภค สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและสามารถขยายตลาดผ้าไหมให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น

อีกทั้งยังเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจแก่ผู้ที่ผลิตงานที่มีคุณภาพและมาตรฐานการผลิต ส่งเสริมให้กับเยาวชนรุ่นใหม่และประชาชนได้เห็นคุณค่าของผ้าไหมไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อร่วมอนุรักษ์ผ้าไหมไทย เอกลักษณ์จากภูมิปัญญาของบรรพบุรุษอันทรงคุณค่าของชาติ ผลงานการแข่งขันและการประกวดจะนำไปแสดงในงาน “ตรานกยูงพระราชทาน สืบสานตำนานไหมไทย” เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้ชื่นชมและเห็นคุณค่าในผลงานด้านหม่อนไหมต่อไป

งาน “ตรานกยูงพระราชทาน สืบสานตำนานไหมไทย” เป็นงานสำคัญที่กรมหม่อนไหมจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ ในช่วงเดือนสิงหาคมของทุกปี มีวัตถุประสงค์เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงสืบสานและเผยแพร่ภูมิปัญญาไหมไทยให้เป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและในระดับสากล ประชาสัมพันธ์ตรานกยูงพระราชทาน เครื่องหมายรับรองผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทย ให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย ประชาสัมพันธ์นวัตกรรมหม่อนไหม ส่งเสริมการตลาดสินค้าไหมไทยและผลิตภัณฑ์ไหมไทยที่มีคุณภาพแก่ผู้บริโภค ตลอดจนประชาสัมพันธ์ภารกิจและผลงานของกรมหม่อนไหม

ในแต่ละปีกรมหม่อนไหมจะจัดกิจกรรมที่หลากหลาย ประกอบด้วย นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นิทรรศการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จัดแสดงพระราชกรณียกิจที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณกับวงการหม่อนไหม นิทรรศการตราสัญลักษณ์นกยูงพระราชทาน 4 สี ได้แก่ สีทอง สีเงิน สีน้ำเงิน และสีเขียว นิทรรศการนวัตกรรมด้านหม่อนไหมของไทย โรงเรียน เยาวชน และเกษตรกรตัวอย่างด้านหม่อนไหม นิทรรศการและการสาธิตการสาวไหม การทอผ้า การแสดงผลิตภัณฑ์จากหม่อนและไหม ผลงานการประกวดเส้นไหม ผ้าไหมตรานกยูงพระราชทาน ผลิตภัณฑ์จากรังไหมและผ้าไหม และการออกแบบชุดผ้าไหมระดับประเทศ ชิงโล่พระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ การแสดงวัฒนธรรมภูมิปัญญาหม่อนไหม ตลอดจนการออกร้านจำหน่ายผ้าไหม และผลิตภัณฑ์จากหม่อนและไหมทั่วประเทศ

การจัดงานดังกล่าว กรมหม่อนไหมหมายมุ่งผลประโยชน์ทั้งผู้ผลิต ผู้บริโภคและประชาชนทั่วไปทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศมีความเชื่อมั่นในคุณภาพสินค้าที่รับพระราชทานสัญลักษณ์นกยูง เป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สัญลักษณ์นกยูงพระราชทานที่เป็นเครื่องหมายถึงมาตรฐานผ้าไหมไทยทั้ง 4 ประเภท ให้เป็นที่รู้จักทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ตลอดจนเป็นการปลูกฝังให้คนไทยทั้งชาติได้เกิดความภูมิใจและร่วมมือกันรักษาชื่อเสียงผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทยไว้ให้มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศต่อไป

จากกิจกรรมในลานคำหอม พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงส่งเสริมและสนับสนุนให้จัดกิจกรรมด้านหม่อนไหมมาโดยตลอด ในวันนี้ กรมหม่อนไหม ได้น้อมนำพระราชปณิธานดังกล่าวมาสานต่อเพื่ออนุรักษ์และคุ้มครองหม่อนไหมไทย สมบัติของชาติให้คงไว้มิให้สูญ พัฒนาและส่งเสริมให้เกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมมีรายได้เพิ่มมากขึ้น มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และให้วงการหม่อนไหมเจริญก้าวหน้าและก้าวไกลไปสู่สากล สมดังพระราชปณิธานของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สืบไป?

“ไหมแต้มหมี่ภูแล่นกี่” ของดี เมืองขอนแก่น

ศาสตร์เกษตรดินปุ๋ย : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือเทคโนโลยีชาวบ้าน

http://info.matichon.co.th/techno/techno.php?srctag=05028010858&srcday=2015-08-01&search=no

วันที่ 01 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ปีที่ 27 ฉบับที่ 604

สารคดีพิเศษ เฉลิมพระเกียรติ แม่ของแผ่นดิน

ปรัชญา รัศมีธรรมวงศ์

“ไหมแต้มหมี่ภูแล่นกี่” ของดี เมืองขอนแก่น

งานผ้าไหม เป็นงานฝีมือจากภูมิปัญญาชาวบ้านโดยแท้ แต่ละลวดลายล้วนวิจิตรบรรจง ทั้งไหมมัดหมี่ ไหมแต้มหมี่ แต่ละลาย แต่ละผืน มีความงดงามควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้เป็นมรดกลูกหลานสืบไป ถ้าใครมีผ้าไหมในครอบครองก็เหมือนมีเงินฝากเงินออมอยู่ในบ้าน ขัดสนเงินทองเมื่อไหร่ก็สามารถนำมาจำนำแลกเปลี่ยนเป็นเงินได้ตลอดเวลา เพราะผ้าไหมมัดหมี่ แต้มหมี่ มากคุณค่าในตัวของมันเอง ราคาไม่ต้องพูดถึง มีตั้งแต่หลักพันจนถึงหลักแสนบาทเลยทีเดียว ที่สำคัญเป็นงานที่สืบสานตำนานผ้าไทยให้เป็นมรดกลูกหลาน ได้เรียนรู้และสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น

ปัจจุบัน สินค้าที่เกิดจากภูมิปัญญาไทย มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ได้ยื่นขอจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ในประเทศไทย มีจำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่ สินค้าอุตสาหกรรม สินค้างานหัตถกรรม และสินค้าเกษตรกรรม ยกตัวอย่าง สินค้าอุตสาหกรรมที่ได้รับการจดทะเบียน จีไอ แล้ว ได้แก่ ขนมหม้อแกงเมืองเพชร ไวน์ที่ราบสูงภูเรือ กาแฟดอยตุง ฯลฯ ส่วนสินค้าเกษตรกรรม เช่น มะขามหวานเพชรบูรณ์ ส้มโอทับทิมสยามปากพนัง ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ส่วนกลุ่มสินค้าหัตถกรรม เช่น ร่มบ่อสร้าง เครื่องปั้นดินเผาเกาะเกร็ด ผ้าไหมยกดอกลำพูน เป็นต้น

ในฉบับนี้ ผู้เขียนจะพาไปเยี่ยมชมงานกลุ่มทอผ้าไหมมัดหมี่บ้านหัวฝาย ที่ยื่นขอขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) กับกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ กลุ่มทอผ้าไหมมัดหมี่บ้านหัวฝาย เป็นหมู่บ้านที่มีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมครบวงจร เป็นศูนย์เรียนรู้ด้านการทอผ้าไหมของอำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น และเป็นหมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยวของจังหวัดขอนแก่น

ทุกวันนี้ จังหวัดขอนแก่น ได้รับการยกย่องให้เป็นศูนย์กลางแฟชั่นผ้าไหมที่ใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน เพราะสืบสานพระราชปณิธานงานศิลปาชีพด้านผ้าไหมและผลิตภัณฑ์ไหม ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งเป็นพระมารดาแห่งไหมไทย ตลอดระยะเวลากว่า 60 ปีที่ผ่านมา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงเผยแพร่เอกลักษณ์ผ้าไหมมัดหมี่ และวัฒนธรรมไหมไทย ปลุกจิตสำนึกการใช้ผ้าไหม และนำไปสู่การสร้างสรรค์ การพัฒนาอุตสาหกรรมไหมไทย ทำให้ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทย โดยเฉพาะผ้ามัดหมี่ เป็นที่ยอมรับของคนในทุกระดับ เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ

จุดเริ่มต้นของมรดกแห่งแผ่นดิน

ปัจจุบัน กลุ่มทอผ้าไหมมัดหมี่บ้านหัวฝาย ตั้งอยู่ที่ 46 หมู่ที่ 2 ตำบลปอแดง อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น 40180 ที่นี่เป็นหมู่บ้านหัตถกรรมทอผ้าไหมแบบครบวงจร เป็นผู้ผลิต จำหน่าย ค้าปลีก ค้าส่ง แต่ละวันจะมีนักท่องเที่ยว ประชาชนผู้สนใจและเด็กเยาวชนมาเรียนรู้เรื่องการทอผ้าไหม การสาวไหม การมัดหมี่ ขึ้นลวดลายผ้า การแต้มหมี่ และมีสินค้าผ้าไหมนานาชนิดให้เลือกซื้อเลือกชมมากมาย ทั้งผ้าไหมมัดหมี่ ผ้าไหมแต้มหมี่ ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเลือกซื้อติดมือกลับบ้านได้

จุดเด่นผลิตภัณฑ์ผ้าไหมที่ผลิตจากกลุ่มทอผ้าไหมบ้านหัวฝาย เป็นผ้าไหมที่มีคุณภาพ มีสีสัน ลวดลาย สวยงาม ประณีต มีความหลากหลาย ได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น (มผช.) มีการควบคุมคุณภาพการผลิต สีไม่ตก และมีการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ต้องการของตลาด ปรับลวดลายและสีสันให้ทันสมัยอยู่เสมอ และสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ทุกเพศทุกวัย ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มทุกชิ้นถักทอด้วยฝีมืออันละเอียด ประณีต สวยงาม

ผ้าไหมและลวดลายไหมของกลุ่มทอผ้าไหมมัดหมี่บ้านหัวฝาย มีต้นกำเนิดมาแต่บรรพบุรุษ โดยเริ่มมาจากการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม แล้วนำไปสาวเป็นเส้นไหมเล็กๆ ต่อจากนั้นก็นำไปฟอก มัดเป็นลายต่างๆ เช่น ลายกงเจ็ด ลายกระจับหว่าน ลายน้ำฟองเครือ ลายกงห้า ลายขาเปีย ฯลฯ ต่อมามีการพัฒนาโดยการนำลวดลายโบราณ หลากหลายลายมาดัดแปลง เติมสีสัน เกิดเป็นลวดลายใหม่ๆ ผ้าไหมมัดหมี่ของอำเภอชนบท ได้รับรางวัลจากการส่งเข้าประกวดงานต่างๆ มากมาย

ลวดลายผ้าไหมของกลุ่มทอผ้าไหมมัดหมี่บ้านหัวฝาย ถือเป็นสุดยอดและเป็นเอกลักษณ์ ที่ไม่มีที่ไหนเลียนแบบได้ ลวดลายสีสัน ประยุกต์เข้ากับยุคสมัยนิยม และสอดคล้องกับขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น เอกลักษณ์เหล่านี้ จึงทำให้ผ้าไหมมัดหมี่ของอำเภอชนบท มีมนต์เสน่ห์ น่าหลงใหล และภูมิปัญญาที่งดงามเหล่านี้ก็มีกลุ่มที่สืบทอดภูมิปัญญาได้อย่างงดงาม

คุณสุภาณี ภูแล่นกี่ ประธานกลุ่มทอผ้าไหมมัดหมี่บ้านหัวฝาย โทร. (081) 729-6025 เล่าว่า ระยะแรกทางกลุ่มมีสมาชิกเพียง 40 คน ปัจจุบันมีสมาชิกเพิ่มกว่า 80 คน พื้นที่แห่งนี้ประชากรส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพทำการเกษตร ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและทอผ้าไหมเอง โดยสืบทอดความรู้มาจากบรรพบุรุษเป็นระยะเวลานานหลายร้อยปีแล้ว ชาวบ้านจะนำเส้นไหมที่สาวด้วยมือ มาทอเป็นลวดลายต่างๆ ที่สวยงามมาก เรียกว่า ลายมัดหมี่ ซึ่งลวดลายส่วนใหญ่ได้รับแรงบันดาลใจจากวิถีชีวิตและสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ความเชื่อและขนบธรรมเนียมประเพณี นับเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีการพัฒนาสร้างสรรค์ลายแปลกใหม่อย่างต่อเนื่อง

“ฟองน้ำหัวฝาย” คือ ลายผ้าไหมมัดหมี่ ที่เป็นเอกลักษณ์ของบ้านหัวฝาย สืบเนื่องจากชุมชนแห่งนี้ เป็นหมู่บ้านที่มีหนองน้ำ หัวฝาย ชุมชนได้ใช้ประโยชน์มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ด้วยความสัมพันธ์กับหนองน้ำ บรรพบุรุษของบ้านหัวฝาย มองเห็นคลื่นฟองน้ำจากหนองน้ำ เห็นว่ามีความสวยงาม จึงนำมามัดหมี่เป็นลาย และตั้งชื่อลายผ้าไหมว่า “ลายฟองน้ำหัวฝาย” จนมีชื่อเสียงและเป็นลายผ้าไหมที่สวยงามของบ้านหัวฝายมาจนถึงทุกวันนี้

ขนบธรรมเนียมประเพณี และวิถีชีวิตของชาวบ้านหัวฝายตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีความเกี่ยวพันกับผ้าไหมมัดหมี่เป็นอย่างมาก ด้วยการแต่งกายด้วยผ้าไหมมัดหมี่ในงานพิธีต่างๆ โดยเฉพาะลายน้ำฟอง มีการอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาเหล่านี้ให้คงอยู่เคียงคู่บ้านหัวฝายตลอดไป ดั่งคำขวัญที่ว่า “ชนบทเมืองไหม เที่ยวไปภูระงำ น้ำศักดิ์สิทธิ์ภูหัน ดูตะวันหนองกองแก้ว”

โครงการสืบทอดทายาท

คุณสุภาณี บอกว่า กลุ่มเด็กๆ ที่มาเรียนรู้งานผ้าไหม การทอผ้าไหม การแต้มลายไหมมัดหมี่ ส่วนใหญ่เป็นลูกหลานสมาชิกในกลุ่ม ทั้งนี้ ทางกลุ่มได้งบประมาณสนับสนุนมาจากกรมหม่อนไหมมาใช้พัฒนางานไหมไทย และถ่ายทอดองค์ความรู้แก่เด็กรุ่นใหม่ ได้มีโอกาสเรียนรู้งานผ้าไหม ในแต่ละขั้นตอน เด็กๆ ที่มีความสามารถจะพัฒนาลวดลายของเขาได้เอง และรับงานไปทำที่บ้าน เป็นรายได้เสริมระหว่างปิดเทอม ตัวเลขรายได้จะมากหรือน้อยก็ขึ้นกับความขยันเป็นหลัก

วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตผ้าไหมของกลุ่มแห่งนี้ ก็มาจากภายในชุมชนนั่นเอง เพราะที่นี่ดูแลการผลิตครบวงจร ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ เริ่มจากปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเอง คุณสุภาณี บอกว่า ที่นี่ใช้ไหมพันธุ์เหลืองไพโรจน์ ซึ่งเป็นไหมรังใหญ่มีความยาวของเส้นใยประมาณ 800 กว่าเมตร มีทั้งไหมสีเหลืองและสีขาว มีความแข็งแรงทนทานดี ทางกลุ่มทำลวดลายผ้าไหมมัดหมี่เอง ทอผ้าเอง และขายเอง

ปัญหาของกลุ่มคือ ผลิตภัณฑ์ผ้าทอไหมมัดหมี่ ซึ่งมีความประณีต สวยงาม แต่ละชิ้นงานต้องอาศัยงานช่างฝีมือที่ใช้ระยะเวลานานกว่าจะได้ผ้าทอมัดหมี่ แต่ละชิ้นงานมีขั้นตอนซับซ้อน กว่าจะได้ชิ้นงานที่สวยงาม ประณีต ทำให้ต้องจำหน่ายในราคาสูงและได้ผลิตภัณฑ์จำนวนไม่มาก ต่อช่างฝีมือ 1 คน ประกอบกับแหล่งผลิตของกลุ่มแม่บ้านผ้าทอมัดหมี่ มีมากมายหลายกลุ่มในหลายจังหวัด และเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้การทอมือ การมัดหมี่ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมที่ถูกถ่ายทอดมานาน ทำให้ไม่มีสิ่งแปลกใหม่ของผลิตภัณฑ์ผ้าทอในตลาด

ที่ผ่านมา ทางกลุ่มได้รับการช่วยเหลือจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ช่วยพัฒนานวัตกรรมในการระบายสีลายผ้า ชื่อ “ไหมแต้มหมี่” ภายใต้แนวคิด “บูรณาการลวดลายมัดหมี่ สร้างสรรค์สิ่งดีดีสู่สากล” ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ ลำดับ 2 ในการประกวดผลงานเครือข่ายองค์ความรู้ (KBO) จังหวัดดีเด่น ประจำปี 2555 โดยไหมดังกล่าวใช้สีเคมีที่อาจารย์มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นผู้คิดค้นมาช่วยในการลงสีผ้าทอโดยใช้นวัตกรรมระบายลายผ้า ทำให้ได้ลายผ้าที่แปลกตาแปลกใหม่ ไม่เหมือนผลิตภัณฑ์ผ้าทอมัดหมี่แบบเดิม ซึ่งสามารถลดระยะเวลาทำงานให้สั้นลงกว่าเดิมหลายเท่า และทำให้จำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าทอได้ราคาถูกลงกว่าเดิมมากกว่าเท่าตัว

“ไหมแต้มหมี่” นับเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้นวัตกรรมการทำลายผ้าโดยการระบายตามจินตนาการของช่างฝีมือ ที่มีจุดเด่นสำคัญคือ เป็นลวดลายหนึ่งเดียวซึ่งเกิดจากการแต้มสีลงบนเส้นไหม ไม่สามารถทำซ้ำได้ ถือว่าเป็น Master Piece มีเพียงชิ้นเดียวในโลก นับเป็นผลิตภัณฑ์ที่แปลกตา ทันสมัย เป็นที่สนใจของตลาด ประกอบกับราคาถูกลง เนื่องจากประหยัดเวลาได้มากในการได้ผลิตภัณฑ์ต่อชิ้นงาน และเป็นผลิตภัณฑ์แปลกใหม่ในท้องตลาด ฉีกจากแนวเดิมได้ จึงน่าจะเป็นความหวัง เป็นองค์ความรู้ที่น่าสนใจมากในการนำมาส่งเสริมใช้กับผลิตภัณฑ์ของชุมชนและท้องถิ่น

ปัจจุบันชาวบ้านในชุมชนแห่งนี้ มีรายได้หลักจากการขายผ้าไหมในท้องถิ่นแล้ว พวกเขายังนำผลิตภัณฑ์ออกจำหน่ายตามงานแสดงสินค้าต่างๆ อีกด้วย ขณะเดียวกันก็รับจ้างผลิตตามความต้องการของผู้ซื้อ เมื่อมีออเดอร์เข้ามาก็จะกระจายงานให้กับเพื่อนสมาชิกในกลุ่มนำกลับไปทำที่บ้าน ปัจจุบันลูกค้าหลักคือ ตลาดญี่ปุ่น นิยมสั่งทำผ้าไหมแต้มหมี่

คุณสุภาณี บอกว่า ความแตกต่างของเส้นไหมแต้มหมี่กับเส้นไหมมัดหมี่ อยู่ที่ขั้นตอนการผลิต ทั้งนี้ ผ้าไหมที่นำมาแต้มลายเรียกว่า ไหมแต้มหมี่ (แต้มลาย) ช่วยในการประหยัดเวลา ประหยัดขั้นตอนการทำงานให้เร็วขึ้น เราสามารถลงสี ลงลาย ในชิ้นงานเดียวกันได้เลย ช่วยประหยัดเวลาและขั้นตอนการผลิต ส่วนไหมมัดย้อม ต้องนำมาย้อมก่อนที่จะทำลวดลายใหม่ๆ ทำวันละสี ถ้าใช้ 10 ลาย ก็ต้องใช้ระยะเวลา 10 วัน ทำให้เสียเวลามากๆ

คุณสุภาณี เชื่อว่า ผ้าไหมแต้มหมี่ มีโอกาสพัฒนาตลาดอย่างกว้างขวางในอนาคต เพราะมีระยะการผลิตที่สั้น ออกแบบได้ตรงตามความต้องการของตลาดที่มีกลุ่มผู้สนใจสวมใส่ผ้าไหมเพิ่มขึ้น ทั้งกลุ่มเด็กและเยาวชน ดังนั้น ทางกลุ่มจึงส่งเสริมให้เยาวชนในท้องถิ่นได้เข้ามาเรียนรู้เรื่องการผลิตผ้าไหมแต้มหมี่มากขึ้น เพราะเมื่อเยาวชนเป็นผู้ผลิตผ้าไหมแต้มหมี่โดยตรง พวกเขาจะมีความเข้าใจผู้สวมใส่ผ้าไหมที่อยู่ในวัยใกล้เคียงกัน ขณะเดียวกันยังช่วยอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นถิ่น และสร้างแรงจูงใจให้เกิด “เถ้าแก่น้อย” ที่สามารถส่งผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดต่างประเทศได้ในอนาคต

คุณสุภาณี บอกว่า ขณะนี้ทางกลุ่มได้ยื่นขอขึ้นทะเบียนสินค้า จีไอ โดยจดลิขสิทธิ์ลายผ้า เช่น ลายสร้อยดอกหมาก และอื่นๆ เมื่อได้สิทธิบัตรด้านการออกแบบลายผ้า จะทำให้ลูกค้าเกิดความมั่นใจในมาตรฐานการผลิตสินค้าของกลุ่มมากขึ้น หากใครอยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ กลุ่มทอผ้าไหมมัดหมี่บ้านหัวฝาย สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เบอร์โทร. (043) 455-756 หรือ (081) 729-6025 (คุณสุภาณี), (081) 987-2480 (คุณนิดดา)

รางวัลครอบครัวชาวนาตัวอย่าง เพื่อพัฒนาอนาคตข้าวและชาวนา อย่างยั่งยืน

ศาสตร์เกษตรดินปุ๋ย : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือเทคโนโลยีชาวบ้าน

http://info.matichon.co.th/techno/techno.php?srctag=05032010858&srcday=2015-08-01&search=no

วันที่ 01 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ปีที่ 27 ฉบับที่ 604

รายงานพิเศษ ครอบครัวชาวนาตัวอย่าง 4 ภาค

รางวัลครอบครัวชาวนาตัวอย่าง เพื่อพัฒนาอนาคตข้าวและชาวนา อย่างยั่งยืน

สืบเนื่องจากประชากรไทยกว่า ร้อยละ 60 เป็นเกษตรกร ส่วนใหญ่ปลูกข้าวเป็นพืชหลัก ประเทศไทยส่งออกข้าวมากที่สุดในโลก กว่า 7 ล้านตัน ต่อปี ข้าวไทยสร้างชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก ทำรายได้ให้แก่ประเทศเป็นจำนวนมากทุกปี ข้าวจึงเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ ช่วยกอบกู้และพยุงเศรษฐกิจของประเทศในช่วงวิกฤต

ด้วยเหตุนี้ มูลนิธิข้าวไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงก่อกำเนิดขึ้น เป็นองค์กรที่คอยประสานความร่วมมือและการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงองค์การนานาชาติ ให้ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ให้การสนับสนุนเงินทุนที่เพียงพอสำหรับงานวิจัยและงานฝึกอบรมต่างๆ เพื่อพัฒนาอนาคตข้าวและชาวนาให้มากขึ้น

ดร. ขวัญใจ โกเมศ เลขาธิการมูลนิธิข้าวไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเผยว่า มูลนิธิมีความกังวลเรื่องความอยู่รอดและความยั่งยืนของชาวนาไทยมานาน สังเกตได้ว่าลูกหลานชาวนาไม่กลับไปทำนา ในขณะที่ยังมีชาวนาจำนวนหนึ่งที่ยังคงทำนามายาวนาน จึงคิดโครงการ “คัดเลือกครอบครัวชาวนาตัวอย่าง” เพื่อเก็บข้อมูลชาวนาปัจจุบัน ว่ามีปัจจัยใด ที่ทำให้ครอบครัวชาวนาเหล่านั้นเป็นชาวนาที่ทำนามาต่อเนื่องและยาวนาน โดยกำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกครอบครัวชาวนาตัวอย่าง เพื่อเลือกเฟ้นครอบครัวชาวนาตัวอย่างประจำแต่ละภาคของประเทศ ที่ได้มีการสืบทอดภูมิปัญญาที่สั่งสมมาหลายชั่วอายุคน สร้างวิถีครอบครัวชาวนาที่เข้มแข็งในสังคมไทย โดยหวังว่า ความสำเร็จและความมุ่งมั่นของ “ครอบครัวชาวนาตัวอย่าง” ที่ได้รับรางวัล จะเป็นแรงบันดาลใจและแรงจูงใจให้ชาวนาไทย พร้อมใจกันรักษาอาชีพการทำนาให้คงอยู่และสืบทอดไปยังคนรุ่นต่อไป

“มูลนิธิข้าวไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ มีความกังวลในเรื่อง ความยั่งยืนของอาชีพชาวนาไทย จึงได้ร่วมมือกับองค์กรพันธมิตรอีก 4 องค์กร จัดทําโครงการ “คัดเลือกครอบครัวชาวนาตัวอย่าง” ขึ้น เพื่อเชิดชูเกียรติ และสํานึกในบุญคุณของชาวนา โดยหวังว่าความสําเร็จและความมุ่งมั่นของ “ครอบครัวชาวนาตัวอย่าง” ที่ได้รับรางวัลจะเป็นแรงบันดาลใจและแรงจูงใจให้ชาวนาไทยพร้อมใจกันรักษาอาชีพการทํานาให้คงอยู่และสืบทอดไปยังคนรุ่นต่อไป”

สำหรับคุณสมบัติ ต้องเป็นครอบครัวชาวนาที่ร่วมกันทำนาเป็นอาชีพหลัก ไม่ต่ำกว่า 3 ชั่วอายุคน และไม่ต่ำกว่า 20 ปี เป็นครอบครัวชาวนาที่เป็นที่ยอมรับในชุมชน ทั้งด้านคุณธรรมและจริยธรรม การตัดสินจะมีคณะกรรมการระดับจังหวัดทุกจังหวัด คัดเลือกครอบครัวชาวนาที่สมัครเข้ามา ในแต่ละจังหวัดจะคัดเลือกจังหวัดละ 3 ครอบครัว เพื่อมาคัดเลือกในระดับภาค เหลือเพียงภาคละ 1 ครอบครัว เท่านั้น ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ ภาคละ 1 รางวัล แต่ละรางวัลประกอบด้วยโล่พระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และเงินสด 100,000 บาท

ครอบครัวชาวนาที่สมัครเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 259 ครอบครัว จาก 52 จังหวัด ที่ได้ผ่านการคัดเลือก และผลการตัดสิน ดังนี้ ครอบครัวชาวนาตัวอย่าง ที่ได้รับรางวัลแต่ละภาค ได้แก่

ภาคเหนือ คุณพิษณุ อรรคนิวาส

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คุณวินิจ สุภาจันทร์

ภาคกลาง คุณนพดล สว่างญาติ

ภาคใต้ คุณบุญเรือน ทองจำรัส

พิษณุ อรรคนิวาส ครอบครัวชาวนาตัวอย่าง ภาคเหนือ ทำนาแบบเปียกสลับแห้ง แกล้งข้าว

ศาสตร์เกษตรดินปุ๋ย : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือเทคโนโลยีชาวบ้าน

http://info.matichon.co.th/techno/techno.php?srctag=05034010858&srcday=2015-08-01&search=no

วันที่ 01 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ปีที่ 27 ฉบับที่ 604

รายงานพิเศษ ครอบครัวชาวนาตัวอย่าง 4 ภาค

ธีรวุฒิ เหล่าสงคราม

พิษณุ อรรคนิวาส ครอบครัวชาวนาตัวอย่าง ภาคเหนือ ทำนาแบบเปียกสลับแห้ง แกล้งข้าว

คุณพิษณุ อรรคนิวาส อายุ 53 ปี อาศัยอยู่ที่ เลขที่ 63/1 หมู่ที่ 1 บ้านต้นทุนแสง อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร 66110 มีที่นาทั้งหมด 100 ไร่ โดยแบ่งเป็นแปลงนาสาธิตเศรษฐกิจพอเพียง 26 ไร่

เกษตรกรรายนี้ มีการสืบทอดการทำนามาตั้งแต่รุ่นปู่ ย่า ตา ยาย จนถึงปัจจุบัน ที่นาที่ทำอยู่ได้รับการสืบทอดมาจากรุ่นตาของแม่ภรรยา

คุณพิษณุได้รับแรงบันดาลใจและปลูกฝังการทำนามาจากพ่อ ที่เคยสอนไว้ว่า “มึงมีที่นาทำกิน ไม่มีวันอดตายหรอก ถ้ามึงขยัน ที่นามึงก็อยู่ให้ทำกินไปจนถึงลูกหลาน มีข้าวสารกรอกหม้อกินทุกวัน มึงก็อยู่ได้” เป็นคำสอนที่ฝังใจมาตลอด ทำให้รักอาชีพทำนามาจนถึงทุกวันนี้ และยังได้มีการถ่ายทอดความรู้การทำนาตั้งแต่เด็กๆ โดยช่วยย่า พ่อและแม่ทำนามาตลอด จึงปลูกฝังชีวิตการทำนาและได้รับความรู้จากการคัดเมล็ดพันธุ์ข้าว

ปัจจุบันคุณพิษณุได้ถ่ายทอดความรู้ ขั้นตอนและวิธีการทำนาไปให้แก่ลูกชาย คุณปราณนต์ อรรคนิวาส เพื่อสร้างอาชีพให้กับตนเองและครอบครัวของลูกชาย ในอดีตการทำนาของคุณพิษณุจะใช้วิธีการหว่านน้ำตมและทำนาปี ทำให้เกิดปัญหาเรื่องหญ้าและแมลงรบกวนจำนวนมาก และประสบปัญหาภัยแล้ง จึงทำให้ผลผลิตตกต่ำและขาดทุน จึงได้มีการศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพื่อหาวิธีการแก้ปัญหาการทำนาโดยใช้น้ำอย่างประหยัดและได้ผลผลิตสูง จึงได้วิธีการปักดำผสมผสานเทคนิคการทำนาแบบ “เปียกสลับแห้ง แกล้งข้าว” ซึ่งช่วยในการลดปริมาณน้ำ และเพิ่มผลผลิตสูง มีการเลี้ยงแหนแดงและเลี้ยงเป็ดในนาข้าว ผลิตน้ำหมักชีวภาพป้องกันและกำจัดโรคพืช

ระบบการทำนาแบบเปียกสลับแห้ง แกล้งข้าว คือการควบคุมระดับน้ำในแปลงนา บวกกับผสมผสานเทคโนโลยีที่ทำด้วยตนเอง

สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจเบื้องต้น ในระบบนี้

1. ข้าวไม่ใช่พืชน้ำ แต่เป็นพืชทนน้ำขัง

2. การขังน้ำไว้ในแปลงนา วัตถุประสงค์หลักเพื่อป้องกันวัชพืช

– การขังน้ำไว้ในแปลงนาตลอดเวลา จะทำให้ต้นข้าวอ่อนแอ ขี้โรค ไม่แตกกอ มีปัญหานาหล่ม ไม่มีการพักนา มีการหมักในแปลงนาต่อเนื่อง จุลินทรีย์ไม่สามารถใช้ออกซิเจนในการย่อยสลายอินทรียวัตถุในดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดก๊าชมีเทน ซึ่งต้นข้าวจะดูดเข้าไป และทำให้ต้นข้าวอ่อนแอ โรคและแมลงศัตรูพืชเข้าทำลายได้ง่าย ทำให้เกิดความเสียหายแก่ต้นข้าว

– ทำให้ต้นทุนในการผลิตข้าวสูงขึ้นในทุกขั้นตอน เช่น ขั้นตอนการสูบน้ำเข้านา ขั้นตอนการปลูก ขั้นตอนการดูแลรักษา เป็นต้น

เปียกสลับแห้ง แกล้งข้าว คืออะไร

– เปียก คือ มีน้ำท่วมขังสูง 5-10 เซนติเมตร หรือราดผ่าน

– สลับ คือ การเปลี่ยนแปลงสภาพ

– แห้ง คือ ระดับน้ำค่อยๆ ลดลงไปถึง 15 เซนติเมตร ประกอบกับอาการข้าวเหี่ยวชั่วคราว (เช้าใบตั้ง บ่ายใบโค้ง)

– แกล้งข้าว คือ การกระตุ้นโดยใช้ระดับน้ำแห้ง เพื่อดึงศักยภาพของต้นข้าวตามธรรมชาติมาช่วยในการออกราก การแตกกอ การดูดซึมสารอาหาร สร้างความต้านทานโรคและแมลงศัตรูพืช สร้างผลผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ

การทำนาของคุณพิษณุ มีขั้นตอนคือ

ขั้นตอนการเตรียมแปลงนา…โดยการเตรียมแปลงนาของคุณพิษณุจะไม่ใช้สารเคมีและไม่เผาฟางข้าวและตอซัง จะปลูกปอเทือง จำนวน 5-7 กิโลกรัม ต่อไร เพื่อเป็นการปรับปรุงดินและเป็นอาหารให้แก่ดิน โดยเมื่อปอเทืองออกดอกใช้ระยะเวลาประมาณ 45 วัน (ซึ่งช่วงระหว่างที่ปอเทืองเจริญเติบโตจะเป็นช่วงที่แปลงนาของเราได้พักดินและพร้อมที่จะปลูกต่อไป เหตุที่ใช้ปอเทืองเนื่องจากมีอัตราการย่อยสลายที่เร็วกว่าฟางข้าวและไม่ทำให้เกิดอาการข้าวเมาตอซัง) ให้ไถกลบและฉีดพ่นด้วยน้ำหมักชีวภาพโดยใช้ พด. 2 ของกรมพัฒนาที่ดิน ควบคู่กับจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง (photosybthetic bacteria; PSB) ซึ่งได้มาจาก อาจารย์ฉวัช หนูทอง ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่กินก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) หรือก๊าซไข่เน่า ที่เกษตรกรส่วนใหญ่ประสบปัญหาจากการหมักตอซัง จนทำให้เกิดก๊าซมีเทน ที่เป็นมลภาวะทำให้เกิดกลิ่นเหม็นและเป็นผลเสียต่อต้นข้าว โดยจะฉีดพ่นน้ำหมัก ประมาณ 5-7 วัน (ปอเทืองจะยังไม่สูญเสียธาตุอาหาร) ทำเทือกและใช้รถดำนาในการดำ

ขั้นตอนการเพาะกล้า…คุณพิษณุ บอกว่า “ต้นกล้าไปให้เขาเพาะให้ โดยใช้เวลาในการเพาะกล้า 12-18 วัน ก็สามารถใช้ดำในแปลงนาได้”

ขั้นตอนเปียกสลับแห้ง…แกล้งข้าว แกล้ง 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อข้าวอายุได้ 20 วัน หลังการปักดำ ให้ปล่อยน้ำออก โดยให้ปล่อยออกให้แห้งจนพื้นดินแตกระแหง ใช้เวลาประมาณ 10 วัน หลังจากน้ำแห้งสนิทให้ใส่ปุ๋ย (ปุ๋ยอินทรีย์ หรือปุ๋ยเคมี) ก่อนที่จะปล่อยน้ำเข้าอีกครั้ง โดยปุ๋ยจะลงไปยังร่องดินที่แตกระแหง แล้วปล่อยจนกว่าน้ำในแปลงนาจะแห้งไปเองโดยธรรมชาติใช้เวลาประมาณ 10 วัน แล้วจึงปล่อยน้ำเข้าอีกครั้ง ตอนนี้ต้นข้าวก็จะอายุประมาณ 40 วัน ครั้งที่ 2 ให้ทำเหมือนครั้งแรก เมื่อทำครบ 2 ครั้ง ให้ปล่อยน้ำเข้าและรักษาระดับน้ำ เพราะในตอนนี้เป็นช่วงที่ข้าวเริ่มจะตั้งท้องและออกรวง คุณพิษณุ ได้กล่าวว่า “การทำนาแบบเปียกสลับแห้งนั้นได้มาจากแฟนเพจ ชาวนาวันหยุด ของ คุณสุภชัย ปิติวุฒิ”

ขั้นตอนการดูแลรักษาข้าว…ใช้สารอินทรีย์และปุ๋ยอินทรีย์ในการดูแลข้าว โดยใช้เชื้อราบิวเวอเรีย (beauveria bassiana) กับเชื้อราเขียวเมตาไรเซียม (Metarhizium anisopliae) และสารสกัดจากสะเดาในการกำจัดแมลงศัตรูพืช

จุดเด่นของการแกล้งข้าว

การทำนาด้วยวิธีการทำนาแบบเปียกสลับแห้ง แกล้งข้าว มีจุดเด่นตรงที่เมื่อดินแตกระแหง ซึ่งการแตกระแหงของดินจะเติมอากาศให้แก่ดินและเป็นการฉีกรากซึ่งจะกระตุ้นให้มีการเกิดรากใหม่ได้ดี เป็นการดึงศักยภาพของต้นข้าวโดยธรรมชาติ ทำให้ต้นข้าวมีความแข็งแรง มีการแตกกอแตกรากดี ช่วยลดการล้มของต้นข้าว ทำให้ต้นข้าวดูดซึมธาตุอาหารได้ดี ไม่มีปัญหาเรื่องแมลงศัตรูพืช เนื่องจากสภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยในการขยายพันธุ์ การแกล้งข้าวถ้าปล่อยตามธรรมชาติจะไม่ได้ผล ต้องกำหนดเวลาให้ชัดเจน ข้าวนาปรังจะทำได้ดีกว่า เพราะมีอายุการออกรวง ในบางพื้นที่จะสามารถแกล้งข้าวได้เพียงครั้งเดียว

พันธุ์ข้าวที่ใช้ในการปลูก มีพันธุ์ กข 41 กข 61 ถ้าเป็นนาปีจะใช้พันธุ์ข้าวหอมดอกมะลิ 105 และยังมีพันธุ์ข้าวที่มีการคิดค้นและปรับปรุงขึ้นเอง ได้แก่ พันธุ์ “หอมงิ้วราย” เป็นลูกผสมระหว่าง ข้าวพันธุ์หอมดอกมะลิ 105 กับข้าวพันธุ์ปิ่นเกษตร เพื่อปรับปรุงให้เป็นพันธุ์ข้าวที่เหมาะแก่สภาพพื้นที่ในบริเวณนั้น

ข้าวพันธุ์หอมงิ้วราย มีลักษณะเด่น

– ให้ผลผลิตสูง

– มีกลิ่นหอม นุ่ม

– ต้นเตี้ย มีความสูงประมาณ 60-70 เซนติเมตร

– คอรวงแข็งแรง

– ให้ผลผลิต 90-150 ถัง ต่อไร่

ฤดูกาลที่เหมาะสม ควรปลูกในฤดูฝน จะทำให้ได้ผลผลิตสูงสุด แต่ทางคุณพิษณุได้นำมาปลูกในฤดูร้อนเพื่อให้ทนต่อสภาพแวดล้อมในบริเวณนั้น

ต้นทุนในการผลิตข้าว ไม่เกิน 3,000 บาท ต่อไร่ โดยมีวิธีการทำนาเองทั้งหมดทุกขั้นตอน และโดยเฉพาะการทำนาแบบเปียกสลับแห้งเป็นวิธีที่ลดต้นทุนได้เป็นอย่างดี เพราะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อสารกำจัดแมลงศัตรูพืช เนื่องจากการทำนาแบบนี้เป็นการตัดวงจรการขยายพันธุ์ของแมลงศัตรูพืชได้เป็นอย่างดี เพราะสภาวะไม่เหมาะแก่การสืบพันธุ์ของแมลงศัตรูพืช ทำให้แมลงไม่มีอยู่ในบริเวณแปลงนา และมีการจำหน่ายเป็นผลผลิตทั้งแบบข้าวสดและจำหน่ายเป็นเมล็ดพันธุ์ คุณพิษณุ กล่าวว่า “การแปรรูปผลผลิตจะทำให้เกษตรกรอยู่ได้ โดยการแปรรูปเป็นเมล็ดพันธุ์” การจำหน่ายเป็นเมล็ดพันธุ์จะมีราคาสูงกว่าการจำหน่ายข้าวสด อยู่ที่ 10,000 บาทขึ้นไป ซึ่งราคาข้าวอยู่ที่เกวียนละ 6,000-6,200 บาท

คุณพิษณุยังมีการสอนเพื่อปลูกฝังให้ลูกของตนเองรู้จักการทำนา โดยมีคำสอนว่า “ทำนาเป็นอาชีพที่เป็นบุญนะ ทำนาปลูกข้าวให้คนกิน คนในเมืองเขาไม่มีโอกาสได้ปลูกข้าวหรอก เขาไม่มีที่นา แต่มึงทำนา มึงเท่ากับทำบุญ ถ้ามึงไปใช้สารเคมี แล้วไปขายข้าวให้เขากิน เท่ากับมึงทำบาป”

คุณปราณนต์ ได้กล่าวว่า “การทำนาเป็นอาชีพที่ดีมาก และมีความสุขใจ” ซึ่งตอนนี้ตนเองพอใจกับรายได้ที่ได้รับ และทางคุณพิษณุยังแซวลูกชายของตัวเองอย่างมีความสุขว่า “เขาพอใจเพราะว่าอุปกรณ์ทุกอย่างเป็นของพ่อหมด เวลาขายข้าวไม่เห็นให้พ่อบ้างเลย เก็บเงินใส่ธนาคารอย่างเดียว” นอกจากลูกชายแล้วยังมีหลานชายที่ทำนาอีกด้วย ซึ่งเพิ่งจะแต่งงานไปเมื่อเร็วๆ นี้ มีทุกอย่างจากการทำนา และก่อนการทำนายังเคยทำงานในกรุงเทพมหานคร แต่ไม่ชอบ จึงกลับไปทำนาที่บ้าน และยังมีการรวมกลุ่มกันของเกษตรกรภายในชุมชนนั้น โดยริเริ่มจากการรวบรวมผลผลิตข้าวภายในชุมชนและมีการผลิตปุ๋ยชีวภาพเกิดขึ้น โดยมีชื่อกลุ่มว่า วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตและขยายพันธุ์ข้าวชุมชนตำบลงิ้วราย ผลิตและจำหน่ายสินค้าทางการเกษตรภายใต้ชื่อ คนของแผ่นดินไทย และยังยึดหลักเดินทางตามรอยพ่อ เศรษฐกิจพอเพียง โดยมีวิสัยทัศน์ในการดำเนินงานว่า “พวกเราจะร่วมกันพลิกฟื้นปฐพี สนองพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก้าวของวันนี้ และก้าวต่อไป ขอเดินทางตามรอยพ่อเศรษฐกิจพอเพียง”

ติดต่อสอบถามได้ที่ เลขที่ 173 หมู่ที่ 1 บ้านต้นชุมแสง อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร เบอร์โทรศัพท์ คุณประสงค์ ชูรส ประธาน (088) 166-9227 คุณพิษณุ อรรคนิวาส เหรัญญิก (093) 229-2546 คุณชูศักดิ์ พิมพ์ศิริ เลขานุการ (089) 272-8284 หรือ Email : choos_2516@hotmail.com และ แฟนเพจ/เฟซบุ๊ก : วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตและขยายพันธุ์ข้าวชุมชนตำบลงิ้วราย

ประมาณ สว่างญาติ ครอบครัวชาวนาตัวอย่าง ภาคกลาง

ศาสตร์เกษตรดินปุ๋ย : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือเทคโนโลยีชาวบ้าน

http://info.matichon.co.th/techno/techno.php?srctag=05038010858&srcday=2015-08-01&search=no

วันที่ 01 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ปีที่ 27 ฉบับที่ 604

รายงานพิเศษ ครอบครัวชาวนาตัวอย่าง 4 ภาค

ธีรวุฒิ เหล่าสงคราม

ประมาณ สว่างญาติ ครอบครัวชาวนาตัวอย่าง ภาคกลาง

คุณประมาณ สว่างญาติ (พ่อ) อายุ 53 ปี คุณวนิดา พงษ์สิทธิผล (แม่) อายุ 51 ปี และ คุณนพดล สว่างญาติ ลูกชาย อายุ 33 ปี อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 64 หมู่ที่ 1 ถนนเทศบาล 7 ตำบลช้างใหญ่ อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นหนึ่งครอบครัวชาวนาที่ประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะในเรื่องของการทำนาของครอบครัวนี้ มีการสืบทอดกันมาตั้งแต่รุ่นปู่ ย่า ตา ยาย และสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน

คุณนพดล จบการศึกษาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในอดีตก่อนที่จะมาทำอาชีพทำนาได้ทำงานทางด้านวิศวกรมาก่อน ทำงานในบริษัทเอกชน โดยมีตำแหน่งเป็นผู้จัดการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ซึ่งแรงบันดาลใจในการทำนามาจากพ่อ โดยสังเกตเห็นว่าพ่อทำนาต่างจากคนอื่น คือพยายามหาวิธีที่ดีที่สุดในการทำนา แต่การเข้าถึงแหล่งข้อมูลค่อนข้างยาก จึงช่วยคุณพ่อค้นหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต เกี่ยวกับเทคนิคใหม่ๆ ในการทำนาแล้วช่วยกันทดลองจนได้ผลน่าพอใจ จึงลาออกจากงานวิศวกร กลับมาช่วยพ่อทำนาอย่างจริงจัง

คุณนพดลได้นำกระบวนการจัดการมาช่วยในการทำนาเพื่อจัดการการทำนาให้ชัดเจน มีการเก็บข้อมูลการทำนาในแต่ละครั้ง และนำมาบันทึกเพื่อวิเคราะห์หาต้นทุนและปรับลดในส่วนที่มีต้นทุนสูงให้มีต้นทุนลดลงก่อนแล้วจึงปรับส่วนอื่น ด้วยวิธีนี้ทำให้สามารถคำนวณต้นทุนเพื่อลดต้นทุนทางการผลิตในแต่ละขั้นตอนได้อย่างชัดเจน

ทดลองการปลูกข้าว

ครอบครัวนี้ ทดลองด้วยตนเองในพื้นที่นา 3 แปลง บริเวณหลังบ้าน โดยแบ่งการปลูกข้าวในวิธีการต่างๆ ออกเป็น 3 วิธี วิธีละ 1 แปลง

แปลงแรก ปลูกข้าวโดยวิธีการหว่าน ปรากฏว่าวิธีนี้ได้ผลผลิตสูงสุด แต่การจัดการแปลงนายาก และใช้เมล็ดพันธุ์มาก 10-12 กิโลกรัม

แปลงที่สอง ปลูกข้าวโดยวิธีการโยน วิธีนี้ทำให้ข้าวแตกกอดี สมบูรณ์ แต่มีข้อเสียตรงที่นาโยนจะไม่มีความเป็นระเบียบ ใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 5-7 กิโลกรัม

แปลงที่สาม ปลูกข้าวโดยวิธีการปักดำ โดยข้อดีของวิธีการนี้จะได้ต้นข้าวที่เป็นแถวเป็นแนว อย่างเป็นระเบียบ แต่ข้อเสียคือ ต้นข้าวไม่แตกกอ เนื่องจากช้ำจากการปักดำของเครื่องดำนา บางครั้งก็ทำให้ต้นข้าวหัก จึงทำให้การฟื้นตัวของต้นข้าวช้า จึงไม่แตกกอ จากการทดลองปลูกข้าวทั้ง 3 แบบ ทำให้คุณนพดลนำข้อมูลมาวิเคราะห์ว่า ในเมื่อวิธีการหว่านได้ผลผลิตดีแต่ไม่มีระเบียบ กับวิธีการปักดำมีความเป็นระเบียบ ทำไมไม่หว่านข้าวให้เป็นระเบียบแบบการปักดำ จึงทำเครื่องเพื่อโรยเมล็ดพันธุ์ให้เป็นแถว ก็เลยเกิดเครื่องหยอดข้าวขึ้นมา

เครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวแบบนั่งขับ โดยใช้รถไถเดินตาม

ชาวนาครอบครัวนี้ได้มีการร่วมมือกับศูนย์เครื่องกล สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมปทุมธานี นำเครื่องหยอดมาทดลองเพื่อทดแทนการใช้งานเครื่องดำนา โดยดัดแปลงมาจากเครื่องหยอดข้าวโพด ทำให้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพ ต้นทุนต่ำ สะดวก รวดเร็ว ลดอัตราการใช้เมล็ดพันธุ์ ต้นข้าวสมบูรณ์ แข็งแรง และพัฒนามาเป็นต้นแบบที่ 1 มีถังใส่ข้าว 1 ถัง (ความจุ 15 กิโลกรัม) หยอดได้ 6 แถว ระยะเวลา 1 ชั่วโมง หยอดได้ 4 ไร่ ใช้เมล็ดพันธุ์ 5 กิโลกรัม ต่อไร่ ต่อมาได้มีการปรับปรุงเพื่อพัฒนาเป็นต้นแบบที่ 2 มีถังใส่ข้าว 3 ถัง (ความจุ ถังละ 10 กิโลกรัม) รวม 30 กิโลกรัม หยอดได้ 12 แถว ระยะเวลา 1 ชั่วโมง หยอดได้ 7 ไร่ ใช้เมล็ดพันธุ์ อัตรา 5 กิโลกรัม ต่อไร่

วิธีการปรับปรุงดิน

มีการปรับค่าความเป็นกรด-ด่างของดินให้มีความเหมาะสมในการปลูกข้าวโดยใช้น้ำหมักชีวภาพจากซากพืชซากสัตว์ ในอัตราส่วน 5 ลิตร ต่อ 1 ไร่ ไม่มีการเผาฟาง ตอซังข้าว และมีการปลูกปอเทือง เพื่อให้นาได้พัก แล้วเป็นปุ๋ยพืชสดให้แก่ดิน

วิธีดูแลรักษาต้นข้าว ได้มีการผลิตจุลินทรีย์ป้องกัน และกำจัดโรคพืชและแมลง

ใช้เชื้อราเมตาไรเซียม (Metarhizium anisopliae) เชื้อราบิวเวอเรีย (beauveria bassiana) ใช้ 5 ครั้ง ในการทำนา 1 รอบ มาช่วยในการกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช การบำรุงใช้ปุ๋ย 3 สูตร ได้แก่ สูตร 46-0-0 สูตร 18-46-0 สูตร 0-0-60 ในอัตราส่วนที่เหมาะสมต่อต้นข้าวในแปลงนา ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา (Trichoderma harzianum) ใช้ฮอร์โมนที่ทำขึ้นเองคือ ฮอร์โมนไข่ ส่วนผสมในการทำ ไข่ไก่ (เบอร์ 1) 2 แผง น้ำตาลทรายแดง 2 กิโลกรัม นมเปรี้ยว 2 ขวดเล็ก แป้งข้าวหมาก 2 ลูก หมักในอัตราส่วน 1:1 เป็นระยะเวลา 1 เดือน ใช้ได้ 100 ไร่ ต่อการหมัก 1 ครั้ง ใช้ฮอร์โมนไข่ 30 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ใช้ฉีดพ่นนาข้าว 1 ไร่ ช่วงเริ่มตั้งท้อง (กัดหางปลาทู) และช่วงโน้มรวง ต้นทุนฮอร์โมนไข่อยู่ที่ 3 บาท ต่อไร่

ทำนาอย่างไร ให้ต้นทุนต่ำ

การทำนาโดยวิธีการหยอดเมล็ดพันธุ์โดยใช้เครื่องหยอด จะช่วยลดต้นทุนในการทำนาได้ดี โดยใช้ต้นทุนเพียง 1,700-3,500 บาท ต่อไร ซึ่งใช้เมล็ดพันธุ์เพียง 5 กิโลกรัม ต่อไร่ และสามารถช่วยในเรื่องเวลาของการทำนาให้เร็วยิ่งขึ้น เพราะสามารถหยอดได้ ในอัตรา 1 ชั่วโมง ต่อพื้นที่นา 7 ไร่ และวิธีการนี้ยังทำให้ได้แปลงนาที่เป็นระเบียบ ได้ต้นข้าวที่แข็งแรง และสะดวกในการดูแลรักษา วิธีการในการเตรียมดินก่อนปลูกก็เหมือนการทำนาหว่านทุกอย่าง การทำนาจะทำเพียง 2 ครั้ง ต่อปี โดยทำนา 4 เดือน พัก 2 เดือน เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีและมีคุณภาพ

การตลาด

คุณนพดลได้มองการตลาดว่า “ต้องปลูกข้าวที่คนกิน” โดยพันธุ์ข้าวที่ปลูกจะมีพันธุ์ชัยนาท 1 ที่มีลักษณะแข็ง หุงขึ้นหม้อ ข้าวแบบนี้ร้านข้าวแกงจะชอบ อีกหนึ่งพันธุ์คือพันธุ์ปทุมธานี 1 ที่มีลักษณะคล้ายข้าวหอมมะลิแต่ไม่มีกลิ่นหอม และยังมีการแปรรูปข้าวโดยผลิตเป็น “ข้าวปลอดภัย” เพื่อจำหน่าย และแปรรูปเป็นเมล็ดพันธุ์ สร้างเว็บไซต์ในการประชาสัมพันธ์สินค้า เพื่อให้ผู้บริโภคและผู้ที่สนใจสามารถเข้าถึงง่ายยิ่งขึ้น และในอนาคตกำลังจะมีการสร้างห้องปฏิบัติการเพื่อทดสอบคุณภาพข้าว และคุณภาพสินค้าต่างๆ รวมถึงการทดสอบดินและน้ำเพื่อช่วยให้การทำนาทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน คุณนพดลได้กล่าวว่า “ในตอนนี้ได้จัดการปัญหาทุกอย่างที่เป็นอุปสรรคได้หมดแล้ว ยกเว้นเรื่องเดียวคือเรื่องสภาพอากาศที่ยังควบคุมได้ยาก”

การรวมกลุ่มกันเป็นวิสาหกิจชุมชน ซึ่งมีสมาชิก 37 ราย จากหลายชุมชนและเพิ่มขึ้น มีที่นากว่า 1,000 ไร่ และกำลังขยายให้เป็นสหกรณ์ชุมชนที่ผลิตและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์และสินค้าแปรรูปอื่นๆ ซึ่งผู้ที่สนใจและอยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนพันธุ์ข้าวไทย ศูนย์ปราชญ์เกษตรช้างใหญ่ เลขที่ 64 หมู่ที่ 1 ตำบลช้างใหญ่ อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เบอร์โทรศัพท์ คุณนพดล (ก้อง), (087) 519-0999, (087) 014-0128 คุณประมาณ (087) 803-3215, (086) 304-1193 และ อี-เมล bio@bio-agri.com nopjung@hotmail.com หรือ Facebook https://www.facebook.com/nopadol.sawangyatiครอบครัวคุณนพดลยังบอกอีกว่า “ถ้าชาวนาอยากประสบความสำเร็จ ควรเปิดรับอะไรใหม่ๆ ในการทำนา โดยเริ่มจากการลองทำในพื้นที่น้อยๆ ก่อน ถ้าประสบความสำเร็จแล้วจึงทำทั้งหมด โดยการสืบค้นข้อมูลต่างๆ เดี๋ยวนี้ก็หาง่าย และยังยินดีที่จะให้ผู้ที่สนใจในเครื่องหยอดเมล็ดและเรื่องการทำนาด้วยวิธีที่คุณนพดลทำ เข้ามาปรึกษาและศึกษาหาความรู้ได้อย่างเต็มที่ เพื่อเป็นการพัฒนาการทำนาในประเทศให้ดียิ่งขึ้น” คุณนพดล ยังเน้นอีกว่า การตลาดสำคัญมากในการทำนา เพราะถ้าปลูกข้าวไม่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคก็จะทำให้ได้ราคาของข้าวที่ต่ำ และไม่ประสบความสำเร็จเพราะฉะนั้นชาวนาควรมีการปรึกษากับโรงสีข้าวว่าต้องการข้าวประเภทไหน แล้วปลูกให้ตรงความต้องการของตลาด ก็จะทำให้การทำนานั้นประสบความสำเร็วได้ดียิ่งขึ้นครับ

นาข้าวอินทรีย์ ฉบับเกษตรพอเพียง ปลูกง่าย ขายสะดวก กับ วินิจ สุภาจันทร์

ศาสตร์เกษตรดินปุ๋ย : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือเทคโนโลยีชาวบ้าน

http://info.matichon.co.th/techno/techno.php?srctag=05042010858&srcday=2015-08-01&search=no

วันที่ 01 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ปีที่ 27 ฉบับที่ 604

รายงานพิเศษ ครอบครัวชาวนาตัวอย่าง 4 ภาค

ณัชชา เต็นภูษา

นาข้าวอินทรีย์ ฉบับเกษตรพอเพียง ปลูกง่าย ขายสะดวก กับ วินิจ สุภาจันทร์

ปฏิเสธไม่ได้ว่าประเทศไทยมีการทำเกษตรกรรมมาอย่างช้านาน และการทำนาปลูกข้าวก็แทบจะถือได้ว่าเป็นอาชีพหลักๆ ของคนไทยในอดีตเลยก็ว่าได้ เพราะคนไทยบริโภคข้าวเป็นอาหารหลักมาแต่ไหนแต่ไร แต่หลายท่านสงสัยไหมว่า ทั้งที่คนไทยยังต้องการกินข้าว ชาวนาไทยก็ทำหน้าที่ปลูกข้าวเพื่อขายให้เราได้ซื้อมาหุงหากันอยู่ไม่ได้ขาด แต่ทำไมยังมีชาวนาไทยไม่น้อยที่ยังลำบาก หนำซ้ำบางรายยังต้องซื้อข้าวกิน ถ้าหากยังเป็นเช่นนี้ ในอนาคต จำนวนของชาวนาไทยจะลดลงหรือไม่ เป็นสิ่งที่น่ากังวลมากทีเดียว

วันนี้เราได้มีโอกาสไปสัมภาษณ์ คุณวินิจ สุภาจันทร์ และครอบครัว ที่เพิ่งได้รางวัลครอบครัวชาวนาตัวอย่าง ประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนือมาหมาดๆ ทั้งนี้ ครอบครัวของคุณวินิจทำนามาแล้วสามชั่วอายุคน และในปัจจุบันก็ยังยึดถือเป็นอาชีพหลักอยู่ด้วย ทันทีที่ทีมงานเดินทางไปถึง คุณวินิจและครอบครัวก็กล่าวทักทายอย่างยิ้มแย้ม พร้อมยินดีตอบคำถามและเผยทุกเคล็ดลับการทำนาอย่างยั่งยืนและสามารถเลี้ยงครอบครัวได้สบายๆ แบบไม่มีกั๊ก ว่าแล้วก็อดใจรอไม่ไหว ตามไปดูเทคนิคดีๆ กันเลยดีกว่า

อันดับแรก ควรคำนึงถึงสภาพภูมิประเทศและสภาพแวดล้อม

เนื่องจากสภาพภูมิประเทศของภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เป็นรูปแอ่งกระทะ และพื้นที่ของคุณวินิจจะติดลำห้วย ถ้าหากช่วงไหนที่มีฝนตกชุก น้ำจะท่วม หากท่วมขังสามสี่วันไม่ค่อยเป็นปัญหานัก แต่ถ้าหากท่วมขังถึง 1 สัปดาห์ ข้าวก็จะตาย โดยในปีที่ผ่านมา ได้ประสบปัญหานี้จนต้องปักดำใหม่ แต่ถ้าหากช่วงไหนแล้ง ก็จะพบปัญหาค่อนข้างมาก จึงนิยมทำนาโดยอาศัยน้ำฝนในฤดูฝนเป็นส่วนใหญ่ การให้น้ำจะมีฝายเก็บน้ำที่อยู่สูงขึ้นไปจากที่นา ประมาณ 4 เมตร คุณวินิจก็ได้ทำระบบการให้น้ำโดยต่อท่อน้ำลงมาที่แปลงนา ซึ่งวิธีนี้ก็ได้มาจากการที่ไปเห็นระบบให้น้ำจากที่สูงแล้วนำมาประยุกต์ใช้กับที่นาของตนเอง และยังโชคดีที่ดินก้นบ่อเป็นดินดาน ไม่เหมือนดินชั้นบนๆ ที่โดนน้ำแล้วจะแตก จึงสามารถเก็บน้ำได้ ทำให้เก็บน้ำไว้เผื่อสำรองได้ตลอดปี

การทำนาต้องจัดสรรพื้นที่ให้เป็น และรู้จักที่จะปรับปรุงเปลี่ยนแปลง

คุณวินิจ เล่าว่า มีที่นาอยู่ทั้งหมด 51 ไร่ ไม่ได้มีการทำนาอย่างเดียว แต่จะทำเกษตรแบบผสมผสาน ปลูกยางพารา จำนวน 5 ไร่กว่าๆ ปลูกข้าวขาวหอมมะลิ จำนวน 32 ไร่ เพื่อขาย ปลูกข้าว กข 6 จำนวน 4 ไร่ ส่วนนี้นำมาบริโภคเองภายในครอบครัว ส่วนที่เหลือจะขุดบ่อเลี้ยงปลา 3 บ่อ บ่อสำรองน้ำอีก 1 บ่อ และก็เป็นที่อยู่อาศัย คุณวินิจ กล่าวว่า ในการทำนาข้าวของตนเองเมื่อก่อนก็ทำนาตามกระแสนิยมทั่วไป มีการใช้ปุ๋ยเคมีเหมือนรายอื่นๆ และมีต้นทุนค่อนข้างสูง เพราะปุ๋ยเคมีมีราคาแพง แถมดินในนาก็แย่ลงเรื่อยๆ จากนั้นก็มีโอกาสได้ไปฟังอบรมจากกรมวิชาการเกษตร ที่ได้นำข้อมูลเกี่ยวกับการทำนาเกษตรอินทรีย์มาเผยแพร่ จึงเปลี่ยนแปลงทัศนคติจากการทำนาแบบใช้ปุ๋ยเคมีมาเป็นการทำนาแบบอินทรีย์ เนื่องจากมีความปลอดภัยต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค ผู้ผลิตทำอย่างปลอดสารพิษ ผู้บริโภคก็ปลอดภัย

การทำนาของครอบครัวคุณวินิจจะทำทั้งแบบหว่านเมล็ดและปักดำ โดยจะดูตามสภาพพื้นที่ ซึ่งสภาพพื้นที่ของคุณวินิจมีลักษณะแตกต่างกันไป มีลักษณะพื้นที่เป็นดอน มีความลาดชัน มีทั้งส่วนที่น้ำท่วมขังง่าย และส่วนที่น้ำไม่ท่วมขัง ในส่วนที่น้ำท่วมขังง่ายจะทำนาหว่าน เพราะต้นข้าวจะแข็งแรง ถ้าหากปักดำในช่วงที่ต้นข้าวกำลังแตกกอแล้วเกิดฝนตกหนัก ต้นข้าวจะล้มได้

ส่วนแรงงานหลักๆ คือตนกับภรรยา ส่วนลูกสาวและลูกชายก็จะช่วยทั้งในเรื่องของการผลิตและการตลาด

วิธีการบำรุง และดูแล

ช่วงแรกหลังฤดูการเก็บเกี่ยว ก็จะไถกลบตอซัง ซึ่งทำมาอยู่แล้ว และทางกรมพัฒนาที่ดินก็แนะนำว่า ให้หว่านปุ๋ยพืชสดลงไปด้วย เป็นการบำรุงดินและลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยอื่น จากนั้นก็จะเกิดการสะสมธาตุไนโตรเจน ประมาณสี่ห้าวันก็ไถกลบตอซังได้ พอเกือบ 10 วัน ก็จะเกิดการผลิตแก๊สในดินแล้ว นอกจากนี้ ก็มีการหว่านมูลสัตว์เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินลงไปด้วย

การดูแลข้าวจะมีการให้ปุ๋ยพืชสด ได้มาจากการหมักพืชสีเขียวที่ปลูกเอาไว้บนขอบบ่อเลี้ยงปลา ซึ่งส่วนมากจะเป็นกล้วย กะหล่ำเขียว และอื่นๆ ที่หาได้ มาใช้เป็นปุ๋ยให้ข้าว ถ้าต้องการเพิ่มธาตุอาหารก็จะใช้รกหมูที่ได้จากการที่เลี้ยงหมูเอาไว้ในพื้นที่ของตนเอง นำมาหมักผสมกับสัตว์ตัวเล็กๆ เช่น หอยเชอรี่ในนา ปลาตัวเล็กๆ แล้วก็ฉีดพ่นไปที่แปลงนา โดยการให้ปุ๋ยจะให้แค่ครั้งเดียว ถ้าปุ๋ยมูลสัตว์ที่หมักเองไม่พอ ก็จะไปซื้อปุ๋ยอินทรีย์ที่ผ่านการตรวจสอบแล้วว่าใช้ได้ในนาเกษตรอินทรีย์มาใช้

ในปัจจุบันที่เปลี่ยนมาทำนาแบบอินทรีย์ ผลผลิตของข้าวได้เพิ่มขึ้นมาก ได้ประมาณ 500-600 กิโลกรัม ต่อไร่ จากเดิมที่ได้เพียง 400 กิโลกรัม ต่อไร่ โดยคุณวินิจ บอกว่า ผลผลิตจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และจะคงที่ประมาณปีที่ 4 ในการทำนาแบบอินทรีย์ ส่วนปลาที่เลี้ยงเอาไว้ อาหารที่ให้ก็จะเป็นขี้หมู เรียกได้ว่าไม่ต้องซื้ออาหารปลา และก็ยังนำไปขายเพื่อเพิ่มรายได้อีกด้วย ส่วนแปลงนาที่ได้รับการรับรองเกษตรอินทรีย์แล้วก็ได้มีการปลูกพืชผักตามฤดูกาล และนำไปขายทุกๆ วันพุธ ที่หอนาฬิกาของจังหวัดกับกลุ่มที่ได้รับการรับรองเหมือนกัน

เรื่องการตลาดก็สำคัญ ชาวนาต้องมีความรู้ในเรื่องการตลาดด้วย

ในขณะนี้ คุณวินิจได้ดำรงตำแหน่งประธานกลุ่มข้าวสัจธรรม ซึ่งเป็นกลุ่มของชาวนาที่ทำนาแบบเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดอำนาจเจริญ ซึ่งกล่าวได้ว่า การที่ได้รวมกลุ่มกันขึ้นมานั้นทำให้ชาวนาหลายรายมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นเลยทีเดียว

แต่เดิมทีคุณวินิจได้เข้าไปเป็นสมาชิกของสมาคมเกษตรกรก้าวหน้าที่จังหวัดอุบลราชธานี และก็มีชาวนารายอื่นที่จังหวัดอำนาจเจริญหลายรายไปเข้าร่วมกลุ่มข้าวคุณธรรม ที่จังหวัดยโสธร หลังจากนั้นประมาณปี พ.ศ. 2550-2551 ได้มีพาณิชย์จังหวัดเข้ามาแนะนำให้ชาวนาจังหวัดอำนาจเจริญมีการรวมกลุ่มภายในจังหวัดของตนเอง จึงจุดประกายให้เกิดการรวมกลุ่มข้าวสัจธรรมของจังหวัดอำนาจเจริญขึ้น

ในช่วงแรกมีสมาชิก จำนวน 55 ราย ต่อมาได้ขอมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของสหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ หรือ มกท. โดยใช้งบประมาณจากพาณิชย์จังหวัดทั้งสิ้น พอมาปีที่ 2 ได้มีการทำเรื่องของบประมาณจากเกษตรจังหวัด ทำให้แต่ละหน่วยมีงานเข้ามาช่วยสนับสนุนมากขึ้น จึงมีชาวนามาสนใจเข้าร่วมสมัครมากขึ้น ประมาณ 200 ราย แต่ผ่านการพิจารณาให้เข้าร่วมกลุ่มประมาณ 180 ราย ปีนี้ซึ่งเป็นปีที่ 3 สำนักงานเกษตรได้สนับสนุนงบประมาณมาเพิ่ม ทำให้มีผู้มาสมัครจำนวนมากถึง 300 ราย แต่ก็ต้องพิจารณาและคัดเลือกอีกที

ส่วนในเรื่องการทำการตลาดของกลุ่มนั้น คุณลัทนิตา สุภาจันทร์ ลูกสาวของคุณวินิจ เล่าว่า หลังจากที่เข้าร่วมกลุ่มข้าวสัจธรรมจะมีการทำตลาดข้าวเอง ช่วงแรกจะทำเป็นตลาดข้าวเปลือก แต่ปีสองปีให้หลังจะเริ่มมองที่ตลาดข้าวสารมากกว่า เริ่มจากช่วงที่เกิดวิกฤติการจำนำข้าว ชาวนาหลายรายไม่ได้เงิน

จึงมีทางกลุ่มคนที่เรียกกันว่า กลุ่มคนเมือง ที่ต้องการจะช่วยชาวนา ได้เข้ามาติดต่อพูดคุยโดยได้ติดต่อกลุ่มข้าวสัจธรรมเป็นกลุ่มแรก ว่าด้วยการที่จะมาซื้อข้าวกับชาวนาโดยตรง แต่จะซื้อเป็นข้าวสารเท่านั้น และจะไม่ได้ซื้อเดือนละมากๆ แล้วแต่ปริมาณความต้องการของกลุ่มลูกค้า เฉลี่ยอยู่ที่เจ้าละโลสองโล จึงเกิดโครงการผูกปิ่นโตข้าวขึ้นมา

โดยทางกลุ่มที่มาติดต่อจะหาลูกค้า หรือที่เรียกกันเองในกลุ่มง่ายๆ ว่า เจ้าสาวมาให้ ทางกลุ่มชาวนาจะเป็นเจ้าบ่าว หรือผู้ขายนั่นเอง เมื่อทางกลุ่มจับคู่เจ้าสาวเจ้าบ่าวให้ได้แล้ว ก็จะส่งรายชื่อเจ้าสาว หรือลูกค้ามาให้ แล้วให้ติดต่อซื้อขายกันเอง โดยการซื้อขาย ชาวนาจะต้องสีข้าว ดีดสิ่งเจือปนต่างๆ ออกไป ให้ข้าวได้คุณภาพมากที่สุด โดยจะใช้เครื่องสีที่เป็นส่วนกลางของกลุ่มข้าวสัจธรรม แล้วบรรจุภัณฑ์เอง จากนั้นก็ส่งให้ลูกค้าทางไปรษณีย์ โดยอัตราค่าธรรมเนียมในการส่งนั้น ลูกค้าจะต้องเป็นผู้จ่ายเอง

ในส่วนของราคาขาย ราคาของข้าวอินทรีย์ไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่น ราคาอยู่ที่กิโลกรัมละ 45 บาท เท่านั้น แต่หากรวมค่าแพ็กค่าส่งแล้ว ก็เกือบๆ 100 บาท โดยประมาณ ในการชำระเงิน ผู้ซื้อจะต้องโอนเงินเข้าบัญชีของกลุ่มก่อน โดยทางกลุ่มจะหักค่าดำเนินการ 2 บาท ทุก 1 กิโลกรัม และค่อยนำมาแบ่งกันทีหลัง ว่าแต่ละรายขายไปได้เท่าไหร่บ้าง ในการส่งนี้ จะเกิดขึ้นในทุกๆ เดือน โดยทางกลุ่มคนเมืองที่ทำหน้าที่เหมือนพ่อสื่อที่หาเจ้าสาวมาให้ จะส่งเจ้าสาวไปให้แต่ละรายๆ ให้ทั่วถึงกัน แต่หากเดือนไหนลูกค้าไม่ต้องการซื้อ หรือหากชาวนามีข้าวไม่พอจำหน่าย ก็จะไม่เกิดการซื้อขายในเดือนนั้นๆ

ในทุกๆ ครั้งก่อนการเก็บเกี่ยว จะมีการกะปริมาณการผลิตว่าสมาชิกแต่ละรายจะมีปริมาณข้าวเปลือกที่เก็บเกี่ยวได้เท่าไหร่ แล้วก็จะมาคิดรวมเป็นปริมาณข้าวเปลือกของกลุ่ม แล้วจะจัดสรรว่าจะเก็บไว้ส่งโครงการผูกปิ่นโตเท่าไหร่ และจะเก็บไว้ขายข้าวเปลือกอีกเท่าไหร่ โดยจะจำหน่ายในตราของจังหวัด

การส่งข้าวสารขายในโครงการผูกปิ่นโตข้าวนี้ จะส่งไปทั่วประเทศ ลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นทางภาคตะวันออกและภาคใต้ ที่สภาพภูมิประเทศไม่ค่อยเอื้อต่อการทำนาเท่าใดนัก และคนกรุงเทพฯ การส่งขายจะส่งไม่เกินวันที่ 5 ของทุกเดือน ขณะนี้ได้มีกลุ่มแม่ศรีเรือน ซึ่งเป็นกลุ่มใหม่ เป็นกลุ่มประกอบการร้านอาหารได้เข้ามาคุยกับทางกลุ่มข้าวสัจธรรมเพื่อที่จะทำการซื้อขาย และปัจจุบันเริ่มมีการส่งบ้างแล้ว เป็นข้าวสาร ประมาณเดือนละ 4 ตัน

นอกจากขายแล้ว ยังต้องตรวจสอบคุณภาพกันอย่างเคร่งครัด

ในการตรวจข้าวอินทรีย์ภายในกลุ่มจะมีการตรวจสอบทั้งจากภายในและภายนอก โดยจะตรวจกันเองภายในก่อน แต่ละอำเภอจะสลับพื้นที่กันตรวจ จะไม่มีการตรวจในพื้นที่ของตัวเอง และเจ้าหน้าที่จากทาง มกท. จะมาตรวจสอบซ้ำอีกรอบ เป็นแบบนี้ในทุกรอบการผลิต

คุณลัทนิตา เสริมว่า ช่วงนี้เป็นช่วงที่มีการเน้นการส่งเสริมการทำนา โดยนักวิชาการหรือนักส่งเสริมการเกษตรในแต่ละพื้นที่ต้องมีการไปพูดคุย แนะนำ และช่วยแก้ปัญหาที่ชาวนาพบในการทำนา การทำนาแบบอินทรีย์นั้นคุณวินิจเน้นย้ำนักหนาว่าต้องได้มาตรฐาน หากเจ้าไหนที่ถูกตรวจพบว่าข้าวไม่ได้มาตรฐาน จะถูกตัดออกไปจากกลุ่ม และหากในปีถัดไปยังไม่มีการปรับเปลี่ยนแก้ไข ก็จะตัดออกไปจากกลุ่มอย่างถาวร เพราะถือว่ามีเจตนาฉ้อโกงในด้านของผลผลิต

ส่วนในเรื่องของการสืบทอดทายาท ครอบครัวนี้เน้นย้ำว่า จะไม่มีการเลิกทำนาอย่างแน่นอนเพราะเป็นอาชีพหลักของครอบครัวมาอย่างช้านาน และในปัจจุบันลูกสาวก็ได้เข้าร่วมโครงการทายาทเกษตรกรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หวังว่าจะได้นำประโยชน์มาพัฒนาการทำนาในหลายๆ ด้านของครอบครัวเช่นกัน

จะเห็นได้ว่าการทำนาแบบยั่งยืนนั้น จำเป็นต้องมีการปรับสภาพดินและดูแลสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กันกับการผลิตด้วย เพราะถ้าหากทรัพยากรในการผลิตไม่ดี คุณภาพของผลผลิตและรวมถึงคุณภาพชีวิตของเกษตรกรจะดีอย่างต่อเนื่องไม่ได้ นี่คงเป็นเคล็ดลับที่ทำให้ครอบครัวของคุณวินิจมีความเป็นอยู่ได้อย่างราบรื่น เรียบง่าย และผาสุก และในที่นี้ก็ได้มีการนำเอาพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ด้วย ซึ่งก็เป็นตัวอย่างในการดำเนินชีวิตที่ดีไม่ใช่น้อย

เห็นแบบนี้ผู้บริโภคก็เกิดความมั่นอกมั่นใจขึ้น ว่าข้าวที่ชาวนาใส่ใจและดูแลในทุกๆ รายละเอียด เริ่มตั้งแต่ก่อนปลูกไปจนถึงมือของผู้บริโภค มีความปลอดภัยไร้สารเคมีจริงๆ ในสมัยที่ใครๆ ก็ต่างหันมาสนใจสุขภาพมากขึ้น ข้าวอินทรีย์คงเป็นทางเลือกที่ดีไม่น้อยสำหรับคนไทยที่บริโภคข้าวเป็นหลัก และหากจะยอมจ่ายแพงเพิ่มขึ้นอีกสักเล็กน้อย เพื่อแลกกับสุขภาพที่ดี ทั้งยังสนับสนุนให้ชาวนาไทยได้ทำไร่ ทำนา อย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นก็คงจะเป็นเรื่องที่ดีไม่ใช่น้อย

สำหรับผู้ที่สนใจอยากจะลองลิ้มชิมรสของข้าวคุณภาพ ก็สามารถติดต่อได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ (092) 554-1366 คุณวินิจ สุภาจันทร์ ประธานกลุ่มข้าวสัจธรรม หรือจะเข้าไปพูดคุยด้วยตนเอง คุณวินิจก็ใจดีบอกที่อยู่ไว้ให้อีกด้วย บ้านเลขที่ 4 หมู่ที่ 9 บ้านโคกกลาง ตำบลนาเวียง อำเภอเสนางคนิคม จังหวัดอำนาจเจริญ

นาข้าวคุณภาพ สู่วีถีแห่งความยั่งยืน ที่ นครศรีธรรมราช

ศาสตร์เกษตรดินปุ๋ย : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือเทคโนโลยีชาวบ้าน

http://info.matichon.co.th/techno/techno.php?srctag=05048010858&srcday=2015-08-01&search=no

วันที่ 01 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ปีที่ 27 ฉบับที่ 604

รายงานพิเศษ ครอบครัวชาวนาตัวอย่าง 4 ภาค

ณัชชา เต็นภูษา

นาข้าวคุณภาพ สู่วีถีแห่งความยั่งยืน ที่ นครศรีธรรมราช

“ปลูกข้าวเพื่อคนที่เรารัก ดูแลเอาใจใส่ดุจคนในครัวเรือน เพื่อย้ำเตือนสรรพคุณทางยาที่สมบูรณ์ เพิ่มมูลค่าการจำหน่าย” นี่คือประโยคแรกที่เราได้ยินหลังจากได้เข้าไปพูดคุยกับ คุณบุญเรือน ทองจำรัส เกษตรกรที่ได้รับรางวัลครอบครัวชาวนาตัวอย่างภาคใต้ จากนั้นเราก็ไม่รอช้า เริ่มซักถามถึงความเป็นมาของรางวัลนี้กันเสียหน่อย

โครงการนี้เป็นโครงการดีๆ ของมูลนิธิข้าวไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่ต้องการสนับสนุนให้ชาวนาไทยทั้งรายเก่าและรายใหม่มีการทำนาอย่างยั่งยืน สามารถเลี้ยงครอบครัวได้ และมีการสานต่ออาชีพนี้ต่อไป เพราะเป็นอาชีพหลักๆ ของคนไทยมายาวนาน

คุณบุญเรือน เป็นชาวจังหวัดนครศรีธรรมราชที่ได้รับรางวัลเป็นตัวแทนชาวนาดีเด่น ที่ได้รางวัลนี้คุณบุญเรือน บอกว่า น่าจะมาจากการที่ดูแลเอาใจใส่ทุกขั้นตอนในการปลูกข้าว เริ่มตั้งแต่การปรับสภาพดินเพื่อเตรียมปลูกกันเลยทีเดียว

แต่ก่อนที่จะเล่า ก็ขอเท้าความพอเป็นสังเขปว่า แต่ก่อนนั้นคุณบุญเรือนยังไม่ได้คิดที่จะทำนา ถึงจะเป็นอาชีพดั้งเดิมของครอบครัว ตนเองเดินทางเข้ามาทำงานที่โรงงานย้อมสีผ้า จังหวัดนครปฐม และหลังจากนั้นคิดที่จะกลับมาดูแลแม่ ประกอบกับจำคำพูดของพ่อได้ว่า “ไม่มีอาชีพใดที่เหมาะกับเราเท่ากับการทำนา เพราะเป็นอาชีพที่มีพระแม่โพสพคุ้มครอง และเราเป็นชาวนา” จากนั้นก็กลับมาเรียนจนจบ ปวช. ด้านจิตวิทยาการดูแลเด็กและผู้สูงอายุ

หลังจากนั้น เมื่อปี พ.ศ. 2531 คุณบุญเรือนกับสามีจึงเริ่มทำนา โดยทำตามกระแสนิยมตามๆ กัน เขาใช้ปุ๋ยอะไร ใช้อย่างไร ก็ทำตามนั้น จากนั้นการทำนาก็เริ่มดีขึ้นมาเรื่อยๆ จนเมื่อปี พ.ศ. 2550 ต้องเจอภัยธรรมชาติคือน้ำท่วม ข้าวที่ปลูกไว้เสียหายหมด ต้นทุนก็เลยจมหายไปกับข้าวด้วย จึงต้องจำใจนำเอาข้าวที่เก็บไว้กินเองมาทำเมล็ดพันธุ์ ส่วนปุ๋ยก็ไม่มีเงินซื้อ เลยนำมูลสัตว์มาใส่ในนาข้าวแทน แต่จะนำไปหมักก่อนประมาณ 3 เดือน ให้วัชพืชตายให้หมดจึงจะนำมาใช้ได้

“เราเรียนรู้มาจากการที่เราหมดตัวแล้ว เราไม่มีอะไรเลย เลยลองดูว่าอะไรที่ใช้ได้ก็เอามาใช้ ส่วนหนึ่งก็อ่านหนังสือเพิ่มเติม เพราะเชื่อว่าถ้าเราอยากรู้อะไรก็ต้องทำให้ได้” คุณบุญเรือน กล่าว

จึงทำให้ตนเองพยายามหาความรู้จากสิ่งใกล้ตัวก่อน โดยไม่ต้องใช้เงินลงทุน ปรากฏว่าสิ่งที่ทำได้ผล ก็เลยเริ่มปรับสภาพดินที่ได้รับปุ๋ยเคมีมานานและปลูกข้าว โดยข้าวที่ปลูกขายหลักๆ จะเป็นข้าวปทุมธานี

เริ่มปลูกข้าว 1 แปลง 1 ไร่ เพื่อคนที่เรารัก

เนื่องจากอยากให้คนในครอบครัวได้กินข้าวดีๆ ที่ได้รับการดูแลที่ดี และสามีมีปัญหาด้านสุขภาพ เลยอยากจะดูแลเรื่องอาหารการกินไปพร้อมๆ กับการได้รับการรักษาโดยแพทย์ จึงปลูกข้าวที่มีประโยชน์ด้วย 1 แปลง จากจำนวนข้าวทั้งหมด เมื่อคนในบ้านเริ่มมีสุขภาพดีมากขึ้นก็อยากที่จะส่งต่อสิ่งดีๆ ให้กับผู้บริโภคบ้าง

จากนั้นจึงเริ่มขยายการปลูกข้าวอินทรีย์และข้าวที่มีประโยชน์ ในปัจจุบัน ทำนา 34 ไร่ ของตัวเอง 27 ไร่ ที่เหลือเป็นที่เช่า ปลูกข้าวสังข์หยด จำนวน 5 ไร่ ข้าวปทุมธานี จำนวน 5 ไร่ ข้าวไรซ์เบอร์รี่ จำนวน 5 ไร่ และข้าวเล็บนก จำนวน 5 ไร่ ส่วนที่เหลือปลูกเป็นข้าวปทุมธานีหมดเลย เพื่อขายเป็นต้นทุนการผลิต

การปลูกข้าวจะใช้วิธีหว่านกับใช้วิธีโยนกล้า แปลงที่ปลูกเพื่อนำมาทำเมล็ดพันธุ์ส่วนใหญ่จะใช้วิธีโยนกล้าข้าวที่เพาะมาแล้วลงไปในแปลงนา เนื่องจากวิธีนี้เราสามารถควบคุมและลดปริมาณวัชพืชและข้าววัชพืชได้ดีกว่า กล่าวคือเข้าไปดูแลสะดวกกว่านั่นเอง

คุณบุญเรือนจะปลูกข้าวให้เก็บเกี่ยวพร้อมกันได้ อย่างข้าวสังข์หยดที่มีอายุ 150 วัน จะมีอายุมากกว่าข้าวชนิดอื่น ต้องปลูกก่อนประมาณ 1 เดือน ก็จะเพาะกล้าไว้ก่อน 1 เดือน เพื่อรอปลูกพร้อมข้าวพันธุ์อื่นๆ เพราะหากปลูกพร้อมข้าวอื่น อายุเก็บเกี่ยวจะไม่เท่ากัน ซึ่งถ้าทิ้งไว้เก็บเกี่ยวทีหลังจะมีปัญหานก หนู มาทำลาย

การปลูกจะดูน้ำในคลองเป็นหลัก ถ้าในคลองน้ำน้อยก็จะไม่ปลูกข้าว เพราะเป็นปีที่น้ำแล้ง ถ้าหว่านข้าวจะเสียหาย ต้องปลูกพืชอายุสั้น เช่น ถั่วเขียว ถ้าน้ำอุดมสมบูรณ์ก็ปลูกข้าวได้ ไม่ขาดทุน

การดูแล และการจัดการ

การดูแลข้าวนอกเหนือจากการบำรุงโดยให้ปุ๋ยมูลสัตว์ที่หมักเองแล้ว ยังมีการจัดการโดยการควบคุมระบบน้ำ น้ำที่ใช้เป็นระบบชลประทานที่อาศัยลำคลอง จะใช้วิธีเปิดประตูให้น้ำเข้านา เมื่อข้าวอายุ 15 วัน ก็เปิดน้ำให้เกือบถึงยอดต้นข้าว 2-3 วัน น้ำจะค่อยๆ แห้งลงมา วัชพืชที่จมใต้น้ำจะตาย ส่วนต้นข้าวจะยืดหนีน้ำ แรกๆ ก็ทดลองทำในกระถางก่อน แล้วจึงนำมาทำในที่นาจริง วิธีการนี้เรียนรู้มาจากการอ่านหนังสือและการสังเกตว่าวัชพืชจะไม่งอกหนีน้ำ ซึ่งต่างจากต้นข้าวที่งอกหนีน้ำ

พอน้ำแห้งก็ควบคุมระดับน้ำได้ ในระยะแรกจะให้น้ำระดับครึ่งต้นในข้าวต้นเล็ก เพราะถ้าให้น้ำเยอะเกินไป ข้าวจะไม่แตกกอ พอข้าวโตประมาณ 35-40 วัน ข้าวจะกำลังแตกกอ จะให้น้ำเยอะไม่ได้ ถ้าน้ำเสมอโคนจะแตกกอได้แขนงเยอะ บางต้นออกรวงได้ 50-70 รวง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการหว่านข้าวด้วย ถ้าหว่านแน่นเกินไปข้าวก็จะไม่แตกกอ

ผลผลิตข้าวที่ได้ ข้าวปทุมธานีประมาณ 750-800 กิโลกรัม ต่อไร่ สังข์หยด 400-450 กิโลกรัม ต่อไร่ การปลูก ปลูกไม่เกิน 7 เดือน เพราะอาศัยน้ำในคลองชลประทาน

ส่วนข้าวที่เก็บเกี่ยวแล้วก็จะสีเอง เมื่อก่อนที่ยังไม่มีเงินซื้อเครื่องสีข้าวไฟฟ้าก็จะใช้เครื่องสีข้าวด้วยมือ แต่ตอนนี้มีเครื่องสีข้าวไฟฟ้าเป็นของตนเองแล้ว พอมีคนออกไปทำนาจะต้องมีคนอยู่บ้านเพื่อสีข้าวทั้งของตนเองและที่รับจ้างมา และแพ็กข้าว ข้าวของตนเองอาทิตย์หนึ่งจะสีแค่ 1 ครั้ง เพราะไม่อยากเก็บไว้นาน

เลี้ยงเป็ดกำจัดศัตรูพืช

การจัดการศัตรูข้าวตัวฉกาจอย่างหอยเชอรี่ที่มากัดกินต้นข้าวเสียหาย บางรายหาวิธีกำจัดหอยเชอรี่ด้วยการใช้สารเคมี ซึ่งถือว่าเป็นสารเคมีที่มีฤทธิ์แรง มีราคาแพง เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และอาจมีสารพิษตกค้างในข้าว ด้วยการที่คุณบุญเรือนเป็นคนชอบหาความรู้รอบตัวอยู่เสมอ จึงได้ไปเจอวิธีการเลี้ยงเป็ดเพื่อกำจัดหอยเชอรี่ จึงซื้อเป็ดตัวเล็กๆ มาอนุบาลไว้ก่อน พอเริ่มโตก็ปล่อยลงในนาข้าวเมื่อข้าวอายุได้ 20 วัน จนข้าวมีอายุได้ 75 วัน

“เขาเสียเงินซื้อยาเคมี ป้าเก็บไข่เป็ดไปกิน ไปขาย ได้เงินอีกด้วย” คุณบุญเรือน เสริม

การเลี้ยงเป็ดจะทำคอกไว้ที่คันนา เช้าก็ปล่อยเป็ดลงในนาข้าว เป็ดก็จะไปกินหอยเชอรี่เป็นอาหาร 4 โมงเย็น เป็ดก็จะมาเข้าคอก

จากวิธีนี้ไม่เคยพบว่าเป็ดทำให้ต้นข้าวเสียหาย เนื่องจากเป็ดลอยตัวอยู่ในน้ำและไม่ได้กัดกินต้นข้าวเป็นอาหารจึงไม่มีผลกระทบอะไร ผลที่ตามมาคือไม่มีศัตรูพืช และไม่ต้องให้อาหารเป็ด ทั้งยังได้กินไข่เป็ดที่ปลอดสารและมีเหลือพอที่จะนำไปขายด้วย เพราะเก็บไข่เป็ดได้วันละ 300 ฟอง เลยทีเดียว

นอกจากนี้ ยังมีการสนับสนุนให้ชาวนารายอื่นทำวิธีนี้ด้วย ประมาณ 14-15 ราย มีการทำเป็นโครงการ โดยจะมีการจ่ายเป็ดให้นำไปเลี้ยงต่อ ในปัจจุบันจ่ายไป 60 รายแล้ว รายละ 20 ตัว เป็ดที่ทำเรื่องขอมาจะนำมาอนุบาลไว้ที่บ้านก่อน และให้กินรำจากโรงสีที่บ้านเป็นอาหาร พอโตหน่อยจึงค่อยแจกจ่าย ถือว่าเป็นโครงการที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อย

คุณบุญเรือน เสริมอีกว่า ตั้งแต่เปลี่ยนมาทำอินทรีย์ ดินก็ดีขึ้นมาก เพราะมีการฟื้นฟู ปรับสภาพดิน และดูแลดินอยู่อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งก็เป็นผลดีในระยะยาวทั้งในด้านสุขภาพของชาวนาที่ไม่ต้องเจอกับสารเคมี และในด้านเศรษฐกิจ

“ที่นาจะไม่เคยมีการเผาฟางข้าว แต่จะใช้วิธีฉีดฟางข้าวด้วยน้ำหมักและนำไปหมักต่อเพื่อใช้เป็นปุ๋ย แต่บางครั้งการหมักปุ๋ยเองก็ทำไม่ทัน เลยมีการซื้อปุ๋ยอินทรีย์ใช้บ้าง แต่ในแปลงนาส่วนของลูกชายที่เน้นขายผลผลิตก็จะมีการใช้ปุ๋ยทั่วไปบ้าง” คุณบุญเรือน กล่าว และยังให้ข้อมูลอีกว่า รวมแล้วต้นทุนต่อไร่ รวมค่าแรงด้วยแล้ว ประมาณ 2,100 บาท เท่านั้น

วิธีการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์

การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ของเกษตรกร นอกจากจะเป็นการลดต้นทุนในส่วนที่ต้องเสียไปกับค่าเมล็ดพันธุ์แล้ว เกษตรกรยังมั่นใจว่าจะได้เมล็ดพันธุ์ที่ดีเพราะมีการเพาะและเก็บเกี่ยวเอง

ที่นาของคุณบุญเรือน จะมีข้าวส่วนหนึ่งที่ปลูกไว้เพื่อนำมาเป็นเมล็ดพันธุ์ในการปลูกข้าวครั้งต่อไป ในส่วนนี้จะมีการดูแลอย่างดี เข้าไปกำจัดวัชพืชอย่างสม่ำเสมอ และเมื่อถึงฤดูกาลเก็บเกี่ยวจะใช้แกระเกี่ยวเพื่อลดความเสียหาย ให้เมล็ดพันธุ์ที่ได้มีความบริสุทธิ์ที่สุด

ในส่วนของเมล็ดพันธุ์ ถ้ามีเพื่อนบ้านมาขอแบ่งซื้อก็จะขายให้บ้าง แต่ไม่ขายทีละเยอะๆ เพราะจะเก็บไว้ปลูกต่อเป็นหลัก

ข้าวที่ปลูกได้ ขายที่ไหน อย่างไร?

คุณบุญเรือน บอกว่า เมื่อก่อนขายแบบนำไปตั้งขาย ไปกับกลุ่มแม่บ้าน แพ็กเองขายเอง เริ่มพัฒนาจากใส่ถุงมัดเชือกเป็นถุงซิปและเป็นสุญญากาศในปัจจุบัน มีสติ๊กเกอร์ภาษาไทย อังกฤษ จีน เพื่อต้อนรับ AEC

ปัจจุบันจะขายเป็นข้าวเปลือกครึ่งหนึ่ง อีกครึ่งหนึ่งที่เป็นไรซ์เบอร์รี่กับสังข์หยดจะไม่ขายเป็นข้าวเปลือก จะสีเอง แปรรูปเอง คัดเองหมดเลย

“ข้าวสารที่ขาย ถ้าไม่แพ็ก ขายกิโลละ 50 บาท ถ้าแพ็กสุญญากาศ กิโลละ 60 บาท บวกค่าแรงงาน ค่าถุงเรานิดหน่อย เพราะเราทำเองทั้งหมดเลย” คุณบุญเรือน กล่าว โดยการขายนี้จะขายเองโดยตรง ไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง ถ้าอยากซื้อ ไม่ว่าจะซื้อปลีกหรือนำไปขายต่อก็สามารถติดต่อไปโดยตรงได้เลย คิดราคาเท่ากันทั่วประเทศ แต่ต้องเสียเงินค่าขนส่งเองเท่านั้น

สุขภาพดีไม่มีขาย อยากได้ต้องทำเอง

มีลูกชวนลูก มีหลาน…ก็ชวนมาด้วย

ปัจจุบัน คุณบุญเรือนและครอบครัวมีความพึงพอใจในสิ่งที่ทำมาก เพราะสามารถมีรายได้เลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้ และคนในครอบครัวยังมีสุขภาพดีขึ้น

ส่วนในเรื่องของแรงจูงใจที่อยากให้ลูกหลานทำนา เริ่มจากการปลูกฝังลูกตั้งแต่เด็ก โดยแบ่งที่นาให้ลูกทำคนละนิดหน่อย โดยตนเองจะเป็นผู้ลงทุนให้ พอข้าวในส่วนนั้นขายได้เงินก็ให้ลูกไป ทำให้เด็กเกิดแรงจูงใจในการทำนา เป็นวิธีที่แม่ของคุณบุญเรือนเคยใช้มาตั้งแต่คุณบุญเรือนเด็กๆ จึงนำมาใช้ต่อในรุ่นของตนเอง

นอกจากนี้ คุณบุญเรือนยังให้ความรู้ลูกมาเสมอว่า เราปลูกข้าวพันธุ์อะไร ข้าวนี้เป็นแบบไหน และปัจจุบันตนเองก็ชอบส่งเสริมให้ลูกไปฟังอบรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้อยู่ตลอด

คุณบุญเรือน บอกว่า ทุกวันนี้ก็ไม่ค่อยได้พักมากนัก เพราะนอกจากการทำนาของตนเอง ยังรับจ้างหว่านข้าว ไถนา เกี่ยวข้าวด้วย โดยเป็นนายหน้ารถเกี่ยวให้ บางครั้งก็ถูกรับเชิญไปเป็นวิทยากรตามที่ต่างๆ ส่วนลูกชายอีก 2 คน ก็ช่วยทำในส่วนนี้ด้วย

แปรรูปผลผลิต เพิ่มรายได้

ในด้านของการแปรรูปผลผลิต คุณบุญเรือน บอกว่า นำรำข้าวละเอียดมาแปรรูปเป็นจมูกข้าวพร้อมดื่ม เพราะสะอาดและมีประโยชน์ นำมาทำผงขัดหน้าจากจมูกข้าว และทำเป็นสบู่

ผลิตภัณฑ์ที่ได้ คุณบุญเรือนบอกทั้งกินเองใช้เองและนำไปขายเพื่อเพิ่มรายได้ด้วย เพราะมั่นใจในวัตถุดิบคุณภาพและกรรมวิธีผลิตที่สะอาด ปลอดภัย

ตอนนี้ลูกค้าจะสนใจสบู่มากเป็นพิเศษ เป็นสบู่จากจมูกข้าว หัวผักกาดขาวและสับปะรด ถ้ามีคนสนใจอยากซื้อก็สามารถส่งทางไปรษณีย์ได้ด้วย ขายในราคาไม่แพง เพียงก้อนละ 20 บาท เท่านั้น

การดำเนินชีวิตที่ยึดหลักคุณธรรม

จริยธรรมที่ได้รับการยอมรับในชุมชน

ในปัจจุบัน คุณบุญเรือนมีเครื่องสีข้าวแบบไฟฟ้าขนาดกลางไว้ใช้เอง แต่เครื่องสีข้าวด้วยมือเครื่องเก่าก็ไม่ได้ตั้งทิ้งไว้ให้เสียประโยชน์ ได้นำไปไว้ที่ศูนย์การเรียนรู้ที่ทำไว้บนที่นาของตนเองเพื่อเป็นประโยชน์กับผู้ที่ต้องการศึกษา ศูนย์การเรียนรู้นี้เปิดให้เข้าชมเมื่อปี พ.ศ. 2553 และเมื่อปี พ.ศ. 2554 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จฯ เยือนที่ศูนย์ จึงเกิดความตื้นตันใจ อยากที่จะทดแทนบุญคุณแผ่นดิน จึงยกพื้นที่ของตัวเองเป็นศูนย์การเรียนรู้ มีเนื้อที่ประมาณเกือบๆ 4 ไร่ ให้มูลนิธิชัยพัฒนา ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการดำเนินงาน เพราะอยู่ในเขตจัดรูปที่ดิน

นอกจากนี้ คุณบุญเรือนยังได้รับรางวัลในด้านต่างๆ มากมาย อาทิ ประกาศเกียรติคุณ โดยท่านหญิง (หม่อมเจ้า) ประภาพันธุ์ ภาณุพันธุ์ กรโกสียกาจ ในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ 12 สิงหาคม 2557 ประกาศเกียรติคุณจากมูลนิธิจำเนียร สาระนาค โล่เชิดชูเกียรติเป็นสตรีดีเด่นที่ดำรงชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง จากจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นต้น

จากรางวัลเชิดชูเกียรติที่ได้รับจำนวนมาก จึงเชื่อได้ว่า คุณบุญเรือนเป็นที่ยอมรับจากชุมชนอย่างแท้จริง และดำเนินชีวิตเป็นแบบอย่างที่ดีเสมอมา

เห็นอย่างนี้แล้ว หลายๆ ท่านคงจะได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ไปไม่มากก็น้อย ทั้งการปลูกข้าวที่ต้องใส่ใจถึงระบบน้ำที่จะนำมาใช้ประโยชน์ ต้องดูแลสภาพดิน ไม่พึ่งสารเคมีมากจนเกินไป เพราะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และยังดำรงตนตามพระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียง คือ มีกินมีใช้ ไม่ฟุ่มเฟือย เหลือเก็บออมในยามฉุกเฉินบ้าง คงเป็นเพราะเหตุนี้จึงทำให้การทำนาของคุณบุญเรือนและครอบครัวเป็นไปได้อย่างราบรื่น และมีความยั่งยืน ผู้เขียนมั่นใจเหลือเกินว่า ถ้าหากชาวนาไทยส่วนใหญ่หันมาทำนาโดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อม สุขภาพของตนเองและผู้บริโภคแล้ว อาชีพชาวนาไทยจะต้องดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง และชาวนาจะต้องมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน

ส่วนใครที่ต้องการสอบถามในด้านของผลิตภัณฑ์ หรือต้องการจะเข้าไปเยี่ยมชมที่ศูนย์การเรียนรู้ ก็สามารถติดต่อไปได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ (089) 872-9687 คุณบุญเรือน ทองจำรัส หรือที่ บ้านเลขที่ 185 หมู่ที่ 5 ตำบลดอนตรอ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช 80290

“เม็ง มีลาภ” ปลูกแตงกวา 2 เดือน ได้เงินไร่ละ 50,000 บาท

ศาสตร์เกษตรดินปุ๋ย : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือเทคโนโลยีชาวบ้าน

http://info.matichon.co.th/techno/techno.php?srctag=05051010858&srcday=2015-08-01&search=no

วันที่ 01 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ปีที่ 27 ฉบับที่ 604

บันทึกไว้เป็นเกียรติ

ทวีศักดิ์ ชัยเรืองยศ

“เม็ง มีลาภ” ปลูกแตงกวา 2 เดือน ได้เงินไร่ละ 50,000 บาท

คุณเม็ง มีลาภ หรือ ลุงเม็ง บ้านเลขที่ 95 หมู่ที่ 8 ตำบลวังโป่ง อำเภอวังโป่ง จังหวัดเพชรบูรณ์ โทรศัพท์ (081) 674-8295, (088) 150-1998 ลุงเม็ง ในวัย 62 ปี เล่าว่า ตนเองปลูกแตงกวามาเกือบ 30 ปี คือทำการเกษตรทุกอย่าง ทำนา ปลูกข้าวโพด และก็ปลูกแตงกวา เฉพาะการปลูกแตงกวานั้น ลุงเม็งปลูกอย่างน้อยปีละ 3 ครั้ง ครั้งละ 4 ไร่ เหมือนเป็นพืชเสริมที่ว่างจากการทำนา แต่กลับเป็นพืชที่สร้างรายได้หลักให้กับครอบครัว เพราะแตงกวาเป็นพืชที่ให้ผลผลิตเร็ว คือปลูกราว 30-32 วัน ก็เริ่มให้ผลผลิตเก็บเกี่ยวต่อเนื่องได้นาน 25-28 วัน จึงจะเลิกเก็บ แล้วทิ้งให้ต้นแตงกวาแห้งตาย แล้วจึงย้ายพื้นที่ปลูกใหม่ เพราะการปลูกแตงกวาของลุงเม็ง ยังเน้นการเช่าพื้นที่เพื่อปลูก หลีกเลี่ยงการปลูกแตงกวาซ้ำที่ เพื่อลดปัญหาโรคระบาดและตัดวงจรแมลงศัตรู

ลุงเม็ง เล่าว่า แตงกวาสามารถทำเงินได้เร็วมาก ถ้าเกิดปัญหาโรคหรือแมลงทำลายเสียหาย เกษตรกรก็แก้ตัวใหม่ได้เร็ว ลุงเม็ง เล่าว่า แตงกวาปลูกได้ทุกฤดูกาล ขอให้มีแหล่งน้ำดี เพราะแตงกวาเป็นพืชชอบน้ำ แต่ต้องไม่ขังแฉะ เมื่อแปลงปลูกขังแฉะก็จะเสี่ยงต่อโรคจากเชื้อรา แต่ช่วงเวลาที่ปลูกง่าย ปัญหาน้อย คือช่วงเดือนมิถุนายน เพราะต้นแตงกวาได้รับน้ำฝนด้วย ทำให้แตงกวาโตดี งาม การปลูกแตงกวามีความยากง่ายต่างกันไปตามฤดูกาล อย่างช่วงหน้าร้อน แตงกวาจะทำยากกว่าฤดูอื่น เพราะแมลงระบาดเยอะโดยเฉพาะเพลี้ยไฟ และแมลงหวี่ขาว ส่วนช่วงฤดูฝนจะค่อนข้างทำแตงกวาง่าย โตไว แตงกวาติดผลดี เพราะต้นแตงกวาได้รับน้ำฝน แมลงศัตรูมีไม่มากนัก จะมีโรคเชื้อราบ้าง แต่ถ้าเราเตรียมแปลงดีก็ไม่มีปัญหามากนัก ก็ใช้พวกแมนโคเซบ เมทาแลคซิล โปรคลอราซ หรือใช้พวก แมนโคเซบ+เมทาแลคซิล หากมีการระบาดรุนแรง แต่ก็ปลูกได้ทั้งปี ขึ้นอยู่กับหลายๆ ปัจจัย บางปีแตงกวาได้ราคาดี สูงถึงกิโลกรัมละ 22 บาท (โดยเฉลี่ยแตงกวา ราคากิโลกรัมละ 10 บาทกว่า) การปลูกแตงกวานอกจากการดูแลที่ดีแล้ว ก็ยังต้องอาศัยดวงด้วย เพราะราคามีขึ้นลงเหมือนพืชผักชนิดอื่น แต่ราคาโดยเฉลี่ยทั้งปีเกษตรกรก็อยู่ได้ บางทีราคาแตงกวาแพง เพราะแตงกวาขาดตลาด เกษตรกรได้ราคาดีขึ้นมา แต่ของมากเกินไปราคาก็ลงมา ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา

การเตรียมแปลงปลูก

ลุงเม็ง อธิบายว่า ต้องเน้นการเตรียมแปลงปลูกให้ดี เน้นการระบายน้ำดี ส่วนความยาวของแปลง ก็ตามสะดวก แต่ให้คำนึงถึงว่าเราสามารถเดินดูแลและฉีดยาได้สะดวก และให้เหมาะสมสอดคล้องกับอุปกรณ์ระบบน้ำที่เรามีด้วย การเตรียมแปลงหลังจากไถพรวนและตากดินเรียบร้อยแล้ว จะใช้รถไถขึ้นแปลงยกร่องลูกฟูก หรือแปลงปลูกผัก ให้แปลงมีความสูง ประมาณ 20-30 เซนติเมตร เพื่อให้มีการระบายน้ำดี แปลงปลูกกว้าง 50 เซนติเมตร เว้นทางเดินหรือทางฉีดยา ประมาณ 1 เมตร ถ้าเราปลูกระยะห่างเกินไป ผลผลิตจะน้อยไป เสียพื้นที่ในการปลูก จำนวนต้นน้อยเกินจะทำให้เสียโอกาส

ระบบน้ำหยดแตงกวา

ลุงเม็ง ใช้ระบบน้ำหยดทั้งหมด โดยหลังการเตรียมแปลงปลูกเสร็จ ก็ต้องมีการวางระบบน้ำ วางสายน้ำหยด 2 เส้น ต่อแปลง โรยสายน้ำหยดผ่านหลุมปลูก ซึ่งเป็นสายน้ำหยดแบบเจาะรูสำเร็จมาแล้ว การให้น้ำแปลงปลูกแตงกวา ให้สังเกตจากผิวดินร่วมด้วย โดยไม่ให้ดินแฉะหรือแห้งจนเกินไป เมื่อต้นแตงกวาเริ่มเจริญเติบโตแล้วจึงปรับช่วงเวลาการให้น้ำให้นานขึ้น ข้อควรคำนึงสำหรับการให้น้ำนั้นคือ ต้องกระจายในพื้นที่สม่ำเสมอตลอดแปลง และตรวจดูความชื้นในดินไม่ให้สูงเกินไปจนกลายเป็นแฉะ เพราะจะทำให้รากเน่าได้

เมล็ดพันธุ์แตงกวา

ลุงเม็ง ยกตัวอย่างแตงกวาพันธุ์ลูกผสม ของ บริษัท ศรแดง คือพันธุ์แม่สอด 777 2G เมล็ดพันธุ์แตงกวาแม่สอด 777 2G เป็นสายพันธุ์ที่รวมคุณสมบัติเด่นไว้ครบถ้วน ผลสีเขียวนวล สวยมาก เนื้อแน่น น้ำหนักดี ทรงกระบอก ขนาดผลยาว 10-12 เซนติเมตร ลำต้นแข็งแรง ใบใหญ่สีเขียวเข้ม แตกแขนงเร็ว ยอดพุ่งขึ้นค้างดีมาก ให้ผลผลิตดก ต้านทานโรคราน้ำค้างได้ดีมาก เก็บเกี่ยว 28-30 วัน หลังหยอดเมล็ด กระป๋องละ 600 บาทเศษ เพราะแตงกวาพันธุ์นี้มีขนาดผลพอดี ไม่ใหญ่จนเกินไป สีผิวเขียว ต้นมีมือเกาะดี ไม่ต้องคอยจับมากนัก ทำให้เสียเวลาที่เกษตรกรต้องคอยมาจับขึ้นค้าง ซึ่งถ้าปลูกพื้นที่มากๆ เกษตรกรจะเสียเวลาอย่างมากในการจับเถาแตงกวาขึ้นค้าง ดังนั้น สายพันธุ์ที่ดีก็ควรจะเกาะขึ้นค้างเองได้ดีด้วย นอกจากสีผิว ขนาดผลแตงกวาเป็นที่ต้องการของตลาด แต่ต้องเน้นผิวสีเขียว เพราะจะดูน่าซื้อน่ารับประทานกว่าเมื่อวางบนแผงแม่ค้า ถ้าผิวสีขาวจะดูไม่สวย

การปลูกแตงกวา

ลุงเม็ง จะใช้วิธีการหยอดเมล็ดปลูกที่แปลงเลย เพื่อความรวดเร็วและประหยัดเวลา และไม่ทำให้แตงกวาชะงักตอนย้ายกล้า ใช้ระยะปลูก หลุมละ 30 เซนติเมตร โดยก่อนหยอดเมล็ดให้คลุกเมล็ดด้วยสารเคมีป้องกันเชื้อราและแมลง แต่เกษตรกรบางคนก็อาจจะเพาะกล้าก่อนแล้วค่อยย้ายปลูกก็ตามความถนัด (การย้ายปลูกต้นกล้า ควรย้ายปลูกในช่วงเวลาเย็น จะช่วยให้ต้นกล้านั้นตั้งตัวได้เร็ว และถ้าย้ายปลูกเช้า ต้นแตงกวาจะล้ม)

ซึ่งก่อนการหยอดเมล็ดลงแปลงนั้น เราจะเปิดน้ำให้แปลงปลูกไปล่วงหน้า 1 วัน จากนั้นวันปลูกเราก็จะหยอดเมล็ด โดยใช้ไม้กระทุ้งดินให้เป็นหลุมแล้วจึงหยอดเมล็ด หลุมละ 2 เมล็ด ปลูกเสร็จยังไม่ต้องให้น้ำเพราะดินยังมีความชื้นพอสมควร ทิ้งไว้ 1 วัน วันที่ 2 จึงจะเริ่มให้น้ำแตงกวาทุกวัน

ลุงเม็ง กล่าวเสริมว่า การปลูกแตงกวา ควรปลูกพร้อมกันเที่ยวเดียวให้เต็มพื้นที่ เนื่องจากหากมีการปลูกแบบหลายวันเสร็จ เมื่อแตงกวาหมดอายุการเก็บเกี่ยว เราจะได้รื้อแปลงหรือจบการทำงานได้ในเวลาที่พร้อมๆ กัน หลังปลูก พอต้นแตงกวามีใบจริงสัก 2-3 ใบ ก็จะเริ่มปักไม้ไผ่เพื่อทำค้าง การปักค้าง ใช้ไม้ไผ่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 เซนติเมตร ยาวประมาณ 2-2.50 เมตร ปักไม้ไผ่เว้นระยะพอประมาณ ไม่จำเป็นต้องปักไม้ไผ่ทุกหลุมปลูก ผูกไม้ไผ่เข้าหากัน ทำเป็นลักษณะของกระโจม ด้วยไม้ยาว ราว 2.50 เมตร ปักตลอดทั้งแนว จากนั้นใช้เชือกฟางเดินเชื่อมไม้กระโจม แล้วเอาเชือกมัด เดินมัดเชือก 4 แถว คือ ด้านล่าง ด้านบน และตรงกลาง 2 แถว แบ่งระยะให้เท่าๆ กัน แล้วมัดตาข่าย พอเราขึ้นตาข่ายเสร็จก็จะพอดีที่เราต้องจับต้นแตงกวามัดขึ้นค้างให้เลื้อยเกาะขึ้นตาข่าย การจับยอดแตงกวา โดยเฉพาะช่วงที่ต้นกำลังแตกยอดช่วงนี้ ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่สำคัญ ผู้ปลูกจึงควรดูแลจับยอดแตงกวาให้ดี โดยต้องช่วยจับยอดแตงกวาให้เลื้อยขึ้นตามค้าง อย่าปล่อยให้ยอดแตงกวาเลื้อยไปตามพื้นดิน เพราะการที่ผู้ปลูกช่วยจับยอดแตงกวานั้น จะทำให้แตงกวาออกดอกมาก ทำให้ผลดก

การใส่ปุ๋ยแตงกวา

จะแบ่งออกเป็นระยะตามการเจริญเติบโต การให้ปุ๋ยต้องดูตามสภาพของพืช ซึ่งมีหลายปัจจัยในการให้ปุ๋ย การใส่ปุ๋ยแตงกวาครั้งแรก จะใส่ปุ๋ยรองพื้นเคมีสูตรเสมอ โดยการใส่สูตร 15-15-15 การใส่ปุ๋ยรอบแรก ลุงเม็ง จะเลือกใส่ระหว่างหลุมปลูกต้นแตงกวา คือใช้ไม้ไผ่ปักให้เป็นหลุม แล้วหยอดปุ๋ยลงหลุม พอให้น้ำปุ๋ยก็จะละลาย 1 ไร่ จะใช้ปุ๋ยเคมี 1 กระสอบเศษ แต่การปลูกแตงกวาจะเน้นการให้ปุ๋ยผ่านน้ำเป็นหลัก โดยให้ปุ๋ยเคมีผ่านทางระบบน้ำ

ลุงเม็ง อธิบายว่า ทำงานง่าย ไม่ต้องเดินใส่ปุ๋ยเม็ดทั้งแปลง ซึ่งเหนื่อยมากที่เราจะเดินใส่ปุ๋ย ครั้งละ 3-4 ไร่ หรือถ้าจ้างแรงงานก็ต้องใช้แรงงานมากพอสมควร การให้ปุ๋ยต้องเปลี่ยนมาเป็นการให้ผ่านระบบน้ำ ซึ่งได้ผลค่อนข้างดีมาก แต่การนำปุ๋ยเคมีแบบเม็ดหรือเราเรียกปุ๋ยทางดิน มาให้ผ่านระบบน้ำหยดนั้น จะมีวิธีการใช้คือ นำปุ๋ยเคมี 1 กระสอบ คือ 50 กิโลกรัม มาแบ่งใส่ถัง 200 ลิตร จำนวน 4 ถัง (เฉลี่ยปุ๋ย 12-13 กิโลกรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร) ใส่น้ำให้เต็มถัง แล้วใช้ไม้คน คนน้ำให้ปุ๋ยเคมีละลายในถัง น้ำสะอาด 200 ลิตร ไว้ก่อน 1 คืน ซึ่งเช้าขึ้นมา ปุ๋ยเคมีที่เราละลายทิ้งไว้จะแยกชั้น ซึ่งกากปุ๋ยจะตกตะกอนอยู่ด้านล่าง ส่วนน้ำปุ๋ยใสๆ เราจะนำไปใช้นั่นเอง เราก็จะเอาสายยางจากปั๊มน้ำดูดปุ๋ย เพื่อให้น้ำปุ๋ยผ่านระบบน้ำไป อีกวันก็จะเติมน้ำลงไปใช้ต่อจนปุ๋ยเจือจางไปเรื่อยๆ

(ปุ๋ยน้ำรอง) ก็จะใช้ได้ราว 4-5 วัน ต่อการนำปุ๋ยเคมีมาผสมน้ำแบบนี้ แล้วจะให้ปุ๋ยเคมีไปเรื่อยๆ ตามความงามของต้นแตงกวา และเปลี่ยนสูตรปุ๋ยตามการเจริญเติบโต เช่น พอต้นแตงกวาเริ่มเป็นดอกก็จะเปลี่ยนเป็นปุ๋ยเคมี สูตร 16-16-16 แล้วพอแตงกวาอยู่ในระยะขยายขนาด ก็จะเปลี่ยนปุ๋ยเคมีเป็นสูตร 13-13-21 เพื่อให้แตงกวามีน้ำหนักดี โดยเฉลี่ยแล้วใช้ปุ๋ยเคมีทั้งหมด 5 กระสอบ ต่อไร่

ในการปลูกแตงกวาแต่ละรุ่นแล้ว หากมีปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพก็สามารถให้ไปพร้อมกับระบบน้ำเช่นกัน เพื่อเสริมความสมบูรณ์และลดต้นทุน ส่วนฮอร์โมนทางใบก็จะมีหลายตัว ใช้เพื่อความสมบูรณ์ เช่น ช่วงต้นเล็ก สร้างใบก็จะมีการใช้สาหร่ายสกัด ถ้าแตงกวาเริ่มมีดอกก็จะเน้นพวกแคลเซียม-โบรอน เพื่อให้ดอกดี สมบูรณ์ โดยจะฉีดพ่นพร้อมสารป้องกันกำจัดโรคและแมลง ทุกๆ 7-10 วัน การให้น้ำแตงกวาในช่วงเริ่มให้ผลผลิต ไม่ควรให้เกิดการขาดน้ำ ไม่ควรให้น้ำช่วงเย็น จะทำให้เกิดโรคทางใบได้ง่าย

การเก็บแตงกวา

อายุการเก็บเกี่ยวของแตงกวานับจากวันปลูก ประมาณ 30-32 วัน (แล้วแต่สายพันธุ์ ให้อ่านอายุการเก็บเกี่ยวจากข้างกระป๋องเมล็ดพันธุ์) พันธุ์แตงกวาสำหรับบริโภคสด ควรเลือกเก็บขณะที่ผลยังอ่อนอยู่ เนื้อแน่น กรอบ และสังเกตได้จากมีนวลสีขาวเกาะ และยังมีหนามอยู่บ้าง ถ้าผลแก่ นวลสีขาวจะจางหาย สีผลเริ่มเป็นสีเหลือง และไม่มีหนาม การเก็บแตงกวาควรทยอยเก็บวันเว้นวัน ไม่ปล่อยให้แก่คาต้น เพราะจะทำให้ผลผลิตทั้งหมดลดลง โดยปกติจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ประมาณ 25-30 วัน

ลุงเม็ง และแรงงาน จะเริ่มเก็บแต่เช้ามืดเลย พอบ่ายๆ ก็จะเตรียมขนย้ายไปคัดขนาดแบ่งเกรดในร่ม การคัดจะคัดแบ่งเป็น 4 เกรด คือ

1. แตงกลาง กิโลกรัมละ 13 บาท เป็นแตงที่ตลาดต้องการมากที่สุด คือ ผลและผิวสวย ขนาดพอเหมาะ

2. แตงเล็ก กิโลกรัมละ 4.50 บาท เป็นแตงสวย แต่ขนาดเล็ก

3. แตงข้อ กิโลกรัมละ 3 บาท ลูกบิดเบี้ยว ขอด นิยมซื้อเอาไปหั่นตามรถเข็นไส้กรอก ราคาดีกว่าแตงใหญ่

4. แตงใหญ่ กิโลกรัมละ 1.50 บาท คือ แตงเกินอายุ สีเปลือกขาว เพราะเป็นแตงที่เลยการเก็บ ใส่ตะกร้าเอาไว้ก่อน โดยลุงเม็งจะไม่บรรจุใส่ถุงโดยทันที เพื่อไม่ให้แตงกวาอบแล้วเป็นไอน้ำในถุงจนมองไม่เห็นผลแตงกวา ซึ่งจะดูไม่สวย ก็ต้องมาบรรจุถุงในช่วงเช้า ราวตี 3 ลุงเม็งจะตื่นขึ้นมาจัดการนำแตงกวาในตะกร้าที่คัดแยกไว้แล้วมาใส่ถุง ถุงละ 10 กิโลกรัม จากนั้นนำไปส่งให้พ่อค้าที่รับซื้อต่อในช่วงเช้า

การค้าขายแตงกวา อย่างเก็บส่งพ่อค้าวันนี้ พรุ่งนี้เราก็ได้รับเงินสดจากพ่อค้าเลย หรือกรณีถ้าแตงกวาขึ้นราคาพ่อค้าก็ขึ้นราคาให้เราตาม

ลุงเม็ง กล่าวเพิ่มเติมว่า การลงทุนปลูกแตงกวาต่อไร่ เฉลี่ย 15,000 บาท ซึ่งทำแตงกวาก็จะขายได้เงิน เฉลี่ย 50,000 บาท ต่อไร่ ยังไม่หักค่าใช้จ่าย เกษตรกรต้องขายแตงกวาได้เฉลี่ย กิโลกรัมละ 5 บาท เกษตรกรถึงจะอยู่ได้ไม่ขาดทุน การทำแตงกวา นอกจากฝีมือแล้วก็อาศัยดวงด้วย คือบางจังหวะของขาด ขณะผลผลิตเราออกก็ได้ราคา ซึ่งราคาแตงกวานั้น พ่อค้าคนกลางยังกำหนดราคาไม่ได้ ขึ้นกับปริมาณผลผลิตที่เข้าสู่ตลาด

สวนคุณลี แจกฟรี เมล็ดพันธุ์มะระขี้นกยักษ์โอกินาวา สนใจติดต่อได้ที่ สวนคุณลี โทร. (081) 901-3760

กินเห็ดกระด้าง เพื่อสุขภาพกันดีกว่า

ศาสตร์เกษตรดินปุ๋ย : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือเทคโนโลยีชาวบ้าน

http://info.matichon.co.th/techno/techno.php?srctag=05054010858&srcday=2015-08-01&search=no

วันที่ 01 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ปีที่ 27 ฉบับที่ 604

เกษตรอินทรีย์และวิถีสุขภาพ

องอาจ ตัณฑวณิช Ongart8117@gmail.com

กินเห็ดกระด้าง เพื่อสุขภาพกันดีกว่า

การบริโภคเห็ดในปัจจุบันเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีข้อมูลที่รู้กันทั่วไปว่า เห็ดมีประโยชน์กับร่างกาย สามารถบริโภคแทนเนื้อสัตว์ในปัจจุบันที่ใช้สารเร่งและสารเคมีประเภทอื่นๆ ในอาหารสัตว์เพื่อให้สัตว์เจริญเติบโตได้รวดเร็ว แต่โปรตีนซึ่งมีมากในเนื้อสัตว์เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อร่างกาย จำเป็นจะต้องบริโภคทุกวัน สำหรับเห็ดเป็นอาหารที่ทดแทนโปรตีนได้และยังไม่มีการใช้สารเคมีใดๆ ในกระบวนการผลิตเห็ด

เห็ดกระด้าง เป็นคำเรียกทางภาคกลาง เนื่องจากเนื้อเห็ดค่อนข้างเหนียว แต่ทางภาคอีสานเรียก เห็ดบด ทางภาคเหนือเรียก เห็ดลม ไม่พบเห็นทางภาคใต้ เห็ดกระด้างเป็นเห็ดที่ขึ้นตามธรรมชาติบนขอนไม้ล้มในป่าใกล้บ้าน ชาวบ้านที่อยู่ใกล้ป่าหรือมีสวนไม่ต้องซื้อหาเห็ดกิน เนื่องจากมีอยู่มากในธรรมชาติ เมนูเห็ดเป็นเมนูสุขภาพทดแทนการกินเนื้อได้ในบางมื้อ เห็ดกระด้างพบมากในช่วงรอยต่อของฤดูร้อนต่อกับฤดูฝน หรือฤดูฝนต่อกับฤดูหนาว เนื่องจากอุณหภูมิที่แตกต่างกันมากระหว่างกลางคืนและกลางวัน

ในครัวของคนเมืองรู้จักมักคุ้นกับเห็ดฟาง เห็ดนางฟ้า เห็ดออริจิ เห็ดหูหนู เห็ดหูหนูขาว เห็ดหอม มากกว่า แต่เห็ดจากป่าพื้นถิ่นบ้านเราเอง เช่น เห็ดกระด้าง เห็ดแครง เป็นเห็ดจากธรรมชาติที่เพิ่งนำมาปลูกเลี้ยงในโรงเรือนได้ไม่นาน เห็ดชนิดนี้ดอกอ่อนจะนิ่ม แต่เมื่อแก่จะแข็ง สามารถเก็บไว้กินข้ามปีด้วยการผึ่งไว้ เมื่อต้องการใช้ก็จะนำมาแช่น้ำให้นิ่ม พร้อมซอยและหั่นให้เป็นชิ้นเล็กๆ แล้วต้ม เพราะเห็ดค่อนข้างเหนียว ทางภาคอีสานนิยมนำเห็ดอ่อนมาใส่แกงหน่อไม้ และทางภาคเหนือนิยมนำมาใส่แกงแคซึ่งใส่ผักรวม จากรายงานการวิจัยพบว่า เห็ดกระด้างมีสรรพคุณเป็นยาสำหรับบำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย ถอนพิษไข้ โดยนำเห็ดสดหรือแห้ง ต้มกับน้ำจนเดือด ให้กินเป็นประจำ ร่างกายจะแข็งแรง บำรุงสมรรถภาพร่างกายได้เป็นอย่างดี

โรงเรือนขนาดเล็ก จัดการได้ง่าย

คุณเพียรชัย แก้วอินธิ เจ้าของฟาร์มเห็ดพันธุ์ธัชสายไหม โทรศัพท์ (089) 450-3169 อยู่ในซอยวัชรพล เขตสายไหม กรุงเทพฯ เรานี่เอง ได้เปิดเผยว่า “ได้ทำโรงเรือนสำหรับเพาะเห็ดกระด้างไว้ 7 โรงเรือน โดยมีขนาดความกว้างโรงเรือน 4 เมตร ความยาว 12 เมตร จุก้อนเห็ดได้ประมาณ 5,000 ก้อน โดยทำเป็นแผงวางก้อนเชื้อ โรงเรือนละ 4 แผง มีทางเดิน 2 ช่อง สำหรับเก็บเห็ด การทำโรงเรือนขนาดเล็กทำให้เราสามารถดูแลได้ง่ายกว่า ก้อนเชื้อที่ใส่เข้าไปจะเป็นก้อนเชื้อรุ่นเดียวกันทั้งหมดจะง่ายในการจัดการ เวลาเอาออกต้องเอาออกพร้อมกันหมด” และจากการสอบถามที่เคยไปเห็นบางฟาร์ม เคยเห็นพื้นในโรงเรือนใช้ทรายขี้เป็ดถมลงไปเพื่อต้องการความชื้น แต่คุณเพียรชัยใช้พื้นเป็นปูน ได้รับการชี้แจงว่า การใช้ทรายถมเป็นพื้นโรงเรือนจะทำความสะอาดได้ยากตอนที่เคลียร์ทำความสะอาดโรงเรือนหลังจากเอาเห็ดออกมาหมดแล้ว โดยใช้เครื่องแรงดันฉีดและพักไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ หรือใช้ปูนขาวโรยฆ่าเชื้อ

ฟาร์มเห็ดพันธุ์ธัชสายไหม มีการทำก้อนเชื้อและเขี่ยเชื้อเอง โดยการใส่ก้อนเชื้อจะมีชาวบ้านบริเวณใกล้เคียงมารับทำ โดยทางฟาร์มจะจ่ายให้เป็นรายก้อน ก้อนละ 70 สตางค์ สำหรับคนที่เก่งๆ จะทำได้วันละ 700-800 ก้อน ทีเดียว ส่วนขี้เลื่อยที่ใช้จะเป็นขี้เลื่อยยางพาราซึ่งสั่งตรงมาจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในราคาคันรถสิบล้อละ 25,000 บาท ซึ่งจะทำก้อนเชื้อได้ประมาณ 20,000 ก้อน ใช้เวลาทำก้อนอยู่เกือบเดือนจึงจะใช้ขี้เลื่อยหมด

การดูแลเห็ดกระด้าง

เห็ดกระด้าง เป็นเห็ดที่ต้องเอาใจใส่พอสมควร เมื่อขนก้อนเชื้อเห็ดออกหมด ทำความสะอาด พักไว้ 14 วัน ก็นำก้อนเห็ดใหม่เข้าเรียง สัปดาห์แรกไม่ต้องรดน้ำ เมื่อครบ 7 วัน ให้เอาผ้าคลุมลง ให้ในโรงเรือนมีอุณหภูมิร้อนขึ้น รดน้ำเฉพาะพื้นให้เปียก แล้วถอดจุกออก เอาหางช้อนแคะข้าวฟ่างที่หัวก้อนทิ้ง วันที่ 2 ค่อยเอามือดึงขยายปากถุงให้กว้าง และรดน้ำเฉพาะพื้นให้เปียก วันที่ 3 ใช้มีดกรีดปากถุงให้ขาดเหนือก้อนเชื้อเห็ดประมาณ 1 เซนติเมตร ส่วนน้ำให้เริ่มรดที่ก้อนได้ ในส่วนของฟาร์มเห็ดพันธุ์ธัชสายไหมจะใช้วิธีรดน้ำโดยการเปิดสปริงเกลอร์ที่ติดไว้ เมตรละ 1 หัว แถวละ 6 หัว รวมทั้งหมด 24 หัว พร้อมกัน ประมาณ 30 วินาที วันละ 4-5 ครั้ง เช้า สาย เที่ยง บ่าย เย็น ห่างกันประมาณ 3 ชั่วโมง วันที่ 4 จะเกิดตุ่มดอกเล็กๆ ขึ้นตามปากถุงเชื้อ วันที่ 5 จะเห็นว่ามีปริมาณดอกที่เกิดขึ้นเกิน 50 เปอร์เซ็นต์ ก็จะต้องเปิดผ้าด้านข้างเพื่อให้โรงเรือนเย็นลง เก็บดอกได้ประมาณ 3 วัน เห็ดจึงจะหมด

วันแรกของวงจรใหม่ก็จะใช้มีดแคะหน้าปากถุงเพื่อเอาเศษโคนเห็ดออกเพื่อทำความสะอาดไม่ให้มีสิ่งตกค้างที่จะทำให้เป็นโรคได้ ในช่วงเวลานี้ให้รดน้ำไปตามปกติ ผ้าที่คลุมยังไม่เอาลง รดน้ำวันละ 1 ครั้ง ประมาณ 4-5 วัน จะเริ่มเห็นตุ่มดอกใหม่ก็ทำตามกระบวนการเดิมคือ เมื่อพบเห็นตุ่มดอกก็ให้เอาผ้าคลุมลง ช่วงระยะเวลาทั้งหมดตั้งแต่แรกเข้าก็จะวนเวียนไปอย่างนี้ จนกระทั่งเห็ดหมดดอก จะใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 4 เดือน

การเก็บเห็ดในโรงเรือน

เห็ดกระด้างในโรงเรือนนี้จะต้องเก็บถึงวันละ 3 รอบ ในช่วงเช้า 6 โมง 1 รอบ ช่วงเที่ยง 1 รอบ และในช่วงสุดท้าย 6 โมงเย็น เพื่อให้ได้คุณภาพเห็ดที่ดี เพราะเห็ดที่เก็บเกินเวลาจะค่อนข้างเหนียว ไม่เป็นที่นิยมของผู้บริโภค เห็ดกระด้างที่ได้จากการเพาะในโรงเรือนจะมีสีขาวและเหนียวน้อยกว่าเห็ดในธรรมชาติ ในช่วงหน้าฝนและหน้าร้อนจะเป็นช่วงที่เห็ดกระด้างในโรงเรือนมีผลผลิตมากกว่าในฤดูหนาว เพราะเห็ดกระด้างไม่ชอบอากาศเย็น และในช่วงที่เห็ดกระด้างจากธรรมชาติมีมาจำหน่ายในตลาดก็ไม่ได้ทำให้ราคาเห็ดกระด้างราคาตกลงไป เนื่องจากผลผลิตยังมีไม่มากพอ

ราคาจำหน่ายของดอกเห็ดกระด้างจากฟาร์มเห็ดพันธุ์ธัชสายไหมได้ราคาค่อนข้างสูง อยู่ประมาณกิโลกรัมละ 120-130 บาท ตลอดทั้งปี โดยมีแม่ค้ามารับถึงที่ นำไปจำหน่ายที่ตลาดคลองเตย และตลาดสี่มุมเมือง ผลผลิตที่เก็บจากโรงเห็ดแล้วจะนำมาบรรจุเป็นถุงพลาสติก น้ำหนัก 5 กิโลกรัม ใส่อยู่ในตู้เย็นตลอดเวลาเพื่อรักษาอุณหภูมิให้เห็ดมีความสดใหม่อยู่เสมอ แล้วแต่แม่ค้าจะมารับในเวลาช่วงไหนก็จะได้ของสดอยู่เสมอ ซึ่งจะได้เปรียบในแง่ความสดและอยู่ใกล้ตลาด

ก้อนเชื้อเห็ด ที่ผลิตจำหน่าย

นอกจากจำหน่ายเห็ดกระด้างแล้ว ฟาร์มเห็ดพันธุ์ธัชสายไหม ยังจำหน่ายก้อนเชื้อเพื่อให้เกษตรกรนำไปเก็บดอกเห็ดขายอีกส่วนหนึ่ง ได้แก่ ก้อนเชื้อเห็ดภูฏานและก้อนเชื้อเห็ดฮังการี จำหน่ายในราคา ก้อนละ 8 บาท ก้อนเชื้อเห็ดกระด้าง จำหน่ายในราคา ก้อนละ 9 บาท ส่วนก้อนเชื้อเห็ดยานางิหรือเห็ดโคนญี่ปุ่น ราคาก้อนละ 10 บาท ทั้งนี้ จะต้องซื้อในจำนวนตั้งแต่ 500 ก้อน ขึ้นไป หรือรับทำก้อนเชื้อเห็ดตามสั่ง

เมนูเห็ด 3 อย่าง

เมนูดังเรื่องเห็ด 3 อย่าง จะเป็นเห็ดสดหรือแห้งก็ได้ นำมาทำเป็นอาหารแล้วกินได้ทั้งเนื้อและน้ำ สำหรับคำถามว่า ทำไม ต้อง 3 อย่าง ก็หมายถึงว่า อย่างน้อย 3 อย่าง จะใส่เห็ด 10 อย่าง ก็ไม่มีใครว่า ไม่จำเป็นต้องเถรตรง 3 อย่าง มีปัญญาหามากกว่านี้ก็ใส่ไป ไม่มีใครว่า ประโยชน์ของเห็ด 3 อย่าง เมื่อนำมาปรุงแล้วก็จะได้คุณประโยชน์ล้างสารพิษที่ตกค้างในตับ ช่วยบำรุงตับ ลดอนุมูลอิสระที่จะเกิดเป็นเซลล์มะเร็ง เพราะเห็นว่ามีแต่เห็ดเดิมๆ เห็ดหอม นางฟ้า เห็ดเข็มทอง เห็ดหูหนูดำ ขาว เลยอยากให้เพิ่มเห็ดกระด้างเข้าไปอีกอย่าง เพราะภูมิปัญญาชาวบ้านทางอีสานบอกว่า กินเห็ดกระด้างจะบำรุงร่างกายให้แข็งแรง เพิ่มสมรรถอะไรเทือกนั้น ข้อห้ามสำหรับเมนูนี้ อย่าเอามาผัดน้ำมันเด็ดขาดเพราะร่างกายของเราจะใช้ประโยชน์จากเห็ด 3 อย่าง ได้น้อย

นายอำเภอเต่างอย สกลนคร ลงมือทำเอง ใช้อำเภอเป็นต้นแบบ

ศาสตร์เกษตรดินปุ๋ย : ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือเทคโนโลยีชาวบ้าน

http://info.matichon.co.th/techno/techno.php?srctag=05058010858&srcday=2015-08-01&search=no

วันที่ 01 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ปีที่ 27 ฉบับที่ 604

เศรษฐกิจพอเพียง

สุพจน์ สอนสมนึก

นายอำเภอเต่างอย สกลนคร ลงมือทำเอง ใช้อำเภอเป็นต้นแบบ

มีโอกาสเดินทางไปอำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร เป็นอำเภอที่ลำน้ำพุง อันมีต้นน้ำมาจากเทือกเขาภูพาน ด้านอำเภอภูพาน ไหลผ่านลงไปสู่หนองหาร และยังอยู่ติดกับอุทยานแห่งชาติภูผายล อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร และ อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์

เต่างอย เป็นอำเภอขนาดเล็ก อยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดสกลนคร จากอำเภอเมือง เดินทางไปตามทางหลวงสายสกลนคร-นาแก 14 กม. เลี้ยวขวาไปอีกประมาณ 12 กม. ก็จะถึงอำเภอเต่างอย หรือใช้เส้นทางสายสกลนคร-กาฬสินธุ์ ราว 5 กม. เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 2339 ราว 25 กม.

เมื่อไปถึงตัวอำเภอ โดยเฉพาะพื้นที่บริเวณที่ว่าการอำเภอเต่างอย จะพบว่ามีความแปลกตา ไม่เหมือนส่วนราชการทั่วไปในอำเภออื่นๆ ของประเทศไทย เพราะรอบบริเวณจะพบกับพืชผัก ทั้งสวนครัวและไม้ยืนต้นที่สามารถนำมาบริโภคได้มากมาย

เมื่อสอบถามทราบว่า เป็นแนวนโยบายของ จ.ส.อ. คำนึง พรหมพิมพ์ อายุ 47 ปี นายอำเภอเต่างอย ที่ต้องการทำเป็นอำเภอตัวอย่างในเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียง และลงมือทำเองเป็นตัวอย่าง ปลูก กล้วย มะละกอ บวบ ข่า ตะไคร้ ชะอม มะกรูด มะนาว หน่อไม้ ผักอื่นๆ ครบ ส่วนสัตว์เลี้ยงก็มี ไก่ดำ หมูป่า กระต่าย กบ ปลา เป็นต้น เรียกได้ว่ามีครบทุกอย่างแม้แต่ผักหวานป่า ผักสะแงงนา ก็มีการนำมาปลูกไว้

จ.ส.อ. คำนึง เล่าว่า เนื่องจากตนเองเป็นคนพื้นเพภาคอีสาน คนจังหวัดสกลนครโดยกำเนิด และทางบ้านก็มีการทำการเกษตรมาแต่บรรพบุรุษ ดังนั้น เกิดมาจึงรู้จักการทำนา ทำไร่ ทำสวน เลี้ยงสัตว์ เพราะชีวิตคลุกคลีกับสภาพแบบนี้มาตลอด เมื่อสมัยเด็กก็ช่วยพ่อแม่ทำนา ทำสวน หลังเรียนจบสอบเข้าทำงานรับราชการก็ยังชอบเรื่องการเกษตร จึงหาตำรา มาอ่านศึกษาและทดลองทำ ทั้งเลี้ยงสัตว์และปลูกพืช เคยคิดว่า ทำไมคนจึงบอกว่าทำการเกษตรแล้วไม่รวย แถมยังยากจน เป็นจุดที่ให้หันมาพิจารณาสนใจลองทำและจะทำให้ชาวบ้านเห็นเป็นตัวอย่าง

เมื่อปรับเปลี่ยนจากการรับราชการทหาร หันมาทางฝ่ายปกครอง มีความตั้งใจเสมอว่า จะทำการเกษตรเป็นตัวอย่าง โดยศึกษาเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง และพบความจริงว่า ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นสิ่งที่ทำได้จริง ทำให้หายจนได้ จึงได้น้อมนำเอามาปฏิบัติ พร้อมกับทำเป็นตัวอย่าง

การขึ้นมาดำรงตำแหน่งนายอำเภอเต่างอยเป็นอำเภอแรก จึงมีความตั้งใจว่า ชีวิตการทำเกษตรก็สามารถมีอยู่มีกินได้ และอาจทำให้รวยได้ จึงได้หันมาลงมือทำเอง

ครั้งแรกก็หากล้วยน้ำว้ามาปลูกก่อน เพราะปลูกง่ายและจะเป็นตัวดึงดูดเก็บน้ำได้ดี ตามมาด้วยการปลูกพืชผักสวนครัว มะนาว มะละกอ ขิง ข่า ตะไค้ร ผักอีตู่ ไผ่เลี้ยง ปลูกตามแนวรั้วบ้านพักและที่ว่าการอำเภอ โดยบางส่วนเมื่อลงพื้นที่ก็ไปขอแบ่งพันธุ์จากชาวบ้านมาปลูก

จากนั้นก็เริ่มสร้างโรงเรือน ปลูกบวบ พร้อมนำกระถางมาวางปลูกพืชที่บางชนิดปลูกในกระถางได้ มาลงในกระถาง และเพียงไม่กี่เดือน พื้นที่ในบริเวณอำเภอและบ้านพักก็เขียวชุ่มชื้นไปด้วยพืชผักมากมาย และได้หันมาเลี้ยงหมูป่า เป็ด และไก่ดำ เพิ่มขึ้นมาอีก และปรับปรุงบ่อน้ำที่เคยมี เป็นสระน้ำให้ชาวบ้านใช้ เป็นบ่อเลี้ยงปลาแทน และบางจุดทำเป็นบ่อกบ และหากระต่ายมาเลี้ยงเพิ่มอีก

นายอำเภอเต่างอยบอกอีกว่า ทุกอย่างที่เกิดขึ้น ทำเอง และภรรยาเป็นคนช่วย ไม่รบกวนใคร ขุดหลุมปลูกกล้วย สร้างโรงเรือน เลี้ยงสัตว์ มีผู้ใหญ่บ้าน และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านบางคนเห็นลงมือทำเองก็เข้ามาช่วย จึงสอนการทำเศรษฐกิจพอเพียงไปในตัวด้วย รวมทั้งการสอนวิธีทาบกิ่ง ตอนกิ่งให้ ซึ่งพบว่าขณะนี้มีผู้ใหญ่บ้าน กำนัน หลายคนหันมาลงมือทำเศรษฐกิจพอเพียงด้วยตนเอง

ตนยึดหลักที่ว่า “ทำให้ดูก่อน ดีกว่าสอนด้วยคำพูด”

ปัจจุบัน มีกล้วยทั้ง กล้วยน้ำว้าและกล้วยหอม ที่เริ่มให้ผลผลิต ประมาณ 120 ต้น

มะละกอ 50 ต้น

ไผ่เลี้ยง 25 กอ

เพกา 5 ต้น

หมูป่า 7 ตัว พ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ อย่างละ 1 ตัว

ไก่ดำ 70 ตัว รวมพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์

เป็ดเทศ 35 ตัว

กบพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ รวม 400 ตัว

ปลาหมอ (ปลาเข็ง) 1,500 ตัว

กระต่าย พ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ 3 ตัว

ไก่พันธุ์ไข่ 50 ตัว (โดยไก่จะฟักเอง)

ที่ทำการเกษตรแห่งนี้จะสอนการทำปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี หรือป๋ยวิทยาศาสตร์ จะใช้มูลสัตว์ ขี้ไก่ ขี้หมู ที่มีอยู่แทน

ในส่วนของการไล่ศัตรูพืช จะใช้สะเดา บอระเพ็ด มาทำเป็นน้ำหมักฉีดพ่น ซึ่งได้ผลเป็นอย่างดี เรียกว่า ปลอดสารพิษ

นอกจากนี้ ยังได้ทดลองนำไม้เมืองหนาวบางชนิดมาปลูกและทดลองทำ เช่น การนำสตรอเบอรี่มาปลูก และทำให้ได้ผลผลิตดีพอสมควร อยู่ระหว่างการทดลองและเริ่มให้ผลผลิตแล้วจำนวนหนึ่ง ทุกอย่างจะนำมาทดลองทำเองเพื่อให้เป็นตัวอย่าง

พืชป่าธรรมชาติที่นำมาปลูก เช่น ผักหวาน สามารถเก็บกินได้แล้ว นอกจากนั้น ขณะนี้ได้มีการนำผักธรรมชาติมาแยกชำปลูก เช่น ผักสะแงง ผักก้านจอง

ผักสะแงง เป็นผักธรรมชาติที่เกิดในน้ำแถบภาคอีสาน นำไปแกงใส่หน่อไม้ แกงเห็ด และผักก้านจองก็เช่นกันเป็นผักน้ำ นิยมนำมากินกับส้มตำ และลวกกินกับน้ำพริก โดยเฉพาะผักสะแงงมีชาวบ้านมาเรียนและขอศึกษาวิธีแยกต้นชำ โดยสอนให้ฟรีๆ ช่วงนี้ชาวบ้านนำไปชำขาย ถุงละ 10 บาท สร้างรายได้ดี เพราะเป็นที่นิยมอย่างมาก

กิจกรรมอื่นๆ ยังมีการจัดทำเตาอบเศษไม้เพื่อนำมาเป็นถ่าน โดยใช้กิ่งไม้ต้นไม้ที่เราตัดมาทำถ่านไว้ใช้ในครัวเรือน ไม่ต้องไปซื้อหาให้เปลืองเงิน ทุกอย่างใช้ประโยชน์ได้หมดครบวงจร เรียกว่าเดินเข้าในเขตอำเภอสามารถกินได้ทุกอย่าง และนำไปทำที่บ้านได้ พืชผักสวนครัวมีครบทุกประเภท

นายอำเภอเต่างอยบอกว่า สิ่งที่มีอยู่ เจ้าหน้าที่หรือข้าราชการสามารถเก็บไปกินไปใช้ที่บ้านได้ แต่มีข้อแม้อยู่อย่างคือ ต้องช่วยกันดูแล และหากใครมีพื้นที่ทำเศรษฐกิจพอเพียงแบบนี้ ให้ทำได้ ทำเป็นตัวอย่างให้ชาวบ้านเห็น ไม่ใช่พูดแต่ปากเท่านั้น

เมื่อมีงานหรือต้อนรับแขกผู้มาเยือนในอำเภอแห่งนี้ จะนำผลผลิตที่ทำไว้มาปรุงเป็นอาหาร เช่น แกงหน่อไม้ แกงเห็ด อยากกินเป็ด ไก่ หมู มีครบ ไม่ต้องซื้อให้เปลืองงบประมาณ นำเงินส่วนนั้นไปพัฒนาอย่างอื่น ซึ่งที่ผ่านมาเป็นที่ชื่นชอบของผู้มาเยือน ตลอดจนคนในพื้นที่ไม่ต้องเดือดร้อนด้วย

เป้าหมายของการทำเศรษฐกิจพอเพียงส่วนหนึ่งเพื่อลดรายจ่าย มีส่วนขายมีรายได้ ปัจจุบัน ขายผลผลิตมีรายได้เฉลี่ยอยู่ที่ วันละ 300 บาท

ขณะนี้ได้ขยายการทำไปในหมู่บ้านทุกตำบล ทุกหมู่บ้านในอำเภอ โดยไม่ต้องไปบังคับ เพราะผู้ใหญ่บ้าน กำนัน เมื่อมาเห็นนายอำเภอลงมือทำเองก็นำไปทำที่บ้าน นอกจากประหยัด ทำให้มีรายได้ด้วย

ขณะนี้มีผู้ใหญ่บ้านและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหลายรายหันมาทำแบบนี้ มีการปลูกผักบุ้ง มะแว้ง มะเขือ ขิง ข่า มีรายได้วันละกว่า 1,000 บาท พร้อมกับเลิกเหล้า เลิกบุหรี่ มีรายได้ เงินค่าตอบแทนในตำแหน่งนำไปฝากธนาคาร บางรายถอยรถยนต์ออกมาใหม่เพื่อนำพืชผักไปส่งให้กับออเดอร์ที่สั่งเข้ามา

จนหลายคนบอกว่า ใครว่าทำเศรษฐกิจพอเพียงแล้วไม่รวย มาดูได้ที่อำเภอแห่งนี้ และที่บ้านพักนายอำเภอ ลงมือทำเอง เป็นบ้านพักต้นแบบของเศรษฐกิจพอเพียง ที่สำคัญต้องทำอย่างจริงจังแล้วจะพบว่า จริงอย่างที่พูด

ขณะนี้กำลังขยายแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงให้ อบต. หลายแห่ง หันมาใช้พื้นที่ว่างให้เกิดประโยชน์ ปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อให้เป็นตัวอย่างของชาวบ้าน หากทำได้จะทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้นแน่นอน

หากท่านใดหรือหน่วยงานใดสนใจศึกษาดูงาน ให้คำปรึกษาฟรี โทร. (081) 172-2264 จ.ส.อ. คำนึง พรหมพิมพ์ นายอำเภอเต่างอย ทุกวัน หรือเวลาราชการ โทร. (042) 761-018