กระบวนการความเย็นเพื่อยืดอายุความสดของผลิตผลเกษตรหลังจากเก็บเกี่ยว

http://kucon.lib.ku.ac.th/cgi-bin/KUCON.exe?rec_id=000736&database=KUCON&search_type=link&table=mona&back_path=/KUCON/mona&lang=thai&format_name=TFMON

ผู้แต่ง: คำนวณ ตั้นพันธุ์
ชื่อเรื่อง: กระบวนการความเย็นเพื่อยืดอายุความสดของผลิตผลเกษตรหลังจากเก็บเกี่ยว
Article title: Precooling of fruits and vegetables
ชื่อเอกสาร : รายงานการประชุมทางวิชาการเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 7 สาขาพืช และ ชีววิทยา ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 29 มกราคม – 1 กุมภาพันธ์ 2511
Source title : Proceedings of the national conference on Agricultural Sciences seventh session : Plant and Biological Sciences
หน่วยงานจัดพิมพ์: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สถานที่พิมพ์: กรุงเทพฯ
ปีพิมพ์: 2511
หน้า: หน้า 38-39
จำนวนหน้า: 164 หน้า
ภาษา: ไทย
สาระสังเขป: สาระสังเขป (อังกฤษ)
แหล่งติดตามเอกสาร: สำนักหอสมุด ม.เกษตรศาสตร์ (REF SB16 ก58 2511)
หมวดหลัก: J11-Handling, transport, storage and protection of plant products
ดรรชนี-ไทย: ผลผลิตทางการเกษตร, การยืดอายุ, ความสด, การใช้ความเย็น, การลดความร้อน, FORCED-AIR COOLING, HYDROCOOLING, VACUUM COOLING, อุณหภูมิ
หมายเลข: 000736 KC0701010
เอกสารฉบับเต็ม: [Download Fulltext]
ค้นข้อมูลใกล้เคียง: ผู้แต่งคนเดียวกัน

พฤกษศาสตร์สู่ไฮเทค..ไทเป ยืดอายุกลีบกุหลาบ..สดถึง 10 ปี

17 พฤศจิกายน 2553, 05:00 น.

ผ่านทางพฤกษศาสตร์สู่ไฮเทค..ไทเป ยืดอายุกลีบกุหลาบ..สดถึง 10 ปี – ข่าวไทยรัฐออนไลน์.

Pic_127423

 

ดร.อนันต์ ดาโลดม

ไถ่หวัน ซั่นฉี่หลาย….เป็นชื่อชุดของพลุดอกไม้ ไฟอันมีความหมายว่า…ไต้หวันลุกขึ้นยืนแล้ว…!!

…พลุดอกไม้ไฟชุดนี้ระเบิดขึ้นอย่างสดสวยบนน่านฟ้าเมืองไทเป ช่วงหัวค่ำวันที่ 6 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา อันเป็นการประกาศว่า 2010 Taipei International Flora Exposition หรือ มหกรรมพืชสวนโลกไทเป ได้เปิดอย่างเป็นทางการแล้ว ซึ่ง ดร.อดิษฐ์ ชัยรัตนนานนท์ แห่ง โกลเด้นไลฟ์ ทราเวล ได้นำพาสื่อมวลชนไทย ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ เข้าไปบันทึกภาพเหตุการณ์ อย่างใกล้ชิดภายในบริเวณงาน

พาวิเลียนประเทศไทยพาวิเลียนประเทศไทย

 

มหกรรมพืชสวนโลกไทเป…จัดขึ้นบนพื้นที่กว่า 500 ไร่ โดยแบ่งเป็น 4 โซน คือ Yuanshan Park Area, Fine Arts Park Area, Xinsheng Park Area and Dajia Riverside Park Area ซึ่งได้นำพรรณไม้จากทั่วโลก ทั้งไม้ดอก ไม้ประดับ พืชอาหาร 3,300 ชนิด มากกว่า 30 ล้านต้น จัดเป็นสวนที่ออกดอก สีสันเชื่อมต่อเป็นสายรุ้ง ยาวเหยียดสุดลูกหูลูกตา และบางมุมก็ปรับบรรยากาศเป็น อุโมงค์ต้นไม้ ซึ่งก็สวยงามไม่แพ้กัน…

นอกจากนั้น…ยังได้นำไฮเทคโนโลยีเข้ามาผสมผสานอย่างลงตัว แม้กลีบกุหลาบที่บอบบางยังสามารถคงความสดได้นาน 10 ถึง 15 ปี…เป็นความก้าวหน้าของโลกพฤกษศาสตร์ในอนาคต

กลีบกุหลาบที่คงความสดได้ถึง 10 ปี.กลีบกุหลาบที่คงความสดได้ถึง 10 ปี.

 

…เป็นการเน้นในเอกภาพ พฤกษศาสตร์เพื่อมวลมนุษยชาติ โดยหลายประเทศเข้าร่วม อาทิ อเมริกา ญี่ปุ่น จีน อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี ฮอลแลนด์ อิตาลี สเปน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ฯลฯ แม้แต่ประเทศ ภูฏาน ก็ยังมาโชว์ผลงาน…และที่ ขาดไม่ได้ คือ ไทยแลนด์

ซึ่ง…อีกประเด็นของงานก็มุ่งหวังในการปรับพฤติกรรมของมวลมนุษย์ให้ร่วม รักษ์สิ่งแวดล้อม ด้วย Expo Theater ฉายภาพยนตร์ 3 มิติให้ สัมผัสกับภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้น เพื่อให้เกิดแรงบันดาลใจ และเสริมด้วย Pavilion of New Fashion (Far Eastern Eco Ark) เป็นการ เอาขวดพลาสติกที่ใช้แล้ว อันจะเป็นมลภาวะกว่าล้านใบ สร้างเป็นอาคารแล้วให้น้ำไหลผ่านผนัง ซึ่งจะลดอุณหภูมิจากภายนอกได้ 2 ถึง 4 องศาเซลเซียส…กระตุ้นจิตสำนึก

สวนสายรุ้งสวนสายรุ้ง

 

ดร.อนันต์ ดาโลดม นายกสมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย และประธานกองทุนความร่วมมือไทย-ไต้หวัน ซึ่งมีบทบาทสำคัญในงานครั้งนี้ บอกว่า….สมาคมได้รับเกียรติให้เป็นตัวแทนรัฐบาลไทยร่วมกับกรมวิชาการเกษตรและกรมส่งเสริมการเกษตร ให้มาจัดกิจกรรมร่วม ครั้งนี้

และ…ในช่วงที่เปิดงานสมาชิกสมาคมเกือบ 100 คนเดินทางมาร่วม (ออกค่าใช้จ่ายเอง) ก็ เป็นที่น่าภูมิใจการจัดสวนภายในอาคารไทยเราได้รางวัลเหรียญเงิน (เจ้าภาพเหรียญทอง)

ส่วนการจัดนอกสถานที่บนพื้นที่ Global Garden Area เรามี 2 พิกัด สำหรับบูธที่ 26 เราจัดขึ้นเพื่อส่งเข้าประกวด จะประกาศผลวันที่ 25 เมษายน 2554 ในวันปิดงาน

ด้านหน้า Expo Dome ของงานพืชสวนโลก.ด้านหน้า Expo Dome ของงานพืชสวนโลก.

 

…..คาบเวลา 6 เดือนนี้ต้องดูแลบำรุงรักษา สวน ของ พาวิเลียนไทย แลนด์…จะไม่หยุดนิ่งสลับสับเปลี่ยนให้สวยงามทันต่อยุค

2010 Taipei International Flora Exposition ซึ่งจะมีความเคลื่อนไหวตลอดเวลา…กับความคืบหน้า หากสนใจข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ ดร.อดิษฐ์ 0-2539-6651 เวลาราชการ.

ปัญญา เจริญวงศ์

 

ไทยรัฐออนไลน์

  • โดย ปัญญา เจริญวงศ์
  • 17 พฤศจิกายน 2553, 05:00 น.

 

วิจัยสารเคลือบสตาร์ชข้าวเจ้า รักษาคุณภาพความสด”ไข่ไก่”

8 พฤศจิกายน 2553, 05:00 น.

ผ่านทางวิจัยสารเคลือบสตาร์ชข้าวเจ้า รักษาคุณภาพความสด\”ไข่ไก่\” – ข่าวไทยรัฐออนไลน์.

Pic_125076

 

ผศ.ดร.ภาณุวัฒน์ สรรพกุล

“เคยู โอวาการ์ด : สารเคลือบไข่สดจากสตาร์ชข้าวเจ้า” (KU OvaGuard: Fresh Egg Coating from Rice Starch) เป็นนวัตกรรมสารเคลือบไข่ไก่ โดยการนำแป้งข้าวเจ้ามาแปรรูปให้เป็นสารละลายคล้ายเจล เพิ่มความคงตัวด้วยอนุพันธ์ของเซลลูโลสและเติมพลาสติไซเซอร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเคลือบ เพื่อใช้สำหรับเคลือบไข่ไก่ให้สดได้ถึง 28 วัน

งานวิจัยนี้เป็นผลงานของ ผศ.ดร.ภาณุวัฒน์ สรรพกุล จากภาควิชาเทคโนโลยีการบรรจุและวัสดุ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยผลงานดังกล่าวคว้ารางวัลที่ 3 จากการประกวด นวัตกรรมข้าวไทย ประจำปี 2553

เคยู โอวาการ์ด : สารเคลือบไข่สดจากสตาร์ช ข้าวเจ้า.เคยู โอวาการ์ด : สารเคลือบไข่สดจากสตาร์ช ข้าวเจ้า.

ผศ.ดร.ภาณุวัฒน์ เปิดเผยว่า…ในบ้านเรานั้นการตั้งราคาไข่ไก่จะแบ่งเกรดตามขนาด น้ำหนัก โดยคุณภาพความสดนั้นอยู่ในดุลพินิจท้ายสุด ส่งผลให้ผู้บริโภคได้รับผลเสียโดยตรง หากผลผลิตมีการสูญเสียน้ำหนัก และเสื่อมคุณภาพจากภายใน โดย เฉพาะเวลาที่จุลินทรีย์บางชนิดซึมผ่านเข้าไป ส่งผลให้เกิดการปนเปื้อนได้

ส่วนใน ตลาดต่างประเทศ การตั้งราคาซื้อ–ขายไข่ จะขึ้นอยู่กับคุณภาพ ความสดใหม่ ไข่ที่มีการวางขายนานเกิน 2 สัปดาห์ จะมีการปรับราคาลงประมาณ 40–60 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งส่งผลเสียต่อผู้ผลิต ดังนั้น หากกระบวนการเก็บรักษาให้คงความสดมีคุณภาพในระยะเวลายาวนาน จึงนับเป็นการเพิ่มมูลค่า อีกทั้งเอื้อประโยชน์ ต่อการส่งผลิตผลไปขายยังประเทศเพื่อนบ้าน

หลังเก็บไว้นาน 28 วัน ทดสอบแล้วพบว่า คุณภาพความสดคงเกรดเอ.หลังเก็บไว้นาน 28 วัน ทดสอบแล้วพบว่า คุณภาพความสดคงเกรดเอ.

เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว…ทีมงานจึงพัฒนาสารใช้เคลือบผิวเปลือกไข่ จากวัสดุต่างๆ เช่น น้ำมัน พอลิเมอร์สังเคราะห์ และพอลิเมอร์ย่อยสลายทางชีวภาพ  ซึ่งสารเหล่านี้จะทำหน้าที่ช่วยเพิ่มการปกป้อง กันการซึมผ่านต่อการเคลื่อนย้ายความชื้นผ่านเปลือกไข่  ยืดอายุการเก็บคุณภาพในเชิงค่า  “ฮอก”  ที่ เกี่ยวข้องกับเกรดไข่ การลดลงของการสูญเสียน้ำหนักโดยขั้นตอนการวิจัย เริ่มจากหลังนำไข่สดมาผ่านขบวนการ  ด้วยการนำแป้งข้าวเจ้ามาแปรรูปให้เป็นสารละลายคล้ายเจล แล้วทำการหาสูตรสารเคลือบไข่ที่เหมาะสม (สตาร์ชข้าวเจ้า) เพิ่มความคงตัวด้วยอนุพันธ์ ของเซลลูโลส ทำหน้าที่ป้องกันการแยกเฟส และใช้ “พลาสติไซเซอร์” ช่วยเพิ่มความอ่อนตัวของผลิตภัณฑ์ สุดท้ายที่เคลือบบนพื้นผิวเปลือกไข่ เพื่อทำให้ไม่เกิดรอยแตก กรรมวิธีนี้กล่าวให้เข้าใจง่ายๆก็คือ การทำ “ฟิล์ม” ที่สามารถบริโภคได้โดยไม่ก่ออันตราย

 

จากนั้นใช้ “กรดไขมัน” ซึ่งมีคุณสมบัติ “ไฮโดรฟิลิค” เพื่อป้องกันการซึมผ่านไอน้ำจากภายในสู่ภายนอก ร่วมกับ “สารต้านจุลินทรีย์” เสริมเป็นอันดับสุดท้าย นำไปเก็บในอุณหภูมิห้องเป็นระยะเวลานาน 4 สัปดาห์ ให้ผลว่า กรรมวิธีดังกล่าวสามารถรักษาคุณภาพของไข่คงไว้ที่เกรดเอ (59–75 Haugh Unit) ตลอดอายุการเก็บรักษา อีกทั้งยังรักษาโปรตีนในไข่ขาวข้น (โอวิโอมิวซิน) ไม่ให้เสื่อมสภาพ

…ช่วยเพิ่มความสะดวกในการเก็บความแข็งแรงเปลือกไข่ และลดโอกาสการปนเปื้อนจุลินทรีย์จากภายนอกได้เป็นอย่างดี โดยที่สูตรดังกล่าวสามารถนำมาปรับสารเคลือบไข่สดต้านจุลินทรีย์ได้ หากผู้ผลิตต้องการตอบสนองตลาดพรีเมียม โดยมีต้นทุนเพียง 2.5 สตางค์/ฟอง…

นับเป็นอีกก้าวหนึ่งของความได้เปรียบด้านการส่งออกผลิตผลทางการเกษตรของไทย.

 

เพ็ญพิชญา เตียว

 

ไทยรัฐออนไลน์

  • โดย เพ็ญพิชญา เตียว
  • 8 พฤศจิกายน 2553, 05:00 น.