รำข้าว – เรื่องน่ารู้

http://www.dailynews.co.th/agriculture/223854

วันจันทร์ที่ 5 สิงหาคม 2556 เวลา 00:00 น.

รำข้าว คือ ส่วนที่ได้จากกระบวนการสีข้าว โดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ รำหยาบและรำละเอียด รำข้าวมีคุณค่าทางอาหารสูง ได้แก่ โปรตีน ไขมัน ใยอาหาร เถ้า วิตามิน และเกลือแร่ต่าง ๆ ดังนั้นจึงมีการนำรำข้าวมาทำเป็นผลิตภัณฑ์หลายชนิด เช่น น้ำมันรำข้าว เป็นน้ำมันสำหรับบริโภคที่มีคุณภาพดี เนื่องจากมีคอเลสเตอรอลต่ำ(code:33012 ข้อมูลจากสำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว).

จับตา‘เมทิลโบรไมด์’สารรมข้าวส่งผลกระทบสินค้าส่งออก

http://www.dailynews.co.th/article/728/220429

วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม 2556 เวลา 12:45 น.

ผลตรวจข้าวถุงของมูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภคและมูลนิธิชีววิถี      ออกมาแจกแจงสารเคมีที่ใช้รมควันข้าว แต่ละยี่ห้อเพื่อให้คนกินได้รับทราบนั้น ปรากฏว่ามีสารเคมีที่ชื่อว่า เมทิลโบรไมด์ (methyl bromide) ในข้าวบางยี่ห้อนั้นสูงกว่าข้าวที่ส่งออกไปจีน อินเดียแต่ไม่เกินค่ามาตรฐานของคณะกรรมการมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ (Codex) หรือ โคเด็กซ์ แต่มีบางยี่ห้อที่สูงกว่าค่าโคเด็กซ์ที่เป็น 1 ใน 100 ตัวอย่าง ซึ่งมีคำสั่งให้หยุดการจำหน่ายไปก่อน

ข้อมูลจากเว็บไซต์มูลนิธีชีววิถี โดยเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ให้รายละเอียดของสารรมควันที่ใช้ในประเทศไทย มี 4 ชนิด คือแมกนีเซียมฟอสไฟด์ (magnesium phosphide) อะลูมิเนียมฟอสไฟด์ (aluminium phosphide) เมทิลโบรไมด์ (methyl bromide) และเมทิลโบรไมด์+คลอโรพิคริน (methyl bromide + chloropicrin) ซึ่งมีปริมาณการนำเข้ารวมเฉลี่ยตั้งแต่ พ.ศ. 2550-2555 อยู่ที่ 960.91 ตันต่อปี โดยสารที่มีปริมาณการนำเข้าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ อะลูมิเนียมฟอสไฟด์ เฉลี่ยนำเข้าปีละ 562.81 ตัน รองลงมา คือ เมทิลโบรไมด์+คลอโรพิคริน และเมทิลโบรไมด์ มีปริมาณการนำเข้าเฉลี่ย 357.69 และ 103.85 ตัน/ปี และที่มีการนำเข้าน้อยที่สุด คือ แมกนีเซียมฟอสไฟด์ 16.17 ตัน/ปี

วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ  ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี  กล่าวว่าสารเมทิลโบรไมด์ ก่อให้เกิดภาวะก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ โดยประเทศไทยได้ลงนามตามพันธกรณี หลังจากได้ให้สัตยาบันเข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกพิธีสารมอนทรีออลเมื่อวันที่ 7 ก.ค.2532 ทำให้ประเทศไทยต้องปฏิบัติตามพันธกรณี คือควบคุมปริมาณการนำเข้าสารเมทิลโบรไมด์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 ไม่ให้เกินระดับค่าเฉลี่ยของปริมาณการใช้ปี พ.ศ. 2538-2541 และยกเลิกการนำเข้าให้ได้ภายในสิ้นปี 2558 จากการทำงานเพื่อลดการใช้สารเมทิลโบรไมด์ กรมวิชาการเกษตร ตั้งเป้าว่าจะลดการใช้สารเมทิลโบรไมด์ให้ได้ภายในปี 2556  เพราะนับตั้งแต่ปี 2547 ไม่ปรากฏตัวเลขนำเข้าสารเมทิลโบรไมด์  แต่ปรากฏว่าในปี 2555 มีการนำเข้าเมทิลโบรไมด์อย่างพรวดพราด

คิดว่าสาเหตุที่ต้องนำเข้า เพราะตัวเมทิลโบรไมด์คือสารรมควันพิษที่ใช้สะดวก ระยะเวลาการรมใช้เวลาไม่นานเมื่อรมเสร็จแล้วก็สามารถระเหยไปในอากาศ ดังนั้นวัตถุประสงค์ตรงนี้เชื่อมโยงกับสต๊อกข้าวของรัฐที่อยู่ในโกดังกลาง และการเก็บข้าวไว้นานแมลงศัตรูก็จะเพิ่มปริมาณมากขึ้น ดังนั้นปริมาณการใช้จึงเพิ่มมากขึ้นตามที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้

“ได้มีโอกาสพูดคุยผู้ที่ประกอบการค้าหลายรายบอกว่า ได้เลิกใช้เมทิลโบรไมด์ในการรมข้าวมานานระดับหนึ่ง แต่หันไปใช้สารฟอสฟินแทน แต่อยู่ ๆ ตัวเลขนำเข้าสารนี้เพิ่มขึ้นมา ทั้งที่เมทิลโบรไมด์แพงกว่าฟอสฟิน ข้อดีแค่ออกฤทธิ์เร็วสามารถจัดการได้ ประเมินว่าสาเหตุไม่มีอะไรมากคนที่เล็งเรื่องสต๊อกข้าวจำนวนมากก็พุ่งเป้าไปสู่ตรงนั้น ในการตรวจเจอน่าจะมาจากขั้นตอนก่อนหน้านั้น ก่อนมาแปรเป็นข้าวสาร ผู้ประกอบการข้าวถุงยืนยันขั้นตอนการบรรจุถุงไม่ได้ใช้เมทิลโบรไมด์”

ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี กล่าวต่อว่า การที่จีนหรืออินเดียกำหนดค่าเมทิลโบรไมด์ไว้ต่ำเพื่อเป็นการกีดกันทางการค้า เพราะการกำหนดค่าเหล่านี้เป็นการกำหนดภายใต้ข้อตกลง WTO เมื่อกำหนดแล้วจะต้องแจ้งให้สมาชิกและคู่ค้ารวมทั้งฝ่ายเลขาฯ ที่ดูแลเรื่องนี้ของดับบลิวทีโอต้องรับทราบด้วย ดังนั้นการที่ประเทศเหล่านี้กำหนดค่าเหล่านี้ได้ไม่สามารถทำได้ตามอำเภอใจ จำเป็นต้องมีรายละเอียดหรือเหตุทางวิทยาศาสตร์ในการรองรับ ประเทศไทยในฐานะประเทศผู้ผลิตข้าว เราควรกำหนดค่านี้ขึ้นมาเป็นการเฉพาะซึ่งเมื่อกำหนดแล้วจะมีค่าใกล้เคียงกับอินเดียหรือของค่าโคเด็กซ์ที่เป็นอยู่นั้นเป็นอีกประเด็นหลังจากพิจารณารายละเอียดแล้ว ปัญหาคือเราไม่ได้กำหนดค่านี้แต่ไปกำหนดค่ากลางคือค่าโคเด็กช์ ขณะนี้เราเรียกร้องว่ากำหนดค่าที่เหมาะสมของเราเพิ่มขึ้นเพื่อยกระดับข้าวไทย

วิฑูรย์มองว่า ตอนนี้ประเทศไทยอนุญาตให้นำเข้าสารเมทิลโบรไมด์ อย่างมากในที่สุด จะกระทบเชิงเรื่องของภาพลักษณ์ และจะถูกกีดกันทางการค้าได้จากคู่ค้า เมื่อไปดูเหตุผลของการลดการใช้เมทิลโบรไมด์ของกรมวิชาการเกษตรจะเห็นเลยว่าเหตุผลสำคัญของการลดการใช้เมทิลโบรไมด์นั้นจะป้องกันไม่ให้ในระยะยาวนั้นสินค้าของไทยถูกกีดกันทางการค้า อย่างไรก็ตาม แม้พิธีสารมอนทรีออลจะไม่บังคับให้ทุกประเทศต้องดำเนินการหรือไม่ดำเนินการ แต่จะเกิดผลกระทบที่เกิดในแง่ข้อรังเกียจในทางการค้า ดังนั้นรัฐต้องอธิบายต่อประชาคมโลกรวมทั้งองค์กรนานาชาติที่ให้เงินสนับสนุน รณรงค์ลดการใช้เมทิลโบรไมด์ ให้ได้

ภายหลังผลการตรวจสารเคมีในคุณภาพข่าวออกมามีข้อเรียกร้องให้ข้าวสารบรรจุถุงต้องติดฉลาก อย.ด้วย ในมุมมองของวิฑูรย์ ระบุ เรื่องนี้อาจมีผลกระทบกับการแปรรูปข้าว รายย่อย วิสาหกิจชุมชน ธุรกิจของท้องถิ่นที่บรรจุข้าวถุงเป็นข้าวออร์แกนิค ข้าวกล้อง ข้าวสารพื้นบ้านทั้งหลายมาขายในระดับกลางบางทีขายถึงระดับที่เป็นศูนย์การค้า เพราะปัญหาของสารรมควันพิษไม่ได้เกิดจากผู้ผลิตรายย่อยเลย แต่รัฐกำลังเอามาตรการนี้เหวี่ยงแหคลุมไปทั่ว

ทั้งนี้สารเมทิลโบรไมด์มีคุณสมบัติที่สามารถระเหยสู่บรรยากาศได้รวดเร็วและแพร่สู่ชั้นบรรยากาศ แต่ในที่สุดจะกลับสู่พื้นโลกโดยมากับน้ำฝนและน้ำค้าง…โครงการจำนำข้าวไม่เพียงทำให้ประเทศต้องสูญเสียงบประมาณจำนวนมหาศาลแต่ยังช่วยเพิ่มดีกรีความร้อนให้โลกสูงขึ้นอีก.

การคาดคะเนผลผลิตของข้าว กข.7 ในดินตะกอนน้ำจืดและน้ำกร่อยของภาคกลาง 1. จากการเจริญเติบโตของพืช

http://kucon.lib.ku.ac.th/cgi-bin/KUCON.exe?rec_id=002200&database=KUCON&search_type=link&table=mona&back_path=/KUCON/mona&lang=thai&format_name=TFMON

ผู้แต่ง: ไพบูลย์ ประพฤติธรรม
ชื่อเรื่อง: การคาดคะเนผลผลิตของข้าว กข.7 ในดินตะกอนน้ำจืดและน้ำกร่อยของภาคกลาง 1. จากการเจริญเติบโตของพืช
Article title: Estimation of R.D. 7 rice yield in fresh water alluvial and brackish water alluvial soils of the central plain: 1. From growth of the plant
ชื่อเอกสาร : การประชุมทางวิชาการ ครั้งที่ 19 สาขาพืช อาคารศูนย์เรียนรวม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 3-5 กุมภาพันธ์ 2524: รวมเรื่องย่อ
หน่วยงานจัดพิมพ์: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สถานที่พิมพ์: กรุงเทพฯ
ปีพิมพ์: 2524
หน้า: หน้า 27-28
จำนวนหน้า: 146 หน้า
ภาษา: อังกฤษ
สาระสังเขป: สาระสังเขป (อังกฤษ)
แหล่งติดตามเอกสาร: สำนักหอสมุด ม.เกษตรศาสตร์ (REF SB16 ก581 2524)
หมวดหลัก: F01-Crop husbandry
หมวดรอง: F62-Plant physiology – Growth and development
อรรถาภิธาน-อังกฤษ: ORYZA SATIVA, YIELD FORECASTING, GROWTH, SEDIMENT, FRESHWATER, BRACKISH WATER
ดรรชนี-ไทย: ข้าว, พันธุ์ กข.7, ผลผลิต, การคาดคะเน, การเจริญเติบโต, ดินตะกอนน้ำจืด, ดินตะกอนน้ำกร่อย, ภาคกลาง
หมายเลข: 002200 KC1901019
เอกสารฉบับเต็ม: [Download Fulltext]
ค้นข้อมูลใกล้เคียง: มีคำสำคัญเหมือนกัน   ผู้แต่งคนเดียวกัน

การชลประทานข้าวด้วยน้ำเสียจากโรงงานกระดาษคร๊าฟ

http://kucon.lib.ku.ac.th/cgi-bin/KUCON.exe?rec_id=002189&database=KUCON&search_type=link&table=mona&back_path=/KUCON/mona&lang=thai&format_name=TFMON

ผู้แต่ง: จีระศักดิ์ กีรติคุณากร; สมเจตน์ จันทวัฒน์
ชื่อเรื่อง: การชลประทานข้าวด้วยน้ำเสียจากโรงงานกระดาษคร๊าฟ
Article title: Irrigation of rice crops with wastewater from kraft paper mill
ชื่อเอกสาร : การประชุมทางวิชาการ ครั้งที่ 19 สาขาพืช อาคารศูนย์เรียนรวม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 3-5 กุมภาพันธ์ 2524: รวมเรื่องย่อ
หน่วยงานจัดพิมพ์: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สถานที่พิมพ์: กรุงเทพฯ
ปีพิมพ์: 2524
หน้า: หน้า 12
จำนวนหน้า: 146 หน้า
ภาษา: อังกฤษ
สาระสังเขป: สาระสังเขป (อังกฤษ)
แหล่งติดตามเอกสาร: สำนักหอสมุด ม.เกษตรศาสตร์ (REF SB16 ก581 2524)
หมวดหลัก: F06-Irrigation
หมวดรอง: F30-Plant genetics and breeding
อรรถาภิธาน-อังกฤษ: ORYZA SATIVA, IRRIGATION, WASTEWATER, PULP AND PAPER INDUSTRY, VARIETIES, GROWTH, YIELDS
ดรรชนี-ไทย: ข้าว, การชลประทาน, น้ำเสีย, โรงงานกระดาษคร๊าฟ, พันธุ์, การเจริญเติบโต, ผลผลิต
หมายเลข: 002189 KC1901008
เอกสารฉบับเต็ม: [Download Fulltext]
ค้นข้อมูลใกล้เคียง: มีคำสำคัญเหมือนกัน   ผู้แต่งคนเดียวกัน

การใช้ 2,4-D ในรูปบิวทิวเอสเทอร์ชนิดผงในนาดำและนาหว่านข้าวงอก

http://kucon.lib.ku.ac.th/cgi-bin/KUCON.exe?rec_id=002061&database=KUCON&search_type=link&table=mona&back_path=/KUCON/mona&lang=thai&format_name=TFMON

ผู้แต่ง: อัมพร สุวรรณเมฆ; โสภณ ปิยะศิรินนท์
ชื่อเรื่อง: การใช้ 2,4-D ในรูปบิวทิวเอสเทอร์ชนิดผงในนาดำและนาหว่านข้าวงอก
Article title: Application of wettable powder 2, 4-D butylester in transplanted and pre-germinated seeded rice
ชื่อเอกสาร : รวมเรื่องย่อการประชุมทางวิชาการ ครั้งที่ 18 สาขาพืช ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน 28-30 มกราคม 2523
หน่วยงานจัดพิมพ์: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สถานที่พิมพ์: กรุงเทพฯ
ปีพิมพ์: 2523
หน้า: หน้า 75
จำนวนหน้า: 114 หน้า
ภาษา: ไทย
สาระสังเขป: สาระสังเขป (ไทย)
แหล่งติดตามเอกสาร: สำนักหอสมุด ม.เกษตรศาสตร์ (REF SB16 ก581 2523)
หมวดหลัก: H60-Weeds and weed control
อรรถาภิธาน-อังกฤษ: ORYZA SATIVA, DIRECT SOWING, TRANSPLANTING, 2;4-D, HERBICIDES, WEED CONTROL, APPLICATION RATES, EFFICIENCY, YIELDS
ดรรชนี-ไทย: ข้าว, นาหว่านข้าวงอก, นาดำ, 2;4-D, BUTYLESTER, สารป้องกันกำจัดวัชพืช, การควบคุมวัชพืช, อัตราการใช้, ประสิทธิภาพ, ผลผลิต
หมายเลข: 002061 KC1801077
เอกสารฉบับเต็ม: [Download Fulltext]
ค้นข้อมูลใกล้เคียง: มีคำสำคัญเหมือนกัน   ผู้แต่งคนเดียวกัน

การตรึงไนโตรเจนในรากข้าว

http://kucon.lib.ku.ac.th/cgi-bin/KUCON.exe?rec_id=002039&database=KUCON&search_type=link&table=mona&back_path=/KUCON/mona&lang=thai&format_name=TFMON

ผู้แต่ง: ศุภมาศ พนิชศักดิ์พัฒนา
ชื่อเรื่อง: การตรึงไนโตรเจนในรากข้าว
Article title: Nitrogen fixation in rice rhizosphere
ชื่อเอกสาร : รวมเรื่องย่อการประชุมทางวิชาการ ครั้งที่ 18 สาขาพืช ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน 28-30 มกราคม 2523
หน่วยงานจัดพิมพ์: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สถานที่พิมพ์: กรุงเทพฯ
ปีพิมพ์: 2523
หน้า: หน้า 53-53(1)
จำนวนหน้า: 114 หน้า
ภาษา: ไทย
สาระสังเขป: สาระสังเขป (ไทย)
แหล่งติดตามเอกสาร: สำนักหอสมุด ม.เกษตรศาสตร์ (REF SB16 ก581 2523)
หมวดหลัก: P34-Soil biology
อรรถาภิธาน-อังกฤษ: ORYZA SATIVA, ROOTS, NITROGEN FIXATION, SOIL MICROORGANISMS
ดรรชนี-ไทย: ข้าว, รากข้าว, การตรึงไนโตรเจน, จุลินทรีย์ดิน
หมายเลข: 002039 KC1801055
เอกสารฉบับเต็ม: [Download Fulltext]
ค้นข้อมูลใกล้เคียง: มีคำสำคัญเหมือนกัน   ผู้แต่งคนเดียวกัน

= page54 =

เสถียรภาพของผลผลิตข้าว 14 พันธุ์ และสายพันธุ์

http://kucon.lib.ku.ac.th/cgi-bin/KUCON.exe?rec_id=002025&database=KUCON&search_type=link&table=mona&back_path=/KUCON/mona&lang=thai&format_name=TFMON

ผู้แต่ง: อำพล อัศวโสภณกุล; เกรียงศักดิ์ สุวรรณธราดล; มณฑล ปุญญฤทธิ์
ชื่อเรื่อง: เสถียรภาพของผลผลิตข้าว 14 พันธุ์ และสายพันธุ์
Article title: Yield stability of 14 rice (Oryza sativa L.) varieties and promising lines
ชื่อเอกสาร : รวมเรื่องย่อการประชุมทางวิชาการ ครั้งที่ 18 สาขาพืช ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน 28-30 มกราคม 2523
หน่วยงานจัดพิมพ์: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สถานที่พิมพ์: กรุงเทพฯ
ปีพิมพ์: 2523
หน้า: หน้า 39ข
จำนวนหน้า: 114 หน้า
ภาษา: ไทย
สาระสังเขป: สาระสังเขป (ไทย)
แหล่งติดตามเอกสาร: สำนักหอสมุด ม.เกษตรศาสตร์ (REF SB16 ก581 2523)
หมวดหลัก: F30-Plant genetics and breeding
อรรถาภิธาน-อังกฤษ: ORYZA SATIVA, VARIETIES, PROGENY, YIELDS, GENETIC STABILITY
ดรรชนี-ไทย: ข้าว, พันธุ์, สายพันธุ์, ผลผลิต, เสถียรภาพ
หมายเลข: 002025 KC1801041
เอกสารฉบับเต็ม: [Download Fulltext]
ค้นข้อมูลใกล้เคียง: มีคำสำคัญเหมือนกัน   ผู้แต่งคนเดียวกัน

การคัดเลือกพันธุ์ข้าวที่ต้านทานโรคถอดฝักดาบในระยะกล้า

http://kucon.lib.ku.ac.th/cgi-bin/KUCON.exe?rec_id=002019&database=KUCON&search_type=link&table=mona&back_path=/KUCON/mona&lang=thai&format_name=TFMON

ผู้แต่ง: หทัยรัตน์ เหลืองสดใส; สุรีย์ สุขพันธ์โพธาราม
ชื่อเรื่อง: การคัดเลือกพันธุ์ข้าวที่ต้านทานโรคถอดฝักดาบในระยะกล้า
Article title: Screening method for resistance to bakanae disease in rice at seedling stage
ชื่อเอกสาร : รวมเรื่องย่อการประชุมทางวิชาการ ครั้งที่ 18 สาขาพืช ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน 28-30 มกราคม 2523
หน่วยงานจัดพิมพ์: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สถานที่พิมพ์: กรุงเทพฯ
ปีพิมพ์: 2523
หน้า: หน้า 34
จำนวนหน้า: 114 หน้า
ภาษา: ไทย
สาระสังเขป: สาระสังเขป (ไทย)
แหล่งติดตามเอกสาร: สำนักหอสมุด ม.เกษตรศาสตร์ (REF SB16 ก581 2523)
หมวดหลัก: F30-Plant genetics and breeding
หมวดรอง: H20-Plant diseases
อรรถาภิธาน-อังกฤษ: ORYZA SATIVA, VARIETIES, SELECTION, FUNGAL DISEASES, GIBBERELLA FUJIKUROI, SEEDLINGS, DISEASE RESISTANCE, YIELDS
ดรรชนี-ไทย: ข้าว, โรคถอดฝักดาบ, ระยะกล้า, พันธุ์, การคัดเลือกพันธุ์, ความต้านทานโรคพืช, ผลผลิต
หมายเลข: 002019 KC1801035
เอกสารฉบับเต็ม: [Download Fulltext]
ค้นข้อมูลใกล้เคียง: มีคำสำคัญเหมือนกัน   ผู้แต่งคนเดียวกัน

การคัดเลือกพันธุ์ข้าวที่มีความต้านทานต่อโรคใบหงิก

http://kucon.lib.ku.ac.th/cgi-bin/KUCON.exe?rec_id=002018&database=KUCON&search_type=link&table=mona&back_path=/KUCON/mona&lang=thai&format_name=TFMON

ผู้แต่ง: ลือชัย อารยะรังสฤษฏ์; วัชระ ภูรีวิโรจน์กุล
ชื่อเรื่อง: การคัดเลือกพันธุ์ข้าวที่มีความต้านทานต่อโรคใบหงิก
Article title: Screening for resistance to the ragged stunt disease in rice
ชื่อเอกสาร : รวมเรื่องย่อการประชุมทางวิชาการ ครั้งที่ 18 สาขาพืช ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน 28-30 มกราคม 2523
หน่วยงานจัดพิมพ์: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สถานที่พิมพ์: กรุงเทพฯ
ปีพิมพ์: 2523
หน้า: หน้า 33
จำนวนหน้า: 114 หน้า
ภาษา: ไทย
สาระสังเขป: สาระสังเขป (ไทย)
แหล่งติดตามเอกสาร: สำนักหอสมุด ม.เกษตรศาสตร์ (REF SB16 ก581 2523)
หมวดหลัก: F30-Plant genetics and breeding
หมวดรอง: H20-Plant diseases
อรรถาภิธาน-อังกฤษ: ORYZA SATIVA; VARIETIES; SELECTION; PLANT DISEASES; RICE RAGGED STUNT VIRUS; DISEASE RESISTANCE; YIELDS
ดรรชนี-ไทย: ข้าว; โรคใบหงิก; พันธุ์; การคัดเลือกพันธุ์; ความต้านทานโรคพืช; ผลผลิต
หมายเลข: 002018 KC1801034
เอกสารฉบับเต็ม: [Download Fulltext]
ค้นข้อมูลใกล้เคียง: มีคำสำคัญเหมือนกัน   ผู้แต่งคนเดียวกัน

ข้าวสังหยด – เรื่องน่ารู้

http://www.dailynews.co.th/agriculture/199506

วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน 2556 เวลา 00:00 น.

ข้าวสังหยดเป็นพันธุ์ข้าวที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ มีพระราชดำริเมื่อปี พ.ศ. 2543 ให้โครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริฯ จังหวัดพัทลุง ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง ดำเนินการปลูกข้าวพันธุ์สังหยด ในพื้นที่แปลงนา ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง ในโครงการฟาร์มตัวอย่างเพื่อไม่ให้ข้าวสูญพันธุ์

ข้าวสังหยดเป็นข้าวนาปีที่มีคุณ ลักษณะพิเศษ มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดง รสชาติดีมีปริมาณ แอมิโลสต่ำ 15-20% รสชาติของข้าวใหม่หุงสวยนุ่ม หอม และมัน กินคล้ายข้าวเหนียว ชาวนครศรีธรรมราช เรียก “ข้าวสั่งหยุด” หรือ “สังหยุด” เนื่องจากรสชาติของข้าวนี้กินอร่อย กินได้กินดีจนต้องสั่งให้หยุดกิน หรือหมายถึงบอกเลิกกิน เป็นข้าวที่หายาก เนื่องจากปลูกกันน้อย คนที่สนใจเรื่องสุขภาพหันมานิยมรับประทาน และปัจจุบันมีนักวิชาการ นักวิทยาศาสตร์ และนักวิจัย จากหน่วยงาน สถาบันต่าง ๆ ให้ความสนใจศึกษา ค้นคว้า และทดลองแปรรูป เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มเป็นข้าวกล้อง ข้าวกล้องงอก ขนมคุกกี้ ไอศกรีม เครื่องสำอางชนิดต่าง ๆ

ข้าวสังหยดมีคุณค่าทางอาหารสูงกว่าข้าวพันธุ์อื่น ๆ มีกากใยอาหารสูงกว่าข้าวพันธุ์ มีประโยชน์ในการชะลอความแก่ มีโปรตีน ธาตุเหล็ก และฟอสฟอรัสสูง บำรุงโลหิต บำรุงร่างกายให้แข็งแรง ป้องกันโรคความจำเสื่อม มีสารแอนตี้ออกซิแดนท์ ช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเป็นมะเร็ง.