เห็ดตับเต่า..สามเรือน ขุมทรัพย์ใต้ดงโสน

ขอบคุณแหล่งข้อมูล : ศาสตร์เกษตรดินปุ๋ย : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

http://www.thairath.co.th/content/507411

โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 26 มิ.ย. 2558 05:01

 

ดงโสนที่ใครมองเป็นวัชพืชไร้ค่า แต่คนตำบลสามเรือน อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา กลับมองต่าง…ให้ราคาดงโสนมิต่างขุมทรัพย์ สร้างรายได้งาม ดีกว่าปลูกข้าวหลายเท่า

ดินใต้โคนต้นโสน คือ โรงงานผลิตเห็ดตับเต่าชั้นดี เก็บขายได้ราคา กก. 80-100 บาท โดยไม่ต้องไปยืนตากแดดเร่ขายให้เหงื่อแตกพล่ัก เพราะมีคนมาขอรับซื้อถึงริมดงโสน…มีเท่าไรรับไม่อั้น

“ทำมา 30 ปี ฉันเป็นคนแรกๆของตำบลที่เก็บเห็ดตับเต่าในดงโสนไปขาย สมัยนั้นต้องหาบเดินไปขายที่ตลาดได้หาบละ 30 กิโล ได้กิโลละ 15บาท ต่อมาพอพ่อค้ารู้ ถึงจะมีคนเข้ามารับซื้อให้กิโลละ 20 บาท แต่ตอนนี้ราคาแพงมาก เพราะสมัยนี้ดงโสนหายไปหมด บ้านจัดสรรขึ้นมาแทน ที่บ้านมีดงโสนอยู่ 4 ไร่ เพาะเห็ดตับเต่าขายได้ปีละ 400,000บาท ขายเห็ดได้ไร่ละแสน เราจบแค่ ป.4 ไม่นึกเลยว่าจะได้จับเงินแสน ตอนนี้ฉันเลิกทำนามานานแล้ว”

จันทร์เพ็ญ สังข์หล่อ หรือ “ป้าแป๊ว” วัย 61ปี เอ่ยด้วยความภูมิใจในอาชีพใหม่ ให้รายได้มั่นคงกว่าเดิม…ทั้งที่เป็นการค้นพบโดยบังเอิญ จากแรกๆเก็บเห็ดตับเต่าที่งอกขึ้นตามธรรมชาติไปขายตลาด วันไหนเห็ดเหลือ เน่าเสียเอาไปทิ้งในดงโสน ผ่านไปไม่กี่วันที่ตรงนั้นกลับมีเห็ดงอกขึ้นมา

เลยได้ความคิดสร้างอาชีพใหม่ให้ตัวเอง…เห็ดตับเต่าน่าจะเพาะขายได้

ดงโสนถ้าไม่มีใครไปทำลาย โสนก็อยู่ของมันได้ แม้จะเป็นไม้ล้มลุกอายุแค่ 1 ปี ถึงเดือนธันวาคมต้นจะแก่จัดและตายจากไป แต่ได้ทิ้งเมล็ดพันธุ์ไว้ใต้โคน ต้นใหม่จะงอกขึ้นมาแทน น้ำท่วมแค่ไหนก็ไม่ตาย… เห็ดตับเต่างอกได้ดีในดงโสน ป้าแป๊ว เลยต้องบริหารจัดการดงโสนให้คงอยู่ตลอดไป

วิธีการไม่มีอะไรมาก แค่เพียงสังเกตโสนต้นใหม่กำลังโตขึ้นมา โสนต้นเก่ากำลังจะตายจาก ตัดต้นเก่าทิ้งไป เพื่อให้ต้นใหม่เติบโตได้อย่างเต็มที่ แล้วคอยเฝ้าระวังหนอนไม่ให้มากินใบ ตอนกลางคืนออกไปหาจับหนอน…ใช้สารเคมีกำจัดไม่ได้

“เห็ดตับเต่าไวต่อสารเคมีแปลกปลอมมาก ไม่ต้องแรงเหมือนยาฆ่าแมลง แค่น้ำหอมยังทำให้เห็ดตายเลย เพราะเคยมีคนใส่น้ำหอมกลิ่นฉุยเดินเข้าไปในดงโสน วันรุ่งขึ้นเห็ด ที่เพิ่งโผล่จากดิน เหี่ยวหมด แถมไม่มีขึ้นใหม่อีกด้วย”

แต่รักษาดงโสนให้คงอยู่หวังรอเก็บเห็ดตับเต่าที่งอกขึ้นมาตามธรรมชาติ จะได้เห็ดปริมาณไม่มากพอ ไม่หนาแน่น ป้าแป๊วเลยใช้ภูมิปัญญาคิดเองทำเอง เพิ่มปริมาณเชื้อเห็ดในดงโสน…เพาะเชื้อเห็ดตับเต่า

เพียงนำเห็ดตับเต่ามาผสมกับน้ำ ใส่น้ำตาลอ้อยเล็กน้อย หมักไว้ราว 1 เดือน จากนั้นนำน้ำเชื้อเห็ดมาฉีดพ่นใต้ต้นโสน ให้น้ำด้วยระบบสปริงเกอร์ วันละ 1 ครั้งครั้ง ละ 5 นาที ประมาณ 1 อาทิตย์ เห็ดจะผุดขึ้นมาอวดโฉมขึ้นมาให้เห็น

ใครต้องการเรียนรู้ 27–28 มิ.ย.นี้ อบต.สามเรือนมีงาน “วันเห็ดตับเต่างามที่สามเรือน” มีสาธิตการเพาะปลูกเห็ด ไปหาดูชมกันได้…ชาวบ้านขออย่างเดียว กรุณาอย่าฉีดพรมน้ำหอมไปก็แล้วกัน.
สัจภูมิ ละออ

 

พลิกนาเป็นดงโสน แปรข้าวเป็นเห็ดตับเต่า

http://www.thairath.co.th/content/edu/353541

  • 26 มิถุนายน 2556, 05:00 น.

Pic_353541

“เลิกแล้วครับ ผมเลิกทำนาแล้วครับ หันมาเพาะเห็ดตับเต่าขายอย่างเดียว ปลูกโสนไว้ 5 ไร่ เก็บเห็ดได้วันละ 15-20 กก. แต่ถ้าช่วงไหนผลผลิตออกมาดีจะได้วันละ 40-50 กก. ปีหนึ่งถึงจะเก็บได้แค่ 4 เดือน พ.ค.-ส.ค. ได้เงินประมาณ 3-4 แสนบาท ดีกว่าทำนาให้แน่นอกเป็นไหนๆ”

สมยศ วงษ์สถิตย์ อายุ 60 ปี ชาวนา ต.สามเรือน อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา ที่หันมาเพาะเห็ดอย่างเป็นล่ำเป็นสัน คุยให้ฟัง

แม้เนื้อเพลงมนต์รักลูกทุ่ง ของครูไพบูลย์ บุตรขัน จะว่าไว้…เห็ดตับเต่าขึ้นอยู่ริมเถาย่านาง มองเห็นบัวสล้างลอยปริ่มอยู่ริมบึง …แต่เห็ดตับเต่าที่นี้ไม่ได้ขึ้นอยู่ริมเถาย่านาง

แต่อวดโฉมอยู่ใต้ร่มดงโสนแทน…ยามนี้ใครไปเยือน ต.สามเรือน จะเห็นหลายหมู่บ้านเต็มไปด้วยดงต้นโสนงามพลิ้วสายลม ออกดอกเหลืองอร่าม คราวไร้ดอกจะอวดก้านใบเขียวขจี ด้วยเจ้าของจงใจปลูกดูแลอย่างดี ไม่ปล่อยให้แห้งตายเหมือนก่อนอีกต่อไป

เนื่องจากใต้ต้นโสนเป็นขุมเงินขุมทอง… แหล่งเพาะเห็ดตับเต่า ราคา กก. 80–100 บาท

ส่วนความเป็นมาของการเอาดงโสนมาเป็นแหล่งเพาะเห็ดตับเต่านั้น เอนก วงษ์สถิตย์ พี่ชายของสมยศ เล่าว่า เดิมทีเป็นคนภาคอีสานแต่มา
ทำงานอยู่ที่นี่ เห็นเห็ดตับเต่าก็เก็บมากิน คนในพื้นที่เห็นเข้าก็ลองทำตาม ปรากฏว่ารสชาติถูกใจ สามารถนำไปประกอบอาหารได้หลายรายการ น้ำยาขนมจีน แกงเปอะ ยำ ลาบ ผัดกะเพรา ลวกจิ้มน้ำพริก แม้กระทั่ง…ไข่เจียวเห็ดตับเต่าสับ แค่ได้ข้าวสวยหอม กรุ่นสัก 1 จาน รับประกันว่าอิ่มอร่อยได้ 1 มื้อ

จึงพยายามทดลองหาวิธีเพาะ ในที่สุดพบว่าใต้ดงโสนนี่แหละให้ผลดีที่สุด…ดีกว่าไปเพาะที่อื่น

วิธีการก็ไม่ยุ่งยาก เพียงแค่นำเชื้อเห็ดตับเต่ามาผสมกับน้ำ อาจเพิ่มด้วยกากน้ำตาลอ้อยอีกเล็กน้อย หมักไว้ประมาณ 1 เดือนถึงเดือนครึ่ง จากนั้นนำมาฉีดพ่นบริเวณใต้ต้นโสน และให้น้ำวันละ 1 ครั้ง เพื่อให้ดินชุ่มชื้น…ประมาณ 1 อาทิตย์เห็ดตับเต่าจะผุดขึ้นมา ให้เก็บได้วันละ 2 ครั้ง…เช้ากับเย็น

เรื่องตลาดไม่ต้องห่วง เก็บได้เท่าไร มีพ่อค้ามารับซื้อถึงบ้าน แต่ละวันจะได้มากน้อยขึ้นอยู่กับเนื้อที่เพาะของแต่ละคน แม้ทุกวันนี้จะมีชาวบ้านทำกันหลายราย แต่ผลผลิตยังไม่พอขาย

ส่วนตัวของเอนก ผู้ริเริ่มเพาะเห็ดตับเต่า ปลูกดงโสนไว้เพียง 2 ไร่ เก็บได้วันละ 2–4 กก. ถึงจะได้ไม่มาก แต่ก็ภูมิใจแล้วกับอาชีพอิสระ เพราะช่วยให้มีรายได้เสริมเพิ่มขึ้นมาอีกเดือนละ 6–7 พันบาท.
สัจภูมิ ละออ

ไทยรัฐออนไลน์

  • โดย สัจภูมิ ละออ
  • 26 มิถุนายน 2556, 05:00 น.

เห็ดนางรมเห็ดตับเต่า เพาะเองได้

kasikorn83 – Windows Live.

ดาวน์โหลดเอกสารต้นฉะบับ.

การเพาะเห็ดตับเต่า

ฉบับที่ 6 ประจำเดือน กรกฎาคม  พ.ศ. 2553

ผ่านทางขอคุยด้วยคน.

ผลิใบ ขอคุยด้วยคน
กองบรรณาธิการ

การเพาะเห็ดตับเต่า

ผู้อ่านหลาย ๆ  ท่านคงเคยรับประทานอาหารที่นำเห็ดมาเป็นส่วนหนึ่งในการประกอบอาหาร เช่น เห็ดฝาง เห็ดนางฟ้า เห็ดโคน เห็ดหูหนู ฯลฯ
เห็ดต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วเป็นเห็ดที่มีคุณค่าทางโภชณาการและหาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาดถ้าจะพูดถึงเห็ดตับเต่า   หลายท่านคงจะเคยได้ยินชื่อ
เห็ดตับเต่ายังมีหลายชื่อเรียกแล้วแต่ว่าจะพบในภาคไหนของประเทศไทย  ภาคเหนือเรียกเห็ดห้า      เนื่องจากมักอยู่ใต้ต้นหว้า (ห้า)ภาคตะวันออก
เฉียงเหนือเรียกเห็ดผึ้ง เนื่องจากเมื่อนำเห็ดตับเต่าไปประกอบอาหารสีของน้ำแกงจะเหมือนสีของน้ำผึ้ง

เห็ดตับเต่านิยมรับประทานกันมากในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีคาคาแพง กิโลกรัมละ 80 – 150 บาท  เห็ดตับเต่าเป็นเห็ดที่
จัดว่าเป็นพวกเอ็คโตมัยคอร์ไรซ่า     คือเป็นความสัมพันธ์ระหว่างเชื้อรากับระบบรากอาหารของพืชชั้นสูง  ซึ่งเชื้อเห็ดจะมีความเฉพาะเจาะจงกับราก
ฝอย (rootlets) ของพืชอาศัยไม่สามารถเพาะเลี้ยงให้เป็นดอกเห็ดได้บนอาหารสังเคราะห์ เหมือนกับเห็ดทั่วๆ ไป เช่น เห็ดนางฟ้าที่เราเห็นการเจริญ
เติบโตได้ดีบนอาหารสังเคราะห์   แต่เห็ดตับเต่าจำเป็นจะต้องอาศัยการเจริญเติบโตขึ้นมาได้จะต้องใช้พืชอาศัยในการเจริญเติบโตพืชอาศัยของเห็ด
ตับเต่ามีหลายชนิดเช่น หว้า โนน มะกอกน้ำ ส้ม มะม่วง ขนุน และทองหลางในจังหวัดเชียงรายที่อำเภอเวียงแก่น ซึ่งเป็นแหล่งปลูกส้มโอแหล่งใหญ่
ในบางส่วนพบว่ามีเห็ดตับเต่าขึ้นบริเวณใต้ต้นส้มโอ จำนวนมากในปี พ.ศ. 2549 – 2552    กรมวิชาการเกษตร      โดยนักวิจัยจากศูนย์วิจัยพืชสวน
เชียงราย  ได้เก็บตัวอย่างเห็ดตับเต่าที่ขึ้นตามธรรมชาติ นำมาแยกเชื้อบริสุทธิ์บนอาหาร PDA   ได้ทั้งหมด 47 isolate  โดยเก็บจากใต้ต้นมะกอกน้ำ
กระท้อน หว้าและส้มโอ  เพื่อศึกษาลักษณะดอกเห็ดตับเต่าที่พบในสภาพธรรมชาติ   รวมถึงแยกเชื้อบริสุทธ์ของเห็ดตับเต่าบนอาหารสังเคราะห์และ
ผลิตหัวเชื้อ   นอกจากนั้นยังศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างเชื้อเห็ดตับเต่ากับรากพืชอาศัยในห้องปฏิบัติการที่สำคัญเพื่อปลูกเชื้อเห็ดตับเต่าลงบนพืช
อาศัญ 1 ชนิด คือ มะกอกน้ำ เพื่อใช้เป็ฯ Model ในการศึกษาการสร้าง mycorrhizae และการพัฒนาเป็นดอกเห็ดในแปลงปลูก

จากการทดลองเพาะเห็ดตับเต่าได้ผลการทดลองดังนี้

–  เชื้อเห็ดตับเต่าทุก  isolate สามารถเจริญได้บนอาหารสังเคราะห์ แต่ละ isolate   มีอัตราการเจริญเติบโตทางเส้นใยที่แตกต่างกัน แต่ทุก
isolate มีการเจริญบนอาหาร MMN ได้ดีกว่าอาหาร PDA ดังนั้นจึงควรใช้ MMN เป็นอาหารเลี้ยงเชื้อเห็ดตับเต่า

–  เชื้อเห็ดตับเต่ามีการอยู่ร่วมกัน (colonization) กับรากมะเกี๋ยงป่าได้ดี เชื้อเห็ดบาง isolate สามารถเจริญเป็นดอกเห็ดได้ในหลอดทดลอง
และบาง isolate พัฒนาเป็นดอกเห็ดขนาดเล็กบนอาหาร PDA หลังจากการเลี้ยงเชื้อที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 1 เดือน

–  การปลูกเชื้อเห็ดตับเต่าบนกล้าพืช อาศัยทำได้โดยการล้างเส้นใยออกจากหัวเชื้อเมล็ดข้าวฟ่าง (หัวเชื้อ 1 ขวดต่อน้ำ 2 ลิตร)  ใช้จอบขุด
บริเวณรอบชายพุ่มจนพบรากฝอยของพืชอาศัย แล้วนำเชื้อไปราดบริเวณชายพุ่มก่อนกลบด้วยดิน

–  สามารถกระตุ้นให้เกิดดอกเห็ดตับเต่านอกฤดูในพืชอาศัยที่เคยพบดอกเห็ดตับเต่าขึ้นตามธรรมชาติได้        โดยการให้น้ำด้วยระบบสปริง
เกลอร์เลียนแบบการตกของฝน จะพบดอกเห็ดตับเต่าขึ้นบริเวณใต้ทรงพุ่มของพืชอาศัยหลังจากให้น้ำ 2-3 สัปดาห์

การนำไปใช้ประโยชน์จากการทดลองเพาะเห็ดตับเต่า

–  เกษตรกรหรือผู้สนใจสามารถปลูกเชื้อเห็ดตับเต่าลงบนพืชอาศัยเพื่อผลิตตับเต่าเป็นอาหารในครัวเรือนหรือจำหน่ายทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น

–  นักวิชาการเกษตรจัดการฝึกอบรมให้เกษตรกรและผู้สนใจมีความสามารถในการผลิตหัวเชื้อเห็ดตับเต่าเป็นการค้าได้

–  เกษตรกรสามารถนำเทคโนโลยีไปผลิตเห็ดตับเต่านอกฤดูเพื่อเพิ่มรายได้ให้มากขึ้นได้

–  สามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกเชื้อเห็ดตับเต่าลงบนกล้าพืชอาศัยให้แก่เจ้าหน้าที่กรมป่าไม้          ซึ่งในแต่ละปีจะต้องผลิตกล้าไม้
จำนวนมากเพื่อนำไปปลูกเพิ่มพื้นที่ป่า      ซึ่งถ้าในขั้นตอนการผลิตกล้าไม้มีการปลูกเชื้อเห็ดตับเต่าลงในกล้าไม้ทำให้มีเชื้อเห็ดตับเต่าเจริญร่วมกับ
รากพืชจะทำให้มีผู้สนใจนำกล้าไม้ไปปลูกในบริเวณบ้าน ป่าชุมชน พื้นที่สาธารณประโยชน์ ตลอดจนพื้นที่รกร้าง    ซึ่งนอกจากจะได้พื้นที่ป่าเพิ่มขึ้น
แล้ว ในอนาคตจะมีเห็ดตับเต่าเกิดขึ้นเป็นแหล่งอาหารโปรตีนอีกด้วยทำให้มีการอนุรักษ์ป่าอย่างยั่งยืน

จากการทำลองเพาะเห็ดตับเต่าที่ประสบผลสำเร็จอย่างที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น     จะทำให้มีเทคโนโลยีการเพาะเห็ดตับเต่าให้กับเกษตรกร
ผู้ที่สนใจ นอกจากนั้นยังสามารถผลิตหัวเชื้อเห็ดตับเต่าจำหน่ายแก่เกษตรกรและผู้สนใจ เพื่อนำไปปลูกลงบนรากพืชอาศัยนับว่าการเพาะเห็ดตับเต่า
ได้มีการทดลองจนประสบผลสำเร็จจากนักวิชาการจของกรมวิชาการเกษตรและสามารถนำไปถ่ายทอดสู่เกษตรกร เพื่อสร้างเป็นอาชีพและที่สำคัญ
จะเป็ฯการเพิ่มผลผลิตรวมทั้งเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวได้อีกทางหนึ่งด้วย           เกษตรกรหรือผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย โทรศัพท์ 053-170100 หรือ 053-170120 ได้ในวัน เวลา ราชการ

(ขอบคุณ คุณนันทินี ศรีจุมปา ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย : ข้อมูล)

 

กรมวิชาการเกษตร ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
โทรศัพท์ : 0-2561-2825, 0-2940-6864
โทรสาร : 0-2579-4406

“เห็ดตับเต่า”ของดีฤดูฝน

27 กรกฎาคม 2553, 05:00 น.

ผ่านทาง“เห็ดตับเต่า”ของดีฤดูฝน – ข่าวไทยรัฐออนไลน์.

Pic_99155

คนรุ่นเก่าที่   มีภูมิลำเนาอยู่ตามชนบท   เชื่อได้ว่าส่วนใหญ่จะรู้จักและเคยรับประทาน “เห็ดตับเต่า” อย่างแน่นอน ซึ่งเห็ดชนิดนี้จะมีขายและมีให้ซื้อรับประทานเฉพาะช่วงฤดูฝนเท่านั้น เมื่อเริ่มมีเม็ดฝนโปรยปรายลงมา “เห็ดตับเต่า” ที่ทิ้งสปอร์ไว้ใต้ดินที่มีความชื้นเย็นสูง  เช่น  ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง โดยเฉพาะบริเวณใต้ต้นหว้า จะแทงดอกชูขึ้นเหนือดินให้คนที่มีอาชีพเก็บเห็ดเข้าไปเก็บนำไปขายในตลาดตัว เมืองได้รับความนิยมซื้อไปรับประทานอย่างกว้างขวาง ราคากิโลกรัมเกือบร้อยบาท เมื่อนำไปปรุงเป็นอาหารแล้วจะมีรสชาติอร่อยไม่แพ้ “เห็ดทรัฟเฟิล” ของฝรั่งเศสที่มีราคาแพงกิโลกรัมหลายหมื่นบาทแม้แต่น้อย และ “เห็ดตับเต่า” จะมีสีดำเหมือนกัน ที่สำคัญจะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเช่นกัน จึงเป็นเห็ดปลอดสารพิษอย่างแน่นอน รับประทานแล้วได้คุณค่าทางอาหารอย่างเต็มเปี่ยม

ในการปรุงเป็นอาหาร ส่วนใหญ่ นิยมใช้ทั้งดอกเห็ดทำเป็นแกงลาวใส่ยอดฟักทอง หน่อไม้สด ใส่ใบแมงลักเพิ่มกลิ่นหอมเป็นชูรสให้ชวนรับประทานยิ่งขึ้น สำหรับ เครื่องประกอบจะมีพริกขี้หนูสด หรือพริก ขี้หนูแห้ง หอมแดง ข่า ตะไคร้ อย่างละ 1 แว่น โขลกให้ละเอียดต้มกับน้ำจนเดือดแล้วผ่า “เห็ดตับเต่า” ครึ่งซีกล้างน้ำให้สะอาดใส่ลงหม้อ ปรุงรสด้วยน้ำปลาร้า ถ้าไม่กินปลาร้าใช้เกลือแทน น้ำตาลทรายเล็กน้อย โรยด้วยใบแมงลักตามที่กล่าวข้างต้น   ตัก รับประทานกับข้าวสวยร้อนๆ เนื้อเห็ดจะซับน้ำแกงกรุบอร่อยมาก  สามารถใส่เห็ดเผาะหรือเห็ดฟางลงไปทำเป็นแกงเห็ดรวมเพิ่มความอร่อยได้เต็มรูป แบบ

ประโยชน์ทางยาของ “เห็ดตับเต่า” ระบุว่า รับประทานแล้วเป็นยาบำรุงร่างกาย  บำรุงกำลัง  กระจายโลหิต  ดับพิษร้อนภายในดีมาก

เห็ด ตับเต่า หรือ THAEOGYRO PORUS  PORENTOSUS (CBERK. ET BROOME) MC.NABB. อยู่ในวงศ์   BOLETACEAE   มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์คือ หมวกเห็ดทรงกระทะคว่ำ ดอกอ่อนมีขนคล้ายกำมะหยี่ สีน้ำตาล เมื่อบานเต็มที่หมวกเว้าเล็ก น้อย ผิวเป็นสีน้ำตาลเข้มอมเหลือง ดูคล้ายเป็นสีดำ ด้านล่างหมวกมีรูกลมเล็กๆ สีเหลืองเนื้อในเห็ดเมื่อผ่าถูกอากาศจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินอมเขียว ก้านหมวกอวบใหญ่ ยาว 4-8 ซม. เส้น ผ่าศูนย์กลางประมาณ 3-4 ซม. โคนก้านหมวกโป่งเป็นกระเปาะสปอร์ ค่อน ข้างกลม   ขยายพันธุ์ด้วยสปอร์   มีชื่อเรียกอีกคือ เห็ดห้า (ภาคเหนือ) เพราะจะขึ้นบริเวณใต้ต้นหว้า ซึ่งชาวเหนือเรียกต้นหว้าว่า ต้นห้า “เห็ดตับเต่า” มีขายเฉพาะฤดูตามแหล่งขายพืชผักพื้นบ้านทั่วไปครับ.

“นายเกษตร”