‘ไทยไทเกอร์’เจอโรคเลื่อนเปิดบริการเป็นพ.ค.54

19 พฤศจิกายน 2553, 22:28 น.

http://www.thairath.co.th/content/eco/128328.

Pic_128328

บอร์ดการบินไทยเผย “ไทยไทเกอร์” เจอโรคเลื่อนเปิดบริการในไทยเป็นเดือน พ.ค.54 ยันไม่ขัด พรบ.ร่วมทุนฯ …

เมื่อวันที่ 19 พ.ย. นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในฐานะประธานคณะกรรมการ บริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) เปิดเผยภายหลังการประชุมบอร์ดว่า ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบแผนการจัดตั้งสายการบินไทย “ไทยไทเกอร์ แอร์เวย์ส” รวมทั้งได้ประเมินระยะเวลาในการดำเนินการเตรียมการ และขออนุมัติตามขั้นตอนต่างๆ แล้วพบว่า การเปิดให้บริการสายการบินไทยไทเกอร์นั้นพบว่าจะต้องเลื่อนเปิดการให้บริการออกไปจากเดิมในเดือน เม.ย.54 ไปเป็น พ.ค.54

ส่วนกรณีที่มีหลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่าการจัดตั้งดังกล่าวเข้าข่ายว่า จะต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2553 (พรบ.ร่วมทุน 2535) หรือไม่นั้น นายอำพน กล่าวต่อว่า ในเรื่องนี้ตนพร้อมด้วยนายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทการบินไทย ได้ชี้แจงรายละเอียดความชัดเจนต่อนายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม ซึ่งได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณาด้านกฎหมาย ฝ่ายกฎหมายของการบินไทย ตัวแทนจากสำนักงานอัยการสูงสุดที่อยู่ในบอร์ด ได้หารือเห็นตรงกันว่าการบินไทยไม่ต้องดำเนินการตาม พรบ.ร่วมทุน 2535

สำหรับสัดส่วนหุ้นที่ชัดเจนการบินไทยจะต้องเป็นผู้ถือหุ้นข้างมาก 51% แบ่งเป็นบริษัทการบินไทย 49.9% พนักงานของสายการบินไทยไทเกอร์ที่มีสัญชาติไทยถือหุ้น 1.1% ส่วนอีก 49% แบ่งเป็นบริษัทไทเกอร์ แอร์เวย์ส โอลดิ้ง ลิมิเต็ด ถือหุ้น 39% และไรอัน เอเชีย ลิมิเต็ด ถือหุ้นร้อยละ 10% และมีการปรับโครงสร้างคณะกรรมการไทยไทเกอร์ฯ จาก 5 คนเป็น 7 คน แบ่งเป็นผู้แทนการบินไทย 4 คน ผู้แทนไรอัน เอเชียฯ 1 คน และไทเกอร์แอร์เวย์ส 2 คน.

ไทยรัฐออนไลน์

  • โดย ทีมข่าวเศรษฐกิจ
  • 19 พฤศจิกายน 2553, 22:28 น.

เจ้าจำปีฝันปีนี้จะมีกำไรกว่าหมื่นล้านบาท

12 พฤศจิกายน 2553, 23:23 น.

http://www.thairath.co.th/content/eco/126526.

Pic_126526

บอร์ดบินไทย ฝันหวาน ปีนี้มีกำไรกว่า1  หมื่นล้านบาท ส่วนตั้งสายการบินไทย ไทเกอร์ รอพิจารณาคราวหน้า อ้างเวลาน้อย ต้องพิจารณารอบคอบ

เมื่อวันที่ 19 พ.ย. นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการ(บอร์ด) บริษัท การบินไทย เปิดเผยว่า ในการประชุมบอร์ดการบินไทยได้มีการพิจารณารับทราบผลประกอบการไตรมาส 3 และคาดว่าในปีนี้การบินไทยจะมีกำไรมากกว่า 1 หมื่นล้านบาท ส่วนสาเหตุที่ไม่พิจารณาเรื่องการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนกับสายการบินไทเกอร์ แอร์เวย์ส เพื่อจัดตั้งสายการบินต้นทุนต่ำ ไทย ไทเกอร์ แอร์เวย์ส นั้น เนื่องจากมีเวลาน้อย และต้องการข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมเพื่อความรอบคอบในการพิจารณาเรื่อง ดังกล่าว ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติให้มีการประชุมเรื่องการร่วมทุนกับไทเกอร์ ฯ ในวันที่ 19 พ.ย.53

“เรื่องการร่วมทุนเป็นเรื่องที่สำคัญ และมีเอกสารจำนวนมากที่จะต้องพิจารณาทั้ง เงื่อนไขและข้อกฎหมายในการเจรจา เพื่อความรอบคอบและเพื่อประโยชน์ของบริษัทการบินไทย จึงไม่อยากเร่งรัด เมื่อมีข้อมูลไม่เพียงพอและมีคำถามเพิ่มเติม จึงต้องการให้กรรมการมีเวลาในการพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบ โดยหลักการจะต้องเป็นการจัดตั้งบริษัทที่ถูกต้องตามกฎหมาย” นายอำพน กล่าว

นาย อำพน กล่าวต่อว่า สำหรับผลประกอบการไตรมาส 3 (1ก.ค.-30 ก.ย.53 ) ซึ่งเป็นฤดูนอกจากท่องเที่ยวนั้น แต่ผลจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีรายได้เพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งยังมีกำไรก่อนอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศและภาษีเงินได้ด้วย ประกอบกับในไตรมมาสที่ 3 อัตราส่วนบรรทุกผู้โดยสารเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 74.7% เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่อัตราส่วนการขนส่งพัสดุภัณฑ์ เฉลี่ยสูงขึ้นกว่าปีก่อนถึง 61.3% เดิมเฉลี่ยเพียง 53.8% ในส่วนที่ปีนี้บริษัทกำไรดีเป็นผลจากการปรับยุทธศาสตร์การบริหารงานใหม่ มีการบริหารความเสี่ยงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราน้ำมัน ปัจจัยดังกล่าว ทำให้ความเสี่ยงลดลง รวมถึงบริษัทได้มีการปรับโครงสร้างทางการเงิน มีการเพิ่มทุน กู้เงินเพื่อบริหารค่าใช้จ่าย เดิมที่ต้องเสียดอกเบี้ยปีละ 4,000-5,000 ล้านบาท ทำให้ค่าใช้จ่ายลดลงไม่ต่ำกว่า 2,000 ล้านบาทต่อปี นอกจากนี้ ที่ประชุมได้อนุมัติให้บริษัท จัดหาวงเงินสินเชื่อหมุนเวียนจากธนาคารไทยพาณิชย์ วงเงิน 3,000 ล้านบาท ระยะเวลา 3 ปี ซึ่งก่อนหน้านี้ได้อนุมัติวงเงินสินเชื่อหมุนเวียนไปแล้วเป็นเงิน 2,500 ล้านบาท ซึ่งได้จากธนาคารทหารไทย 1,000 ล้านบาท และธนาคารทิสโก้ 1,500 ล้านบาท รวมทั้งสิ้นเป็นเงิน 5,500 ล้านบาท

ไทยรัฐออนไลน์

  • โดย ทีมข่าวเศรษฐกิจ
  • 12 พฤศจิกายน 2553, 23:23 น.

ดีดีบินไทยไม่หวั่นเปลี่ยนขั้วการเมือง ยันทำหน้าที่อย่างดีที่สุด

11 กรกฎาคม 2554, 20:15 น.

ดีดีบินไทยไม่หวั่นเปลี่ยนขั้วการเมือง ยันทำหน้าที่อย่างดีที่สุด.

Pic_185582

“ปิยสวัสดิ์” ยัน ทำหน้าที่ให้ดีที่สุด แม้เปลี่ยนขั้วทางการเมืองไม่มีผลกระทบ ย้ำการเปลี่ยนผู้บริหารบินไทยไม่สามารถทำได้ง่ายเพราะเป็นบริษัทมหาชน

เมื่อวันที่ 11 ก.ค. นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยภายหลังการประชุมบอร์ดการบินไทย ที่มีนายอำพน กิตติอำพน ประธานบอร์ด การบินไทยว่า แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และมีพรรคเพื่อไทยเข้ามาเป็นรัฐบาลตน ยืนยันว่าจะยังคงทำงานในตำแหน่งตามปกติ แต่หากจะเปลี่ยนตัวผู้บริหารระดับสูงโดยเฉพาะตำแหน่ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ การบินไทยนั้น เชื่อว่าฝ่ายการเมืองคงไม่สามารถดำเนินการได้โดยง่าย เนื่องจาก การบินไทย เป็นบริษัท จำกัด (มหาชน) และเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงอะไร จะมีกฎระเบียบ ข้อปฎิบัติที่ต้องปฎิบัติตามที่ชัดเจนอยู่แล้ว โดยที่ผ่านมาตนเคยรับราชการมานาน และเคยทำงานร่วมกับการเมืองมาหลายยุคหลายสมัย และเห็นการเปลี่ยนแปลงจนเป็นเรื่องปกติ หากรัฐบาลชุดที่ผ่านมาหลายคนก็คงจะรู้ว่าความสัมพันธ์ของตนเป็นอย่างไร แต่ก็สามารถผ่านมาได้

ส่วนผลการประเมินการทำงานในรอบปีของตนที่จะครบรอบในเดือน ธ.ค.นี้ หลายตัวก็เป็นไปตามเป้าหมายเช่น ตนสามารถผลักดัน การบินไทย ติด 1 ใน 5 ของประเภทสายการบินยอดเยี่ยมของโลก จากที่ผ่านมาตั้งเป้าหมายว่าปีนี้จะอยู่ในอันดับ 8 นอกจากนี้ยังได้มีการผลักดันแผนการจัดซื้อเครื่องบิน 37 ลำ เพื่อมาเสริมศักยภาพในฝูงบินของการบินไทยโดย บอร์ดการบินไทยกก็ได้อนุมัติเพื่อจัดหามาเสริมศักยภาพแล้ว

นายปิยสวัสดิ์ กล่าวต่อว่า บอร์ดการบินไทยได้มีมติให้ปรับปรุงแผนการปลดระวางเครื่องบิน ระหว่างปี 2554-2560 จำนวน 50ลำ ที่ได้ปรับปรุงให้สอดคล้องกับแผนการจัดหาเครื่องบินปี 2554-2560 ที่บอร์ดการบินไทยได้มีมติเมื่อ วันที่ 11 มิ.ย.54 ให้การบินไทยจัดซื้อจัดหาเครื่องบินใหม่เข้ามาประจำฝูงบินจำนวน 37 ลำส่วนผลการดำเนินงานในไตรมาส 2 พบว่า อัตราส่วนการบรรทุกผู้โดยสาร (เคบิน แฟคเตอร์) เฉลี่ย 66.5 % เพิ่มขึ้น 2.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนเคบินแฟตเตอร์ในเดือนมิ.ย.เฉลี่ยอยู่ที่ 65.8 % เพิ่มขึ้น 0.8% ขณะที่ไตรมาส 3 เคบินแฟคเตอร์ เริ่มปรับตัวดีขึ้น เห็นได้จากบางวันอยู่ในระดับสูงถึง 80 % แต่เที่ยวบินไปยุโรป ยังน่าเป็นห่วง เนื่องจากมีสายการบินอื่น บินตรงไปยุโรป

ด้านการตั้งสายการบินไทย วิงส์ ขณะนี้ อยู่ระหว่างการรอเช่าเครื่องบิน แอร์บัส เอ-320 จำนวน 11 ลำ คาดว่า ยังให้บริการได้ในเดือน มิ.ย.ปีหน้า สวนการตั้งสายการบินไทย ไทเกอร์ แผนการดำเนินงาน อยู่ระหว่างการพิจารณาของกระทรวงคมนาคม

ไทยรัฐออนไลน์

  • โดย ทีมข่าวเศรษฐกิจ
  • 11 กรกฎาคม 2554, 20:15 น.

คนการบินไทยฮือประท้วง เรียกร้องความเป็นธรรม

10 มิถุนายน 2554, 16:23 น.
คนการบินไทยฮือประท้วง เรียกร้องความเป็นธรรม – ข่าวไทยรัฐออนไลน์.

Pic_177957

พนักงานการบินไทยชุมนุมประท้วง ฝ่ายบริหารจะลดจำนวนลูกเรือต่อสัดส่วนผู้โดยสาร และจะลดวันพักในต่างประเทศ ด้านปธ.บอร์ดรับปากจะนำปัญหาเข้าที่ประชุม แต่ยืนยันจำเป็นต้องลดจำนวนลูกเรือ…

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อระหว่างเวลา 08.00 น. 10 มิ.ย. ได้มีพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน หรือแอร์โฮสเตส และพนักงานทั่วไปประมาณ 300 คน มีทั้งแต่งชุดดำ และชุดพนักงานสีม่วงติดริบบิ้นสีดำที่แขน ชุมนุมประท้วงบริเวณอาคาร 1 สำนักงานใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ เพื่อเรียกร้องให้ฝ่ายบริหารยกเลิกมาตรการลดค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะประเด็นเรื่องลดจำนวนลูกเรือต่อสัดส่วนผู้โดยสารลง และการลดจำนวนวันพักในต่างประเทศลงด้วย โดยมีนายจิรายุทธ ภุชงคสมุทท์ นายกสมาคมพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินเป็นแกนนำ

นายจิรายุทธ ยื่นหนังสือต่อนายอำพน กิตติอำพน ในฐานะประธานบอร์ดการบินไทย โดยนายอำพน แจ้งว่า จะนำปัญหาไปเสนอต่อที่ประชุมบอร์ดเพื่อพิจารณา แต่ยืนยันว่าในประเด็นการลดจำนวนสัดส่วนลูกเรือการบินไทยยังมีความจำเป็นที่จะต้องลดลง แต่จะไม่ทำให้เกิดผลกระทบต่อผู้โดยสารที่มาใช้บริการ ส่วนเรื่องการลดจำนวนวันพัก กับลูกเรือที่ไปปฏิบัติงานต่างประเทศ ยืนยันว่าเบื้องต้นการบินไทยและฝ่ายบริหารยังไม่มีนโยบายใดๆ ที่จะลดจำนวนวันพักลง เพราะฝ่ายบริหารได้คำนึงถึงความปลอดภัย และสุขภาพของพนักงานเป็นหลัก

โดยกลุ่มผู้ชุมนุม ได้สลายการชุมนุม ในเวลา 12.00 น. โดยแกนนำระบุว่า ฝ่ายบริหารได้ให้ ตัวแทนกลุ่มผู้ชุมนุม ไปหารือร่วมกับฝ่ายบริหาร เพื่อหาข้อสรุปที่ชัดเจน และจะแจ้งให้พนักงานต้อนรับฯ ทราบ ทางเฟซบุ๊ค ของกลุ่มผู้ชุมนุม  นอกจากนี้ยังมีกระแสข่าวว่า การชุมนุมเรียกร้องในครั้งนี้ เกิดจากการปลุกปั่น ของผู้เสียผลประโยชน์จากปัญหาการเลือกตั้งสหภาพรัฐวิสาหกิจบริษัท การบินไทย ที่จะเกิดขึ้นในเร็ว ๆ นี้  แต่จากการสอบถามพนักงานที่มาร่วมชุมนุมส่วนใหญ่ระบุว่า ไม่เกี่ยวข้องกันอย่างแน่นอน และที่มาเพื่อเรียกร้องในสิ่งที่ตนเดือดร้อน  เพราะทำให้พวกตนพักผ่อนน้อยลง และจำนวนพนักงานที่ให้บริการบนเครื่องบินไม่เพียงพอ  สิ่งของ ที่ให้บริการผู้โดยสารบนเครื่องบินก็ไม่ไม่เพียงพอ เช่น แปรงสีฟัน ทำให้พวกตนได้รับการต่อว่าจากผู้โดยสารอย่างมาก

อย่างไรก็ตามในการชุมนุม ยังได้มีเอกสารแจกเรื่องที่มีพนักงานที่ถูกกล่าวหาว่า  มีการปฎิบัติงานที่ไม่ถูกต้องตามระเบียบของบริษัทและการบินไทยได้ถูกตั้งคณะ กรรมการสอบสวนทางวินัย ในช่วงที่มีการเลือกตั้ง สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทย  ดังนั้นพนักงานการบินไทยกลุ่มดังกล่าวที่ถูกสอบสวน จึงได้ส่งหนังสือร้องทุกข์ไปยังคณะกรรมาธิการ การแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายพรหมมิน สีตบุตร เป็นประธาน คณะทำงานตรวจสอบการร้องทุกข์ ได้พิจารณา ซึ่งคณะทำงานตรวจสอบได้มีการตรวจสอบแล้ว สรุปว่า รื่องดังกล่าวเกิดความไม่เป็นธรรมจึงเห็นสมควรส่งเรื่องไปยังกระทรวงแรงงาน และ กระทรวงคมนาคม เข้ามากำกับดูแลการบริหารใหเกิดเป็นธรรมกับพนักงานทุกฝ่าย  รวมถึงได้ส่งเรื่องไปให้ผู้ตรวจการรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร , สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ (ปปช.) ให้มีการดำเนินการตรวจสอบการใช้อำนาจของ นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ การบินไทย ว่าชอบหรือไม่อย่างไร.

ไทยรัฐออนไลน์

  • โดย ทีมข่าวเศรษฐกิจ
  • 10 มิถุนายน 2554, 16:23 น.

‘ไทยไทเกอร์’ส่อแท้ง บอร์ดบินไทยเล็งเปิด’ไทยวิงส์’แทน

20 พฤษภาคม 2554, 17:45 น.

‘ไทยไทเกอร์’ส่อแท้ง บอร์ดบินไทยเล็งเปิด’ไทยวิงส์’แทน.

Pic_172897

บอร์ดการบินไทยอนุมัติตั้งThai wings รองรับหากสายการบิน ไทยไทเกอร์ไม่สามารถจัดตั้งได้ ระบุ หาก 2-3 เดือน ยังไม่มีความคืบหน้าจะไม่ดำเนินการต่อแล้ว

เมื่อวันที่ 20 พ.ค. นายอำพน กิตติอำพน ประธานคณะกรรมการ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) การบินไทยว่า บอร์ดการบินไทยได้มีมติอนุมัติให้ การบินไทยดำเนินการจัดตั้งสายการบินภูมิภาค โดยมีโครงสร้างการบริหารจัดการในลักษณะหน่วยธุรกิจของบริษัทการบินไทยถือหุ้น 100% เพื่อให้รูปแบบการดำเนินการและคณะกรรมการบริหารที่มีประสิทธิภาพมีความคล่องตัวสูง สายการบินดังกล่าวเบื้องต้นจะใช้ชื่อว่า Thai wings ซึ่งเป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์ปี 54-60

โดยไทยวิงส์ จะให้บริการเต็มรูปแบบในเดือน เม.ย. 55 จะให้บริการปีแรก 7 ลำ เป็นของสายการบินไทย 5 ลำและเช่าอีก 2 ลำ จากนั้นภายใน 3 ปีจะเพิ่มเป็น 11 ลำ เพื่อแย่งส่วนแบ่งตลาดมาจากสายการบินต้นทุนต่ำที่ครองตลาดอยู่ในขณะนี้ จะเน้นบินเชื่อมต่อไปยังเมืองใกล้เคียงในภูมิภาค เพื่อขยายตลาด อาศัยช่องว่างของกลุ่มผู้โดยสารที่ต้องการความคุ้มค่าซึ่งมีการแข่งขันอย่างต่อเนื่อง สำหรับการจัดตั้งสายการบินไทยวิงส์นั้นฝ่ายบริหารจะเสนอแผนธุรกิจ เส้นทางการบิน การจัดตั้งต่อคณะกรรมการในวันที่ 11 มิ.ย. 54 เพื่อให้ได้ข้อสรุปร่วมกัน และจะได้เปิดให้บริการได้ตามกำหนดที่ตั้งไว้ สำหรับการจัดตั้งสายการบินไทย ไทเกอร์แอร์เวยส์ นั้นล่าสุดได้มีการขอให้ขยายสัญญาการพิจารณาร่วมทุนออกไปอีก 2-3 เดือนหรือสิ้นสุดในเดือน ก.ค. 54 หากไม่มีความคืบหน้าใดๆ ก็จะไม่ดำเนินการต่อแล้ว เนื่องจากการบินไทยไม่สามารถรอได้เพราะการแข่งขันด้านของสายการบินต้นทุนต่ำมีมากขึ้น

“สายการบินที่จะตั้งขึ้นมาเป็นสายการบินประหยัด ที่ให้บริการมาตรฐานเดียวกับการบินไทย เนื่องจากพนักงานได้รับการอบอรมจากการบินไทย นักบินก็จะเน้นพิจารณานักบินที่เกษียณจากการบินไทยก่อน โดยทั้งหมดนี้จะเป็นการว่าจ้างพนักงานนอก ไม่ได้เป็นพนักงานของการบินไทย และไม่ถือว่าเป็นการลงทุนดังนั้นก็ไม่จำเป็นต้องเสนอที่กระทรวงคมนาคมหรือ คณะรัฐมนตรี รวมทั้งเนื่องจากเป็นการบินเส้นทางเดียวกันบริษัทแม่ คือ การบินไทย จึงไม่จำเป็นต้องทำเรื่องขออนุญาตจากกรมการบินพลเรือน (บพ.)” ประธานบอร์ดการบินไทยฯ กล่าว.

ไทยรัฐออนไลน์

  • โดย ทีมข่าวเศรษฐกิจ
  • 20 พฤษภาคม 2554, 17:45 น.

อำพนฝันบริการประทับใจ ยกเครื่องฝูงบิน’เจ้าจำปี’ใหม่

17 พฤษภาคม 2554, 19:00 น.

อำพนฝันบริการประทับใจ ยกเครื่องฝูงบิน’เจ้าจำปี’ใหม่.

Pic_172135

“ประธานบอร์ดการบินไทย” ย้ำชัดบินไทยต้องทุ่ม 4.5 แสนล้านบาท จัดหาเครื่องบิน 75 ลำในเวลา 12 ปี พร้อมเร่งปรับปรุงพัฒนาผลิตภัณฑ์บนเครื่องบิน-การบริการ เพื่อเพิ่มศักยภาพให้ขึ้นชั้นสายการบินชั้นนำติด 1 ใน 5 ของโลก

นายอำพน กิตติอำพน ในฐานะประธานคณะกรรมการบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้เปิดเผยว่า เพื่อเป็นการพัฒนา และ เพิ่มขีดความสามารถของการบินไทย ให้ยกระดับขึ้นมาเป็นสายการบินชั้นนำติดอยู่ใน 3 อันดับแรกของภูมิภาคเอเชีย และ 5 อันดับแรกของโลกให้ได้ภายในปี 2554-55 นั้น  การบินไทยจะต้องมีการปรับปรุงยกระดับพัฒนาสายการบินใหม่ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของคุณภาพผลิตภัณฑ์ และคุณภาพการให้บริการในทุกๆด้าน กับผู้โดยสารที่มาใช้บริการ โดยเป้าหมายหลักจะเน้นการสร้างคุณค่าการบริการให้แก่ลูกค้า, สร้างเครือข่ายเส้นทางบินและฝูงบิน ตั้งกลยุทธ์ด้านการตลาด และการขาย รวมทั้งการเน้นด้านประสิทธิภาพ มาตรฐานความปลอดภัย และการบริหารเชื้อเพลิง เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารบคุลากรและโครงสร้างองค์กร และการเน้นกลยุทธ์ด้านการเงินที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งเป้าหมายต่างๆ ก็เพื่อให้การบินไทยได้มีขีดความสามารถในการแข่งขัน และแสวงหาโอกาสในการเติบโตของธุรกิจให้ได้ในช่วงปี 2554-60

นายอำพน กล่าวต่อว่า และเพื่อให้การบินไทยได้มีโอกาสในการต่อยอดธุรกิจ ให้การบินไทยเป็นองค์กรที่มีความแข็งแกร่ง และยั่งยืนได้อย่างยาวนานและก้าวไปถึงปีที่ 100 ตามที่การบินไทยได้มีนโยบายมุ่งมั่นไว้นั้น  บอร์ดการบินไทยจึงได้เน้นที่จะวางยุทธศาสตร์การบินไทยให้เป็นจริงเป็นจังขึ้นเพื่อให้การบินไทยมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นฝ่ายบริหาร การบินไทย จึงได้เสนอขอให้ ครม.อนุมัติ ให้การบินไทยดำเนินการในโครงการจัดหาเครื่องบินในช่วง 12 ปี ตั้งแต่ปี 2554-2565 จำนวน 75 ลำ วงเงินงบประมาณรวมกว่า 457,000 ล้านบาท ซึ่งการจัดหาดังกล่าวจะแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ 1. โครงการจัดหาเครื่องบิน ปี 2554-2560 จำนวน 37 ลำ วงเงิน 216,000 ล้านบาท ประกอบด้วย เครื่องบินลำตัวแคบ(NARROW BODY) ขนาดประมาณ 150 ที่นั่ง 11 ลำ จะใช้บริการเส้นทางภูมิภาคระยะใกล้ ซึ่งเครื่องบินจำนวนนี้ตามแผนกลยุทธ์จะนำมาเพิ่มศักยภาพของฝูงบิน และเครื่องบินลำตัวกว้าง (WIDE BODY) ขนาด 280-375 ที่นั่ง 26 ลำ จะใช้บริการเส้นทางภูมิภาคและเส้นทางระหว่างทวีป ส่วนเครื่องบินจำนวน 26 ลำนี้ ตามแผนกลยุทธ์จะเป็นเครื่องบินที่นำมาทดแทนเครื่องบินที่จะปลดออกจากฝูงบิน

อย่างไรก็ตาม ในขั้นตอนการดำเนินการจัดหานั้นขณะนี้อยู่ระหว่างเปรียบเทียบ คุณสมบัติเครื่องบิน 2. โครงการจัดหาเครื่องบิน ปี 2561-2565 จำนวน 38 ลำ วงเงิน 241,000 ล้านบาท แบ่งเป็นเครื่องบินเส้นทางข้ามทวีป 14 ลำ และเครื่องบินเส้นทางภูมิภาค 24 ลำ โดยเป็นการจัดหาแบบสั่งซื้อและรับมอบเครื่องบินตามข้อกำหนดในสัญญา(Firm Order) 21 ลำและจัดหาแบบเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ภายใน 2 ปี ก่อนการรับมอบ 17 ลำ

การจัดหาเครื่องบินในปี 2561-2565 จำนวน 38 ลำ และการจัดหาเครื่องบิน 37 ลำปี 2554-2560 นั้น เป้าหมายหลักๆก็เพื่อนำมาทดแทนเครื่องบินเก่าที่ต้องเกษียณออกจากฝูงบินของ การบินไทย และ การจัดหาก็เพื่อเพิ่มศักยภาพของสายการบิน  สาเหตุที่ต้องมีการขออนุมัติแผนจัดหาเครื่องบินในระยะยาวเพิ่มขึ้นและจำนวน มากในคราวเดียวนั้น เหตุผลหนึ่งเนื่องจากเครื่องบินเมื่ออยู่ในขั้นตอนรายละเอียดการสั่ง และ ผลิตนั้น จะต้องใช้ระยะเวลานานกว่าจะมีการส่งมอบ และ ที่ผ่านมาการบินไทยได้เคยตัดสินใจล่าช้า จึงทำให้ไม่สามารถจัดหาเครื่องบินได้ทันสายการบินคู่แข่งที่มีการวางแผน จัดหาเครื่องบินไว้ล่วงหน้าได้

นายอำพน กล่าวต่อว่า เมื่อมีการจัดหาเครื่องบินเข้ามาตามกำหนดแล้ว ในปี 2560 การบินไทยจะมีเครื่องบินในฝูงบินรวม 105 ลำ จากปัจจุบันที่มี 85 ลำ และเมื่อฝูงบินมีเครื่องบินใหม่เข้ามาประจำการก็จะทำให้อายุเฉลี่ยของ เครื่องบินลดลงเหลือ 8.5 ปี จากปัจจุบันเครื่องบินจะมีอายุเฉลี่ยที่ 11.9 ปี ซึ่งเมื่ออายุเฉลี่ยของเครื่องบินลดลง ยังส่งผลทำให้การบินไทยมีอัตราการใช้เชื้อเพลิงต่อหน่วยลดลงเฉลี่ยถึงปีละประมาณ 1.3% ในขณะที่การซ่อมบำรุงต่อหน่วยจะลดลงเฉลี่ยปีละประมาณ 3.2% โดยประเมินว่าตลอดระยะเวลา 12 ปีตามแผนรายได้การบินไทยจะเติบโตปีละประมาณ 5.3% และมีรายได้จากผู้โดยสารเฉลี่ยต่อหน่วยเติบโตปีละ 1.8%

“แผนการจัดหาเครื่องบินจำนวน 75 ลำ ผมขอพูดว่า การบินไทยไม่ได้ซื้อเครื่องบินมาไว้เล่นๆ แต่เราจะมองยุทธศาสตร์เป็นตัวตั้ง มองไปข้างหน้าถึง 10-20ปี เครื่องบินที่จัดหาเข้ามาประเด็นหลักเพื่อทดแทนเครื่องบินที่ต้องเกษียณอายุ และ เสริมศักยภาพของฝูงบิน ให้ทันสมัย และการจัดหาครั้งนี้ ก็พูดได้เต็มปากว่าเปิดกว้างในกับผู้ผลิตทุกราย ไม่มีการล็อกสเปคว่าจะใช้เครื่องบินยี่ห้อนั้น ยี่ห้อนี้ เพราะตั้งแต่มานั่งตำแหน่งประธานบอร์ด ไม่เคยพบผู้แทนจาก แอร์บัส หรือ ว่า โบอิ้งเลยแม้แต่คนเดียว” นายอำพน กล่าว

นายอำพน กล่าวเสริมว่า นอกจากการจัดหาเครื่องบินตามยุทธศาสตร์แล้ว การปรับปรุงพัฒนาผลิตภัณฑ์ และ การให้บริการในทุกจุดสัมผัส การบินไทยก็ไม่นิ่งนอนใจ ได้ปรับปรุงตลอดเวลาและจะเพิ่มความเข้มข้นมากขึ้น ทั้งในส่วนของอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าทุกขั้นตอน เช่น ศูนย์บริการลูกค้าทางโทรศัพท์ การบริการอาหารและเครื่องดื่ม ,การบริการที่ห้องรับรองพิเศษ รอยัลออร์คิด พลัส รวมถึงการปรับปรุงด้าน E-Service ซึ่งจากการปรับปรุงระบบดังกล่าวทำให้สัดส่วนการขายบัตรโดยสารและเช็คอินผ่าน อินเตอร์เน็ตมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยล่าสุดการบินไทยได้ให้ความสำคัญมากเป็นพิเศษกับการปรับปรุง และพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งอำนวยความสะดวกบนเครื่องบิน ล่าสุดได้ปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกบน เครื่องบินโบอิ้ง 777-300 ซึ่งได้ดำเนินการแล้วเสร็จไปแล้ว6 ลำ ,ส่วนเครื่องบินโบอิ้ง 747-400 จำนวน 6 ลำ อยู่ระหว่างดำเนินการและแล้วเสร็จ ธ.ค. 54 เครื่องบินโบอิ้ง 777-200 จำนวน 8 ลำ โดยเริ่มปรับปรุง ในเดือน ส.ค 54 และจะแล้วเสร็จในเดือน มิ.ย. 55 เครื่องบินโบอิ้ง  747-400 จำนวน 6 ลำ ซึ่งจะเริ่มดำเนินการในเดือน ก.พ. 55 เสร็จสิ้น ต.ค. 55 ส่วนแอร์บัส 340-600 จำนวน 6 ลำ แอร์บัส 340-600 จำนวน 6 ลำ แอร์บัส 340-500 จำนวน 4 ลำจะแล้วเสร็จปี 57 และ โบอิ้ง 777-200ER จำนวน 6 ลำแล้วเสร็จในปี 57 นอกจากนี้ ยังได้แก้ปัญหาในเรื่องที่นั่งในชั้นประหยัดของบริษัท KOITO โดยกำหนดรับมอบเครื่องบิน A330-300 จำนวน 5 ลำที่ติดตั้งเก้าอี้จาก ZIM ในปี 54 นี้ และได้เริ่มรับมอบมาตั้งแต่เดือนมี.ค. สิ้นสุดเดือน ก.ค. 54

“เมื่อ 46 ปีที่ผ่านมา ผมเคยนั่งเครื่องบินของการบินไทยจากกรุงเทพไปโตเกียว ตอนนั้นประทับใจการให้บริการของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินมากและยังไม่ลืม จนมาถึงทุกวันนี้ และเมื่อมานั่งในตำแหน่งประธานบอร์ด ผมก็จะรักษามาตรฐานการให้บริการด้วยความเป็นไทย ของการบินไทยให้อยู่ต่อไป นโยบายหลักจะเน้นบริการลูกค้าเป็นหัวใจ โดยขณะนี้ได้ขอความร่วมมือจากพนักงานต้อนรับในรุ่นแรกๆมาช่วยสอนพนักงาน ต้อนรับในรุ่นใหม่ๆให้เรียนรู้วิธีการจากรุ่นพี่ๆว่า การบริการที่ควรอนุรักษ์แบบโบราณนั้นทำอย่างไร ให้ผู้โดยสารประทับใจเหมือนกับที่ผมเคยได้รับ เพราะหากเครื่องบินใหม่ ปรับปรุงทุกอย่างทันสมัยใหม่ แต่การบริการไม่ดีการบินไทยไปไม่รอดแน่ๆ” นายอำพน กล่าว.

ไทยรัฐออนไลน์

  • โดย ทีมข่าวเศรษฐกิจ
  • 17 พฤษภาคม 2554, 19:00 น.

แบงก์ชาติส่งสัญญาณ กนง.ไม่ขึ้น ดอกเบี้ย

8 ตุลาคม 2553, 16:10 น.

ผ่านทางแบงก์ชาติส่งสัญญาณ กนง.ไม่ขึ้น ดอกเบี้ย – ข่าวไทยรัฐออนไลน์.

Pic_117350

ธปท.ส่งสัญญาณ มีโอกาส ไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ยในประชุมกนง. 20 ต.ค.นี้ หากบาทแข็งค่าต่อเนื่องจนกดดันเงินเฟ้อไม่เพิ่มสูงขึ้น

เมื่อ วันที่ 8 ต.ค. นางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการ ด้านบริหาร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) กล่าวว่า หากมีเงินทุนไหลเข้าไทยปริมาณมากจนส่งผลให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง ก็มีส่วนช่วยให้เงินเฟ้อไม่เพิ่มสูงขึ้น เมื่อเงินเฟ้อไม่เพิ่มขึ้นก็มีโอกาสให้การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กน ง.) ที่จะมีการประชุมในวันที่ 20 ตุลาคานี้ ไม่ต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายก็ได้

“หากเงินบาท แข็งค่าขึ้น ก็มีส่วนช่วยให้เงินเฟ้อไม่เพิ่มสูงขึ้น ก็มีโอกาส ที่กนง.ไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ย ซึ่งก็ต้องไปดูว่า เงินเฟ้อมันสูงแค่ไหน เศรษฐกิจดีแค่ไหน นั้นคือ ทฤษฎี ที่เงินเฟ้อต้องไม่สูงจริง หากสมมุติว่า เงินบาทแข็งขึ้นจนกดดันเงินเฟ้อลดลง แต่ถ้าเศรษฐกิจมันดีมาก แรงกดดันเงินเฟ้ออาจเพิ่มขึ้นด้านดีมานได้”นางอัจนา กล่าว

ส่วนกรณี ที่นายพรายพล คุ้มทรัพย์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กนง. และนายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ในฐานะกรรมการกนง. ส่งสัญญาณว่า การประชุมกนง.ในวันที่ 20 ต.ค.นี้ กนง.อาจไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อลดการแข็งค่าของเงินบาทนั้น รองผู้ว่าการ ด้านบริหาร ธปท.กล่าวว่า คณะกรรมการแต่ละคนอาจมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันคนละด้าน แต่สุดท้ายแล้วก็จะมีการหารือในการประชุมก่อนตัดสินใจ ทั้งนี้ก่อนหน้านี้ กนง.ได้ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายมา แล้ว 2 ครั้งในปีนี้ คือ ในวันที่ 14 ก.ค.และ 25 ส.ค.ครั้งละ 0.25% ทำให้ดอกเบี้ยนโยบายปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 1.75% เพื่อลดความร้อนแรงของอัตราเงินเฟ้อที่คาดว่าจะปรับสูงขึ้นกว่ากรอบเงินเฟ้อ พื้นฐานที่ระดับ 0.5-3% ที่ธปท.คาดการณ์ไว้ หลังที่เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวดีเกินคาด และในการประชุมกนง.ครั้งนี้ กนง.คงให้น้ำหนักเรื่องเงินบาทแข็งค่าอย่างมาก

ไทยรัฐออนไลน์

  • โดย ทีมข่าวเศรษฐกิจ
  • 8 ตุลาคม 2553, 16:10 น.

tags:
อัจนา ไวความดี ธนาคารแห่งประเทศไทย ธปท. แบงก์ชาติ พรายพล คุ้มทรัพย์ อำพน กิตติอำพน คณะกรรมการนโยบายการเงิน กนง. อัตราดอกเบี้ย ค่าเงินบาท เงินเฟ้อ

คมนาคมตั้งกก.ร่วม 3 ฝ่ายศึกษาตั้งไทยไทเกอร์

28 กันยายน 2553, 02:45 น.

ผ่านทางคมนาคมตั้งกก.ร่วม 3 ฝ่ายศึกษาตั้งไทยไทเกอร์ – ข่าวไทยรัฐออนไลน์.

Pic_114525

กระทรวงคมนาคม ตั้ง กรรมการ 3 ฝ่าย ศึกษากรณีร่วมทุน ตั้ง ไทย-ไทเกอร์ สายการบินต้นทุนต่ำ เพื่อบินให้บริการเส้นทางในประเทศ…

นาย สุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการหารือร่วมกับนายอำพน กิตติอำพน ประธานกรรมการ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่การบินไทย และนายโชคชัย ปัญญายงค์ รองกรรมการผุ้อำนวยการใหญ่สายกลยุทธ์และพัฒนาธุรกิจการบินไทย ว่า ขณะนี้ได้หารือถึงรายละเอียดแนวทางการร่วมทุนกับสายการบินไทเกอร์ แอร์เวย์สของสิงคโปร์ เพื่อจัดตั้งสายการบินไทย ไทเกอร์ แอร์เวย์ส ซึ่งเป็นสายการบินต้นทุนต่ำให้บริการเส้นทางในประเทศและเส้นทางภูมิภาค โดยการหารือได้ข้อสรุปว่าจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการร่วม 3 ฝ่าย คือ กระทรวงคมนาคม การบินไทย และสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) โดยมีรองปลัดกระทรวงคมนาคมด้านขนส่งเป็นประธาน

ทั้งนี้ คณะกรรมการชุดดังกล่าวจะพิจารณารายละเอียดแนวทางการจัดตั้ง เพื่อให้การดำเนินงานของฝ่ายนโยบายและฝ่ายปฏิบัติเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และมีฐานข้อมูลเดียวกัน เพื่อให้มีความชัดเจนสามารถตอบข้อสงสัยของทุกฝ่ายได้ โดยสิ่งที่คณะกรรมการชุดนี้จะต้องพิจารณา คือ การศึกษาความเหมาะสมของแผนการจัดตั้งไทย ไทเกอร์ฯ รายละเอียดแผนธุรกิจ จำนวนเครื่องบินที่จะนำมาให้บริการ จำนวนนักบินและพนักงาน และรายละเอียดต่างๆทั้งหมด รวมทั้งประเด็นข้อกังวลในเรื่องแผนการตลาด การแย่งตลาดการบินของสายการบินสัญชาติไทยที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบัน

“ใน ระหว่างที่ยังไม่มีข้อสรุปจากคณะกรรมการร่วม 3 ฝ่าย การบินไทยจะยังไม่จัดตั้งบริษัทร่วมทุน เพื่อรอให้ทุกอย่างมีความชัดเจนก่อน ซึ่งคาดว่าการศึกษาของคณะกรรมการร่วมฯจะได้ข้อสรุปทั้งหมดในเดือนต.ค.นี้ หลังจากนั้นจะเสนอรายละเอียดทั้งหมดให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาต่อไป”นายสุพจน์ กล่าว

ผู้สื่อข่าวจากการบินไทย กล่าวว่า ที่ผ่านมานายชัยศักดิ์ อังค์สุวรรณ กรรมการการบินไทยได้ทำหนังสือถึงประธานกรรมการการบินไทย เพื่อแสดงความไม่เห็นด้วยในการร่วมทุนดังกล่าว โดยระบุว่า ที่ผ่านมาการบินไทยไม่เคยมีการวิเคราะห์เปรียบเทียบโดยเฉพาะกรณี WORSE CASE ว่าจะมีความเสียหายเพียงใด รวมทั้งการตรวจสอบผลการดำเนินงานของสายการบินไทเกอร์ แอร์เวย์ส ซึ่งในเบื้องต้นพบว่าผลประกอบการไม่ดีนัก อีกทั้งไทย ไทเกอร์ฯจะสามารถดึงผู้โดยสารจากสายการบินเป้าหมายได้หรือไม่เพียงใด และจะดึงผู้โดยสารของการบินไทยและนกแอร์ด้วยหรือไม่ เพราะเส้นทางบินในประเทศมีไม่มาก ขณะที่การบินไทยและนกแอร์ทำการบินอยู่เกือบทุกเส้นทาง อาจต้องบินทับเส้นทางเดียวกันทั้งสายหลักและสายรอง

นอกจากนั้น ความตกลงด้านการบินที่ประเทศไทยทำกับประเทศต่างๆ ไม่ได้แยกสิทธิการบินให้กับสายการบินปกติและสายการบินต้นทุนต่ำ แต่เป็นการกำหนดภาพรวม หมายความว่าสายการบินที่จดทะเบียนในประเทศใด ก็สามารถใช้สิทธิทำการบินไปยังประเทศคู่ภาคีได้ทุกสายการบิน ขณะนี้ประเทศไทยมีสิทธิการบินที่ได้รับจากประเทศคู่ภาคีทั้งในภูมิภาคและ ต่างภูมิภาคมากกว่าสิงคโปร์

ดังนั้นสายการบินที่จัดตั้งใหม่สามารถ ใช้สิทธิการบินจากประเทศไทยไปยังประเทศต่างๆได้ทุกประเทศที่มีความตกลงกับ ประเทศไทย หากสายการบินที่จัดตั้งขึ้นบินทับเส้นทางการบินไทยหรือบินแทนเส้นทางการบิน ไทย จะเท่ากับเป็นการยกประโยชน์ให้กับผู้ร่วมทุนโดยไม่มีความจำเป็นหรือไม่

ไทยรัฐออนไลน์

  • โดย ทีมข่าวเศรษฐกิจ
  • 28 กันยายน 2553, 02:45 น.

tags:
สุพจน์ ทรัพย์ล้อม กระทรวงคมนาคม อำพน กิตติอำพน ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ไทย-ไทเกอร์ โชคชัย ปัญญายงค์ สายการบินต้นทุนต่ำ

แฉกลโกงประกันรายได้

23 กันยายน 2553, 06:00 น.

ผ่านทางแฉกลโกงประกันรายได้ – ข่าวไทยรัฐออนไลน์.

Pic_113326

เลขา สศช. เผยโครงการประกันรายได้ มีพวกไถนาบนเงินงบประมาณ รับ ช่วงแรกมีปัญหาสับสน คาดปีนี้ มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการมากขึ้น…

นาย อำพน กิตติอำพน เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวในการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อชี้แจงแนวทางการติดตามโครงการประกันราย ได้เกษตรกรปีการผลิต 2553/2554 ว่า โครงการประกันรายได้ของรัฐบาลในปีแรกที่ผ่านมา มีปัญหาความสับสนเกิดขึ้นในหลายด้าน เริ่มตั้งแต่ฤดูกาลผลิตข้าวของไทย โดยเฉพาะในภาคกลาง ไม่มีฤดูกาลที่แน่นอน ในพื้นที่แปลงนาติดกัน มีทั้งที่กำลังเก็บเกี่ยว และกำลังไถหว่าน เมื่อเริ่มโครงการจึงมีเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวไปแล้ว และที่กำลังจะเริ่มทำนา ต้องมีการแก้มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึง 20 มติ เพื่อให้โครงการประกันรายได้ดำเนินการได้ตามหลักเกณฑ์ รวมทั้งยังถูกต่อต้านจากผู้ที่เสียประโยชน์ เช่น นักการเมืองไปปล่อยข่าวไม่ให้เกษตรกรเข้าร่วมโครงการระบุว่ารัฐบาลหลอกลวง เข้าโครงการแล้วไม่ได้ประโยชน์ เป็นต้น รวมทั้งพวกโรงสีที่อยากให้กลับไปใช้โครงการรับจำนำ คนเหล่านี้ไม่ใช่ทำนาบนหลังคน แต่เป็นการไถนาบนเงินงบประมาณ

อย่างไร ก็ตาม รัฐบาลได้ผลักดันโครงการประกันรายได้จนดำเนินการได้ มีเกษตรกรกว่า 3 ล้านครัวเรือนได้ประโยชน์ และคาดว่าปีนี้จะมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการมากขึ้น ซึ่งรัฐบาลได้เตรียมเงินชดเชยไว้ให้เกษตรกรกว่า 50,000 ล้านบาท โดยเกษตรกรมีโอกาสรับเงินชดเชยสูงถึงครัวเรือนละ 32,500 บาท ซึ่งสูงมากและจะเป็นแรงจูงใจให้เกิดการแจ้งข้อมูลเท็จกันมากขึ้นถือว่าเป็น งานหนักกว่าปีที่ผ่านมา การขึ้นทะเบียนจึงต้องมีการตรวจสอบที่เข้มข้น ต้องลงโทษผู้ที่แจ้งเท็จด้วย ไม่เช่นนั้นชาวบ้านจะแจ้งเท็จทั้งหมู่บ้าน

นอก จากนี้ ยังพบว่าเมื่อเกษตรกรเข้าโครงการประกันรายได้และได้รับเงินชดเชยรายได้จาก การทำนาดีขึ้น เจ้าของที่นาที่เคยให้เช่าที่นาก็เริ่มเก็บหัวคิว หักเปอร์เซ็นต์เงินชดเชยจากเกษตรกรที่เช่านา ไม่เช่นนั้นจะไม่ยอมลงนามในเอกสารการเช่าที่นาให้อีกด้วย.

ไทยรัฐออนไลน์

  • โดย ทีมข่าวเศรษฐกิจ
  • 23 กันยายน 2553, 06:00 น.

tags:
ประกันรายได้ อำพน กิตติอำพน

นายกฯยกนิ้ว บินไทยจัดการปัญหาขาดทุนได้สำเร็จ

2 กันยายน 2553, 17:50 น.

ผ่านทางนายกฯยกนิ้ว บินไทยจัดการปัญหาขาดทุนได้สำเร็จ – ข่าวไทยรัฐออนไลน์.

Pic_108165

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

นายกฯ ยอบินไทย จัดการปัญหาขาดทุนได้สำเร็จ แนะองค์กรอื่นดูเป็นแบบอย่าง ด้านผู้บริหารบินไทย ตั้งเป้าทำเจ้าจำปีติด 1 ใน 5 สายการบินโลก…

เมื่อ เวลา 12.45 น. 2 ก.ย. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เดินทางมาตรวจเยี่ยมและรับฟังรายงานผลการดำเนินการของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วยนายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง นายโสภณ ซารมย์ รมว.คมนาคม นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ปลัดกระทรวงการคลัง และนายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม โดยมีนายอำพน กิตติอำพน ประธานกรรมการบริษัท การบินไทยฯ นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ คณะกรรมการและฝ่ายบริหาร ให้การต้อนรับ ณ อาคาร 2 ห้องประชุมออดิทอเรียม การบินไทย สำนักงานใหญ่

สำหรับบรรยากาศการให้การต้อนรับของพนักงาน การบินไทยนั้น ทางตัวแทนสหภาพการบินไทยฯประมาณ 30 คน ชูป้ายระบุข้อความ “ขอบคุณรัฐบาลที่ให้การสนับสนุนการบินไทย” “การบินไทยยุคใหม่ต้องปลอดภัยจากการเมือง” “ร่วมกันสร้างมาตรฐาน จริยธรรม เพื่อนำการบินไทยให้รุ่งเรือง” รวมถึงได้มีพนักงานบริษัทฯกว่า 100 คน ยืนรอให้การต้อนรับ และทันทีที่นายกรัฐมนตรีก้าวลงจากรถประจำตำแหน่ง พนักงานกลุ่มที่ยืนรอต้อนรับ ได้พูดให้กำลังใจการทำงานของนายกฯ เช่น นายกฯสู้ๆ นายกฯหล่อมาก จากนั้นนายกรัฐมนตรีและคณะเดินขึ้นมายังบริเวณห้องประชุมออดิทอเรียม เพื่อรับฟังการกล่าวต้อนรับ และรับฟังการดำเนินงานของบริษัทฯ

นาย ปิยสวัสดิ์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาธุรกิจการบินไม่เป็นที่กว้างขวางมากนัก ส่วนใหญ่เป็นสายการบินระดับพรีเมียม แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป พบว่าสายการบินต้นทุนต่ำมีบทบาทมากขึ้น โดยในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา การบินไทยมีส่วนแบ่งในประเทศ 82% แต่ปัจจุบันการบินไทยและนกแอร์ มีส่วนแบ่งการตลาดเพียง 52% เพราะมีสายการบินต้นทุนต่ำเข้ามา ขณะที่ส่วนแบ่งตลาดในตลาดเอเชียจากเดิม 43% เหลือเพียง 33% ขณะที่สายการบินต้นทุนต่ำนั้น มีส่วนแบ่งจากเดิม 2% เพิ่มเป็น 7% ดังนั้นการบินไทยจึงจำเป็นต้องวางตำแหน่งทางตลาดให้สอดคล้องยุทธศาสตร์ โดยการบินไทยยังเป็นสายการบินระดับพรีเมียม 4 ดาว ที่อยู่ระหว่างการเป็นสายการบินระดับ 5 ดาว และไต่ระดับให้เป็นสายการบินอันดับ 1 ใน 5 ของโลก ขณะที่สายการบินนกแอร์ จะเป็นสายการบินบูติก แอร์ไลน์ หรือบัดเจ็ท แอร์ไลน์ โดยสายการบิน ไทย ไทเกอร์ แอร์เวย์ส จะเป็นสายการบินต้นทุนต่ำ

ด้านนายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ช่วงที่เข้ามารับตำแหน่งนั้น เป็นช่วงที่การบินไทยอยู่ในความสับสนและประสบปัญหาการขาดทุน ทำให้ประชาชนสอบถามมามาก ถึงขั้นมีการถามว่าบริษัทฯจะไปรอดหรือไม่ แต่ถึงขณะนี้ บริษัทฯอยู่ในภาวะที่ดีขึ้น ตนต้องขอชื่นชม อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าการบินไทยถูกคาดหวังจากทุกส่วน เพราะเป็นสายการบินแห่งชาติ ซึ่งเป็นด่านแรกของการต้อนรับนักท่องเที่ยว และเป็นด่านสุดท้ายในการส่งนักท่องเที่ยวกลับบ้าน รวมถึงเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่ต้องแข่งขันกับภาคเอกชน และสายการบินต่างประเทศที่มีการแข่งขันกันสูง จึงเห็นด้วยกับการพัฒนาปรับปรุงการให้บริการต่างๆ ของการบินไทย  นอกจากนี้ยังเห็นว่า การบินไทยต้องมีการปรับปรุงวัฒนธรรมองค์กร มีการประเมินผลที่สะท้อนความเป็นจริงที่ตรงไปตรงมา เพื่อให้เป็นองค์กรที่มีธรรมาภิบาลที่ดี

เมื่อเวลา 14.00 น. นายกรัฐมนตรี รมว.คลัง รมว.คมนาคม นายอำพน และนายปิยสวัสดิ์ ได้ร่วมกันอัดรายการเชื่อมั่นประเทศไทยที่จะออกอากาศในวันที่ 5 ก.ย.นี้ โดยทั้งหมดได้สนทนาร่วมกันถึงแนวทางการดำเนินการของบริษัทการบินไทย โดยมีนายอำพน ทำหน้าที่ผู้ดำเนินรายการ

นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า การบินไทยในช่วงที่ผ่านมาถือว่าโชคดีที่กู้วิกฤติที่ผ่านมาได้และองค์กรอื่น น่าเอาเป็นตัวอย่าง ซึ่งรัฐบาลพร้อมให้การสนับสนุน แม้ว่าขณะนี้การแข่งขันของธุรกิจการบินจะมีการแข่งขันกันสูงทั้งในและต่าง ประเทศ ถือว่ามีความท้าทายอย่างมาก ดังนั้นการบริหารของการบินไทยจะต้องมีความยืดหยุ่นและปรับตัวกับสถานการณ์ และผู้กำกับนโยบายจะต้องไม่เข้าไปแทรกแซง และทำตัวเป็นอุปสรรคของการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของหน่วยงาน

ด้านนายโสภณ กล่าวว่า เป็นการมาเยี่ยมการบินไทยครั้งที่สอง ตนรู้สึกขอบคุณคณะกรรมการชุดก่อนและปัจจุบันที่ร่วมกันประหยัดค่าใช้จ่าย ตั้งแต่วันแรกที่ประสบปัญหาการขาดทุน ซึ่งตนได้สั่งการให้ทุกส่วนประหยัดค่าใช้จ่ายในทุกด้าน และได้รับความร่วมมือจากทุกส่วนของการบินไทยจนมีทุกวันนี้ได้ และวันนี้เป็นวันประวัติศาสตร์ที่นายกฯและรัฐมนตรีมาร่วมกันในการหารือถึง แนวทางการดำเนินการของการบินไทย

ทั้งนี้ ตนขอย้ำเรื่องธรรมาภิบาล โดยยืนยันว่าจะไม่แทรกแซงการบริหารงานของการบินไทย และพร้อมให้การสนับสนุนกิจการของการบินไทยอย่างเต็มที่

ขณะที่นาย อำพนกล่าวว่า การบินไทยพัฒนาการให้บริการแบบไทย ให้ผู้โดยสารมีความประทับใจ ตั้งแต่การเริ่มการจองตั๋ว การเช็คอิน เพื่อให้ประทับใจผู้โดยสารเหมือนเมื่อ 50 ปีที่ผ่านมา