ศาสตร์เกษตรดินปุ๋ย-ขอบคุณแหล่งข้อมูล : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ผู้แต่ง: | ธีรวัตน์ จริตงาม; ธนัญช์ สังกรธนกิจ; อนันต์ ตันสุตะพานิช; สุพิศ ทองรอด |
ชื่อเรื่อง: | ศึกษาการใช้อาหารสำเร็จรูปเลี้ยงกุ้งกุลาดำวัยอ่อนโดยใช้เครื่องกวนอาหารอัตโนมัติ |
Article title: | Study on a utilization of artificial feed and automatic rotary mixer for rearing shrimp (Penaeus monodon) larvae |
ชื่อเอกสาร : | การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 36: บทคัดย่อ 3-5 กุมภาพันธ์ 2541 |
Source title : | Proceedings of the 36th Kasetsart University Annual Conference: Abstracts |
หน่วยงานจัดพิมพ์: | มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; กระทรวงเกษตรและสหกรณ์; กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม; ทบวงมหาวิทยาลัย |
สถานที่พิมพ์: | กรุงเทพฯ |
ปีพิมพ์: | 2541 |
หน้า: | หน้า 109 |
จำนวนหน้า: | 297 หน้า |
ภาษา: | ไทยอังกฤษ |
สาระสังเขป: | สาระสังเขป (ไทย, อังกฤษ) |
แหล่งติดตามเอกสาร: | สำนักหอสมุด ม.เกษตรศาสตร์ (REF S293 ก589บ 2541) |
หมวดหลัก: | M12-Aquaculture production |
อรรถาภิธาน-อังกฤษ: | PENAEUS MONODON, FEEDS, AQUACULTURE, MIXERS, GROWTH, SURVIVAL |
ดรรชนี-ไทย: | กุ้งกุลาดำ, อาหารสำเร็จรูป, การเลี้ยง, เครื่องกวนอาหารอัตโนมัติ, การเจริญเติบโต, อัตราการรอดตาย |
บทคัดย่อ: | การทดลองแบ่งเป็น 2 ชุด คือในระบบบ่อขนาดใหญ่ (บ่อคอนกรีต) จำนวน 8 บ่อ และในระบบบ่อขนาดเล็ก ใช้ถังไฟเบอร์กลาส ขนาด 500 ลิตร จำนวน 8 ถัง วางท่อลมที่พื้นบ่อและติดตั้งเครื่อกวนแต่ละบ่อ/ถัง อย่างละ 4 บ่อ/ถัง และต่อระบบเข้ากับชุดควบคุมการทำงาน ส่วนอีก 4 บ่อ/ถัง ที่เหลือ วางระบบลมเพียงอย่างเดียว เติมน้ำทะเลที่บำบัดและฆ่าเชื้อแล้ว ให้น้ำในบ่อคอนกรีตลึก 60 ซม. และปล่อยลูกกุ้งกุลาดำระยะนอร์เพลียส 100 ตัว/ลิตร ส่วนในถังไฟเบอร์กลาสเติมน้ำให้จุถังละ 500 ลิตร และปล่อยลูกกุ้ง 200 ตัว/ลิตร เปิดเครื่องกวนน้ำให้ทำงานอัตโนมัติ ให้อาหารสำเร็จรูปในอัตรา 2.5-4.0 กรัม/ลูกกุ้ง 100,000 ตัว/วัน และเมื่อลูกกุ้งพัฒนาเข้าสู่ระยะไมซิส-1 ให้อาร์ทีเมียเสริมในเวลากลางคืน ระหว่างการทดลองไม่มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำแต่มีการควบคุมคุณสมบัติของน้ำโดยการใช้สารเคมี ผลการตรวจสอบคุณสมบัติของน้ำระหว่างการทดลองอยู่ในช่วงที่ไม่เป็นอันตรายต่อลูกกุ้ง อัตรารอดและการเจริญเติบโต (ความยาว) โดยเฉลี่ยของลูกกุ้งระยะโพสลาวา-3 จากบ่อคอนกรีตที่ใช้เครื่องกวนน้ำให้อาหารแขวนลอยอัตโนมัติ เท่ากับ 30.69 เปอร์เซ็นต์ และ 7.13+-0.81 มม. และจากถังไฟเบอร์กลาส เท่ากับ 56.35 เปอร์เซ็นต์ และ 7.12+-0.283 ตามลำดับ ในขณะที่อัตรารอดและการเจริญเติบโตของลูกกุ้งจากบ่อคอนกรีตที่ไม่ได้ใช้เครื่องกวนอาหาร เท่ากับ 8.70 เปอร์เซ็นต์ และ 5.81+-0.40 มม. และจากถังไฟเบอร์กลาส เท่ากับ 25.05 เปอร์เซ็นต์ และ 6.40+-0.504 มม. ตามลำดับ ผลการทดลองทั้ง 2 ชุด แสดงให้เห็นว่า การใช้เครื่องกวนน้ำให้อาหารแขวนลอยอัตโนมัติมีผลต่อการเพิ่มอัตรารอดและการเจริญเติบโตของลูกกุ้ง และมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับบ่อ/ถังที่ไม่ได้ใช้เครื่องกวนอาหาร |
หมายเลข: | 006624 KC3604017 |
เอกสารฉบับเต็ม: | ![]() |
ค้นข้อมูลใกล้เคียง: | มีคำสำคัญเหมือนกัน ผู้แต่งคนเดียวกัน |