ผู้แต่ง: | จีระศักดิ์ กีรติคุณากร; สมเจตน์ จันทวัฒน์ |
ชื่อเรื่อง: | การชลประทานข้าวด้วยน้ำเสียจากโรงงานกระดาษคร๊าฟ |
Article title: | Irrigation of rice crops with wastewater from kraft paper mill |
ชื่อเอกสาร : | การประชุมทางวิชาการ ครั้งที่ 19 สาขาพืช อาคารศูนย์เรียนรวม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 3-5 กุมภาพันธ์ 2524: รวมเรื่องย่อ |
หน่วยงานจัดพิมพ์: | มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
สถานที่พิมพ์: | กรุงเทพฯ |
ปีพิมพ์: | 2524 |
หน้า: | หน้า 12 |
จำนวนหน้า: | 146 หน้า |
ภาษา: | อังกฤษ |
สาระสังเขป: | สาระสังเขป (อังกฤษ) |
แหล่งติดตามเอกสาร: | สำนักหอสมุด ม.เกษตรศาสตร์ (REF SB16 ก581 2524) |
หมวดหลัก: | F06-Irrigation |
หมวดรอง: | F30-Plant genetics and breeding |
อรรถาภิธาน-อังกฤษ: | ORYZA SATIVA, IRRIGATION, WASTEWATER, PULP AND PAPER INDUSTRY, VARIETIES, GROWTH, YIELDS |
ดรรชนี-ไทย: | ข้าว, การชลประทาน, น้ำเสีย, โรงงานกระดาษคร๊าฟ, พันธุ์, การเจริญเติบโต, ผลผลิต |
หมายเลข: | 002189 KC1901008 |
เอกสารฉบับเต็ม: | ![]() |
ค้นข้อมูลใกล้เคียง: | มีคำสำคัญเหมือนกัน ผู้แต่งคนเดียวกัน |
น้ำเสีย
All posts tagged น้ำเสีย
พัฒนาระบบเซ็นเซอร์น้ำเสีย ทีมนักวิจัยนาโนเทคโนโลยีจับมือสวทช.วิจัยนวัตกรรมดูแลสิ่งแวดล้อม
Published พฤษภาคม 21, 2012 by SoClaimonhttp://www.naewna.com/local/6686
วันอังคาร ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2555, 06.00 น.
ทีมนักวิจัยวิทยาลัยนาโนเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ และศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติพัฒนาระบบเซ็นเซอร์ เพื่อตรวจวัดน้ำเสียและระบบตรวจวัด pH ในน้ำ
ดร.สิรพัฒน์ ประโทนเทพ อาจารย์ประจำวิทยาลัยนาโนเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กล่าวว่า ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาสำคัญที่วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สามารถนำไปประยุกต์ช่วยแก้ไข จึงเป็นที่มาของการพัฒนานวัตกรรมนาโนเทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม สำหรับนวัตกรรมที่ทีมนักวิจัยของวิทยาลัยนาโนเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง คิดค้นร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ และศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) พัฒนาระบบเซ็นเซอร์เพื่อตรวจวัดสารเคมีในรูปของของเหลว โดยใช้หลักการเลียบแบบการทำงานของลิ้นมนุษย์ เพื่อใช้ตรวจวัดสารพิษในน้ำและศึกษาประสิทธิภาพการใช้น้ำหมักจุลินทรีย์ โดยการจําแนกลักษณะแพทเทิร์น เช่น เปรี้ยว เค็ม หวาน ขม โดยมีเซลล์ประสาทสัมผัสชนิดต่างๆ เพื่อรับรู้รสของสารต่างกันไป จากนั้นนํามาประมวลผล เปรียบเทียบกับฐานข้อมูลของลักษณะแพทเทิร์นที่เก็บข้อมูลไว้ ซึ่งจะสามารถแยกแยะไอออนเจือปนในน้ำทั้งไอออนบวก เช่น โซเดียม โพแตสเซียม และไอออนลบ เช่น ไนเตรต และซัลเฟลได้ดี รวมทั้งยังสามารถบ่งชี้ระดับความเข้มข้นมากน้อยในเชิงคุณภาพได้อีกด้วย
นอกจากนี้ ยังมีระบบตรวจวัดและจัดเก็บข้อมูลแบบ Real Time เพื่อสร้างแผนที่ กรด-เบส สำหรับการพัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยการพัฒนาหัววัดค่า pH แบบ ISFET ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่มีคุณสมบัติเด่น คือ ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงค่าความเป็นกรด-เบสได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ ทนทานต่อการใช้งานในสภาวะต่างๆ เก็บรักษาได้นาน โดยส่งข้อมูลแบบ Real Time ผ่านคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล แสดงผลเป็นแผนที่กรด-เบส และจัดเก็บในรูปแบบฐานข้อมูลแผนที่กรด-เบส ทำให้สามารถระบุสภาพพื้นที่ ที่เกิดปัญหาเพื่อแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด
องค์การจัดการน้ำจับมือไจก้า บูรณาการแก้“น้ำเสีย”ในไทย
Published เมษายน 25, 2012 by SoClaimonhttp://www.naewna.com/local/4534
วันจันทร์ ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2555, 08.13 น.

สำหรับการดำเนินงานของอจน.ในส่วนของบริการสาธารณะในปี2554ที่ผ่านมา อจน.ได้ดำเนินการโครงการบำบัดน้ำเสียชุมชนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช การซ่อมแซมระบบบำบัดน้ำเสียขององค์การปกครองท้องถิ่นให้สามารถบำบัดน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ การบริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสียขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างเต็มรูปแบบ สามารถบำบัดน้ำเสียได้ตามเกณฑ์มาตรฐานกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติละสิ่งแวดล้อมที่กำหนด และการจัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสียในเขตพื้นที่จัดการน้ำเสีย โดยอจน. ขอทบทวนโครงการบำบัดน้ำเสียปริมณฑลส่วนเหนือ ขั้นที่ 1 โครงการบำบัดน้ำเสียอ้อมน้อย-อ้อมใหญ่ และครม.ได้อนุมัติในหลักการเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2554 โดยมอบให้ อจน.จัดทำรายละเอียดข้อมูลต่างๆให้เป็นปัจจุบัน โดยขณะนี้ได้จัดทำรายงานทบทวนผลการศึกษาความเป็นไปได้ ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ อจน. และอยู่ระหว่างการนำเสนอเรื่องผ่านกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อนำเสนอขออนุมัติจาก ครม.ต่อไป ร่วมทั้ง งานก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียชุมชนขนาดเล็ก เทศบาลตำบลบางปลา จังหวัดสมุทรสาคร
ตั้งแท่นรอรัฐบาลใหม่ทำงาน สศช.ชงมาตรการแก้มาบตาพุดเบ็ดเสร็จ
Published พฤษภาคม 17, 2011 by SoClaimon16 พฤษภาคม 2554, 05:45 น.
ตั้งแท่นรอรัฐบาลใหม่ทำงาน สศช.ชงมาตรการแก้มาบตาพุดเบ็ดเสร็จ – ข่าวไทยรัฐออนไลน์.
สศช.ชงแนวทางแก้ปัญหามาบตาพุดอย่างถาวรและครบวงจร รอรับรัฐบาลชุดใหม่มาพิจารณาอนุมัติ ชี้ยังมีปัญหาสารระเหย–น้ำเสีย ส่วนปริมาณน้ำเพียงพอรองรับได้อีก 20 ปี…
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนา การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกหรืออีสเทิร์นซีบอร์ด รับทราบแนวทางแก้ไขปัญหามาบตาพุดอย่างครบวงจรใน 3 แนวทาง โดยให้ สศช. ไปปรับปรุงให้สมบูรณ์เพื่อเสนอ ครม.ชุดใหม่ ซึ่งแนวทางแรกคือ เร่งรัดโครงการที่ ครม.อนุมัติให้เป็นรูปธรรมโดยเร็วทั้ง 32 โครงการ วงเงิน 1,400 ล้านบาท เช่น โครงการติดตั้งสถานีวัดคุณภาพอากาศ การขยายโรงพยาบาลมาบตาพุดเป็นขนาด 200 เตียง แนวทางที่สอง ให้ทบทวนโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการเพื่อลดและขจัดมลพิษในเขตควบคุมมลพิษจังหวัดระยอง ปี 2553-56 ที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติแล้ว และบางส่วนยังไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณให้เหมาะสมทันสมัย และบูรณาการร่วมกัน แนวทางสุดท้ายคือ แก้ไขปัญหามาบตาพุดอย่างครบวงจร 6 ประเด็น คือ พัฒนากิจการที่เป็นมิตรต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มุ่งสู่สิ่งแวดล้อมสะอาด, ส่งเสริมยกระดับคุณภาพการศึกษาเฉพาะทาง บริการสาธารณสุขเฉพาะโรคและคุณภาพชีวิต, พัฒนาสู่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ, หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและจัดสรรการใช้ประโยชน์อย่างเป็นธรรม, ส่งเสริมการวางผังเมืองอย่างมีหลักการ และมีการบริหาร จัดการที่มีคุณภาพ โดยมีองค์กรที่รับผิดชอบในระดับพื้นที่อย่างชัดเจน
นอกจากนี้ สศช.ร่วมกับจังหวัดระยอง วิเคราะห์ แนวโน้มและผลกระทบต่อการพัฒนาพื้นที่มาบตาพุด พบว่าพื้นที่มาบตาพุดและบริเวณใกล้เคียงยังคงเป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและพลังงานของประเทศต่อไป และจะเปลี่ยนเป็นอุตสาหกรรมที่ ใช้เทคโนโลยีสะอาดมากขึ้น มีต้นทุนสูงขึ้น ขณะที่ประชาชนได้รวมกลุ่มเป็นเครือข่ายติดตามตรวจสอบการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ในพื้นที่มากขึ้น จึงคาดว่าสถานการณ์สิ่งแวดล้อมในพื้นที่จะดีขึ้น ที่สำคัญอุตสาหกรรมได้ขยายตัวเข้าสู่พื้นที่ตอนใน เช่น ปราจีนบุรี สระแก้ว ในลักษณะเครือข่าย จึงต้องเตรียมเรื่องสิ่งแวดล้อมและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับ
ส่วนสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมในพื้นที่มาบตาพุดล่าสุด ทั้งคุณภาพอากาศ มลพิษด้านน้ำและขยะมูลฝอย รวมทั้งกากของเสียอันตราย พบว่าส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ยกเว้นสารอินทรีย์ระเหยง่ายบางตัวมีค่าสูงเกินมาตรฐาน ด้านมลพิษทางน้ำยังมีการปนเปื้อนของโลหะหนักและสารอินทรีย์ระเหยง่าย บริเวณอ่าวประดู่ ซึ่งอยู่ระหว่างการแก้ปัญหา ขณะที่ปัญหาด้านขยะซึ่งมากกว่าปีละ 100,000 ตัน รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณกว่า 250 ล้านบาท เพื่อแก้ปัญหาแล้ว สำหรับสถานการณ์น้ำในจังหวัดระยองและชลบุรี โดยรวมพบว่า ปริมาณน้ำมีระดับสูงกว่าปี 53 และสูงกว่าปี 48 ซึ่งเป็นปี ที่มีปัญหาภัยแล้งถึงเท่าตัว จึงคาดว่าจะมีน้ำเพียงพอต่อความต้องการตลอดทั้งปี และเมื่อโครงการที่กำลัง พัฒนาแล้วเสร็จ จะสามารถเติมน้ำเข้าสู่แหล่งน้ำได้ 255 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ซึ่งกรมชลประทานคาดว่าจะรองรับได้ถึง 20 ปี.
ไทยรัฐออนไลน์
- โดย ทีมข่าวเศรษฐกิจ
- 16 พฤษภาคม 2554, 05:45 น.
พด.ขยายเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ อบรมฟรี เทคนิคการผลิตปุ๋ยฯคุณภาพ
Published ธันวาคม 1, 2010 by SoClaimon11 พฤศจิกายน 2553, 05:30 น.
ผ่านทางพด.ขยายเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ อบรมฟรี เทคนิคการผลิตปุ๋ยฯคุณภาพ – ข่าวไทยรัฐออนไลน์.
นายธวัชชัย สำโรงวัฒนา อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน เผยว่า กรมได้จัดโครงการฝึกอบรมหลักสูตรการผลิตและใช้นวัตกรรมจุลินทรีย์ พด. เพื่อผลิตน้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง สารบำบัดน้ำเสียและขจัดกลิ่นเหม็น โดยจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมให้มีการนำผลิตภัณฑ์นวัตกรรมจุลินทรีย์ พด.ไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตรเพื่อเพิ่มคุณภาพและผลผลิตพืชตลอดจนใช้ในการขจัดกลิ่นเหม็น ดับกลิ่นจากคอกสัตว์ ห้องน้ำ แหล่งน้ำเสีย และกลิ่นไม่พึงประสงค์จากกองขยะ สำหรับกระบวนการผลิตก็ไม่ ยุ่งยากและสิ้นเปลือง เนื่องจากใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและในครัวเรือนมาแปรรูปผลิตเป็นปุ๋ยหมักน้ำหมักชีวภาพ สารบำบัดน้ำเสียและขจัดกลิ่น โดยใช้สารเร่ง พด.ต่างๆก็แจกจ่ายให้ใช้ฟรี
อธิบดีกรมพัฒนาที่ดินเผยอีกว่า หลักสูตรนี้ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากเกษตรกร ดังนั้น ในการฝึกอบรมครั้งนี้ จึงเปิดโอกาสให้เฉพาะผู้ที่ไม่เคยเข้ารับการฝึกอบรมในหลักสูตรนี้มาก่อน เช่น เกษตรกร ประชาชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา องค์กรเครือข่าย ภาคเอกชน และผู้สนใจ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น ซึ่งจะเปิดอบรมรวม 9 รุ่น รุ่นละ 80 ราย รวม 720 ราย สนใจรับใบสมัครตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 8 ธ.ค. 53 ราย ละเอียดเพิ่มเติมที่www.ldd.go.th หรือที่สำนักเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน กรมพัฒนาที่ดิน โทรศัพท์ 0-2579-0679.
ไทยรัฐออนไลน์
- โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
- 11 พฤศจิกายน 2553, 05:30 น.
ใช้กากตะกอนน้ำเสีย-ขี้แป้ง เติมธาตุอาหารลงดินแทนปุ๋ยฯ
Published พฤษภาคม 26, 2010 by SoClaimon24 พฤษภาคม 2553, 05:00 น.
ผ่านทางใช้กากตะกอนน้ำเสีย-ขี้แป้ง เติมธาตุอาหารลงดินแทนปุ๋ยฯ – ข่าวไทยรัฐออนไลน์.
แปลง กล้ายางที่นักวิจัยทำการทดสอบเก็บข้อมูลที่ตำบลไทรขึง อ.พระแสง จ.สุราษฎร์ธานี.
ปัจจุบันยางพาราเป็นสินค้าส่งออกอันดับต้นๆ ของประเทศ หากเทียบปริมาณผลผลิตต่อไร่ กลับพบว่าเกษตรกรบ้านเรากรีดน้ำยางได้ปริมาณน้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้าน สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะข้อจำกัดในด้านต้นทุนที่ใช้ดูแลระหว่างต้นยางชำถุง จนกระทั่งเปิดหน้ายาง
ฉะนี้…รองศาสตราจารย์ ดร.อรวรรณ ศิริรัตน์พิริยะ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมคณะ ร่วมทำวิจัย การทดแทนปุ๋ยด้วยกากตะกอนน้ำเสียและกากขี้แป้งเพื่อการปลูกยางพารา ขึ้น ในพื้นที่ปลูกยางตำบลไทรขึง อ.พระแสง จ.สุราษฎร์ธานี โดยได้รับการสนับสนุน ทุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
รศ.ดร.อรวรรณ เปิดเผยว่า เมื่อเทียบกับประเทศอื่น เรายังมีผลผลิตต่อไร่ต่ำกว่า ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่าเกษตรกรใส่ปุ๋ยน้อยกว่าอัตราที่แนะนำ ส่งผลให้ธาตุอาหารในดินไม่เพียงพอต่อความต้องการนำไปใช้เป็นอาหารทำให้การ เจริญเติบโตช้า อีกทั้งการกรีดยางจะทำให้เกิดการสูญเสียธาตุอาหารที่ไหลไปกับน้ำยาง
และ…เพื่อ เป็นการลดต้นทุน เพิ่มทางเลือกให้กับเกษตรกร ทีมวิจัยจึงนำกากตะกอนน้ำเสีย รวมทั้งขี้แป้งมาทำการศึกษาวิเคราะห์ให้ผลว่า กากตะกอนน้ำเสียรวมทั้งขี้แป้งซึ่งเป็นของเหลือทิ้งจากโรงงานที่ผ่านขบวนการ บำบัด จะมีธาตุปุ๋ย NPK อินทรียวัตถุที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของต้นพืชได้เท่าเทียมกับปุ๋ยเคมี ดังนั้นการเติมอินทรียวัตถุโดยใช้สิ่งต่างๆเหล่านี้ เสมือนกับว่าเป็นการ “นำสิ่งที่ได้จากธรรมชาติกลับ คืนสู่แหล่งที่มา”

สำหรับขั้นตอน การดำเนินงาน รศ.ดร.อรวรรณบอกว่า…เริ่มตั้งแต่การปลูกต้นกล้ายาง (ต้นตอตา) และการปลูกต้นยางชำถุง โดยเตรียมกากตะกอนน้ำทิ้ง กากขี้แป้ง ในคราวเดียวกัน จากนั้นเตรียมแปลงเพาะกล้ายางโดยใช้รถแทรกเตอร์พลิกดิน 2 ครั้ง ไถพรวน 2 ครั้ง ทำแปลงทดลองขนาด 2×5 เมตร กำหนดแนวปลูกด้วยระยะ 1 เมตร สำหรับปลูกเมล็ดงอก (germinated seed) ระยะห่าง 20 เซนติเมตร
….ใน ขั้นตอนนี้จะมีแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ แปลงที่เกษตรกรปลูกโดยใส่ปุ๋ยบำรุงรูปแบบเดิม และ แปลงที่ใส่กากตะกอนและขี้แป้ง ซึ่งผ่านขบวนการทำแห้งป้องกันการเกิดราและยังทำให้ส่วนผสมที่ทีมวิจัยคิดค้น สูตรมีความคงที่เหมาะสม จากนั้นบำรุงดูแลรักษาตลอดระยะเวลา 6 เดือน โดยรดน้ำเช้าเย็นให้ดินชุ่ม กำจัดวัชพืช พร้อมวัดการเจริญเติบโตของกล้ายางทุกเดือน ควบคู่กับการเก็บตัวอย่างดินก่อนและหลังการเติมสิ่งทดลองจนกระทั่งกล้ายาง อายุ 6 เดือน พร้อมที่จะติดตาเขียวต้นกล้ายางแล้วจึงเตรียมถุงเพาะชำ โดยใช้ต้นตอซึ่งติดตาเขียวพันธุ์ RRIM 600 ไปปลูกในถุงเพาะชำ โดยแบ่งเปรียบเทียบคือ แปลงที่ 1 การดูแลบำรุงรักษาจะไปตามรูปแบบเดิมอย่างที่เกษตรกรเคยทำกันมา แปลงที่ 2 ใส่ดิน 3 ส่วน/กากตะกอน 1 ส่วน แปลงที่ 3 ใส่ดิน 3 ส่วน/ใส่กากขี้แป้ง 1 ส่วน แปลงที่ 4 ดิน 3 ส่วน/เติมกากตะกอน และกากขี้แป้ง อย่างละเท่ากันรวม 1 ส่วน แปลงที่ 5 ใส่ดิน 3 ส่วน/เติมกากตะกอนมากกว่ากากขี้แป้งลงดินรวม 1 ส่วน และ แปลงที่ 6 ใส่ดิน 3 ส่วน/เติมกากตะกอนน้อยกว่ากากขี้แป้งลงดินรวม 1 ส่วน
ดูแลบำรุงรักษารดน้ำ กำจัดวัชพืชตลอดระยะเวลา 90 วัน เมื่อต้นยางชำถุงอายุ 90 วัน เป็นระยะที่เหมาะสำหรับย้ายต้นยางชำลงหลุมปลูก วัดความสูง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง วัดรัศมีเรือนยอด และเก็บตัวอย่างดิน ซึ่งการวิจัยให้ผลว่า กากตะกอนน้ำเสียและกากขี้แป้งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการปลูกและการเติบโต รวมทั้งมีศักยภาพทดแทนปุ๋ย สำหรับการปลูกยางพาราตั้งแต่ระยะต้นกล้ายางจนถึงยางชำถุงและสูตรที่มีความ เหมาะสมมากคือสูตรที่ใช้ใส่ในแปลงต้นตอติดตาที่ 5
การวิจัยนี้จึง เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของเกษตรกร ที่สามารถลดต้นทุนอีกทั้งเป็นการวิจัยต้นแบบที่มุ่งการเพิ่มปริมาณอินทรีย วัตถุและแหล่งธาตุอาหารก่อนเวลาเปิดหน้ายางและเพื่อให้ได้ผลที่แน่ชัดใน พื้นที่อื่น ทีมวิจัยแนะนำว่า ก่อนเกษตรกรจะนำไปใช้ควรมีการ วิเคราะห์โครงสร้างดินจากแหล่งที่ปลูก กากตะกอนน้ำทิ้งจากแหล่งที่มาด้วยเช่นกัน.
เพ็ญพิชญา เตียว
หนุนปลูกสาหร่ายบำบัดน้ำเสีย แก้น้ำเน่าได้ผล-รักษ์สิ่งแวดล้อม
Published กุมภาพันธ์ 11, 2010 by SoClaimonหนุนปลูกสาหร่ายบำบัดน้ำเสีย แก้น้ำเน่าได้ผล-รักษ์สิ่งแวดล้อม คมชัดลึก : เกษตร : เกษตรคนเก่ง.
การปล่อยน้ำทิ้งโดยไม่มีการบำบัดจากโรงงานขนมจีนลงสู่แหล่งน้ำของชุมชนบ้านหนองกุง ต.ศิลา อ.เมือง จ.ขอนแก่น ซึ่งเป็นแหล่งผลิตขนมจีนที่ขึ้นชื่อของจังหวัด ส่งผลให้เกิดปัญหาน้ำเน่าเสียและส่งกลิ่นเน่าเหม็น จนเป็นสาเหตุทำให้สภาพแวดล้อมบริเวณนั้นเสื่อมโทรมตามมา
ด้วยเหตุนี้ รศ.ดร.สุมนทิพย์ บุนนาค อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงนำปัญหานี้มาศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการบำบัดน้ำทิ้งจากโรงงานผลิตขนมจีนโดยนำสาหร่ายสไปรูไลน่ามาใช้ในการวิจัย เนื่องจากสาหร่ายชนิดนี้หรือที่รู้จักกันในนามสาหร่ายเกลียวทอง สามารถเจริญเติบโตได้ในน้ำเน่าเสีย
ทั้งนี้ สาหร่ายดังกล่าวเป็นแบบเซลล์เดียว ลักษณะสีเขียวแกมน้ำเงิน อยู่ใน Family Oscillatoriaceae พบได้ในแหล่งน้ำทั่วไป และสามารถปรับตัวพัฒนาสายพันธุ์ให้อยู่รอดในสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ดี
รศ.ดร.สุมนทิพย์ กล่าวว่า การศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองเพื่อตรวจสอบค่า DO (ออกซิเจนละลายน้ำ) ค่าไนเตรท-ไนโตรเจน ฟอสฟอรัสรวม pH (ค่าความเป็นกรดด่าง) ค่าความขุ่น และของแข็งที่ละลายในน้ำทิ้งจากโรงงานผลิตขนมจีนก่อนและหลังการเพาะเลี้ยงสาหร่ายสไปรูไลน่า ภายใต้การควบคุมในห้องปฏิบัติการ
“เริ่มต้นทีมนักวิจัยได้ลงพื้นที่นำน้ำทิ้งจากโรงงานผลิตขนมจีน ของนางสุนทร พระลับรักษา หมู่บ้านหนองกุง อ.เมือง จ.ขอนแก่น มาตรวจวิเคราะห์หาค่า DO (ออกซิเจนละลายน้ำ) ค่าไนเตรท-ไนโตรเจน ฟอสฟอรัสรวม ค่าความเป็นกรดด่าง ความขุ่น และของแข็งที่ละลายในน้ำทิ้ง จากนั้นนำสาหร่ายสไปรูไลน่า มาเพาะเลี้ยงในอาหารที่มีส่วนผสมของน้ำทิ้งจากโรงงานขนมจีนในระดับความเข้มข้นต่างๆ” รศ.ดร.สุมนทิพย์ แจงขั้นตอน
พร้อมกล่าวเสริมอีกว่า โดยให้ความเข้มแสง 2,000 ลักซ์ และให้อากาศตลอดเวลา ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 20 วัน ก่อนนำมาหาค่าความเจริญเติบโตของสาหร่าย ด้วยเครื่องสเปกโตรโฟโตมิเตอร์ ทำการวัดค่า DO (ออกซิเจนละลายน้ำ) ค่าไนเตรท-ไนโตรเจน ฟอสฟอรัสรวม pH (ค่าความเป็นกรดด่าง) ซึ่งสารเหล่านี้มีอยู่ในน้ำเสียในปริมาณมาก รวมไปถึงศึกษาค่าความขุ่น และค่าของแข็งที่ละลายในน้ำทิ้งที่มีความเข้มข้นแตกต่างกัน ทุกๆ 5 วัน เป็นระยะเวลา 20 วัน
“จากการทดสอบพบว่า สาหร่ายสไปรูไลน่าที่เพาะเลี้ยงในตัวอย่างน้ำทิ้งจากโรงงานผลิตขนมจีน สามารถลดค่าไนเตรท-ไนโตรเจน จาก 17.07 mg/l เป็น 6.00 mg/l ค่าฟอสฟอรัสรวม จาก 19.50 mg/l เป็น 5.8 mg/l เพราะสาหร่ายชนิดนี้ นำสารต่างๆ เหล่านี้มาใช้ในการเจริญเติบโต นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มออกซิเจนรวมจาก 2.67 mg/l เป็น 5.57 mg/l อีกด้วย”
รศ.ดร.สุมนทิพย์ กล่าวอีกว่า ผลของการทดลองแสดงให้เห็นว่าสาหร่ายสไปรูไลน่ามีการเจริญเติบโตได้ดีในน้ำทิ้งจากโรงงานผลิตขนมจีน นอกจากนั้นยังมีประสิทธิภาพในการลดค่าไนเตรท-ไนโตรเจน และฟอสฟอรัสรวม ทำให้น้ำทิ้งจากโรงงานสะอาดขึ้น ความขุ่นและกลิ่นเหม็นลดลง
“ทีมนักวิจัยของเราจึงแนะนำให้โรงงานผลิตขนมจีนนำสาหร่ายสไปรูไลน่ามาเลี้ยงในบ่อบำบัดน้ำทิ้งจากการผลิตขนมจีนก่อนปล่อยสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ เพื่อช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อม และะเป็นการลดโลกร้อนอีกทางหนึ่งด้วย ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากบรรดาผู้ประกอบการ”
ผู้ที่สนใจงานวิจัยดังกล่าว รศ.ดร.สุมนทิพย์ ฝากบอกว่า สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000 โทรศัพท์ 0-4334-2908 หรือที่ อีเมล :sumbun@kku.ac.th