การคัดเลือกสารสกัดจากสิ่งมีชีวิตในทะเลที่สามารถกำจัดลูกนํ้ายุงที่เป็นพาหะนำโรค

ศาสตร์เกษตรดินปุ๋ย-ขอบคุณแหล่งข้อมูล : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

http://kucon.lib.ku.ac.th/cgi-bin/KUCON.exe?rec_id=012369&database=KUCON&search_type=link&table=mona&back_path=/KUCON/mona&lang=thai&format_name=TFMON

ผู้แต่ง: พันธุ์ทิพย์ วิเศษพงษ์พันธ์; วีระพงษ์ ศรีโฉมงาม; เยาวนารถ พลายมาต; สุริยัน ธัญกิจจานุกิจ
ชื่อเรื่อง: การคัดเลือกสารสกัดจากสิ่งมีชีวิตในทะเลที่สามารถกำจัดลูกนํ้ายุงที่เป็นพาหะนำโรค
Article title: Screening of extracts from marine organisms for larvicidal activity against mosquito vectors
ชื่อเอกสาร : เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 48: สาขาประมง
Source title : Proceedings of 48th Kasetsart University Annual Conference: Fisheries
หน่วยงานจัดพิมพ์: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา; กระทรวงศึกษาธิการ; กระทรวงเกษตรและสหกรณ์; กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี; กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม; กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร; สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ; สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
ชื่อการประชุม: การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 48
สถานที่ประชุม: กรุงเทพฯ
วันที่ประชุม: 3-5 ก.พ. 2553
สถานที่พิมพ์: กรุงเทพฯ
ปีพิมพ์: 2553
หน้า: หน้า 345-353
จำนวนหน้า: 481 หน้า
ภาษา: ไทย
สาระสังเขป: สาระสังเขป (ไทย, อังกฤษ)
หมวดหลัก: H10-Pests of plants
หมวดรอง: F60-Plant physiology and biochemistry
หมวดรอง: L50-Animal physiology and biochemistry
อรรถาภิธาน-อังกฤษ: CULICIDAE; DERRIS; INSECTICIDES; PLANT EXTRACTS; MARINE ENVIRONMENT; SOLVENT EXTRACTION; EFFICIENCY
อรรถาภิธาน-ไทย: CULICIDAE; DERRIS; สารป้องกันกำจัดแมลง; สารสกัดจากพืช; สภาพแวดล้อมทางทะเล; การแยกสกัดด้วยตัวทำละลาย; ประสิทธิภาพ
ดรรชนี-อังกฤษ: MOSQUITO VECTORS; LARVICIDAL; DERRIS TRIFOLIATE; MARINE EXTRACTS
ดรรชนี-ไทย: ยุงก้นปล่อง; ยุงลาย; พืชทะเล; สัตว์ทะเล; สารกำจัดลูกน้ำ; สารสกัด; ประสิทธิภาพ; สิ่งแวดล้อม
บทคัดย่อ: นำพืชทะเล 16 ชนิดและสัตว์ทะเล 26 ชนิด มาสกัดด้วยน้ำและเอทธานอล ได้สารสกัดจำนวน 84 สาร นำไปทดสอบความเป็นพิษกับลูกน้ำยุงก้นปล่อง (Anopheles dirus) และลูกน้ำยุงลาย (Aedes aegypti) ที่ระดับความเข้มข้น 5 ระดับระหว่าง 200-5,000 มก./ล. พบว่าสารสกัดจากผลเถาถอบแถบ (Derris trifoliate) ด้วยเอทธานอล มีประสิทธิภาพสูงสุดในการกำจัดลูกน้ำยุงก้นปล่องและลูกน้ำยุง ลาย โดยมีค่า LC50 ที่ 24 ชั่วโมง เท่ากับ 462.27 และ 950.55 มก./ล. ตามลำดับ สำหรับสารสกัด จากสัตว์ทะเลที่มีศักยภาพ ในการกำจัดลูกน้ำยุงก้นปล่อง ได้แก่ สารสกัดด้วยเอทธานอลจาก กัลปังหา Sea fan 01 ปะการังอ่อน Cladiella sp. และฟองน้ำ Sponge 05 และ โดยมีค่า LC50 ที่ 24 ชั่วโมง เท่ากับ 638.62, 736.53 และ 874.16 มก./ล. ตามลำดับ และสารสกัดจากสัตว์ทะเลที่มี ศักยภาพในการกำจัดลูกน้ำยุงลาย ได้แก่ สารสกัดด้ว เอทธานอลจากปะการังอ่อน Alcyonium sp. ฟองน้ำ Sponge 05 และสารสกัดด้วยน้ำจากปะการังอ่อ Alcyonium sp. โดยมีค่า LC50 ที่24 ชั่วโมง เท่ากับ 1,082.50, 1,550.54 และ 1,650.90 มก./ล. ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าลูกน้ำยุงลายมีความ ทนทานต่อสารสกัดที่ใช้ในการทดสอบมากกว่าลูกน้ำยุงก้นปล่องและสารสกัดด้วยเอทธานอลมี ประสิทธิภาพในการกำจัดลูกน้ำยุงทั้งสองชนิดได้ดีกว่าสารสกัดด้วยน้ำว้าจากการศึกษาดังกล่าวจะ พบว่าสารสกัดจากผลเถาถอบแถบมีความเป็นไปได้สูงสุดที่จะนำไปพัฒนาใช้ประโยชน์ใน ชุมชน ท้องถิ่น เนื่องจากสามารถเก็บตัวอย่างได้ง่ายในป่าชายเลน การศึกษานี้เป็นการใช้เทคโนโลยีชีวภาพ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาสารกำจัดลูกน้ำยุงทดแทนการใช้สารเคมีที่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม
หมายเลข: 012369 KC4804042
เอกสารฉบับเต็ม: [Download Fulltext]
ค้นข้อมูลใกล้เคียง: มีคำสำคัญเหมือนกัน   ผู้แต่งคนเดียวกัน

 

ใส่ความเห็น