ศาสตร์เกษตรดินปุ๋ย-ขอบคุณแหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์คมชัดลึก
http://www.komchadluek.net/detail/20140609/186147.html
บราซิลมหาอำนาจอเมริกาใต้ผู้กำลังสยายปีกสู่โลกกว้าง : มองมุมยุทธศาสตร์ โดยเรือรบ เมืองมั่น Facebook :Ruarob Joe Muangman
คงเพราะผู้เขียนแผนที่โลกเป็นชาวยุโรป จึงให้ยุโรปอยู่กึ่งกลาง ความสนใจของการเมืองโลกในรอบหลายร้อยปีมานี้จึงจุกตัวอยู่กับยุโรปและที่เกี่ยวข้อง เช่นเอเชียและสหรัฐ ฯ ทวีปอเมริกาใต้แม้จะใหญ่โ แต่มีความเกี่ยวข้องกับยุโรปและเอเชียที่กำลังรุ่งเรืองน้อยมาก จึงไม่ค่อยเป็นที่คุ้นตระหนักสำหรับชาวเราที่ห่างไกลมาก ถ้าเอ่ยถึงประเทศในภูมิภาคนี้จะรู้จักกันด้านกีฬา เช่น บราซิล ด้านวิกฤตเศรษฐกิจเช่น อาร์เจนติน่า หรือด้านโบราณคดีสวยเช่น เปรู เสียมากกว่า แต่วันนี้ชาติหนึ่งในภูมิภาคนี้กำลังถีบตัวออกมาให้โดดเด่นในระดับโลก
บราซิล เป็นชาติใหญ่สุดในทวีปและเป็นชาติเดียวที่พูดภาษาราชการต่างจากชาวบ้านเขาคือพูดโปรตุกีส ต่างจากชาติอื่นที่คุยกันด้วยสเปน มีเพื่อนบ้านติดกันสิบประเทศที่ล้วนแต่มีปัญหาภายในประเทศมากกว่า แต่ทวีปนี้นับว่าสันติมากในเชิงการเมืองระหว่างประเทศ เนื่องจากไม่เคยยกพลห้ำหั่นกันเองมาร้อยกว่าปีแล้วนับจากได้อกราชจากเจ้าอาณานิคมยุโรปในช่วงศตวรรษที่ 19 แล้วไปอยู่ภายใต้ลัทธิมอนโรของสหรัฐ ฯ แทน แม้แต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง สหรัฐ ฯ ยังมีอิทธิพลต่อทวีปนี้มิใช่น้อย การสนับสนุนรัฐบาลฝ่ายขวาให้ต่อสู้คอมมิวนิสต์เป็นสิ่งเห็นได้ชัดในยุคสงครามเย็น แต่ทวีปก็ได้พัฒนาความร่วมมือระหว่างภูมิภาคด้วยตนเองด้วย ล่าสุดก็พัฒนาจากศุลกากรร่วมไปเป็นสหภาพประชาชาติอเมริกาใต้ตั้งแต่ปี 2551 ดำเนินกลไกป้องกันประเทศร่วมกันอย่างแข็งขัน เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ใด รัฐมนตรีขององค์กรก็จะไปช่วยไกล่เกลี่ย อย่างเช่น ปัญหาล่าสุดระหว่างฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายค้านในเวเนซูเอล่า
บราซิล นั้นไปไกลกว่าชาติอื่น แม้แต่คู่คานบารมีอย่างอาร์เจนติน่า อาจเพราะไม่มีความขัดแย้งพรมแดนรุนแรงกับใครและการก่อการร้ายที่มีต่อประเทศไม่แรงนัก วิกฤตเศรษฐกิจปี 51 ที่ทำให้โลกตะวันตกถดถอย นั้นมีส่วนทำให้บราซิลในฐานะหนึ่งในกลุ่มบริกส์เพิ่มอิทธิพลสูงขึ้นจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากทุนโยกย้ายเข้ามามาก กอปรกับความสำเร็จในเชิงกีฬาหลายอย่างในช่วงสหัสวรรษใหม่ยิ่งทำให้ชาวบราซิลฮึกเหิม บราซิลกลายเป็นประเทศเกือบถึงขั้นพัฒนาแล้วและแสดงตัวออกว่าพร้อมที่จะช่วยเหลือนานาชาติในการรักษาเสถียรภาพโลก เช่น จัดการร่วมซ้อมรบทางเรือระหว่างบราซิล อินเดียและแอฟริกาใต้ตั้งแต่ปี 51
บราซิลกับไทยห่างไกลกันก็จริง แต่ก็น่าจะเป็นทางเลือกเพิ่มขึ้นให้ไทยในบางด้าน เช่น อุตสาหกรรมทางทหารที่บราซิลพัฒนารุดหน้ามาก เช่น ด้านความร่วมมือแบบบูรณการกับอาร์เจนตินา ชิลีและโคลอมเบีย สามารถสร้าง บ.ลำเลียง K-390 ได้บริกส์ที่เริ่มมีการถกกันในประเด็นอื่นนอกเหนือจากทางเศรษฐกิจ อาจทำให้บราซิลมีความสัมพันธ์กับไทยมากขึ้น ผ่านทางไดอาล็อคกับองค์กรต่าง ๆ เช่น องค์กรความร่วมมือมหาสมุทรอินเดียไทยมีสำนักผู้ช่วยทูตทหารที่บราซิลมานานเจ็ดปีแล้ว น่าจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อความสัมพันธ์กับหนึ่งในว่าที่มหาอำนาจใหม่ประเทศนี้