หวังไร้ปัจจัยเสี่ยงดันราคา-ผลผลิต3สินค้าเกษตรดีขึ้น

http://www.thairath.co.th/content/eco/392373

  • 27 ธันวาคม 2556, 14:00 น.

EyWwB5WU57MYnKOvkDaN9VHt5anyDR1WKeFEuyKxGE9HwwJVTxHRzy

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ยืนยันผลิตภัณฑ์มวลรวมการเกษตรสาขาพืช-ปศุสัตว์-ประมง ปี 2557 ขยายตัวเพิ่ม จากแนวโน้มผลผลิตสำคัญในแต่ละสาขาเติบโตดี ปัจจัยบวกสำคัญ ฝนฟ้าเป็นใจและเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว ดึงแรงจูงใจเกษตร…

คงต้องลุ้นกันต่อกับผลิตผลสินค้าเกษตรทั้ง 3 สาขา หลัก ได้แก่ พืช ปศุสัตว์ และประมง ที่ปี 2556 ที่ลุ่มๆ ดอนๆ มาตลอดทั้งปี สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ประเมินว่าอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคการเกษตร 3 สาขาหลัก มีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้น ในปี 2557 เนื่องจากเกษตรกร ผลิตผลสินค้าเกษตรทั้ง 3 สาขา ได้เพิ่มมากขึ้น

ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์มวลรวมสาขาพืชปีหน้าจะขยายตัวเพิ่มขึ้น ประมาณ 3.2-4.2% เมื่อเทียบกับปี 2556 ที่ขยายตัว 3% จากผลผลิตพืชสำคัญที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวนาปี ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อยโรงงาน ยางพารา และปาล์มน้ำมัน เนื่องจากมีปริมาณน้ำในเขื่อนขนาดใหญ่ เช่น ภูมิพลและสิริกิติ์ ทำให้เพียงพอเพียงพอต่อการเพาะปลูก

EyWwB5WU57MYnKOvkDaN9VHt5anyDR1WKeFEuyKxGE9HwwJVTxHRzy

สำหรับสาขาปศุสัตว์จะขยายตัวอยู่ในช่วง 2-3% เมื่อเทียบกับปี 2556 ที่ขยายตัว 1.3% จากผลผลิตปศุสัตว์ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ได้แก่ ไก่เนื้อ ไก่ไข่ สุกร โคนม เนื่องจากเกษตรกรมีระบบเลี้ยง และการจัดการฟาร์มมีคุณภาพมากขึ้น รวมถึงความเข้มงวดในการควบคุมโรคระบาด แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงคือ สภาพภูมิอากาศแปรปรวน ภัยธรรมชาติ และต้นทุนการเลี้ยงที่ยังอยู่ในระดับสูง

สาขาประมง มีแนวโน้มขยายตัว 2.2-3.2% เมื่อเทียบกับปี 2556 ที่หดตัว 7.2% จากปี 2555 เนื่องจากเกษตรประสบวิกฤติโรคตายด่วน หรือ EMS จนทำให้ผลผลิตกุ้งไทยมีปริมาณลดลงอย่างมาก ซึ่งขณะนี้กรมประมงได้ร่วมกับภาคเอกชนดำเนินการแก้ปัญหาโรคตายด่วนดังกล่าว โดยการดูแลทำความสะอาดบ่อเลี้ยงและโรงเพาะฟักลูกกุ้ง, ควบคุมการนำเข้าพ่อแม่ พันธ์กุ้งทะเลจากสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นแหล่งที่ผ่านการตรวจสอบจากกรมประมงแล้วว่า ปลอดเชื้อแบคทีเรีย และร่วมกับผู้นำเข้าพ่อแม่พันธุ์กุ้งทะเลหาแหล่งพ่อพันธุ์กุ้งทะเล จากที่อื่นเพิ่มเติม ทำให้ปี 2557 จะสามารถผลิตกุ้งได้มากขึ้นอย่างแน่นอน

นายอนันต์ ลิลา เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กล่าวกับไทยรัฐออนไลน์ว่า ปัจจัยเสี่ยงด้านผลผลิตและราคาพืช ปศุสัตว์ และประมง คือ สภาพภูมิอากาศช่วงฤดูกาลต่าง เช่น หน้าร้อนอาจทำให้ผลผลิตไข่ไก่ลดลง หน้าฝนสัตว์เลี้ยงอาจป่วยได้ และปัญหาที่อันตรายอย่างยิ่ง คือ ภัยธรรมชาติ ที่เกษตรกรต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ เพราะไม่สามารถพยากรณ์ล่วงหน้าได้นานนัก

ส่วนปัจจัยเสี่ยงด้านราคาอยู่ในพืชบางชนิด เช่น มันสำปะหลัง ประเทศคู่ค้าไทยจะมีความสามารถในการต่อรองสูงขึ้น เพราะมีผลผลิตจากประเทศกัมพูชาและเวียดนาม เข้ามาแข่งขันในต้นปีหน้า ซึ่งมีความได้เปรียบเรื่องต้นทุนด้านแรงงานภาคการเกษตรกรที่ถูกกว่าไทย จึงต้องติดตามและพึ่งมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรของรัฐบาล แต่เชื่อว่าราคาสินค้าเกษตรทั้ง 3 สาขาหลัก จะใกล้เคียงปี 2556 ยกเว้นกุ้ง ที่หากผลผลิตเพิ่มขึ้น ราคาจะถูกลง

EyWwB5WU57MYnKOvkDaN9VHt5anyDR1WKeFEuyKxGE9HwwJVTxHRzy

ราคาผลผลิต สาขาพืช ในปี 2556
– ข้าวเปลือกเจ้า ราคาตันละ 9,529 บาท/ตัน
– ข้าวหอมมะลิ ราคาตันละ 15,725 บาท/ตัน
– ราคาอ้อยโรงงาน อยู่ที่ตันละ 918 บาท ลดลงจากปี 2555 ตันละ 955 บาท หรือลดลง 3.86%
– ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อยู่ที่กิโลกรัมละ 7.25 ลดลงจากปี 2555 กิโลกรัมละ 9.36 หรือลดลง 22.56%
– ราคายางแผ่นดิบรมควันชั้น 3 อยู่ที่กิโลกรัมละ 75.75 บาท ลดลงจากป ี2555 กิโลกรัมละ 89.59 บาท หรือ 15.45%
– ราคาปาล์มน้ำมันอยู่ที่กิโลกรัมละ 3.40 บาท ลดลงจากปี 2555 กิโลกรัมละ 5.10 บาท หรือ 33.33%

ราคาผลผลิต สาขาปศุสัตว์ ในปี 2556
– ราคาไก่เนื้อปี 2556 อยู่ที่กิโลกรัมละ 43.51 บาท มากกว่าปี 2555 ที่มีราคา 41.91 บาท ราคาเพิ่มขึ้นคิดเป็น 3.82%
– ราคาสุกรมีชีวิตอยู่ที่กิโลกรัมละ 64.92 บาท มากกว่าปี 2555 ราคา 57.08 บาท ราคาเพิ่มขึ้น 13.74%
– ราคาน้ำนมดิบอยู่ที่กิโลกรัมละ 302 บาท มากกว่าปี 2555 ที่มีราคากิโลกรัมละ 258 บาท ราคาเพิ่มขึ้น 17.19%
– ราคาไข่กิโลกรัมละ 16.96 บาท จากปี 2555 ราคากิโลกรัมละ 16.59 บาท ราคาเพิ่มขึ้น 2.22%

ราคาผลผลิต สาขาประมง ในปี 2556
– กุ้งทะเลเพาะเลี้ยง อยู่ที่กิโลกรัมละ 186 บาท สูงกว่าปี 2555 ที่มีราคากิโลกรัมละ 125 บาท เพิ่มขึ้น 48.69%

อย่างไรก็ตาม สินค้าเกษตรไทยยังเป็นที่ต้องการของประเทศคู่ค้าสำคัญ ทั้งตลาด จีน อาเซียน ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป (EU) และสหรัฐฯ ในจำนวนมาก มูลค่าการส่งออกปี 2556 มากกว่า 9 แสนล้านบาท โดยเฉพาะสินค้าเกษตรเพื่อการบริโภค ทั้งสาขาพืช ปศุสัตว์ และประมง จึงเป็นสินค้าที่มีอนาคตสดใสจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัว ตอบรับผลผลิตที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในปี 2557 เช่นกัน.

ใส่ความเห็น