เพาะพันธุ์ตะพาบม่านลายได้ยอดทะลุเป้า

วันพฤหัสบดี ที่ 15 กรกฎาคม 2553 เวลา 0:00 น

ผ่านทางDaily News Online > หน้าเกษตร > ทิศทางเกษตร > เพาะพันธุ์ตะพาบม่านลายได้ยอดทะลุเป้า.

กรมประมง หน่วยงานแรกของโลกที่สามารถเพาะพันธุ์ตะพาบ ม่านลาย สัตว์น้ำใกล้สูญพันธุ์ได้สำเร็จเมื่อปี พ.ศ. 2545 และตอกย้ำความสำเร็จอีกครั้งในปีนี้ เมื่อแม่ตะพาบม่านลายวางไข่ได้มากที่สุดเท่าที่เคยมีมาถึง 305 ฟอง กรมประมงเตรียมกำหนดแนวทางเพาะเลี้ยง และปล่อยคืนสู่ธรรมชาติเพื่อช่วยเหลือไม่ให้ตะพาบม่านลายกลายเป็นสัตว์สูญ พันธุ์ในอนาคต

ทั้งนี้จากการเปิดเผย ของ ดร.จิราวรรณ แย้มประยูร รองอธิบดีกรมประมง ว่า “ตะพาบม่านลาย” จัดเป็น 1 ใน 6 ชนิดของตะพาบพันธุ์พื้นเมืองของไทย และเป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีน้ำหนักมากกว่า 200 กิโลกรัม ลักษณะที่สำคัญคือ กระดองหลังแบนและเรียบ สีของลำตัวเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อม ตั้งแต่สีน้ำตาลออกม่วงจนถึงสีเหลืองทองมีลวดลายสีอ่อนกว่าสีของกระดองหลัง มีลายคล้ายลายพรางและมีลายรูปเจดีย์บริเวณไหล่และคอด้านบน ส่วนหัวมีขนาดเล็กและยาว ตะพาบม่านลายพบในประเทศ ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย โดยในประเทศไทยพบได้ในลุ่มน้ำแม่กลองและแม่น้ำปิง ปัจจุบันประชากรตะพาบม่านลายลดลงมากเนื่องจากถูกจับเป็นอาหารและนำไปขายเป็น สัตว์เลี้ยง รวมถึงการสร้างเขื่อนทำให้ระดับน้ำท่วมหาดทรายเป็นเหตุให้ตะพาบม่านลายไม่ สามารถวางไข่ได้ ด้วยเหตุผลดังกล่าวตะพาบม่านลาย จึงถูกจัดให้อยู่ในสถาน ภาพใกล้สูญ พันธุ์อย่างยิ่ง ดังนั้น การเพาะพันธุ์ตะพาบม่านลายจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดที่จะเพิ่มจำนวน ประชากรให้มากขึ้น

ทางด้าน นายสมหวัง พิมลบุตร ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด กรมประมง เปิดเผยว่า ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2545 เป็นต้นมา สำนักวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด ได้ดำเนินการศึกษาการเพาะพันธุ์ตะพาบม่านลายจนสามารถเพาะพันธุ์ตะพาบม่านลาย ได้สำเร็จครั้งแรกของโลก ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดกาญจนบุรี และในปี 2553 พบว่าแม่ตะพาบม่านลายได้วางไข่ จำนวน 5 รัง ซึ่งเป็นจำนวนรังที่แม่ตะพาบม่านลายวางไข่ต่อตัวได้มากที่สุดเท่าที่เคยมี บันทึกมา โดยปกติจะวางไข่ 3 รังต่อแม่ หนึ่งตัว การวางไข่ในปีนี้พบตั้งแต่วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2553 ถึง 15 เมษายน 2553 ที่ผ่านมา รวมทั้งสิ้น 305 ฟอง ใช้เวลาฟัก 61-70 วัน โดยฟักเป็นตัวทั้งหมด 92 ฟอง คิด เป็นอัตราการฟักประมาณ 30% สำหรับลูกตะพาบม่านลายทั้งหมดจะถูกแยกไปอนุบาลและเมื่อมีอายุครบ 1 เดือนจะนำไปอนุบาลในตู้กระจกที่มีน้ำไหลผ่านตลอดเวลาเพื่อให้มีความใกล้ เคียงกับสภาพธรรมชาติ

ดร.จิราวรรณ เปิดเผยเพิ่มเติมด้วย ว่า ในปัจจุบันทางกรมประมงมีนโยบายให้ดำเนินการเพาะพันธุ์ตะพาบม่านลายและปล่อย คืนสู่ธรรมชาติในแหล่งและปริมาณที่เหมาะสม จากการประเมินผลพบว่าการเพาะพันธุ์ตะพาบม่านลายถือว่าประสบความสำเร็จให้ เห็นเป็นรูปธรรม และมีแนวโน้มว่าตะพาบม่านลายจะไม่สูญพันธุ์ แต่ก็ยังมีอุปสรรคที่สำคัญของตะพาบม่านลายคือการป่วยเนื่องจากติดเชื้อโรค ได้ง่ายกว่าตะพาบชนิดอื่น ๆ

แม้ว่าปัจจุบันจะมีแนวทางในการรักษา โรคแล้วก็ตาม แต่เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงในการเกิดโรคระบาด ทางศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดกาญจนบุรีได้กำหนดแนวทางในการเพาะเลี้ยง ตะพาบม่านลายโดยจัด สร้างพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์จำพวกเต่า ตะพาบ บริเวณศูนย์วิจัยฯ เพื่อเป็นแหล่งศึกษา ทดลองและสาธิต ตลอดจนเป็นแหล่งเผยแพร่ความรู้แก่ประชาชน และกระจายลูกตะพาบม่านลายที่ได้จากการเพาะพันธุ์ไปสู่หน่วยงานกรมประมง ที่มีศักยภาพในการเลี้ยงเพื่อสร้างโอกาส ในการศึกษา และเมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์จะพิจารณาความเหมาะสมในการดำเนินการเพาะพันธุ์ต่อ ไป

เมื่อเพาะพันธุ์ตะพาบม่านลายได้มากพอแล้วและแน่ใจว่าไม่สูญพันธุ์ อาจเสนอให้พิจารณาตะพาบม่านลายเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองที่สามารถเพาะพันธุ์ได้ เพื่อเปิดโอกาสให้เอกชนศึกษาแนวทางในการพัฒนาศักยภาพในเชิงเศรษฐกิจต่อไป

“แม้ว่าในปัจจุบันอาจไม่เอื้อให้ตะพาบม่านลายขยายเผ่าพันธุ์ได้เองใน ธรรมชาติ เนื่องจากพื้นที่วางไข่ไม่เหมาะสม แต่จากการติดตามการปล่อยตะพาบม่านลายพบว่ามีการเจริญเติบโตที่ดีมาก ดังนั้น ควรวางแนวทางในการอนุรักษ์ตะพาบม่านลาย คือ มีการเพาะพันธุ์ที่ดีแล้วปล่อยคืนสู่แหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ เพื่ออนุรักษ์ตะพาบม่านลายให้คงอยู่สืบไป” ดร.จิราวรรณ กล่าว.

2 thoughts on “เพาะพันธุ์ตะพาบม่านลายได้ยอดทะลุเป้า

ใส่ความเห็น