ผักบุ้งจีน พันธุ์พิจิตร 1

ผักบุ้งจีน พันธุ์พิจิตร 1.

ชื่อวิทยาศาสตร์ Ipomoea reptans Poir.
ชื่อสามัญ Chinese convulvulus, ผักบุ้งจีน
ชื่อพันธุ์ พิจิตร 1
แหล่งที่มาและประวัติ

  • เริ่มการศึกษาการผลิตเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีน ที่สถานีทดลองพืชสวนฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2522 เป็นต้นมา ซึ่งในระยะนั้นเกษตรปลูกผักบุ้งจีนจากเมล็ดพันธุ์ที่นำเข้ามาจากประเทศ ไต้หวัน พบว่ามีความแปรปรวนทางพันธุกรรมสูงมาก จึงได้มีการคัดเลือกพันธุ์แบบ mass selection ตั้งแต่ปี พ.ศ.2533 จนถึงปี พ.ศ. 2527 ได้นำมาคัดเลือกต่อที่ศูนย์วิจัยพืชสวนพิจิตร ในปี พ.ศ. 2529 ได้นำสายพันธุ์จากการคัดเลือกไปเปรียบเทียบกับพันธุ์การค้า จำนวน 3 สายพันธุ์ คือ พันธุ์ไต้หวัน ตราเพชร และพันธุ์จากร้านค้าจังหวัดพิจิตร พบว่าสายพันธุ์ที่ได้จากการคัดเลือกให้ผลผลิตสูงกว่าและมีคุณภาพของต้นผัก บุ้งดีกว่าแต่ยังมีความแปรปรวนอีกเล็กน้อย จึงได้นำสายพันธุ์ดังกล่าวมาคัดเลือกสายพันธุ์บริสุทธิ์ (pure line selection) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530-2534 จนไ้ด้สายพันธุ์ผักบุ้งพจ.1-1-1 เพื่อนำไปทดสอบพันธุ์ตามศูนย์วิจัย สถานีทดลองของสถาบันวิจัยพืชสวน และในไร่เกษตรกรที่ปลูกผักบุ้งจีนเป็นการค้า จากการทดสอบพันธุ์ในศูนย์วิจัย สถานีทดลองและในไร่เกษตรกรระหว่างปี พ.ศ. 2534-2535 พบว่าผักบุ้งจีนสายพันธุ์ พจ.1-1-1 เป็นสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงกว่า พันธุ์การค้าประมาณ 13 เปอร์เซนต์ ผลผลิตเฉลี่ย 3,415 กิโลกรัม/ไร่ ต้นมีคุณภาพดี และมีความสม่ำเสมอของต้นดีกว่าพันธุ์การค้าทุกพันธุ์ ให้ชื่อพันธุ์นี้ว่า พันธุ์พิจิตร 1 ทั้งนี้่ กรมวิชาการเกษตรรับรองพันธุ์ เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2537

  • ลักษณะประจำ พันธุ์


  • ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
    ลำต้น
    สีลำต้นเขียวอ่อน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น 0.69 เซนติเมตร ความหนาของลำต้น 0.13 เซนติเมตร จำนวนข้อต่อต้น 7 ข้อ
    ใบ
    ขนาดใบกว้าง 2.6 เซนติเมตร ยาว 13.18 เซนติเมตร รูปทรงของใบ ส่วนใหญ่ใบแคบเรียวยาว ลักษณะชูตั้ง
    ดอก
    สีดอกสีขาว
    เมล็ด สีเมล็ดสีน้ำตาลดำ ขนาดของเมล็ด กว้าง 4 มิลลิเมตร ยาว 6 มิลลิเมตร
  • ลักษณะทางการเกษตร
  • 1. ความสูงของต้น 35 เซนติเมตร
    2. ผลผลิตประมาณ 3,415 กิโลกรัม/ไร่
    3. อายุเก็บเกี่ยว 20 วัน

    ลักษณะดีเด่น

    1. ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์การค้าประมาณ 13 เปอร์เซนต์ ผลผลิตโดย เฉลี่ย 3,415 กิโลกรัมต่อไร่
    2. มีใบแคบเรียวยาว ตรงกับความต้องการของตลาด และมีลักษณะใบชูตั้ง
    3. ลำต้นมีสีเขียวอ่อน ไม่มีการทอดยอดก่อนการเก็บเกี่ยว ไม่มีการแตกแขนงที่โคนต้น ลักษณะลำต้นสม่ำเสมอกัน ทำให้สะดวกและประหยัดแรงงานในการตัดแต่งใบและแขนงที่โคนต้นก่อนนำส่งตลาด

    ข้อจำกัด

  • ในช่วงฤดูฝน ถ้ามีฝนตกติดต่อกันหลายวันควรพ่นสารป้องกันกำจัด โรคราสนิมขาว
    พื้นที่แนะนำ

  • ผักบุ้งจีนพันธุ์นี้ ปลูกได้ทุกภาคของประเทศไทย และปลูกได้ตลอดปี
  • วันที่รับรองพันธุ์


  • ให้การรับรองโดยกรมวิชาการเกษตรเป็นพันธุ์พืชขึ้น ทะเบียนเลขที่ 20/2540 เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2540 รับรองพันธุ์ วันที่ 27 กันยายน 2537
  • ใส่ความเห็น