การผลิตส้มเขียวหวานอย่างถูกต้องเหมาะสม

Department Of Agriculture  กรมวิชาการเกษตร.

เกษตรดีที่เหมาะสมสำหรับการผลิตส้มเขียวหวาน


Good Agricultural Practice (GAP) for Tangerine

1. แหล่งปลูก

1.1 สภาพพื้นที่

    • ปลูกได้ทั้งในที่ดอนและที่ลุ่ม
    • เป็นพื้นที่ที่ไม่มีน้ำท่วมขัง
    • สูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 750 เมตร
    • ความลาดเอียงของพื้นที่ไม่เกิน 30 เปอร์เซ็นต์
    • อยู่ใกล้แหล่งน้ำ
    • การคมนาคมสะดวก
    • ห่างจากแหล่งปลูกส้มเดิมที่มีการระบาดของโรคที่มีแมลงเป็นพาหนะ อย่างน้อย 10 กิโลเมตร

1.2 ลักษณะดิน

    • ดินร่วน หรือดินร่วนปนทราย
    • มีการระบายน้ำดี
    • มีค่าความเป็นกรด-ด่าง อยู่ระหว่าง 5.5-6.5
    • มีความอุดมสมบูรณ์สูง ปริมาณอินทรีย์วัตถุไม่น้อยกว่า 3 เปอร์เซ็นต์
    • ความลึกของระดับหน้าดินไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร
    • ระดับน้ำใต้ดินไม่ควรสูงกว่า 1 เมตร
    • หมายเหตุ ควรมีการวิเคราะห์ดินเพื่อทราบค่าความเป็นกรด-ด่าง / ปริมาณธาตุอาหาร / ปริมาณ
      อินทรีย์วัตถุ  ฯลฯ  ก่อนตัดสินใจปลูกส้ม

1.3 สภาพภูมิอากาศ

    • อุณหภูมิเหมาะสมเฉลี่ยประมาณ 26-32 องศาเซลเซียส
    • ปริมาณน้ำฝนที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 1,000-1,200 มิลลิเมตรต่อปี
    • ชอบแดดจัดและมีปริมาณแสงไม่น้อยกว่า 7 ชั่วโมงต่อวัน

1.4 แหล่งน้ำ

    • มีปริมาณน้ำเพียงพอสำหรับใช้ตลอดปี
    • เป็นน้ำสะอาดไม่มีสารอินทรียืและอนินทรีย์ที่เป็นพิษปนเปื้อน
    • น้ำมีค่าความเป็นกรด-ด่าง อยู่ระหว่าง 5.5-7.0

2. พันธุ์

2.1 การเลือกพันธุ์

    • ปลอดจากโรคที่สำคัญ ได้แก่ กริ่นนิ่ง ทริสเตซ่า และโรครากเน่า-โคนเน่า
    • มีคุณภาพตรงตามที่ตลาดต้องการ
    • เจริญเติบโตดี เหมาะสมกับสภาพดินฟ้าอากาศที่ปลูก

2.2 พันธุ์ที่นิยมปลูก มี 2 พันธุ์ คือ เขียวหวาน และโชกุน ซึ่งอาจมีชื่อเรียกเป็นอย่างอื่นขึ้นอยู่กับแหล่งปลูกหรือเพื่อ
การค้า เช่น ส้มสีทอง ส้มผิวทอง และส้มสายน้ำผึ้ง เป็นต้น

  • ส้มเขียวหวาน เป็นพันธุ์ส้มเปลือกล่อน ที่ปลูกแพร่หลายมาแต่เดิม และได้ขยายพันธุ์ต่อ ๆ กันมารวมทั้งมีการ
    คัดพันธุ์ตามแหล่งปลูกต่าง ๆ เช่น
     

    • ส้มเขียวหวานแหลมทอง เป็นสายพันธุ์ที่ปลูกกันอยู่เดิมในเขตจังหวัดราชบุรี  มีรสชาติหวานจัดทรง
      พุ่มใหญ่ ออกดอก ติดผลค่อนข้างยาก ผลขนาดปานกลาง
    • ส้มบางมด เป็นพันธุ์ส้มเขียวหวานสายพันธุ์ที่ปลูกกันมาแต่เดิมในเขตบางมด  บางขุนเทียน  รสชาติ
      หวานอมเปรี้ยวผลขนาดปานกลางทรงผลค่อนข้างกลมถึงแป้นเล็กน้อย ผิวสีเขียวอมเหลือง หรือเหลือง
      เข้ม (เมื่อปลูกทางภาคเหนือ) เนื้อผลสีส้ม  ชานนิ่ม  เป็นพันธุ์ที่ติดผลดก ปัจจุบันมีผู้นำไปปลูกในเขตอื่น
      แล้วเรียกชื่อต่างกันไป เช่น ส้มผิวทอง ส้มสีทอง เป็นต้น ปลูกได้ทั่วไป
       
  • ส้มโชกุน เป็นพันธุ์ส้มเปลือกล่อนที่กำลังได้รับความนิยม  อาจรู้จักในนามของส้มสายน้ำผึ้ง หรือ  ส้มเพชรยะลา
    เป็นพันธุ์ที่มีลักษณะทรงต้นและขนาดต้นใกล้เคียงกับส้มเขียวหวาน  แต่ทรงพุ่มค่อนข้างจะหนาแน่นกว่า ลักษณะ
    กิ่งและใบตั้งขึ้นมากกว่า  ในขณะที่ส้มเขียวหวานลักษณะของกิ่งและใบจะห้อย ลง  ใบส้มโชกุนจะมีขนาดเล็กกว่า
    แต่สีเขียวเข้มกว่า   ลักษณะผลจะใกล้เคียงกับส้มแขียวหวานแต่ผลจะมีสะดือ เป็นเอกลักษณะพิเศษ  เนื้อมีลักษณะ
    แน่น  ชานนิ่มและให้น้ำส้มเหมาะที่จะปลูกในภาคใต้ แต่ถ้าจะปลูกในภาคอื่น    ควรมีการจัดการดินและน้ำที่ดี ไม่
    ควรปลูกในดินเหนียว ซึ่งจะมีปัญหาการแตกของผลสูงมาก

3. การปลูก

3.1 การเตรียมพื้นที่

3.1.1 พื้นที่ดอน

    • ทำการขุดตอไม้ออก ถ้าเป็นดินดาน ควรทำการทำลายชั้นดินดานก่อน
    • ไถพรวนให้ลึก 30-40 เซนติเมตร ปรับพื้นที่ให้เรียบ
    • ขึ้นแปลงเป็นรูปลอนลูกฟูกขวางทางแสงอาทิตย์กว้าง 3 เมตร สูง 40 เซนติเมตร ความยาวไม่จำกัดโดย
      ให้มีพื้นที่ระหว่างแปลง 3 เมตร สำหรับให้เครื่องจักรเข้าทำงานได้โดยสะดวก

3.1.2 พื้นที่ลุ่ม

    • ขุดเป็นร่องหรือยกร่อง โดยมีสันร่องซึ่งจะใช้ปลูกพืชกว้างประมาณ 6 เมตร การยกร่องควรทำขวางทาง
      แสงอาทิตย์ เพราะทำให้ร่องได้รับแสงสม่ำเสมอและทั่วถึง
    • ร่องน้ำกว้าง 1.50 เมตร ลึก 1 เมตร กันร่องน้ำกว้าง 70 เซนติเมตร
    • กรณีที่ลุ่มมากต้องทำคันกั้นน้ำรอบสวนมีท่อระบายน้ำเข้า-ออกจาก สวนได้

3.2 วิธีการปลูก

3.2.1 การเลือกต้นพันธุ์

  • การปลูกส้มเขียวหวานมักใช้กิ่งตอนที่มีโรคทำให้เกิดปัญหาต้น โทรม อายุสั้น ผลร่วง ผลด้อยคุณภาพ  การใช้ต้น
    ปลอดโรคปลูกแทนกิ่งตอนและการดูแลรักษาที่ถูกต้องอาจช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้
  • เป็นต้นติดตาโดยได้ตาปลอดโรคจากต้นแม่ที่แข็งแรง จริญเติบโตดี ให้ผลผลิตสูงสม่ำเสมอ นำมาติดตาบนต้นตอ
    ที่ทนทานต่อโรคเน่าโคนเน่า ซึ่งต้นตอที่ใช้อยู่ ได้แก่
     

    • ต้นตอทรอยเยอร์ เป็นต้นตอที่ทนทานต่อโรครากเน่าโคนเน่า   และทริสเตซ่า  แต่ไม่ทนต่อโรคกรีนนิ่ง
      อ่อนแอต่อใส้เดือนฝอย ทนอากาศหนาวได้ปานกลาง   ปรับตัวเข้ากับดินทั่วไปยกเว้นดินเค็ม ดินด่าง และ
      ดินเหนียว  ใช้เป็นต้นตอส้มเขียวหวานได้ดี  แต่ต้นส้มจะแตกกิ่งกระโดงมาก ต้นตออาจเข้ากันได้ไม่ดีกับ
      ส้มเขียวหวาน เกิดรอยเท้าช้างเล็กน้อย ส้มให้ผลผลิตสูง ขนาดผลใหญ่ ผลมีคุณภาพดี
    • ต้นตอสวิงเกิ้ล เป็นต้นตอที่ทนทานต่อโรครากเน่า โคนเน่า ไส้เดือนฝอย ดินเค็ม และสภาพน้ำขังได้ดี
      ให้ผลผลิตสูง คุณภาพดี เกิดอาการเท้าช้างเล็กน้อย
    • ต้นตอคาร์ริโซ เป็นต้นตอที่คล้ายทรอยเยอร์ ทนทานไส้เดือนฝอยได้ดี
    • ต้นตอคลีโอพัตรา ทนทานต่อเกลือได้ดี ทนทริสเตซ่าและความหนาว ปรับตัวได้ดีในสภาพดินเหนียว
      ภาคกลางแต่อาจอ่อนแอต่อโรครากเน่าโคนเน่าจึงจัดการการระบายน้ำได้ดี ให้ทรงพุ่มดี ติดผลดกผลอาจ
      มีขนาดเล็กลง แต่คุณภาพดี
    • ต้นตอรัฟเลมอน ปรับตัวได้ดีในสภาพดินทราย    หน้าดินลึก    เจริญเติบโตเร็ว ทนแล้ง ผลผลิตสูงแต่
      คุณภาพผลไม่ดีนัก (มีชานมาก) ถ้าดินเหนียวระบายน้ำไม่ดีจะอ่อนแอต่อโรครากเน่า
    • ต้นตอโวลเมอเรียนา ทนต่อสภาพดินเค็มและดินด่างได้ดี ชอบเดินที่มีการระบายน้ำดี เจริญเติบโตเร็ว
      แต่คุณภาพผลส้มอาจด้อยกว่าต้นตออื่น ๆ
    • ต้นตอแรงเปอร์ไลม์ ทนสภาพแล้ง ทนต่อดินเค็ม และดินด่างได้ดี ต้นใหญ่แข็งแรง ผลผลิตสูงคุณภาพ
      ปานกลาง เข้ากันได้ดีกับส้มเขียวหวาน และทนต่อโรครากเน่า โคนเน่าดีกว่าต้นตอรัฟเลมอน
       
  • ขนาดของต้นติดที่ได้มาตรฐานพร้อมลงปลูกในแปลง คือ มีขนาดเส้นรอบวงที่โคนต้นไม่ต่ำกว่า 1.5 เซนติเมตร มี
    ความสูงจากโคนต้นถึงเรือนยอดไม่น้อยกว่า 60   เซนติเมตร   และมีอายุไม่เกิน 12 เดือน   นับจากย้ายกล้าลงถุงชำ
  • หมายเหตุ การปลูกส้มปลอดโรคที่ ติดตาบนต้นตอ ต้องมีการดูแลรักษาที่ดีด้วย

3.2.2 ระยะปลูก

    • ที่ดอนควรมีระยะระหว่างต้น 4 เมตร และระยะระหว่างแถว 6 เมตร
    • ที่ลุ่มที่มีการยกร่อง ปลูกกลางร่อง ระยะระหว่างต้น 6 เมตร   เพื่อให้การใช้พื้นที่เกิดประโยชน์สูงสุดและ
      การปฏิบัติงานในสวนทำได้โดยสะดวก

3.2.3 ขั้นตอนการปลูก

    • วัดระยะปลูกและกำหนดจุดปลูกโดยแถวปลูกควรอยู่บริเวณกึ่งกลางแปลง แต่ละแปลง
    • ขุดหลุมขนาด  50x50x50  เซนติเมตร  ผสมปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกเข้ากับดินที่ขุดขึ้นมา   อัตราต้นละ 10
      กิโลกรัม พร้อมกับปุ๋ยรอคฟอสเฟต 0.5 กิโลกรัม   และปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ เช่น 15-15-15 อัตรา 100 กรัม
      และกลบกลับลงไปในหลุม
    • แหวกดินทำหลุมให้มีขนาดโตกว่าถุงหรือกระถางที่เลี้ยงต้นพันธุ์
    • ฉีกถุงออก โดยก่อนฉีกถุงให้ใช้มือบีบวัสดุปลูกในถุงจนแตกจากกัน
    • เขย่าวัสดุปลูกที่ติดอยู่กับรากออกให้หมด    ถ้ารากแก้วไม่แก่จนแข็ง     ควรยืดรากให้ตรง แต่ถ้าแข็งจนไม่
      สามารถยืดได้ให้กรรไกรตัดรากแก้วส่วนที่ของดออก  พร้อมทั้งตัดส่วนยอดและใบออกบ้าง เพื่อให้กิดการ
      สมดุลกับรากที่เหลือ
    • วางต้นพันธุ์ลงในหลุม จัดรากฝอยที่มีอยู่เป็นชั้น ๆ แล้วแผ่รากในแต่ละชั้นออกรอบข้าง
    • ใช้ดินกลบรากไล่ขึ้นมาเป็นชั้น โดยให้รากฝอยชั้นบนสุดอยู่ต่ำกว่าระดับดินบนประมาณ 1 เซนติเมตร
    • ผูกต้นติดกับหลักป้องกันการโยกคลอน แล้วรดน้ำให้ชุ่ม คลุมโคนต้นด้วยฟางข้าว

3.2.4 การป้องกันลม

ความรุนแรงของลมอาจทำให้กิ่งฉีกขาด หรือโค่นล้มได้   ดังนั้น ในแหล่งที่มีลมแรงจะต้องมีการปลูกพืชบังลม
เช่า สนประดิพัทธ์ ไผ่รวกใหญ่ ไผ่เลี้ยง  หรือพืชชนิดอื่น ๆ   การปลูกไม้บังลมให้ปลูกห่างจากแนวปลูกส้มอย่างน้อย 8 เมตร
ถ้าเป็นการยกร่องให้ปลูกบนคันดินกั้นน้ำรอบสวนระยะปลูกระหว่างต้น 1.5-2.0 เมตร

4. การดูแลรักษา

4.1 การใส่ปุ๋ย

  • ควรมีการวิเคราะห์ดิน 1-2 ปีต่อครั้ง    เพื่อหาอัตราปุ๋ยและสูตรปุ๋ยที่เหมาะสม เป็นการลดต้นทุนการผลิต
  • หลังปลูกแล้วถ้าดินเป็นกรดจัด  (ความเป็นกรด  –  ด่างต่ำกว่า 5.0) ควรใส่ปูนขาวหรือปูนมาร์ลหรือเปลือกหอยเผา
    หรือโดโลไมท์  1-2 กิโลกรัมต่อต้น   หรือตามผลการวิเคราะห์ดิน  โดยหว่านให้สม่ำเสมอรอบบริเวณทรงพุ่ม ปีละ
    1-2 ครั้ง
  • การใส่ปุ๋ยในปีแรก ควรใช้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง เช่น    สูตร 20-10-10 , 25-7-7 หรือ 15-15-15+46-0-0 (1:1)
    อัตรา 0.5-1.0 กิโลกรัมต่อต้น โดยแบ่งใส่ 4-6 เดือนต่อครั้ง     และปุ๋ยอินทรีย์ 10-20 กิโลกรัมต่อต้น ใส่ครั้งเดียว
    ช่วงปลายฤดู
  • ปีที่ 2-4 ใส่ปุ๋ยสูตร 20-10-10, 25-7-7 หรือ 15-15-15+46-0-0 (1:1) อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อต้น โดยใส่ 3-4
    เดือนต่อครั้ง และปุ๋ยอินทรีย์ 20-50 กิโลกรัมต่อต้นใส่ครั้งเดียวช่วงปลายฤดูฝน
  • อายุ 4 ปีขึ้นไป ซึ่งส้มจะเริ่มให้ผลผลิต การใส่ปุ๋ยควรปฏิบัติดังนี้
    • ช่วงก่อนออกดอก ใส่ปุ๋ยสูตร 12-24-12 อัตรา 1 กิโลกรัมต่อต้น และพ่นปุ๋ยทางใบ เพื่อเพิ่มธาตุอาหาร
      รองและธาตุอาหารเสริม
    • ในระยะติดผล อาจมีการให้ปุ๋ยธาตุอาหารรอง ธาตุอาหารเสริม เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก สังกะสี
      ทองแดง โบรอน และแมงกานีส เป็นต้น โดยพ่นให้ทางใบ
    • ช่วงใกล้เก็บเกี่ยวผลผลิต ใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อต้น
    • หลังเก็บเกี่ยวผลผลิต    ใส่ปุ๋ยสูตร 25-7-7  หรือ 15-15-15 ร่วมกับ 46-0-0 (1:1) อัตรา 1-3 กิโลกรัม
      ต่อต้นพร้อมพ่นปุ๋ยทางใบที่มีธาตุอาหารรอง     และธาตุอาหารเสริมพร้อมปุ๋ยอินทรีย์  20-50   กิโลกรัม
      ต่อต้น

4.2 การให้น้ำ

  • ให้น้ำทันทีประมาณ 20-40 ลิตรต่อต้นเมื่อปลูกเสร็จ และให้น้ำอีกครั้ง ภายใน 2-3 วัน จากครั้งแรก
  • หลังจากนั้นให้น้ำทุก ๆ 2-5 วัน จนกว่าต้นส้มจะตั้งตัวได้ ข้อสำคัญอย่าปล่อยให้ขาดน้ำจนต้นเฉา
  • วิธีการให้น้ำ อาจใช้สายยาง ระบบน้ำหยด มินิสปริงเกอร์ หรือเรือพ่นน้ำตามความเหมาะสม

4.3 การตัดแต่งกิ่ง

การตัดแต่ง กิ่งควรหมั่นทำสม่ำเสมอตั้งแต่เริ่มปลูกไปจนกระทั่งส้มให้ผล โดยในช่วงแรกควรเด็ดยอดส้มที่
ปลูกใหม่ให้สูงจากโคนต้น 45-60 เซนติเมตร เพื่อให้แตกกิ่งใหม่และเป็นกิ่งโครงร่างของต้น 4-5 กิ่ง และตัดแต่งในช่วง
หลังเก็บเกี่ยวผลแล้ว ลักษณะของกิ่งที่ควรแต่งออกคือ

  • กิ่งแขนงที่รกทึบด้านล่างและกลางลำต้น
  • กิ่งปลายยอดที่ห้อยลงชิดดิน
  • กิ่งที่อ่อนแอ ไม่สมบูรณ์ มีใบน้อย
  • กิ่งน้ำค้าง หรือ กิ่งกระโดง
  • กิ่งที่มีลักษณะคดงอไขว้หรือพันกัน
  • กิ่งที่เป็นโรค หรือถูกแมลงทำลาย ตลอดจนกิ่งที่แห้งตายภายหลังตัดแต่งกิ่งแล้ว ควรทาแผลด้วยคอปเปอร์อ๊อกซี
    คลอไรด์ หรือปูนแดง ปูนขาว เพื่อป้องกันเชื้อรา

4.4 การบังคับน้ำ

หลังจากเก็บเกี่ยวผลส้ม ให้ทำการตัดแต่งกิ่งและใส่ปุ๋ยบำรุงต้น จนส้มแตกใบอ่อนใหม่ ใบใหม่มีอายุประมาณ
60 วัน ในช่วงอากาศร้อน หรืออาจถึง 90 วัน ในช่วงอากาศเย็น จะเริ่มงดการให้น้ำ โดยระยะเวลางดน้ำนี้ขึ้นกับอายุ ขนาด
ทรงพุ่มและสภาพดินฟ้าอากาศ โดยสังเกตได้จากการเหี่ยวของใบเร็วขึ้นแต่ละวัน ถ้าใบเหี่ยวในช่วงเวลา 10.00-11.00 น
ถือว่าเพียงพอแล้ว สำรับการงดน้ำ หลังจากนั้นจึงให้น้ำติดต่อกันจนส้มออกดอกติดผล

4.5 การดูแลรักษาหลังการติดผล

ภายหลังต้นส้มติดผลแล้ว ควรปฏิบัติดังนี้

  • ทำการปลิดผล ในกิ่งที่ติดผลมาก ๆ ออกบ้าง
  • ตัดแต่งผลที่เป็นโรคออกแล้วนำไปฝังกลบหรือเผาเสีย
  • ค้ำยันกิ่ง เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักเนื่องจากการรับน้ำหนัก หรือลมแรง

5. สุขลักษณะและความสะอาด

  • ควรรักษาแปลงปลูกให้ถูกสุขลักษณะและสะอาดอยู่เสมอ
  • กำจัดวัชพืช ควรกำจัดขณะวัชพืชยังเล็ก เพื่อไม่ให้แข่งขันกับพืชหลัก หรือเป็นแหล่งเพาะปลูกศัตรูพืช หรือติดไป
    กับผลผลิต
  • ควรเก็บวัชพืช เศษพืชโดยเฉพาะที่เป็นโรคไปทำลายนอกแปลงปลูก
  • อุปกรณ์ เช่น กรรไกร เครื่องพ่นสารเคมี ภาชนะที่ใช้เก็บผลผลิต ฯลฯ หลังใช้งานแล้วต้องทำความสะอาด และเก็บ
    ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานเสมอ
  • ภาชนะบรรจุสารเคมีที่ใช้หมดแล้วให้ทำลายอย่างเหมาะสม เช่น ฝังดิน ไม่ควรนำมาใช้ใหม่อีก

6. การป้องกันกำจัดศัตรูส้มเขียวหวาน

6.1 โรคที่สำคัญและการป้องกันกำจัด

6.1.1 โรคกรีนนิ่ง

  • สาเหตุ–  เชื้อคล้ายแบคทีเรีย
  • ลักษณะอาการ– ใบอ่อนมีสีเหลือง ใบเล็ก ชี้ตั้งขึ้น เส้นใบและเส้นกลางใบมีสีเขียวคล้ายอาการขาดธาตุสังกะสี การแตกยอดใหม่ลด
    น้อยลงเกิดการแห้งตายจากปลายกิ่ง   ผลขนาดเล็ก   หลุดร่วงง่าย    สีเปลือกเมื่อแก่จัดไม่สม่ำเสมอ   ระบบรากไม่
    แข็งแรงต้นทรุดโทราและตายในที่สุด
  • การป้องกันกำจัด

    – ไม่ควรใช้กิ่งพันธุ์จากต้นแม่พันธุ์ที่แสดงอาการโรคกรีนนิ่ง ควรใช้ต้นพันธุ์ที่ปลอดโรค
    – ไม่มีสารเคมีที่ใช้ป้องกันกำจัดโรคกรีนนิ่ง
    –  เมื่อพบต้นที่เป็นโรคต้องขุดและทำลายออกจากแปลงปลูก
    – ป้องกันและกำจัดเพลี้ยไก่แจ้ซึ่งเป็นแมลงพาหะนำโรค และแหล่งพืชอาศัย เช่น ต้นแก้ว
  • 6.1.2 โรคทริสเตซ่า
  • สาเหตุ– เชื้อไวรัส

  • ลักษณะอาการ– ใบอ่อนมีสีเหลืองซีดขอบใบม้วนเข้าคล้ายรูปถ้วย   เส้นใบแสดงอาการโปร่งใสเป็นขีดสั้น ๆ ส่วนใบแก่เส้นใบปูด
    แตกสีน้ำตาล ติดผลมาก  แต่มักหลุดร่วงง่าย   บริเวณลำต้นหรือกิ่งใหญ่ ๆ   มีลักษณะไม่เรียบ   และมีระบบราก
    อ่อนแอ

  • การป้องกันกำจัด– ไม่ควรใช้กิ่งพันธุ์จากต้นแม่พันธุ์ที่แสดงอาการโรคทริสเตซ่า

    ควรใช้ต้นพันธุ์ที่ปลอดโรค
    – ไม่มีสารเคมีที่ใช้ป้องกันกำจัดโรคทริสเตซ่า
    – เมื่อพบต้นที่เป็นโรคต้องขุดและทำลายออกจากแปลงปลูก
    – ป้องกันกำจัดเพลี้ยอ่อนซึ่งเป็นแมลงพาหะของโรค

    6.1.3 โรครากเน่า – โรคเน่า

  • สาเหตุ– เชื้อรา

  • ลักษณะอาการ– เกิดได้กับทุกส่วนของต้นส้ม โดยเฉพาะบริเวณรากและโคนต้น ต้นส้มจะแสดงอาการทรุดโทรม แตกใบอ่อนน้อย
    ใบเหลืองซีดโดยเฉพาะเส้นกลางใบ ต้นที่อาการรุนแรงใบจะเหี่ยวคล้ายขาดน้ำ ผลร่วง และกิ่งแห้ง โคนต้นมีแผล
    สีคล้ำ ฉ่ำน้ำ อาจมียางไหล เมื่อถากเปลือกจะพบเนื้อไม้มีสีน้ำตาลแดง

  • การป้องกันกำจัด– ใช้ต้นตอพันธุ์

    ที่ต้านทานต่อโรค เช่น ทรอยเยอร์ คาร์ริโซ
    – ปรับสภาพดินให้มีความเป็นกรอ-ด่าง ประมาณ 5.5-6.5 โดยใช้ปูนขาว ปูนมาร์ล หรือโดโลไมท์ปีละ 1-2 ครั้ง
    – รักษาสภาพโคนต้นไม่ให้มีน้ำขัง
    – ตัดแต่งทรงพุ่มและกิ่งให้แสงแดดส่องถึงโคนต้น
    – กำจัดวัชพืชอย่าให้รกทึบ
    – เมื่อพบแผลมียางไหลให้ถากเปลือกและทาด้วยสารละลายเข้มข้น  เช่น เมตาแลกซิล+แมนโคเซ็บ หรือ บอร์โดมิก
    เจอร์ –  แมนโคเซ็บ
    – หากพบต้นส้มแสดงอาการของโรคทำการป้องกันกำจัดตามคำแนะนำในตารางที่ 1

    6.1.4 โรคแคงเกอร์

  • สาเหตุ– เชื้อแบคทีเรีย

  • ลักษณะอาการ– เกิดทั้งใบ ผล กิ่ง ก้าน และลำต้น แผลเป็นสีน้ำตาลเข้ม แตกเป็นสะเก็ดแข็ง และ ขรุขระคล้ายขี้กลาก แลางแผลมัก
    แตกบุ๋ม และมีวงแหวนสีเหลืองซีดล้อมรอบ การเกิดโรคจะรุนแรงมากหากใบอ่อนมีแผลถูกทำลาย

  • การป้องกันกำจัด – ดูแลบำรุงต้นให้แข็งแรง
    – ป้องกันการทำลายของหนอนชอนใบ
    – ไม่ควรปลูกมะนาวในแปลงปลูกส้มหรือบริเวณใกล้เคียง
    – ทำความสะอาดแปลงอย่าให้รกและกำจัดใบร่วงที่เกิดจากการทำลายของโรค
    – หากพบการระบาดรุนแรง ให้ตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรคออก และทำการป้องกันกำจัดตามคำแนะนำในตารางที่ 1

ตารางที่ 1 การใช้สารป้องกันกำจัดโรคของส้มเขียวหวาน

โรค
สารป้องกันกำจัด
โรคพืช
อัตราการใช้/
น้ำ 20 ลิตร
วิธีการใช้/
ข้อควรระวัง
หยุดใช้สารก่อน
การเก็บเกี่ยว(วัน)
รากเน่า
โคนเน่า
ฟอสฟอรัสแอซิค
30 มิลลิลิตร
ปีละ 2-3 ครั้งราดบนดินบริเวณ
ทรงพุ่มต้นส้ม

ไตรโคเดอร์มา
1-2 กก/หลุม
2-6 กก/ต้น
รองก้นหลุม
โรยรอบโคนต้น
แคงเกอร์ คอปเปอร์ออกไซด์
(30 %wp)
บอร์โดมิกเจอร์
(20%wp)
คอปเปอร์ไฮดอกไซด์
(77%wp)
87 กรัม
.

7

20

7

คอปเปอร์ซัลเฟตหรือ
คอปเปอร์ออกซิคลอไรด์
(85%wp)
30-80 กรัม
.
14

6.2 แมลงและไรศัตรูที่สำคัญและการป้องกันกำจัด

6.2.1 หนอนชอนใบส้ม

  • ลักษณะและการทำลาย– หนอนชอนใบส้มกัดกินใบอ่อนโดยไชชอนอยู่ระหว่างผิวใบ    มักพบทำลายด้านใต้ใบมากกว่าบนใบ  บริเวณที่ถูก
    ทำลายเป็นรอยสีขาวกวน ใบมีลักษณะบิดงอลงทางด้านที่มีการถูกทำลาย ทำให้ใบเสียรูปร่าง
  • ช่วงเวลาที่ระบาด –  ช่วงระยะส้มแตกยอดอ่อนในฤดูฝนระหว่างเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม
  • การป้องกันกำจัด– ตัดและเก็บส่วนที่ถูกทำลายเผา
    – ควรมีการจัดการให้ส้มแตกยอดอ่อนพร้อมกัน
    – หากพบปริมาณหนอนชอนใบส้มมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์  ของยอดที่สุ่มสำรวจ ทำการป้องกันกำจัดตามคำแนะนำ
    ในตารางที่ 2
  • 6.2.2 เพลี้ยไฟพริก
  • ลักษณะและการทำลาย– ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยเพลี้ยไฟพริกดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอดอ่อน   ใบอ่อน   และผลอ่อน  ทำให้ใบมีลักษณะแคบ เรียว
    กร้านและไม่เจริญเติบโต หากเป็นผลอ่อน จะเกิดเป็นทางสีเทาเงินตามยาวของผล หรือบริเวณขั้วและก้นผล ผลส้ม
    จะแคระแกรน

  • ช่วงเวลาที่ระบาด– ช่วงระยะยอดอ่อน ดอก และผลอ่อน    ระบาดมากระหว่างเดือนมกราคม-มิถุนายน    หรือ ช่วงที่มีอากาศร้อนและ
    แห้งแล้ง

  • การป้องกันกำจัด– ตัดและเก็บส่วนที่ถูกทำลายเผา
    – ควรมีการจัดการให้ส้มแตกยอดอ่อนพร้อมกัน
    – หากพบปริมาณเพลี้ยไฟที่ส่วนยอดอ่อนมากกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ ของยอดอ่อนที่สุ่มสำรวจ ทำการป้องกันกำจัดตาม
    คำแนะนำในตารางที่ 2

    6.2.3 เพลี้ยไก่แจ้ส้ม

  • ลักษณะและการทำลาย– ตัวอ่อนและตัวเต็มวันดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนตาและยอดอ่อนของต้นส้มเขียวหวาน   ตัวอ่อนขณะดูดกินน้ำเลี้ยงจะ
    กลั่นสารสีขาวมีลักษณะคล้ายเส้นด้าย และอาจเกิดราดำขึ้นตามส่วนที่ถูกทำลาย ใบมีลักษณะเป็นคลื่น ใบร่วง และ
    เป็นแมลงพาหะของโรคกรีนนิ่ง

  • ช่วงเวลาที่ระบาด– ระยะส้มเขียวหวานแตกใบอ่อนหรือในช่วงเดือน มกราคม-มีนาคม และ พฤษภาคม-กรกฏาคม

  • การป้องกันกำจัด– หมั่นสำรวจ เพลี้ยไก่แจ้ส้ม ในช่วงระยะส้มเขียวหวานแตกยอดอ่อน
    – ควรป้องกันกำจัด เมื่อพบตัวเต็มวัย ตามคำแนะนำในตารางที่ 2

    6.2.4 หนอนเจาะสมอฝ้าย

  • ลักษณะและการทำลาย– ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน ขนาด 3.0-4.0 เซนติเมตร  วางไข่เป็นฟองเดี่ยว ๆ บริเวณกลีบดอกตูมหรือก้านดอก
    ตัวหนอนกัดกินทำลายดอกและผลอ่อน  หนอนวัยแรกจะกินช่อดอกและใบ    และเมื่อโตขึ้นจะเข้าทำลายผลส้มที่มี
    ขนาดใหญ่ ทำให้ผลเน่าและร่วง

  • ช่วงเวลาที่ระบาด– ในระยะส้มออกดอกและผลอ่อน

  • การป้องกันกำจัด– สุ่มสำรวจพบหนอนทำลายดอกตูมหรือผลอ่อนมากกว่า   10   เปอร์เซ็นต์    ทำการป้องกันกำจัดตามคำแนะนำใน
    ตารางที่ 2

    6.2.5 เพลี้ยอ่อน

  • ลักษณะและการทำลาย– เพลี้ยอ่อนเป็นแมลงขนาดเล็ก รูปร่างคล้ายลูกแพร์ ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยอยู่รวมเป็นกลุ่มดูดกินน้ำเลี้ยงตามยอด
    อ่อน ใต้ใบอ่อน   แมลงจะขับถ่ายมูลหวาน ทำให้เกิดราดำบนส่วนต่าง ๆ ที่แมลงทำลาย เพลี้ยอ่อนเป็นแมลงพาหะ
    ของเชื้อไวรัสโรคทริสเตซ่า

  • ช่วงเวลาที่ระบาด– ระยะที่ส้มเขียวหวานแตกยอดอ่อน หรือระหว่างเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม

  • การป้องกันกำจัด– ตัดและเก็บส่วนที่ถูกทำลายเผา
    – ควรมีการจัดการให้ส้มแตกยอดอ่อนพร้อมกัน
    – หากพบเพลี้ยอ่อนมากกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ ของยอดที่สุ่มสำรวจ ทำการป้องกันกำจัดตามคำแนะนำในตารางที่ 2

    6.2.6 ไรแดงแอฟริกัน

  • ลักษณะและการทำลาย– ไรแดงแอฟริกันมีขนาดเล็กมาก มีสีแดง ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงที่ผิวใบและเปลือกผลส้ม ทำให้ผิว
    ใบด้านหน้า หรือสีของผลเป็นสีเขียวซีด กระด้าง

  • ช่วงเวลาที่ระบาด– ระยะส้มเขียวหวานมีผลอ่อน และใบแก่   โดยเฉพาะช่วงแล้ง ระหว่างเดือนธันวาคม-พฤษภาคม และระยะฝนทิ้ง
    ช่วงเดือนกรกฏาคม-สิงหาคม

  • การป้องกันกำจัด– พบเข้าทำลายใบมากกว่า 60 เปอร์เซ็นต์   หรือผลอ่อนมากกว่า 20 เปอร์เซ็นต์  ทำากรป้องกันกำจัดตามคำแนะนำ
    ในตารางที่ 2

    6.2.8 ไรสนิมส้ม

  • ลักษณะและการทำลาย– ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยไรสนิมส้ม   ดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบและผล   ทำให้ใบมีลักษณะกระด้าง สีเขียวคล้ำ ไม่เป็นมัน
    และผลที่ถูกทำลายจะมีสีน้ำตาลหรือแดงคล้ำคล้ายสนิมเหล็ก

  • ช่วงเวลาที่ระบาด– ในช่วงฤดูแล้ง

  • การป้องกันกำจัด– เมื่อพบมีการระบาด ทำการป้องกันกำจัดตามคำแนะนำในตารางที่ 2

ศัตรูธรรมชาติในสวนส้มเขียวหวาน

ตัวห้ำ

  • แมลงช้างปีกใส ตัวอ่อนเป็นแมลงห้ำของหนอนชอนใบส้ม
  • ด้วงเต่าลาย ตัวหนอนเป็นแมลงห้ำของเพลี้ยอ่อน
  • ไรตัวห้ำ เป็นไรตัวห้ำของไรแดงแอฟริกัน ไรเหลืองส้ม และไรสนิมส้ม
  • แมงมุม เป็นตัวห้ำของเพลี้ยไฟพริก เพลี้ยไก่แจ้ส้ม และหนอนเจาะสมอฝ้าย
  • แมลงเบียน
  • มีแตนเบียนเข้าทำลายหนอนชอนใบส้มในระยะหนอนและดักแด้ และเพลี้ยไก่แจ้ส้มในระยะตัวอ่อน

ศัตรูธรรมชาติทั้ง 2 กลุ่มนี้ มีพบอยู่ทั่วไปตามแหล่งปลูกส้มเขียวหวาน ดังนั้นการใช้สารป้องกันกำจัดแมลง
และไรศัตรูส้ม ควรใช้วิธีการที่ปลอดภัย เพื่อเป็นการอนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติดังกล่าว

ตารางที่ 2 การใช้ชีวินทรีย์และสารป้องกันกำจัดแมลงและไรศัตรูส้มเขียวหวาน

แมลงและไร
ศัตรูพืช
ชีวินทรีย์/
สารป้องกัน
กำจัดศัตรูพืช
อัตราการใช้
น้ำ 20 ลิตร
วิธีการใช้/
ข้อควรระวัง
หยุดใช้สาร
ก่อน
การเก็บเกี่ยว
(วัน)
หนอนชอนใบส้ม ฟลูเฟนนอกซูรอน
(5% EC)
อิมิดาโคลพริด
(10% SL)
6 มิลลิลิตร8 มิลลิลิตร
สุ่มสำรวจยอดอ่อน
5 ยอด/ต้น
จำนวน 20 ต้น
พ่นเมื่อพบการ
ทำลายเกิน 50%

1414

เพลี้ยไฟพริก อิมิดาโคลพริด
(10% SL)
โฟซาโลน
(35% EC)
10 มิลลิลิตร
60 มิลลิลิตร
สุ่มยอดอ่อนและ
ผลอ่อนพ่นเมื่อพบ
การทำลายเกิน
20%
1414

เพลี้ยไก่แจ้ส้ม อิมิดาโคลพริด
(10% SL)
8 มิลลิลิตร
สุ่มยอดอ่อนพ่น
เมื่อพบตัวเต็มวัย
และตัวอ่อนลง
ทำลาย
14
หนอนเจาะสมอ
ฝ้าย
เชื้อแบคทีเรีย
บาซิลลัสทูริงเยนซิส
(Bt) ชนิดผง
เชื้อไวรัส NPV
คลอร์ฟลูอาซูรอน
(5% EC)
60-80 กรัม 

40 มิลลิลิตร
20 มิลลิลิตร

สุ่มสำรวจดอกตูม
หรือยอดอ่อน พ่น
เมื่อพบถูกทำลาย
เกิน 10 %

14

เพลี้ยอ่อน คาร์โบซัชแฟน
(20% EC)
40-50
มิลลิลิตร
สุ่มยอดอ่อน และ
ใบอ่อนเมื่อพบ
ทำลายมากกว่า
30%
14
ไรแดงแอฟริกัน
ไรเหลืองส้ม
โพรพาร์ไกต์
(30% wp)
อามีทราซ
(20%EC)
โบรโมโพรไพเลต
(25%EC)
เฮกซีไทอะซอกซ์
(1.8%EC)
30 กรัม30 มิลลิลิตร

30 มิลลิลิตร

40 มิลลิลิตร

สุ่มสำรวจยอดส้ม
1-3 ยอด/ต้น
รอบนอกทรงพุ่ม
พ่นเมื่อใบถูก
ทำลายเกิน 60%
หรือผลอ่อน
มากกว่า 20%
(ไม่ควรใช้สารฆ่า
ไรชนิดเดียวติดต่อ
กันนาน ควรใช้
สลับเพื่อมิให้ไร
สร้างความต้าน
ทานต่อสารฆ่าไร
เร็วเกินไป)
15
ไรสนิมส้ม กำมะถัน
(80%wg)
โพรพาร์ไกต์
(30%wp)
อามีทราซ
(20%ec)
ไพริดาเบน
(20%wp)
60 กรัม30 กรัม

30 มิลลิลิตร

10-15 กรัม

สุ่มสำรวจ พ่นเมื่อ
พบระบาดทำลาย
ผลส้ม
.

6.3 วัชพืชและการป้องกันกำจัด

6.3.1 ชนิดวัชพืช

6.3.1.1 วัชพืชฤดูเดียว เป็นวัชพืชที่ครบวงจรชีวิตภายในฤดูเดียว ส่วนมากขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

วัชพืชประเภทใบแคบ เช่น  หญ้าตีนกา หญ้าปากควาย หญ้าตีนนก หญ้าขจรดอกเล็ก หญ้าขจร
ดอกใหญ่  หญ้านกสีชมพู เป็นต้น
วัชพืชประเภทใบกว้าง เช่น  ผักโขม ผักยาง ผักเบี้ยใหญ่ กระดุมใบ ผักแครด เป็นต้น
วัชพืชประเภทกก เช่น  กกทราย กกดอกแบน เป็นต้น

6.3.1.2 วัชพืชข้ามปี เป็นวัชพืชที่ขยายพันธุ์ด้วย ต้น ราก เหง้า หัว และไหล ได้ดีกว่าขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

วัชพืชประเภทใบแคบ เช่น  หญ้าคา หญ้าแพรก หญ้าชัดกาด หญ้าขจรดอกเหลือง
วัชพืชประเภทใบกว้าง เช่น  สาบเสือ สะอึกดอกขาวเล็ก เถาตอเชือก เป็นต้น
วัชพืชประเภทกก เช่น  แห้วหมู

6.3.2 การป้องกันกำจัดวัชพืช

ระหว่างแถวระหว่างต้นส้มเขียวหวาน ควรตัดวัชพืชให้สั้นอยู่เสมอ
– ใต้โคนต้นส้มเขียวหวานในรัศมีทรงพุ่ม ควรดายวัชพืชหรือคลุมด้วยเศษวัชพืช หรือฟางข้าว แต่ในฤดู
ฝนต้องระวังอย่าให้ชื้นมาก หรืออย่าให้มีน้ำขัง
– ระหว่างแถวระหว่างต้นส้มเขียวหวาน ปลูกพืชคลุมดินตระกูลถั่ว เช่น ถั่วพร้า หรือ ถั่วซีรูเลียม
– พ่นสารกำจัดพืชตามคำแนะนำในตารางที่ 3

ตารางที่ 3 การใช้สารกำจัดวัชพืชในสวนส้มเขียวหวาน

วัชพืช
สารกำจัดวัชพืช
อัตราการใช้/
น้ำ 20 ลิตร
วิธีการใช้/
ข้อควรระวัง
วัชพืชฤดูเดียว พาราควอท
(27.6% SL)
75-150
มิลลิลิตร
พ่นขณะวัชพืชเจริญ
เติบโตเต็มที่และก่อน
ออกดอก ระวังละออง
สารสัมผัสใบและต้น
ส้มเขียวหวาน
วัชพืชข้ามปี ไกลโฟเสท
(48% SL)
125-150
มิลลิลิตร
กลูโฟสิเนต แอมโมเนียม
(15% SL)
400-500
มิลลิลิตร

7. คำแนะนำการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างปลอดภัย

การใช้สารป้องกันกำจัดศัตรุพืชที่ เหมาะสม เกษตรกรควรรู้จักศัตรูพืช     ชนิดและอัตราการใช้สารป้องกัน
กำจัดศัตรูพืช รวมทั้งการเลือกใช้เครื่องพ่น และหัวฉีดที่ถูกต้อง นอกจากนั้นการพ่นควรกระจายให้คลุมทั้งต้นโดยเฉพาะ
บริเวณที่ศัตรูพืชเข้าทำลาย มีข้อแนะนำควรปฏิบัติ ดังนี้

7.1 การใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างเหมาะสม

  • ตรวจอุปกรณ์เครื่องพ่นอย่าให้มีรอยรั่ว เพราะจะทำให้สารพิษเปียกเปื้อนเสื้อผ้าและร่างกายของผู้พ่นได้
  • ต้องสวนเสื้อผ้าและรองเท้าให้มิดชิด รวมทั้งสวมหน้ากาก หรือผ้าปิดจมูก และศีรษะเพื่อป้องกันอัตรายจากสารพิษ
  • อ่านฉลากคำแนะนำ คุณสมบัติ และการใช้ก่อนทุกครั้ง
  • ควรพ่นในช่วงเช้าหรือเย็นขณะลมสงบ    หลีกเลี่ยงการพ่นในเวลาแดดจัดหรือลมแรง      และผู้พ่นต้องอยู่เหนือลม
    ตลอดเวลา
  • ควรเตรียมสารเคมีให้ใช้หมดในคราวเดียว ไม่ควรเหลือติดค้างในถังพ่น
  • เมื่อเลิกใช้ควรปิดฝาภาชนะบรรจุสารเคมีให้สนิท เก็บไว้ในที่มิดชิด ห่างจากสถานที่ ปรุงอาหาร แหล่งน้ำ และต้อง
    ปิดกุญแจโรงเก็บตลอดเวลา
  • ภายหลังการพ่นสารกำจัศัตรูพืชทุกครั้ง   ผู้พ่นต้องอาบน้ำ สระผม  และเปลี่ยนเสื้อผ้าทันที เสื้อผ้าที่ใส่ขณะพ่นสาร
    ต้องซักให้สะอาดทุกครั้ง
  • ไม่เก็บเกี่ยวผลผลิตก่อนสารเคมีที่ใช้จะสลายตัวถึงระดับ ปลอดภัย        โดยดูจากตารางคำแนะนำการใช้สารป้องกัน
    กำจัดศัตรูพืช
  • ทำลายภาชนะบรรจุสารเคมีที่ใช้หมดแล้ว (โดยการฝังดิน) อย่างทิ้งตามร่องสวน หรือทิ้งลงแม่น้ำลำคลอง

7.2 การพ่นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช

7.2.1 เครื่องพ่น นิยมใช้มี 2 ชนิด ได้แก่

– เครื่องพ่นแบบสูบโยกสะพายหลัง
– เครื่องยนต์พ่นสารชนิดใช้แรงดันของเหลว (ลากสายหรือแบบปั๊ม 3 สูบ)

7.2.2 วิธีการใช้

  • เครื่องพ่นแบบสูบโยกสะพายหลัง ใช้อัตราการพ่น 60-80   ลิตรต่อไร่สำหรับการพ่นสารฆ่าแมลงและสารป้องกัน
    กำจัดโรคพืช   ใช้หัวฉีดแบบกรวยขนาดเล็ก   (เส้นผ่าศูนย์กลาง   0.6 มิลลิเมตร)  และใช้หัวฉีดแบบพัด หรือแบบ
    ปะทะ  สำหรับการพ่นสารกำจัดวัชพืช
  • การพ่นสารกำจัดวัชพืชต้องแยกใช้เครื่องพ่นเฉพาะ      และหลังพ่นไม่ควรรบกวนผิวหน้าดินขณะพ่นกดหัวฉีดต่ำ
    เพื่อให้ละอองสารเคมีตกลงบนพื้นที่ต้องการควบคุมวัชพืชเท่านั้น   ระวังการพ่นซ้ำแนวเดิม เพราะจะทำให้สารลง
    เป็นสองเท่า
  • เครื่องยนต์พ่นสารชนิดใช้แรงดันของเหลวใช้อัตราการพ่น    80-120   ลิตรต่อไร่ ใช้หัวฉีดแบบกรวยขนาดกลาง
    (เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.0-1.2 มิลลิเมตร)  ปรับความดันในระบบการพ่นไว้ที่   10 บาร์ หรือ 150 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว
    ถ้าเป็นหัวฉีดแบบกรวยชนิดปรับได้     ควรปรับให้ได้ละอองกระจายกว้างที่สุด ซึ่งจะได้ละอองขนาดเล็กสม่ำเสมอ
    เหมาะสำหรับการพ่นสารป้องกันกำจัดแมลงและโรคพืช
  • เริ่มทำการพ่นจากทางใต้ลม และขยายแนวการพ่นขึ้นเหนือลม ขณะเดียวกันหันหัวฉีดไปทางใต้ลมตลอดเวลา เพื่อ
    หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช
  • การพ่นควร พลิก – หงายหัวฉีดขึ้น-ลง เพื่อให้ละอองแทรกเข้าทรงพุ่มได้ดีขึ้น โดยเฉพาะด้านใต้ใบ

8. การเก็บเกี่ยว

8.1 ระยะเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม

  • นับจากวันออดดอกถึงเก็บผลใช้เวลา 8 เดือนครึ่งถึง 10 เดือน ผลส้มพร้อมเก็บเกี่ยวควรมีผิวสีเขียวอมเหลือง หรือ
    เหลืองเข้ม ความแข็งของผลส้มลดลง

8.2 วิธีการเก็บเกี่ยว

  • ใช้วิธีปลิดผลโดยใช้มือจับทางด้านใต้ผลขึ้นไป แล้วหักพับตรงบริเวณขั้วผลไปทางด้านใดด้านหนึ่ง
  • หากจะนำผลส้มไปเคลือบผิวก่อนจำหน่าย ควรเก็บเกี่ยวโดยใช้กรรไกรตัดก้านผลให้ชิดกับขั้วผล

9. วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว

  • หลังจากทำความสะอาดและคัดขนาดผลเสร็จเรียบร้อยแล้ว บรรจุส้มลงในภาชนะ เช่น กล่องกระดาษ หรือตะกร้า
    พลาสติกเพื่อรอการจำหน่าย
  • ควรมีการเก็บรักษาผลส้มไม่ให้เสื่อมคุณภาพด้วยวิธีการต่าง ๆ    เช่น การเก็บไว้ในห้องเย็น   เก็บไว้ในห้องมืด และ
    วิธีเคลือบผิวส้มด้วยน้ำยา เช่น ขี้ผึ้ง พาราฟิน แฟตตี้แอซิค

10. การบันทึกข้อมูล

  • เกษตรกรควรบันทึกการปฏิบัติการในขั้นตอนการผลิตต่าง ๆ ให้มีการตรวจสอบได้ หากเกิดข้อผิดพลาดบกพร่อง
    ขึ้นสามารถจัดการแก้ไขหรือปรับปรุงได้ทันท่วงที เช่น
    – บันทึกสภาวะแวดล้อม เช่น อุณหภูมิ ความชื้น ปริมาณน้ำฝน
    – พันธุ์ วันปลูก วันปลูกซ่อม
    – วันใส่ปุ๋ย สารเคมี และชนิดชีวินทรีย์ พร้อมอัตราการใช้
    – วันที่ศัตรูพืชระบาด
    – ค่าใช้จ่าย ปริมาณผลผลิต และรายได้
    – ปัญหาอุปสรรคอื่น ๆ ในช่วงฤดูปลูก

5 thoughts on “การผลิตส้มเขียวหวานอย่างถูกต้องเหมาะสม

  1. สีจอดำ ยิ่งอ่านยากมากๆๆๆๆ หลายเท่า แถมตัวอักษรยังเขียวเข้มอีก ถ้าเป็นสีเหลือง หรือขาว น่าจะค่อยยังชั่ว ที่จริงวิชาการ เอาพื่นขาว อักษรดำ ก็พอ ถ้าเบื่อ เอาภาพสวยๆ มาประกอบ น่าจะดีกว่านะคะ ตัวอักษรคำอธิบายเล็กมาก ต้องขยายถึง 150% แต่หัวข้อกลับใหญ่กว่ามาก

    ถูกใจ

    • ปกติผมก็จะเปลี่ยนรูปแบบแสดงผลไปเรื่อย ๆ แก้เบื่อเพราะผมเก็บข้อมูลวันละ ๑๐๐-๒๐๐ เรื่อง รูปแบบนี้เก็บข้อมูลได้เร็วมาก ลองใช้เม้าส์มาร์คข้อความที่ต้องการอ่านจะตัวอักษรสีขาวพื้นเขียวครับ

      ถูกใจ

  2. จำหน่ายกิ่งพันธ์ส้มเขียวหวาน พันธ์ุเขียวดำเนิน ทนต่อโรคและศัตรูพืช ให้ผลดก รับรองว่าเป็นพันธ์ุเขียวดำเนินแท้ จัดจำหน่ายมามากว่า 5 ปีแล้ว มีทั้งกิ่งชำและต้นกล้าที่เพาะลงถุงดำสามารถนำไปปลูกได้ทันที สนใจติดต่อ เจ้จันทร์ เบอร์โทร 0806571909 ราคาเป็นกันเอง ถูกกว่าเจ้าอื่นแน่นอนจ้าาาาาาาา ^^

    ถูกใจ

ใส่ความเห็น