การผลิตปทุมมาอย่างถูกต้องเหมาะสม

Department Of Agriculture  กรมวิชาการเกษตร.

เกษตรดีที่เหมาะสมสำหรับการผลิตปทุมมา

Good Agricultural Practice (GAP) For Curcuma

1. แหล่งปลูก

1.1 สภาพพื้นที่
–  ไม่ควรปลูกในที่ที่เคยปลูกปทุมมามาก่อน   แต่ถ้าเป็นพื้นที่เดิมควร เว้น  3 ปีก่อนปลูก
–  พื้นที่ปลูกไม่เคยมีประวัติการระบาดของโรคหัวเน่าหรือ โรคเหี่ยวมาก่อน  หรือพื้นที่ที่ไม่เคยปลูกพืชอาศัยของโรคนี้
–  ปลูกได้ทั้งที่ดอนและที่ลุ่มแต่ต้องไม่เป็นแหล่งที่น้ำท่วมขัง
–  การคมนาคมสะดวก
–  ห่างไกลจากแหล่งมลพิษ
1.2 ลักษณะดิน
–  เป็นดินร่วนหรือร่วนปนทราย   และมีความสมบูรณ์ปานกลาง
–  ดินปลูกควรเป็นดินที่มีการระบายน้ำดี
–  มีค่าความเป็น กรด-ด่าง  ประมาณ  6.5 – 7.0
1.3 สภาพภูมิอากาศ
–  อุณหภูมิทีเหมาะสมในช่วงกลางวันระหว่าง  20 – 30  องศา   อุณหภูมิกลางคืนระหว่าง 18 – 25  องศา
–  มีปริมาณน้ำฝนกระจายสม่ำเสมอ  ไม่เหมาะสมในพื้นที่ฝนตกชุก   เช่น   ภาคใต้
–  ชอบแสงแดด
1.4 แหล่งน้ำ
–  เป็นแหล่งน้ำสะอาด   ถ้าพบเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคหัวเน่า   ควรกำจัดก่อนใช้ตามคำแนะนำใน ข้อ  6.1.1
–  มีค่าความเป็น กรด-ด่าง ของน้ำประมาณ  5.5 – 6.5
–  มีน้ำเพียงพอสำหรับใช้ตลอดฤดูปลูก

2. พันธุ์

2.1 การเลือกพันธุ์
–  เป็นพันธุ์ที่ตลาดต้องการ
–  ให้ผลผลิตสูง

2.2 พันธุ์ที่นิยมปลูก

พันธุ์ปลูกเป็นไม้ตัดดอก ได้แก่   ปทุมมาเชียงใหม่สีชมพู   ปทุมมาเชียงใหม่สีชมพูอ่อน   ปทุมมา เชียงใหม่สี
ชมพูเข้ม   พันธุ์สโนว์ไวท์   พันธุ์ทรอปิคอลสโนว์
ปทุม มาเชียงใหม่สีชมพู  สีชมพูอ่อน  สีชมพูเข้ม
มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์คล้ายคลึงกัน  แตก ต่างกันที่สีของช่อดอกและสีดอกจริง  โดยมีลักษณะทั่วๆ ไปดังนี้
–   ความสูงต้น  40-45  เซนติเมตร   การแตกกอดีมีจำนวนหน่อ  10 – 15  หน่อ/กอ
–   ใบแผ่ตั้งแข็งแรง   ลักษณะใบรีค่อนข้างกว้าง   ขนาดใบ  กว้าง x ยาว   เฉลี่ย  6.0 x 24.0  เซนติเมตร
แผ่นใบสีเขียว   เส้นกลางใบเรื่อสีน้ำตาล
–   ช่อดอกยาว  60-70  เซนติเมตร   ก้านช่อดอกตรงแข็งแรง  เส้นผ่าศูนย์กลาง ก้าน  0.9-1.0  เซนติเมตร
–   สีกลีบประดับส่วนบน  (coma bract)  มีสีชมพู  สีชมพูอ่อน  และสีชมพูเข้ม   แตกต่างกันตามชื่อของ
แต่ละพันธุ์   กลีบประดับกว้าง   มีประมาณ 13-15 กลีบ  เรียงเป็นวงสลับกันคล้ายดอกบัวตูม
–   ดอกจริงของปทุมมาสีชมพู มีสีขาวปากล่างสีม่วง    ปทุมมาสีชมพูอ่อน มีสีขาวปากล่างสีม่วงอ่อน   และ
ปทุมมาสีชมพูเข้ม มีสีขาวปากล่าวสีม่วงเข้ม
–   ผลผลิตดอก  5-8  ดอก/กอ
พันธุ์ สโนว์ไวท์
–   ความสูงต้น  40-45  เซนติเมตร   การแตกกอ  9-12  หน่อ/กอ
–   ใบแผ่ตั้งแข็งแรง  ใบรีค่อนข้างกว้าง  ขนาดใบกว้าง x ยาว  เฉลี่ย 7.0 x 20.0  เซนติเมตร  แผ่ใบสีเขียว
เส้นกลางใบสีเขียว
–   ช่อดอกยาว  50-60  เซนติเมตร   ก้านช่อดอกตรงแข็งแรง   เส้นผ่าศูนย์กลางก้าน  0.9-1.0  เซนติเมตร
–   กลีบประดับส่วนบมีสีขาวปลายกลีบแต้มเขียว    กลีบกว้าง   มี  13-15  กลีบ   ทรงดอกคล้ายดอกบัวบาน
ดอกใหญ่
–   ดอกจริงสีขาว  ปากล่างสีม่วง
–   ผลผลิตดอก  5-6  ดอก/กอ
พันธุ์ ทรอปิคอล สโนว์
–   ความสูงต้น  50-55  เซนติเมตร   การแตกกอปานกลาง   จำนวนหน่อ  10-12  หน่อ/กอ
–   ใบยาวแผ่ออกด้านข้าง  ขนาดใบกว้าง x ยาว  เฉลี่ย 7.5 x 30.5  เซนติเมตร   แผ่นใบสีเขียว   เส้นกลาง-
ใบสีเขียว
–   ช่อดอกยาวประมาณ  60  เซนติเมตร   ก้านช่อดอกยาว   เส้นผ่าศูนย์กลางก้าน  0.9-1.0  เซนติเมตร
–   กลีบประดับส่วนบมีสีขาว  ปลายกลีบแต้มเขียวเล็กน้อย   กลีบประดับรีค่อนข้างกว้าง  ปลายกลีบแหลม
มีประมาณ  10  กลีบ   ทรงดอกบัวบาน
–   ดอกจริงสีขาว  ปากล่างสีม่วง
–   ผลผลิตดอก  4-6  ดอก/กอ
ข้อจำกัด  : คอดอก ค่อนข้างอ่อน  จึงควรตัดดอกระยะดอกแย้ม  โดยมีดอกจริงบานเพียง  1-2  ดอก

พันธุ์ สโนว์ไวท์
–   ความสูงต้น  40-45  เซนติเมตร   การแตกกอ  9-12  หน่อ/กอ
–   ใบแผ่ตั้งแข็งแรง  ใบรีค่อนข้างกว้าง  ขนาดใบกว้าง x ยาว  เฉลี่ย 7.0 x 20.0  เซนติเมตร  แผ่ใบสีเขียว
เส้นกลางใบสีเขียว
–   ช่อดอกยาว  50-60  เซนติเมตร   ก้านช่อดอกตรงแข็งแรง   เส้นผ่าศูนย์กลางก้าน  0.9-1.0  เซนติเมตร
–   กลีบประดับส่วนบมีสีขาวปลายกลีบแต้มเขียว    กลีบกว้าง   มี  13-15  กลีบ   ทรงดอกคล้ายดอกบัวบาน
ดอกใหญ่
–   ดอกจริงสีขาว  ปากล่างสีม่วง
–   ผลผลิตดอก  5-6  ดอก/กอ

พันธุ์ปลูกเป็นไม้กระถาง ได้แก่   ไข่มุกสยาม  บัว สวรรค์ขาวเตี้ย   บัวสวรรค์ชมพูเตี้ย
พันธุ์ ไข่มุกสยาม
–   ความสูงต้น  28-33  เซนติเมตร   การแตกกอ  เฉลี่ย  6-10  หน่อ/กอ
–   ใบสวย   รูปร่างใบรีกว้างสั้น   ขนาดใบกว้าง  x  ยาว    เฉลี่ย  7 x 18  เซนติเมตร    แผ่นใบสีเขียวนวล
เส้นกลางใบสีเขียว
–   ช่อดอกยาว 35 – 45  เซนติเมตร   ชูช่อเหนือพุ่มใบเห็นเด่นชัด   ก้านช่อดอกแข็ง   เส้นผ่าศูนย์กลางก้าน
0.5-0.6  เซนติเมตร
–   สีกลีบประดับส่วนบนมีสีขาวนวล   ปลายกลีบแดงเมื่อดอกบานเต็มที่   กลีบประดับกว้างปลายกลียมน   มี
จำนวน  9  กลีบ   ทรงดอกคล้ายดอกทิวลิป
–   ดอกจริงสีขาว  ปากล่างสีม่วง
–   ออกดอกพร้อมกัน   คราวละ  2-3  ช่อต่อกระถาง
พันธุ์ ไข่มุกสยาม
–   ความสูงต้น  30-40 ซ.ม.  การแตกกอ  เฉลี่ย 7-12  หน่อ/กอ   แตกกอเร็วทำให้พุ่มใบด้านล่างแน่นเร็ว
–   ใบเรียวค่อนข้างแคบ   ขนาดใบกว้าง x ยาว   เฉลี่ย  6.5 x 21  เซนติเมตร   แผ่นใบสีเขียว
เส้นกลางใบสีน้ำตาลเข้ม
–   ช่อดอกยาว  45-55  เซนติเมตร   ก้านช่อดอกตรง   เส้นผ่าศูนย์กลางกล้าน  0.5-0.6  เซนติเมตร
–   กลีบประดับส่วนบนสีขาว   มีจำนวน  9  กลีบ   ทรงดอกบัวบาน
–   ดอกจริงสีขาว  ปากล่างสีม่วงเข้ม
–   ออกดอกพร้อมกัน   คราวละ  2-3  ช่อต่อกระถาง
บัว สวรรค์ชมพูเตี้ย
–   ความสูงต้น  30-35 ซ.ม.  การแตกกอ  เฉลี่ย 7-12  หน่อ/กอ
–   ใบตั้ง  รูปร่างรีค่อนข้างแคบ   ขนาดใบกว้าง x ยาว   เฉลี่ย  5.0 x 21.0  เซนติเมตร   แผ่นใบสีเขียว
–   ช่อดอกยาว  35-40  เซนติเมตร   ก้านช่อดอกตรง   เส้นผ่าศูนย์กลางก้าน  0.5-0.6  เซนติเมตร
–   กลีบประดับส่วนบนสีชมพู  ปลายกลีบแต้มชมพูแดง  มีประมาณ  9  กลีบเรียงซ้อน กันคล้ายดอกบัวสาย
–   ดอกจริงสีขาว  ปากล่างสีม่วง
–   ออกดอกพร้อมกัน   คราวละ  2-3  ช่อต่อกระถาง

3. การปลูก

3.1 การเตรียมดิน
–   วิเคราะห์ดินปรับสภาพความเป็นกรดด่างของดินให้อยู่ระหว่าง  6.5-7.0
–   เก็บซากพืชในแปลงเผาทิ้ง   ไถดิน  1  ครั้ง   ตากดิน  20-30 วัน   และเก็บเศษวัชพืชออกจากแปลง

3.2 วิธีการปลูก

3.2.1 การเตรียมหัวพันธุ์
–   ใช้หัวพันธุ์ปลอดโรคที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ   หรือจากแปลงที่ ไม่แสดงอาการ
–   คัดขนาดหัวพันธุ์แยกเป็นขนาดหัวใหญ่  (เส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า  1.5  ซ .ม.)   หัวกลาง (1-1.5 ซ.ม.)
และหัวเล็ก (น้อยกว่า  1.0  ซ.ม.)
–   นำหัวพันธุ์ที่คัดขนาดบ่มในขุยมะพร้าวชื้นหมาดๆ โดยวางด้านตาขาวลงบนพื้น ขุยมะพร้าว  บ่มในอุณหภูมิ
30 – 33  องศา   ความชื้น 70% หรือคลุมด้วยพลาสติกเพื่อให้มีความร้อนสะสม นาน 30-45 วัน   เป็นการ
กระตุ้นหัวพันธุ์แต่ละขนาดให้งอกสม่ำเสมอ  โดยกระบะเพาะไม่ถูกแสงแดดจัด    เพื่อป้องกันอุณหภูมิบ่มที่
สูงเกิน
–   คัดหัวพันธุ์ที่งอกหน่อขนาดเท่ากันปลูกในแปลงเดียวกัน

3.2.2 ระยะปลูก

การปลูกลงแปลง
–   ควรแบ่งแปลงเป็นแปลงย่อย ๆ   ขนาดแปลงละ  1  งาน   จัดทำทางระบายน้ำให้ดี  และระหว่างแปลงย่อย
ปลูกคั่นด้วยพืชที่ไม่ใช่พืชอาศัยของ โรคเน่า  เช่น  ข้าวโพด  ข้าวฟ่าง  ถั่วเขียว  ตะไคร้  ประมาณ  1 เมตร
เพื่อป้องกันการพร่ระบาดของโรคหัวเน่า
–   ยกแปลงสูง  20-30  เซนติเมตร   กว้าง  1.0-1.2  เมตร   เว้นร่องทางเดิน  0.5  เมตร
–   ปลูกโดยวางหน่อชิดพื้นวัสดุปลูกและปลายหน่อชี้ขึ้น   กลบดินและคลุมด้วย ฟางเพื่อไม่ให้หน่อไหม้
–   ระยะปลูกขึ้นกับขนาดของหัวพันธุ์ได้แก่
–  ขนาดหัวใหญ่   ระยะ ปลูก  30 x 30  เซนติเมตร   หรือ  10,000  หัวต่อไร่
–  ขนาดหัวกลาง   ระยะ ปลูก  20 x 25  เซนติเมตร   หรือ  15,000  หัวต่อไร่
–  ขนาดหัวเล็ก      ระยะปลูก  20 x 20  เซนติเมตร   หรือ  20,000  หัวต่อไร่
–   ปลูก  1 หัวต่อหลุม   ปลูกลึก  7 x 10  เซนติเมตร  จากผิวดิน
–   สำหรับแปลงที่ไม่มีการคลุมพลาสติกอบดิน   ควรพ่นสารกำจัดวัชพืชหลังการ ปลูก
–   การปลูกเพื่อตัดดอก   ในช่วงดอกตูมถึงดอกบานใช้ซาแรน  50-70% พรางแสง   ก้านดอกจะยาวสีสวย
ปลายกลีบดอกมีสีน้ำตาลน้อยเหมาะกกับการ ตัดดอก

การปลูกลงถุง
–   วัสดุปลูกที่เหมาะสมคือ   ทราย  :  แกลบดิบหรือขุยมะพร้าว  :  ถ่าน แกลบ    อัตรา  1 : 1 : 1
–   ผสมวัสดุปลูกแล้วหมักกองไว้กลางแดด   โดยกองสูงประมาณ  20 – 30  เซนติเมตร   พรมน้ำให้ชุ่ม   คลุม
ด้วยพลาสติกใส   นาน  1  เดือน  เพื่ออบฆ่าเชื้อ
–   ใช้หัวพันธุ์ขนาดใหญ่มีรากสะสมอาหาร  2 – 3  ราก   ปลูกลงถุงพลาสติกสีดำ   ขนาด  6 x 12  นิ้ว  1 หัว
ต่อถุง   พื้นที่  1 ตารางเมตร  วางถุงได้  20-25  ถุง  สามารถเก็บเกี่ยวหัวใหม่ได้  5-7 หัวต่อถุง
–   การปลูกลงถุงโดยใช้วัสดุปลูกไม่มีดินจำเป็นต้องมีการจัดการปุ๋ยและน้ำที่ ดี
–   ปูพื้นแปลงด้วยแกลบดิบหรือคลุมด้วยพลาสติกใส   เพื่อป้องกันการติดเชื้อโรค หัวเน่าจากดิน
–   การวางถุงควรวางบนแปลงที่ยกสูงจากพื้น  20-30  เซนติเมตร   หน้าแปลงควรมีความลาดเอียงเล็กน้อย
เพื่อให้มีการระบายน้ำที่ดี

3.2.3 ฤดูปลูก ฤดูปลูกสามารถแบ่งได้เป็น  3  ช่วงคือ

ปลูกก่อนฤดู
–   เริ่มปลูกตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม
–   ก่อนปลูกต้องนำหัวพันธุ์ไปบ่มตามคำแนะนำข้อ  3.2.1  ในช่วงเดือนมกราคม เพื่อทำลายการพักตัว
–   นำลงปลูกรดน้ำให้ชุ่มและสม่ำเสมอ  ถ้าขาดน้ำหรือน้ำไม่เพียงพออาจทำให้หัว พันธุ์ตายนึ่ง  หรือยอดไหม้ได้
–   ข้อดีของการปลูกเร็วคือสามารถผลิตดอกได้ก่อนฤดู  ประมาณเดือนพฤษภาคม  และ สามารถเก็บเกี่ยวหัวพันธุ์
และจำหน่ายได้เร็วขึ้น

ปลูกฤดูปกติ
–   ปลูกช่วงเดือนเมษายน – พฤษภาคม   เป็นการปลูกโดยอาศัยน้ำฝน
–   หลังปลูกประมาณ  2.5 – 3  เดือน   ต้นปทุมมาจะเริ่มออกดอกในเดือน  กรกฎาคม – สิงหาคม   และจะพักตัว
เมื่อเข้าฤดูหนาวในช่วงเดือน  พฤศจิกายน – ธันวาคม

ปลูกหลังฤดู
–   ปลูกในช่วงเดือน  มิถุนายน – กรกฎาคม
–   การปลูกวิธีนี้มีข้อดีคือ  สามารถตากดิน  อบดินเพื่อกำจัดเชื้อโรคหัวเน่าได้นาน   ดินมีโอกาสปลอดเชื้อมากขึ้น
และพืชมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวเน่าน้อยลง   แต่พืชมีช่วงสะสมอาหารสั้นเพียง  5 – 6  เดือน  จึงต้อง
มีการจัดการปุ๋ย  และน้ำที่ดีให้เพียงพอต่อความต้องการของพืช   จึงต้องเก็บรักษาหัวพันธุ์มิให้เหี่ยวมากก่อน
ปลูกตามคำแนะนำข้อ 8.1.4

4. การดูแลรักษา

4.1 การให้ปุ๋ย
–   ก่อนปลูก   รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยสูตร  15-15-15  หรือ  16-16-16   อัตรา ประมาณ  15กรัม/หลุม
–   เมื่อใบคู่แรกกางใส่ปุ๋ยสูตรที่มีไนโตรเจนสูง  เช่น  21-7-14 , 15-0-0  หรือสูตร  16-16-16   อัตรา  15 กรัมต่อกอ
เดือนละครั้ง
–   เมื่อออกดอกใส่ปุ๋ย  13-13-21   และพ่นธาตุอาหารเสริมทางใบที่ มี   แคลเซียม   แมกนีเซียม   โบรอน   สังกะสี   และ
ทองแดง  เป็นต้น   เมื่อพืชแสดงอาการใบเหลืองขาดธาตุอาหาร
–   เมื่อพืชเริ่มลงหัวใส่ปุ๋ยที่มีฟอสฟอรัส  และโพแทสเซียมสูง   เช่น   8-16-24 , 14-14-21  หรือ  13-13-21   อัตรา
15 กรัมต่อกอ  เดือนละครั้ง
–   การให้ปุ๋ยกับการปลูกลงถุงควรให้ปุ๋ยปริมาณน้อยแต่บ่อยครั้งกว่าการให้ใน แปลง อัตรา 7-10  กรัมต่อถุงทุก 3 สัปดาห์

4.2 การให้น้ำ
–   ปทุมมาต้องกานน้ำสม่ำเสมอในช่วงการเจริญเติบโตและการออกดอก   ส่วนใหญ่อาศัยน้ำฝนเป็นหลัก  ให้น้ำเสริมเมื่อ
ฝนทิ้งช่วง
–   ควบคุมการระบายน้ำในแปลงปลูกไม่ให้น้ำท่วมขัง  เพื่อลดความเสี่ยงต่อการ เกิดโรค
–   ระบบการให้น้ำ   มีการให้น้ำระบบสปริงเกอร์พ่นฝอยเหนือต้นปทุมมา   หรือใช้ระบบน้ำหยดพร้อม กับให้ปุ๋ย
–   ถ้าตรวจพบน้ำที่ใช้ในแปลงปลูก  และใช้ล้างหัวพันธุ์มีเชื้อแบคทีเรีย สาเหตุโรคหัวเน่าปนเปื้อนให้ทำการบำบัดน้ำที่จะ
ใช้โดยใส่คลอรีนผง (คลอรีน 20 เปอร์เซ็นต์)  อัตราส่วน  5  กรัมต่อน้ำ 200 ลิตร  ปล่อยทิ้งค้างคืนไว้แล้วจึงนำไปใช้

4.3 การปลิดดอก
–   ในกรณีที่ปลูกเพื่อผลิตหัวพันธุ์   เมื่อพืชออกดอกควรปลิดดอกทิ้งเพื่อให้แตกกอเพิ่มขึ้น  และอาหารที่สังเคราะห์ขขึ้น
จะถูกส่งไปสะสมที่หัวทำให้ได้หัวขนาดใหญ่ได้มาตรฐาน ส่งออกมาก

4.4 การปลูกให้ได้ตุ้มสะสมอาหารสั้น รากสะสมอาหารหรือตุ้มที่ตลาดต้องการมีลักษณะอวบ  สั้น  การปลูกให้ได้
ตุ้มสั้น  มีหลายวิธีดังนี้

ปลูกในถุงพลาสติก

ปลูก หลังฤดู
–   ปลูกด้วยหัวขนาดเล็กหรือปลูกโดยใช้หัวขนาดกลางถึงใหญ่ที่ไม่มีตุ้มสะสม อาหาร
–   ปลูกหลังฤดู   ช่วงเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม   เพื่อให้มีการสะสมอาหารสั้นเพีง  5-6  เดือน
–   ปลูกโดยการจำกัดหน้าดิน   อย่าไถพรวนให้ลึกเกินไป   ชั้นดินปลูกควรลึก ประมาณ  15-20  เซนติเมตร

5. สุขลักษณะและความสะอาด

–   กำจัดวัชพืชในแปลงปลูกใน ระยะแรก   เพื่อไม่ให้แข่งขันกับปทุมมา  หรือเป็นแหล่งเพาะศัตรูพืช  หรือ ติดโรคกับผลผลิต
การพ่นสารฆ่าหญ้าชนิดดูดซึม   ควรทำด้วยความระมัดระวัง   การ ใช้ในอัตราที่ไม่เหมาะสมอาจทำให้หัวพันธุ์ที่ผลิตได้
ใหม่เจริญผิดปรกติ
–   อุปกรณ์    เช่น   มีด   เครื่องพ่นสารเคมี   ภาชนะที่ใช้เก็บผลผลิต  ฯลฯ    หลังใช้งานแล้วต้องทำความสะอาด    ควรแยก
เครื่องพ่นสารกำจัดโรค  แมลง   กับสารป้องกันกำจัดวัชพืช
–   เก็บสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและปุ๋ยเคมีในที่ ปลอดภัย  ภาชนะบรรจุที่ใช้สารหมดแล้วให้ทำลายอย่างเหมาะสม   เช่น
เผา   ทำลาย   ฝังดิน   ไม่ควรนำมาใช้ใหม่อีก


6. ศัตรูของปทุมมาและการป้องกันกำจัด

6.1 โรคที่สำคัญและการป้องกันกำจัด

6.1.1  โรคหัวเน่าหรือโรคเหี่ยว

สาเหตุเกิดจาก เชื้อแบคทีเรีย

ลักษณะอาการ หลังจากการติดเชื้อ  ใบแก่ที่อยู่ตอน ล่าง ๆ จะม้วนเป็นหลอดคล้ายอาการขาดน้ำและเปลี่ยนเป็นสีเหลือง
อาการจะลุกลามไปยังส่วนปลายยอด   บริเวณโคนต้นและหน่อที่แตกออกมา ใหม่มีลักษณะช้ำ   ฉ่ำน้ำ   ลำต้นมีลักษณะสีคล้ำหรือสี
น้ำตาลเข้ม   ซึ่งต่อมาจะเน่าเปื่อยหักหหลุดออกมาจากหัวโดยง่าย   ในที่สุดทั้งต้นจะแห้งตาย   หัวของต้นที่เป็นโรค  ระยะแรกมี
ลักษณะช้ำ   ฉ่ำน้ำเป็นปื้น ๆ  โดยเฉพาะหัวอ่อน   ต่อมาเนื้อหัวจะมีสีคล้ำขึ้นและเน่าเละ   เมื่อผ่าหัว ที่เป็นโรคระยะแรก   พบส่วน
ท่อน้ำ  ท่ออาหารมีลักษณะคล้ำสีม่วงน้ำเงินจางๆ  แล้วเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลในที่สุด และมีเมือกสีขาวข้นของเชื้อซึมออกมาตรงรอย
แผล
ช่วงเวลาระบาด สภาพดินและอากาศชุ่มชื้น

การแพร่ระบาด เชื้อแบคทีเรียเป็นเชื้อที่อาศัยอยู่ในดินได้เป็นเวลานานหลายปี    ก่อให้เกิดโรคในแปลงปลูก เมื่อปลูก
โดยใช้หัวพันธุ์ที่ติดเชื้อ    แปลงปลูกมีเศษซากพืชที่ติดเชื้อ   ดินที่มีเชื้ออยู่แล้ว  และมีวัชพืชเป็นพืชอาศัย    แล้วแพร่ระบาดไปกับ
เครื่องมือการเกษตร  มนุษย์  สัตว์เลี้ยง  ลม  น้ำชลประทานหรือน้ำฝน   โดยเชื้อจะเข้าทำลายทางบาดแผลหรือช่องเปิด ธรรมชาติ
ของพืช   นอกจากนี้ยังพบการทำลายของไส้เดือนฝอยที่ช่วยให้การระบาด ของโรคหัวเน่ารุนแรงมากขึ้น   สภาพอุณหภูมิ 25-35
องศาเซลเซียส   และความชื้นในดินสูง   จะทำให้การพัฒนาของโรคเป็น ไปอย่างรวดเร็ว

การป้องกันกำจัด
–   ก่อนปลูกพืช   ควรเลือกพื้นที่ที่ไม่เคยปลูกพืชอาศัย ของโรคหัวเน่ามาก่อน  เช่น  พืชตระกูลมะเขือ  ตระกูลขิงข่า  ตระกูล
ทานตะวัน  ฯลฯ    ประกอบด้วย   พริก   มะเขือเทศ   ยาสูบ   มันฝรั่ง   โทรงเทง   มะแว้ง   งา   ขิง   ดาวเรือง   เป็นต้น
–   กำจัดวัชพืชในแปลงก่อนปลูก 3  เดือน   และไถดินผึ่งให้แห้งก่อนปลูกอย่างน้อย 1 เดือน  เพื่อกำจัดเชื้อสาเหตุที่อาจอาศัย
อยู่ในวัชพืชและในดิน   กรณีที่ปลูกพืชหมุนเวียน   เช่น   ข้าว โพด   ข้าวฟ่างและข้าว    ควรกำจัดวัชพืชในแปลงให้หมด
ในระหว่างการปลูกพืชหมุนเวียน
–   ใช้หัวพันธุ์ที่ปลอดโรค
–   เมื่อเลือกพื้นที่ปลูกได้แล้ว  ควรเก็บตัวอย่างดินในแปลงส่งวิเคราะห์ความ เป็นกรด-ด่างของดิน  พร้อมทั้งธาตุอาหารหลัก
และอินทรีย์วัตถุ   เพื่อเป็นข้อมูลในการปรับปรุงความเป็นกรด – ด่าง   และความอุดมสมบูรณ์ของดิน   ค่าความเป็น กรด
ด่างของดินที่เหมาะสมควรอยู่ในช่วง  6.5 – 7.0
–   ในช่วงที่พืชกำลังเจริญเติบโตให้มั่นตรวจแปลง   ถ้าพบต้นที่แสดงอาการเป็นโรคหัวเน่าควรรีบถอนต้นที่เป็นโรค  ทำลาย
โดยการเผาทิ้ง   พร้อมทั้งขุดดินส่วนนั้นผึ่งแดด  และใช้ปุ๋ยยูเรียกับปูนขาวในอัตรา  1 : 10   โรยแล้วผสมคลุกเคล้ากับดิน
–    แล้วกลบทิ้งไว้   หรือราดดินบริเวณนั้นด้วยสารละลายคลอรอกซ์เข้มข้น  10  เปอรเซ็นต์   แล้วคลุมด้วยพลาสติกเพื่อกำจัด
เชื้อไม่ให้ลุกลามต่อไป
–   ก่อนเข้าแปลงปลูกปทุมมาทุกครั้งให้ทำความสะอาดโดยการแช่รองเท้าในน้ำยาฆ่า เชื้อโรค
–   ในช่วงที่พืชกำลังเจริญเติบโต ไม่ควรให้รากพืชเกิดบาดแผลเนื่องจากการใช้ เครื่องมือกำจัดวัชพืช  ควรใช้สารกำจัดวัชพืช                       แทน   เพื่อลดบาดแผลที่จะทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโรค
–   ภายหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตควรเก็บเศษต้นปทุมมาให้หมด   แล้วเผาทำลาย  ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้เป็นแหล่งอาศัยของเชื้อใน
แปลงปลูก
–   แปลงปลูกที่พบการระบาดของโรคหัวเน่า   ควรงดการปลูกพืชที่เป็นพืชอาศัยเป็นเวลา  3  ปี   และปลูกพืชหมุนเวียน   เช่น
ข้าวโพด   ข้าว   ข้าวฟ่าง   แล้วจึงเวียนกลับมาปลูกปทุมมาใหม่   เพื่อลดปริมาณเชื้อที่มีอยู่ในดิน
–   ถ้าน้ำที่ใช้รดมีการปนเปื้อนจากเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรค   ควรบำบัดด้วยปูนคลอรีนก่อนใช้

2 thoughts on “การผลิตปทุมมาอย่างถูกต้องเหมาะสม

  1. อยากทราบว่า พันธุ์บัวสวรรค์ขาวเตี้ยนี้ มีข้อดีข้อด้อยยังไงครับ
    และ พันธุ์บัวสวรรค์ชมพูเตี้ยนี้ มีข้อดีข้อด้อยยังไงอีกครับ

    ถูกใจ

ส่งความเห็นที่ SoClaimon ยกเลิกการตอบ