การผลิตกาแฟโรบัสต้าอย่างถูกต้องและเหมาะสม

Department Of Agriculture กรมวิชาการเกษตร.

การผลิตกาแฟโรบัสต้าอย่างถูกต้องและเหมาะสม

(Good Agricultural Practice for Robusta Coffee)
คุณภาพของสินค้าเป็นปัจจัยการแข่งขันที่สำคัญมากในตลาด โลกยุคปัจจุบัน        นับตั้งแต่มีการเปิดเสรีทางด้านการค้า ต่อนี้ไปประเทศที่ทำการค้าทั้งหลายต้องหันมาใส่ใจต่อคุณภาพสินค้าของตนอย่าง จริงจังก่อนที่จะทำการส่งออกสู่ตลาดโลก ทั้งนี้เพราะทั้งประเทศคู่ค้า    และประเทศคู่แข่งย่อมมองหาจุดด้อยในเรื่องคุณภาพมาเป็นข้อต่อรองหรือแย่งชิง ตลาดไปได้ ในการผลิตสินค้าเกษตร       มีปัจจัยการผลิตที่ซับซ้อนตามธรรมชาติที่ยากแก่ การควบคุม          โดยเฉพาะเรื่องของสภาพดิน ฟ้าอากาศและความแตกต่างกันระหว่างต้นพืชด้วยกันจึงเป็นการยากที่จะควบคุม คุณภาพ  ให้อยู่ระดับมาตรฐานตามต้องการ
ได้อย่างสม่ำเสมอ เมื่อเทียบกับการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม
กาแฟโรบัสต้าเป็นสินค้าเกษตรส่งออกชนิดหนึ่งของไทย       ที่มีปัญหาด้านคุณภาพนอกเหนือจากสภาพดินฟ้าอากาศ ที่ยากแก่การควบคุมแล้ว         การปฎิบัติดูแลรักษาต้นกาแฟ และการปฎิบัติหลังเก็บเกี่ยวที่ไม่ถูกต้อง เป็นปัจจัย
ที่สำคัญเป็นอย่างมากต่อคุณภาพของกาแฟ
ดังนั้นจึงจำเป็นที่ จะต้องเปลี่ยนทัศนคติของเกษตรกร ที่เชื่อว่ากาแฟเป็น
พืชที่ไม่จำเป็นต้องเอาใจใส่มากนักเมื่อเทียบกับพืชอื่น    แม้ว่ากาแฟโรบัส ต้าจะเป็นพืชที่มีการเก็บเกี่ยวผลเพียงปีละครั้ง และ
ช่วงเก็บเกี่ยวกินเวลาสั้น ๆ เพียง  2-3   เดือน  แต่การปฎิบัติดูแลรักษาในระหว่างปีมีความสำคัญโดยเฉพาะการปฎิบัต ิหลัง
เก็บเกี่ยว การตากแห้ง  เป็นรื่องสำคัญมาก เกษตรกรยัง นิยมใช้ตากในลานดินแทนที่จะตากในลานปูนซิเมนต์ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผลิตผลได้มีคุณภาพต่ำด้วยมีความคิดว่าสิ้น เปลืองค่าใช้จ่ายใช้งานได้น้อย  ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ดังนั้นเพื่อให้เกษตรกร   ผลิตกาแฟโรบัสต้าที่มีคุณภาพอย่างถูกต้องและเหมาะ สม        จึงควรมีวิธีปฎิบัติที่ดีในการทำสวนกาแฟ
โรบัสต้า ซึ่งเป็นวิธีปฎิบัติที่มีประสิทธิภาพในการผลิต  มีขั้นตอนการผลิตที่แน่นอนชัดเจน ตรวจสอบได้ ทำให้ได้ผลผลิตสูง เหมาะแก่สภาพท้องถิ่นและภูมิประเทศ     มีคุณภาพตรงตามมาตรฐาน      และไม่ทำให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมมาแนะนำ
ให้เกษตรกรใช้ในการทำสวนกาแฟโรบัสต้า  เพื่อให้เกิดประสิทธิผลต่อระบบการผลิตทางการเกษตรของประเทศในอนาคต

1. แหล่งปลูก

1.1 สภาพพื้นที่

การเลือกพื้นที่ปลูกควรคำนึงถึง

  • ไม่ควรปลูกในพื้นที่ลาดชันเกิน 30%

1.2 ลักษณะดิน

  • เป็นดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย
  • ระดับชั้นดินลึก มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง-สูง การระบายน้ำและถ่ายเทอากาศดีค่าความเป็นกรด – ด่างของดิน (pH)
    อยู่ระหว่าง 5.5- 6.5

1.3 สภาพภูมิอากาศ

  • มีการกระจายของน้ำฝนไม่น้อยกว่า 7 เดือน ปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 1,500 มิลลิเมตรต่อปี
  • อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 25 – 32 องศาเซลเซียส

2. การปลูก

2.1 วิธีการปลูก

  • การปลูกกาแฟ ต้องปลูกในฤดูฝน
    หลังจากฝนตกลงมาอย่างสม่ำเสมอชั่วระยะเวลาหนึ่งเพื่อให้ดินอุ้มน้ำเต็มที่ และให้มั่นใจว่าเมื่อปลูกกาแฟแล้วจะไม่กระทบแล้ง
    ซึ่งอาจทำให้ต้นกาแฟชะงักการเจริญเติบโตได้
  • ต้นกล้ากาแฟที่พร้อมจะปลูกควรมีอายุ 6 – 8 เดือน หรือมีใบจริง 5 – 7 คู่ขึ้นไป
  • ขุดหลุมให้มีขนาดกว้าง ยาว ลึก 50 x 50 x 50 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยหินฟอสเฟต     (rock phosphate) 200 กรัม
    ผสมดินปลูกกับปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ก่อนหย่อนกล้ากาแฟไว้ในหลุมต้องใช้มีดกรีดถุงพลาสติกให้ขาดดึงถุงพลาสติกออก กลบดิน
    รอบๆ หลุมและโคนต้นกาแฟ ปักหลักไม้ให้ทำมุมกับพื้นดินประมาณ  45  องศา  ให้ชิดต้นกาแฟผูกหลักกับต้นกาแฟเพื่อกันการ
    โยกของต้นกาแฟ
  • หลังปลูกกาแฟแล้วควรมีการคลุมโคนด้วยเศษหญ้าแห้งหรือวัสดุอื่น ๆ แต่ให้ห่างจากโคนต้นอย่างน้อย 10 เซนติเมตร
  • ควรทำร่มเงาเพื่อบังแสงแดดให้กับต้นกาแฟที่ปลูกใหม่

2.2 ระยะปลูก

ในการตัดสินใจเลือกระยะปลูกขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน ถ้าพื้นดินไม่อุดมสมบูรณ์ควรเลือกระยะปลูกให้ถี่ขึ้น

  • ระยะปลูก 4 x 4 เมตร จะได้จำนวน 100 ต้น/ไร่
  • ระยะปลูก 3 x 4 เมตร จะได้จำนวน 132 ต้น/ไร่
  • ระยะปลูก 3.5 x 3.5 เมตร จะได้จำนวน 130 ต้น/ไร่
  • ระยะปลูก 3 x 3 เมตร จะได้จำนวน 177 ต้น/ไร่ นอกจากปลูกในสภาพกลางแจ้งได้แล้ว เรายังสามารถปลูกโดยใช้พืชร่มเงาได้ด้วย     ร่มเงาควรอยู่ระดับปานกลาง ไม่ห่าง
    หรือชิดจนเกินไป และควรปลูกก่อนการปลูกกาแฟอย่างน้อย 1 ปี หรือ พร้อมกับการปลูกกาแฟเป็นต้น พืชร่มเงาที่นิยมปลูกร่วมกับ
    กาแฟ เช่น สะตอ กระถิน แค และกระถินยักษ์

3. การดูแลรักษา

3.1 การใส่ปุ๋ย

  • ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 150 – 200 กรัม/ต้น/ปี และปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตรา 50 – 100 กรัม/ต้น/ปี แบ่งใส่ 2 ครั้ง ต้นฤดูฝน
    และกลางหรือปลายฤดูฝน ในปีที่ 1 และ 2
  • เมื่อต้นกาแฟให้ผลผลิตแล้วตั้งแต่ปีที่ 3 เป็นต้นไป ใส่ปุ๋ยสูตร 15 -15 -15 อัตรา 200 กรัม/ต้น/ปี แบ่งใส่ 2 ครั้ง    ต้นฤดูฝน และ กลางฤดูฝน และใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 (เมื่อผลมีขนาด เท่าเมล็ดพริกไทย) อัตรา 600-800 กรัม/ต้น/ปี แบ่งใส่ 2 ครั้ง กลางฤดูฝน
    และปลายฤดูฝน
    การฟื้นฟูต้นกาแฟใหม่หลังเก็บเกี่ยวกาแฟและตัดแต่ง กิ่งแล้ว ควรใช้ยูเรีย 22 กก./ไร่ ปุ๋ยฟอสเฟต 5 กก./ไร่ ปุ๋ยโพแตส 23 กก./ไร่ การใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 – 3 ส่วนใหญ่ใส่ในช่วงฤดูฝน อนึ่งควร วิเคราะห์ใบก่อนใส่ปุ๋ย

4. การตัดแต่งกิ่ง

การตัดแต่งกิ่งกาแฟเป็นงานที่สำคัญมากที่สุดงานหนึ่งในการทำสวน กาแฟ

4.1 การตัดแต่งหรือการเลี้ยงต้นในระยะปีแรก
การตัดแต่งที่เหมาะสมกับกาแฟโรบัสต้าต้องตัดแต่งให้มีกิ่ง ตั้ง     (vertical)     จำนวน 3 – 5 กิ่ง คือ หลังจากปลูกกาแฟ ต้นกาแฟจะมีความสูงของลำต้นประมาณ    35 – 45 ซม.   ตัดลำต้นส่วนยอดออกไปให้เหลือลำต้นของกาแฟที่สูงจากพื้นดิน 30 ซม. จากนั้นประมาณ2 เดือน ต้นกาแฟจะแตกกิ่งใหม่ออกมาจำนวน 5 – 7 กิ่ง ให้เลือกกิ่งที่แข็งแรงซึ่งแตกออกมาใหม่นี้ไว้จำนวน 3 – 5 กิ่ง โดยพยายามเลือกกิ่งที่อยู่ตรงข้ามกัน แต่วิธีที่เหมาะสมที่สุดควรเลือกกิ่งไว้ 4 กิ่ง จะดีที่สุด

4.2 การตัดแต่งกิ่งหลังจากกาแฟให้ผลผลิต
เมื่อปลูกกาแฟมีอายุครบ 3 ปี กาแฟจะเริ่มให้ผลผลิต ลักษณะของกาแฟจะออกดอกติดผลบนกิ่งนอนบริเวณที่ติดผลแล้วใน
ปีต่อไปกาแฟจะไม่ออกดอกอีก กาแฟจะออกดอกในกิ่งที่ยังไม่เคยออกดอกเท่านั้น ดังนั้น ในแต่ละกิ่งของกาแฟเมื่อออกดอกติดผล
ไปแล้ว 4 – 5 ปี พื้นที่ของแต่ละกิ่งที่ออกดอกในปีต่อไปจะน้อยลง ทำให้ผลผลิตแต่ละปีน้อยลงด้วย จึงจำเป็นต้องตัดแต่งกิ่งใหม่ โดยมีวิธีดำเนินการดังต่อไปนี้

4.2.1 วิธีการตัดแต่งกิ่งแบบทะยอย คือ ให้ตัดกิ่งตั้งหรือลำต้นที่มีจำนวน 3 – 5   กิ่ง ออกปีละ 1  ลำต้นลำต้นที่ถูก
ตัดไปนั้นจะแตกกิ่งออกมาใหม่ให้เลือกกิ่งที่แข็งแรงที่แตกออกมาใหม่นั้นไว้ จำนวน 1 ลำต้น       ปีต่อไปก็จะทะยอยตัดปีละลำต้น จนครบ 4 ปี วิธีนี้เกษตรกรจะมีรายได้จากกาแฟทุกปี

4.2.2 วิธีการตัดแต่งแบบให้เหลือไว้กิ่งเดียว คือ เมื่อกาแฟให้ผลผลิตแล้ว 4 – 5 ปี ก็ให้ตัดลำต้นกาแฟทั้งหมด
สูงจากพื้น ดิน       30 – 40 ซม. โดยให้เหลือไว้เพียงกิ่งเดียว เพื่อเป็นกิ่งพี่เลี้ยง ต่อมาอีก 2 เดือนกาแฟจะแตกลำต้นใหม่ออกมา ให้เลือกลำต้นที่แข็งแรงไว้ 3 – 4 กิ่ง ปีต่อไปจึงตัดกิ่งพี่เลี้ยงออกวิธีนี้ต้นกาแฟที่ตัดจะมีอัตราการตายน้อยที่ สุด

5. การกำจัดวัชพืชในสวนกาแฟโรบัสต้า

วิธีการกำจัดวัชพืชในสวนกาแฟ

การกำจัดวัชพืช ในสวนกาแฟมีความสำคัญในสวนกาแฟที่ปลูกใหม่มากกว่าสวนกาแฟ ที่มีอายุหลายปี เพราะสวนที่ปลูก
ใหม่แสงแดดส่องได้ทั่วถึง    วัชพืชจึงเจริญงอกงามได้เต็มที่ การกำจัดวัชพืชสามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับฤดูกาล สภาพของ
วัชพืช สภาพภูมิประเทศ และเครื่องมือเครื่องใช้ในการกำจัด

  • การใช้แรงงาน หรือ การใช้เครื่องจักรตัดวัชพืชเหนือระดับผิวดิน วิธี นี้เหมาะสำหรับสภาพพื้นที่ ๆ ไม่สามารถ
    ใช้เครื่องจักรได้ สำหรับการใช้จอบถากหรือดายวัชพืชในสวนกาแฟที่ปลูกบนที่ลาดเชิงเขาต้องระวัง เป็นพิเศษ เพราะการดายหญ้า
    เป็นการถากเอาหน้าดินออกไปด้วย อาจมีส่วนทำให้เกิดการชะล้างหรือพังทะลายของดินเพิ่มขึ้น
  • การปลูกพืชคลุมดินตระกูลถั่ว เพื่อ ลดปัญหาการแข่งขันของวัชพืชและช่วยรักษาความชื้น เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน
  • การใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช เป็น วิธีที่มีประสิทธิภาพสูงและลงทุนน้อย  สามารถใช้ได้ทั้งสวนขนาดเล็กและใหญ่ตามอัตราที่
    ปรากฎในตารางข้างล่างโดยผสมน้ำสะอาด     60 – 80 ลิตร/ไร่   ใช้หัวพ่นรูปพัดพ่นให้ทั่วต้นวัชพืช โดยหลีกเลี่ยงละอองเกสร
    ไม่ให้ไปถูกใบและต้นกาแฟ

สารกำจัดวัชพืขที่ใช้ในสวนกาแฟมีดังตารางต่อไปนี้

สารกำจัดวัชพืช
อัตราที่ใช้
(กรัม หรือ ซีซี/ไร่)
กำหนดการใช้
ประเภทวัชพืชที่ควบคุมได้
หมายเหตุ
พาราควอต
(27.6 %AS)
300 – 800
พ่นหลังวัชพืชงอกและ
กำลังอยู่ในระยะเจริญ
เติบโต สูงไม่เกิน
15 ซม.
วัชพืชปีเดียวใบแคบ
และใบกว้าง
หลีกเลี่ยงสารกำจัดวัชพืช
สัมผัสใบและต้นกาแฟที่มี
สีเขียว
กลูโฟสิเนต
แอมโมเนียม
(15%SL)
800 – 2,000
พ่นหลังวัชพืชงอกและ
อยู่ในระยะกำลังเจริญ
เติบโตและก่อนออกดอก
วัชพืชปีเดียวใช้อัตราต่ำ วัชพืช
ข้ามปี เช่น หญ้าคาใช้อัตราสูง
ระยะปลอดฝน ประมาณ
4 – 6 ชม.
ไกลโฟเซส
(48%AS)
330 – 750
พ่นหลังวัชพืชงอกและ
อยู่ในระยะเจริญเติบโต
มีความสูงไม่เกิน
15 ซม.
วัชพืชปืเดียวใช้อัตราต่ำ วัชพืช
ข้ามปี เช่น หญ้าคาใช้อัตราสูง

ระยะปลอด ฝน ประมาณ
4 – 6 ชม.

กลูโฟซิเนท
แอมโมเนียม(15%SL)+
ไดยูรอน
(80%WP)
1,600 + 300
พ่นหลังวัชพืชงอกและ
วัชพืชอยู่ในระยะเจริญเติบโต
มีความสูงไม่เกิน
15 ซม.
วัชพืชปีเดียวใบแคบ และ
ใบกว้างที่งอกจากเมล็ด
ไดยูรอน
สามารถควบคุมการงอกของ
เมล็ดวัชพืชในดินได้ 1 – 2 เดือน

6. การป้องกันกำจัดโรคและแมลง

6.1 โรคกาแฟ
6.1.1 โรคราสนิม

  • เชื้อสาเหตุ เชื้อ รา Helmileia vastatrix เชื้อราชนิดนี้สามารถเข้าทำลายทั้งกาแฟอารา บิก้า   และ กาแฟโรบัสต้า แต่
    ทำความเสียหายรุนแรง กับกาแฟอาราบิก้ามากกว่า
    โรครา สนิมสามารถเข้าทำลายได้ทั้งใบแก่และใบอ่อน ทั้งใน
    ระยะต้นกล้าและต้นโต
     
  • ลักษณะอาการ อาการ ครั้งแรกจะเห็นเป็นจุดสีเหลืองเล็กๆ ขนาด 3 – 4 มิลลิเมตร       ด้านใต้ของใบ แผลเหล่านี้จะขยายโตขึ้น สีของแผลที่เป็นโรคจะมีสีส้ม ผงสีส้มในแผลคือสปอร์ของเชื้อราด้านบนของใบซึ่งอยู่ตรงข้ามจุดที่เป็นโรค มักจะแห้งมีสีน้ำตาล เมื่อโรคเจริญเติบโตเต็มที่ สีของแผลจะเปลี่ยนจากสีส้มเป็นสีเหลือง        ขนาดของแผลจะขยายโตขึ้นไม่มากนัก เมื่อเปรียบเทียบ
    ราสนิมที่เกิดกับกาแฟอาราบิก้าและโรบัสต้า    ในขั้นการเป็นโรครุนแรงใบของกาแฟโรบัสต้าที่เป็นโรคจะไม่ร่วง ยังคงติดกับต้น
    จนถึงปลายฤดูฝนแต่จำนวนแผลอาจเพิ่มขึ้น
     
  • แนวทางการป้องกันกำจัด

1. มีสารป้องกันกำจัดเชื้อราหลายชนิด ที่สามารถป้องกันและกำจัดได้ เช่น คอปเปอร์ออกซี่คลอไรด์ 85%WP อัตรา 50 กรัม/น้ำ
20 ลิตร
2. ควรหลีกเลี่ยงการปลูกพันธ์กาแฟโรบัสต้าที่มีลักษณะใบเล็ก เรียว ยาว ควรเลือกปลูกเฉพาะ พันธุ์โรบัสต้าที่มีใบใหญ่ ซึ่งมีความ
ต้านทานต่อโรคราสนิม

6.1.2 โรคใบไหม้สีน้ำตาล

  • เชื้อสาเหตุ เชื้อ รา          Colletotrichum c offeanum Noack. and C. gloeosporioides (Penz) and Sacc.
  • ลักษณะอาการ อาการ เริ่มแรกเกิดจุดกลมสีน้ำตาล แล้วขยายใหญ่ขึ้น กลางแผลจะเห็นอาการเนื้อเยื่อตายมีสีน้ำตาลไหม้ เมื่อแผล
    แต่ละจุดขยายมารวมกัน จะแสดงอาการเหมือนใบไหม้    โรคนี้จะพบเห็นได้ทั่วไปในสภาพอากาศแห้งแล้งติดต่อกันเป็นระยะเวลา
    นาน หรือเกิดจากพืชได้รับบาดแผลเนื่องจากปัจจัยอื่น ๆ ทำให้เป็นช่องทางของเชื้อในการเข้าทำลายพืช
     

  • แนวทางการป้องกันกำจัด พ่น สารบอร์โดมิกซ์เจอร์ (Bordeaux mixture) 0.5 % หากจำเป็น

6.1.3 โรคแอนแทรคโนสที่ผล

  • เชื้อสาเหตุ เชื้อ รา Colletotrichum coffeanum Noack. and C. gloeosporioides (Penz) and Sacc. 
  • ลักษณะอาการ มัก พบในต้นกาแฟที่ให้ผลผลิตมาก เชื้อสามารถเข้าทำลายทั้งในผลอ่อนและผลแก่ อาการที่ปรากฎครั้งแรก
    จะเห็นเป็นจุดสีน้ำตาลเข้มบนด้านใดด้านหนึ่งของผล จุดแผลเหล่านี้จะขยายออกและรวมกันเป็นแผลรูปร่างไม่แน่นอนและมีอาการ
    เนื้อเยี่อยุบ ต่อมาผลจะหยุดการเจริญและเปลี่ยนเป็นสีดำ แต่ยังคงติดอยู่บนกิ่งกาแฟ
     
  • แนวทางการป้องกันกำจัด

1. เก็บผลและตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรคเผาทำลาย
2. หลังเก็บเกี่ยวกาแฟแล้วควรตัดแต่งกิ่งและเพิ่มความแข็งแรงให้กับต้นพืช
3. พ่นด้วยสารเคมีแมนโคเซบ (mancozeb) หรือ คอปเปอร์ (copper) เพื่อลดการแพร่ระบาดของโรค

6.1.4 โรคกิ่งแห้ง

  • เชื้อสาเหตุ เชื้อรา Colletotrichum coffeanum Noack. and C. gloeosporioides(Penz) and Sacc.
  • ลักษณะอาการ จะปรากฏอาการใบเหลืองและไหม้บนกิ่งสีเขียว เมื่อสังเกตที่กิ่ง   จะเห็นแผลเนื่องจากเนื้อเยื่อตาย บริเวณข้อและ
    ปล้องขยายไปตาม ปลายกิ่ง ใบที่แสดงอาการเหลืองจะร่วง ในเวลาต่อมา กิ่งจะเหี่ยวและแห้ง   ตกดอกเหี่ยว โรคนี้โดยปกติจะพบ
    ในสภาพอากศแห้งแล้ง   เริ่มต้นแผลอาจเกิดจากใบไหม้เพราะแดด หรือเกิดจากแมลงหรือ เกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้พืชอ่อนแอ
    เมหาะต่อการเข้าทำลายของเชื้อเช่น   สภาพอากาศแล้งมาเป็นเวลายาวนาน การขาดร่มเงาเป็นต้น
  • แนวทางการป้องกันกำจัด
    1. ตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรคออก และพ่นสารบอร์โดมิกซ์เจอร์ หรือ แมนโคเซบ 5%
    2. รักษาระดับร่มเงาให้เหมาะสมและคลุมโคนรอบ ๆ ต้นพืชเพื่อรักษาระดับความชื้นในดิน
    3. บำรุงต้นพืชให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเข้าทำลายของเชื้อ

6.2 แมลงศัตรูกาแฟ

6.2.1 หนอนกาแฟสีแดง (Red Coffee Borer) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Zeazera coffee Nieth

  • หนอนเจาะลำต้น เป็นปัญหาที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่ต้น และกิ่งของกาแฟอยู่ทั่วไป  ต้นหรือกิ่งกาแฟที่ถูกหนอนเจาะจะหักโค่น เมื่อโดนลมแรง    ความเสียหายเกิดขึ้นจากตัวหนอนกัดเจาะเข้าไปในกิ่งและลำต้น เป็นเหตุให้ยอดแห้ง        กิ่งโค่นหักตรงบริเวณ
    ที่หนอนกัดเจาะ ตัวเต็มวัยมีสีขาวนวล        มีจุดประสีดำอยู่เต็มบริเวณปีกคู่หน้า ตัวหนอนมีสีแดง หรือน้ำตาลแดง มีลายวงแหวน
    สีเหลืองและมีขนสีขาวบนส่วนท้อง    หลังจากที่ผีเสื้อตัวเมีย   ไดรับการผสมพันธุ์จะวางไข่ติดไว้กับกิ่งและลำต้น ใช้เวลาประมาณ
    10  วัน      ไข่จะฟักออกเป็นตัวหนอน เมื่อหนอนมีอายุ    2 – 3  เดือน ก็จะโตเต็มที่    ในช่วงนี้หนอนจะกัดเจาะเปลือกจนเป็นรูกลม มองเห็นได้จากภายนอก แล้วตัวหนอนก็จะเจริญเป็นดักแด้ และตัวเต็มวัยต่อไป ศัตรูธรรมชาติ   ของหนอนชนิดนี้คือ Isosturmia chatterjeeana Bar. และ Carcelia kockiana Towns.
     
  • แนวทางการป้องกันกำจัด
    1. ทำลายพืชอาศัยอื่น ๆ ในบริเวณรอบๆ สานกาแฟ เพื่อไม่ให้เป็นที่อาศัยและขยายพันธุ์
    2. รักษาบริเวณสวนให้สะอาดและหมั่นตรวจดูตามต้นและกิ่งกาแฟอยู่เสมอ
    3. หากพบรอยที่หนอนเจาะเข้าทำลาย ให้ตัดกิ่งนำไปเผาไฟ เพื่อลดการขยายพันธุ์ต่อไป
    6.2.2 มอดเจาะกิ่งกาแฟ (Twig Borer) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Xyleborus morstatti Hag.
  • ตัวเต็ววัย เป็นด้วงปีกแข็งขนาดเล็กกว่าหัวเข็มหมุด เจาะเข้าไปในกิ่ง ทำลายจนเกิดเป็นโพรง เจริญเติบโตและขยายพันธุ์อยู่ภายใน ทำให้ต้นกาแฟ   แสดงอาการอ่อนแอ กิ่งจะเริ่มแห้งตาย เป็นสาเหตุให้เชื้อโรคเข้าทำลายในระยะต่อมา ศัตรูธรรมชาติที่พบคือ Tetrastichus xylebororum   dom.
  • แนวทางการป้องกันกำจัด
    1. ตัดแต่งกิ่งที่ถูกทำลายและกิ่งที่แสดงอาการกิ่งแห้งเผาทิ้งพื่อไม่ให้เป็น แหล่งสะสมของมอด
    2. บำรุงรักษาต้นพืชให้แข็งแรงเพื่อลดการเข้าทำลายของแมลง

6.2.3 มอดเจาะผลกาแฟ (Coffee Berry Borer) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hypothenemus hampei (Ferris)

  • มอดกาแฟเป็นแมลงปีกแข็ง สีดำ ขนาด 1 มม. เข้าไปทำลาย วางไข่และขยายพันธุ์อยู่ภายในผลกาแฟที่มีขนาด ตั้งแต่ 0.5 ซม. ขึนไปอาศัยกัดกิน   อยู่ภายในจนกระทั่งผลกาแฟเริ่มสุกและสุกเป็นสีแดงประมาณเดือนธันวาคม ถึง มกราคม ระยะนี้จะมีปริมาณของมอดเพิ่มสูงขึ้นมาก ทำให้กาแฟ   ถูกทำลายเสียหายมากขึ้น และจะทำลายต่อเนื่องไปจนถึงเสร็จสิ้นการเก็บเกี่ยว มอดจะติดผลกาแฟไปถึงลานตากของเกษตรกรต่อไป และจะมีมอด   อาศัยอยู่ต่อไปอีกในผลกาแฟสุกจนแห้งดำที่ติดค้างอยู่บนกิ่ง และที่หล่นอยู่ใต้ต้นด้วยแนวทางการป้องกันกำจัด
    1. โดยวิธีทางเขตกรรม
    1.1 ควรเก็บผลผลิตกาแฟในระยะเวลาและฤดูกาลที่ถูกต้อง
    1.2 อย่าปล่อยทิ้งผลกาแฟที่สุกแล้วหรือผลกาแฟแห้งให้ติดค้างอยู่บนต้า หรือร่วงหล่นลงสู่พื้นใต้ทรงพุ่ม ควรกำจัดออกไปจากสวนให้หมด
    1.3 ตัดแต่งกิ่งที่ให้ผลแล้ว หรือกิ่งที่มีผลแห้งดำติดอยู่เป็นการกำจัดมอดที่หลบซ่อนอยู่ และทำให้ทรงพุ่มกาแฟโปร่ง ไม่เกิดร่มเงามาก
    1.4 หลีกเลี่ยงการตากผลกาแฟสุกบนพื้นดิน หรือตากอยู่ในบริเวณสวนกาแฟ หรือบริเวณใกล้เคียง
    2. โดยชีววิธี
    2.1 แมลงศัตรูธรรมชาติที่สำคัญเป็นพวกแตนเบียน ได้แก่ Prorops nasuta, Cephalonomia stephanoderis และ                  Phymastichus coffee แตนเบียนเหล่านี้มีอยู่ในอาฟริกาตอนกลาง และมีการนำเข้ามาใช้ในหลายประเทศในลาตินอเมริกา                   แตนเบียนที่กล่าวมายังไม่พบในประเทศไทย
    2.2 เชื้อรา Beauveria bassiana ทำให้เกิดโรคกับมอดกาแฟ ภายใต้สภาพ อากาศที่ร้อนและชื้น                                   สำหรับในประเทศไทยก็มีการพบเชื้อนี้ในธรรมชาติ

    3. โดยการใช้สารเคมี
    แนะนำให้ใช้ในกรณีที่ไม่สามารถควบคุมด้วยวิธีที่กล่าวมาแล้ว ควรใช้สารฆ่าแมลง เช่น พิริมิฟอส เมทธิล (pirimiphos methyl) 50%     EC อัตรา 15 – 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คาร์โบซัลแฟน (carbosulfan) 20% EC อัตรา 80 – 95 ซีซี ต่อ น้ำ 20 ลิตร

7. วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว

การผลิตเมล็ดกาแฟให้มีคุณภาพดี นอกจากจะเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตและการพัฒนาของผลกาแฟอย่างต่อเนื่องใน ระยะก่อนเก็บเกี่ยวแล้ว ยังขึ้นกับขั้นตอนต่างๆ หลังการเก็บเกี่ยว ซึ่งแบ่งออกเป็นขั้นต่อนต่างๆ ดังนี้

7.1 การเก็บเกี่ยว

การเก็บเกี่ยวมีความสำคัญมากต่อคุณภาพของสารกาแฟและผลิตภัณฑ์

  • คุณภาพของกาแฟที่ดี ได้จากการเก็บกาแฟที่สุกพอดี ไม่สุกมาก หรือเขียวเกินไป คือ เก็บผลสุกที่มีสีส้ม หรือส้ม – แดง
  • การสุกของเมล็ดกาแฟจะสุกไม่พร้อมกันทั้งต้น ดังนั้นจึงต้องทะยอยเก็บเรื่อย ๆ ประมาณ 3 – 4 ครั้ง โดยเว้นระยะห่างกันประมาณ 20 วัน   ต่อครั้ง

7.2 การตากแห้ง

  • เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ควรมีการคัดเลือกผลกาแฟในเบื้องต้นโดยนำผลไปเทลงในภาชนะบรรจุน้ำ คัดผลกาแฟลอยน้ำทิ้งเพราะเป็น   ผลที่สุกเกินไป ผลแห้ง และผลที่ถูกแมลงทำลาย
  • จากนั้นนำผลกาแฟที่จมน้ำไปตากบนลานซีเมนต์ที่สะอาด อากาศถ่ายเทดี แสงแดดตลอดทั้งวัน ก่อนตากอาจรองด้วยตาข่ายสีฟ้า เพื่อสะดวก   ในการเก็บผลการแฟในช่วงฝนตก
  • ในช่วง 10 วัน แรกของการตาก ควรเกลี่ยผลกาแฟให้มีความหนาประมาณ 4 – 5 ซม. และควรพลิกกลับผลกาแฟ วันละ 2 – 3 ครั้ง เพื่อไม่ให้เกิด    กลิ่นหมักของกาแฟสารที่ได้ หลังจากสีเปลือกออก
  • เมื่อผลเริ่มแห้ง อาจจะกอบหนาขึ้นเพื่อประหยัดพื้นที่ตาก ในตอนเย็นควรเก็บผลมากองรวมกัน คลุมด้วยผ้าพลาสติกเพื่อกันน้ำค้าง
  • ระยะเวลาในการตากจนผลแห้ง ประมาณ 15 – 20 วัน ขึ้นกับสภาพแวดล้อม
  • ผลแห้งที่เก็บควรมีความชื้นไม่เกิน 13% โดยน้ำหนัก อาจตรวจสอบโดยการกำผลที่แห้ง แล้วเขย่าจะเกิดเสียงดัง หรือ   ใช้ฆ้อนทุบเมล็ดกาแฟดูว่าแตกหรือบี้ ถ้าเมล็ดแตกถือว่าแห้งใช้ได้
  • ผลที่แห้งแล้วมีความไวต่อการดูดกลิ่นได้ดีและเก็บได้ไม่นาน จึงควรกระเทาะเปลือก ออกทันทีหลังตากแห้ง ด้วยเครื่องสีเปลือกกาแฟ   จะได้ส่วนของเมล็ดกาแฟ

7.3 การเก็บรักษาเมล็ดกาแฟ

  • ภาชนะบรรจุ ควรเก็บในกระสอบป่าน ที่สะอาด ใหม่ ปราศจากกลิ่นบรรจุให้เหลือพื้นที่ปากกระสอบบ้างอย่าใส่จนเต็ม
  • โรงเก็บ ควรตั้งอยู่ในที่มีอากศถ่ายเทได้ดี อากาศไม่ร้อน ความชื้นสัมพัทธ์ในโรงเก็บไม่ควรเกิน 60 % ตั้งกระสอบที่บรรจุกาแฟบนพื้นที่ ยกสูง   15 ซม. ห่างจากฝาผนัง และหลังคาประมาณ 50 และ 100 ซม.
  • ระยะเวลาในการเก็บรักษา คุณภาพเมล็ดกาแฟเปลี่ยนแปลงได้เร็วหรือช้าขึ้นกับ อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ และระยะเวลาในการเก็บรักษาเป็นระยะ    เวลานาน ควมชื้นในเมล็ดกาแฟไม่ควรเกิน 13%

8. สุขลักษณะและความสะอาด

  • กำจัดพืชเพื่อไม่ให้แข่งขันกับกาแฟ หรือเป็นที่อยู่อาศัยและแพร่พันธุ์ของศัตรูกาแฟ
  • ควรเก็บเศษกิ่งแห้ง ที่ติดค้างอยู่บนต้นและหล่นอยู่บริเวณใต้ต้นพืชออกเผาทำลาย
  • ควรเก็บผลกาแฟให้หมด ไม่ให้ตกค้างอยู่บนต้นและพื้นดิน เพื่อขจัดแหล่งอาศัยของมอดกาแฟ

9. มาตรฐานของเมล็ดกาแฟ

ในการรับซื้อเมล็ดกาแฟของบางบริษัทต้องการเมล็ด กาแฟที่มีคุณภาพดีเท่านั้น ข้อบกพร่องที่พบในเมล็ดกาแฟเป็นสาเหตุให้รสชาติของกาแฟเสียไป จึงทำให้ขายผลผลิตได้ราคาต่ำ ข้อบกพร่องนี้แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ

ชนิดที่ 1 ข้อบกพร่องชนิดร้ายแรง เพราะทำให้ขายได้ในราคาต่ำ ไดเแก่

  • สิ่งแปลกปลอม หมายถึง กรวด หิน โลหะต่าง ๆ ที่ปนมากับเมล็ดกาแฟ
  • เมล็ดดำ หมายถึง เมล็ดกาแฟที่ดำกว่าครึ่งหนึ่งของเมล็ด ซึ่งเกิดจากการเก็บผลกาแฟที่สุกไม่เต็มที่ หรือในช่วงการตากผลกาแฟ มีฝนตกกาแฟเปียกจึงเกิดการหมัก
  • ผลกาแฟแห้ง หมายถึง ผลกาแฟที่สีเปลือกออกไม่ได้

ชนิดที่ 2 ข้อบกพร่องชนิดที่ยอมรับได้บ้าง ได้แก่

  • เมล็ดดำบางส่วน หมายถึง เมล็ดกาแฟที่มีเมล็ดดำน้อยกว่าครึ่งเมล็ด
  • เปลือกส่วนต่าง ๆ หมายถึง ชิ้นส่วนของเปลือกนอกและเปลือกในที่ติดมา
  • เมล็ดแตก หมายถึง ชิ้นส่วนของเมล็ดกาแฟที่แตกออกมีขนาดน้อยกว่า 3 ใน 4 ส่วนของเมล็ด
  • เมล็ดที่ถูกแมลงทำลาย หมายถึง เมล็ดกาแฟที่มีรอยเจาะตั้งแต่ 1 รอยขึ้นไป

นอก จากข้อบกพร่องที่กล่าวมานี้ การรับซื้ออาจคำนึงถึง ความชื้นในเมล็ด ถ้าเกิน 13% ราคาจะต่ำลง และถ้าพบว่ารสชาติในการชิม มีกลิ่นและรสชาติไม่ได้มาตรฐาน ก็จะไม่รับซื้อ

10. การบันทึกข้อมูล

  • บันทึกข้อมูล วัน เดือน ปี การปฎิบัติของขั้นตอนการผผลิตทุกขั้นตอน เช่น การใส่ปุ๋ย การใช้สารเคมี การให้น้ำ ชนิดและอัตราการใช้
  • บันทึกข้อมูล การเก็บเกี่ยว อุณหภูมิ ความชื้น ปริมาณน้ำฝน
  • ราคาผลผลิต

1 thoughts on “การผลิตกาแฟโรบัสต้าอย่างถูกต้องและเหมาะสม

ใส่ความเห็น